มารู้จัก...ไดโนเสาร์ฉบับกระเป๋าหิ้ว


ตัว แรก คือ คอมซอกนาธัสไดโนนักล่ารุ่นจิ๋วมันมีขนาดเท่า ๆ กับลูกไก่รุ่น ๆ รูปร่างของมันบอบบางมีลำคอและหางยาวจนทำให้ดูตัวโตขึ้นคอมซอกนาธัสจัดเป็น ไดโนเสาร์ในกลุ่มเทอโรพอดหรือพวกกินเนื้อมันปรากฏขึ้นเมื่อราว 150 ล้าน ปีที่แล้วในยุคจูราสสิกตอนปลาย รูปร่างของมันที่ดูคล้ายคลึงกับนกโบราณได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดที่ ว่าไดโนเสาร์กับนกมีความเกี่ยวข้องกัน นักโบราณชีววิทยาคิดว่าพวกคอมซอกนาธัสคงจะล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก และพวกแมลงเป็นอาหารขณะเดียวกันการที่พวกมันตัวเล็กก็อาจทำให้มันตกเป็น อาหารของสัตว์อื่น ๆ ที่ใหญ่กว่าด้วย

 


ซิตตาโคซอรัสเป็นไดโนเสาร์กินพืชที่ปรากฏขึ้นเมื่อราว 120 ล้าน ปีที่แล้วในช่วงยุคครีตาเชียส ลักษณะเด่นของมันคือปากที่มีลักษณะเป็นจงอยคล้ายปากนกแก้ว พวกซิตตาโคซอรัสจัดเป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มออนิทิสเชียนหรือพวกที่มีสะโพกแบบนก และแม้ว่าจะมีความยาวเพียงสองฟุตครึ่งหรือตัวใหญ่พอกับสุนัขพันธุ์ปั๊ก แต่ซิตตาโคซอรัสก็คือบรรพบุรุษของเซอราทอปเซียนอย่างเจ้ายักษ์สามเขาไทรเซรา ทอปซึ่งมีการแพร่การะจายพันธุ์เป็นอย่างมากในช่วงปลายยุคครีตาเชียส

 


ลี เอลลีนาซอร่าเป็นพวกออนิทิสเชียนอีกชนิดหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในยุคครีตาเชียส พวกมันเดินด้วยสองขาหลังในลักษณะเดียวกับนกโดยมีขนาดตัวเท่ากับแม่ไก่ กระโหลกของมันมีช่องว่างขนาดใหญ่สำหรับกลีบสมองส่วนรับรู้การมองเห็น ซึ่งการที่กลีบสมองส่วนนี้มีขนาดใหญ่แสดงให้เห็นว่าลีเอลลีนาซอร่าสามารถมอง เห็นในความมืดได้เป็นอย่างดี

 


ใน บรรดาไดโนเสาร์ทั้งหลายนั้นพวกซอโรพอดคอยาวคือไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แม้จะเป็นชนิดที่มีขนาดย่อม ๆ แต่ก็ยังใหญ่เท่ากับช้างตัวโต ๆ ทว่าในบรรดาพวกยักษ์คอยาวเหล่านี้กลับมีอยู่ชนิดหนึ่งที่มีขนาดแตกต่างจาก พวกพ้องเสียยิ่งกว่าฟ้ากับดิน นั่นคือมัสซอรัสซึ่งเป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มซอโรพอดที่มีขนาดตัวเล็กที่สุดโดย มีความยาวเพียง 1 ฟุตเศษหรือเท่ากับหนูตัวใหญ่ ๆ เท่านั้น ทว่าในการศึกษาต่อมา ได้พบว่า โครงกระดูกของมัสซอรัสที่พบนั้น เป็นของพวกที่ยังโตไม่เต็มที่ จึงได้คาดคะเนว่า หากโตเต็มที่แล้ว มัสซอรัสน่าอาจจะมีน้ำหนักราว 70 กิโลกรัมและยาวกว่า 2 เมตร ซึ่งก็คงพอ ๆ กับหมูตัวย่อม ๆ พวกมัสซอรัสมีชีวิตอยู่ในยุคไทรแอสสิกและจัดเป็นซอโรพอดในยุคเริ่มแรก

 


เม เซียคาซอรัสเป็นไดโนเสาร์นักล่าขนาดเล็กที่เคยอาศัยอยู่ในมาดากัสการ์เมื่อ ราว 76 ล้านปีที่แล้ว มันมีขนาดเท่ากับสุนัขอัลเซเชียน ลักษณะเด่นของเมเซียคาซอรัสคือฟันหน้ารูปกรวยที่งอกยาวมีปลายโค้งออกมานอก ปาก ส่วนฟันด้านหลังนั้นมีลักษณะคล้ายใบมีดและหยักเป็นซี่เลื่อยเหมือนพวกกิน เนื้อชนิดอื่น ๆ

 


ไดโนเสาร์ ขนาดเล็กบางชนิดมองดูแทบไม่ต่างจากนกหรือไก่อย่างเช่นไซโนซอโรเทอริกซ์ซึ่ง เคยอาศัยอยู่ในจีนเมื่อราว 120 ล้านปีก่อน พวกมันมีขนาดเท่ากับแม่ไก่และยังมีร่องรอยของเส้นขนแบบเดียวกับขนนกปกคลุม อยู่ทั่วทั้งตัว

 


คอ ดิเทอริกซ์เป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็กอีกชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในสถานที่และช่วง เวลาเดียวกับไซโนซอโรเทอริกซ์ ชื่อของมันแปลว่าแพนหางเนื่องจากฟอสซิลของมันมีรอยประทับของเส้นขนแบบแพนหาง ของนกอยู่ตรงส่วนหางของมัน คอดิเทอริกซ์ยาวประมาณหนึ่งเมตรขนาดของมันใหญ่พอ ๆ กับไก่งวง

 


ไดโนเสาร์ ขนาดเท่าไก่งวงอีกชนิดหนึ่งถูกขุดพบในมองโกเลียทว่าพวกมันน่ากลัวกว่าไก่งวง มากชื่อของมันคือเวโลซิแรปเตอร์ ซากของมันปรากฏร่องรอยของเส้นขนละเอียดอยู่ทั่วตัว เวโลซิแรปเตอร์ปรากฏขึ้นในยุคครีตาเชียสมันเป็นไดโนนักล่าที่มีกรงเล็บอัน น่ากลัวทั้งที่แขนและขน แต่อาวุธที่น่ากลัวที่สุดคือเล็บโค้งคมตรงหัวแม่เท้าของมัน

 


ทรู โอดอนเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อรุ่นเล็กอีกชนิดหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ในยุคครีตา เชียสขนาดของมันใหญ่เท่ากับแมวมีเบ้าตาขนาดใหญ่ในลักษณะเดียวกับพวกสัตว์ กลางคืน มันเดินด้วยสองขาหลังและมีแขนที่ดูคล่องแคล่ว นักวิทยาศาสตร์คิดว่าพวกทรูโอดอนออกหากินรวมกันเป็นฝูงแบบพวกหมาไนโดยค้นหา ซากของสัตว์ที่ตายแล้วรวมทั้งรุมสังหารสัตว์ขนาดเล็กที่อ่อนแอหรือบาดเจ็บ กินเป็นอาหาร

 


ได โนฉบับกระเป๋าตัวสุดท้ายที่จะกล่าวถึงเรียกได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ที่ตัวเล็ก ที่สุดชื่อของมันคืออิพิเดนโดรซอรัส ซากฟอสซิลของมันถูกขุดพบในจีนโดยวัดอายุได้ 160 ล้านปีซึ่งเท่ากับช่วงเวลาของยุคจูราสสิก ความโดดเด่นของไดโนเสาร์ชนิดนี้อยู่ที่นิ้วกลางของมันที่ยาวมากโดยมีความยาว มากกว่านิ้วอีกสองนิ้วรวมกันเสียอีก นักวิทยาศาสตร์คิดว่าพวกมันน่าจะหากินบนต้นไม้และใช้นิ้วกลางที่ยาวเป็น พิเศษนี้แหย่เข้าไปในรูบนต้นไม้เพื่อเกี่ยวตัวหนอนและแมลงออกมากิน อิพิเดนโดรซอรัสมีขนาดเท่ากับนกกระจอกและเป็นไดโนเสาร์ที่เล็กที่สุดเท่าที่ มนุษย์เคยค้นพบมา

20 มี.ค. 55 เวลา 11:37 5,139 2 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...