นั่งผิงไฟอยู่ดีๆ บอมบี้ ใต้ดินตูมสนั่น เด็กลาวตาย 4 เจ็บอีก 3

 

เหตุเกิดเวลาประมาณ วันที่ 23 ม.ค.2555 ที่หมู่บ้านตาลวง เมือง (อำเภอ) นอง แขวงสะหวันนะเขต ผู้เสียชีวิตเป็นเด็กชายอายุ 12 ปี 1 คน อายุ 10 ปี 1 คน อายุ 9 ปี 1 คน กับเด็กหญิงวัย 3 ขวบ 1 คน ผู้ที่บาดเจ็บสาหัสเป็นหญิงวัย 28 ปี 1 คน กับเด็กชายวัย 11 และ 9 ปี หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่รายงาน
   
   
ระเบิดลูกหว่าน หรือ “ระบิดพวง” ทิ้งลงจากเครื่องบินในลังเดียวกัน และ จะกระจายออกไปครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขวาง ออกแบบมามุ่งทำลายเป้าหมายบุคคลรวมทั้งยานพาหนะ ระเบิดสามารถระเบิดได้ทันทีเมื่อกระทบเข้ากับเป้าหมาย แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีอีกจำนวนมากที่ยังไม่ระเบิดและตกค้างมาตั้งแต่ช่วงสงคราม
   
   
ในระหว่างปี 2507-2518 ซึ่งช่วงปีดังกล่าวสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดลงในลาวมากกว่า 2 ล้านตัน
   
   
เชื่อกันว่ายังคงมีระเบิดลูกหว่านมากกว่า 800,000 ลูก กระจายกันอยู่ใน 14 แขวงของลาวเหนือจรดใต้ และ สะหวันนะเขตเป็น 1 ใน 10 แขวงที่ได้รับผลกดระทบหนักหน่วงที่สุด ทั้งนี้ยังไม่นับรวมลูกระเบิดขนาดใหญ่ที่ทิ้งลงจากเครื่องบิน กับลูกกระสุนปืนใหญ่ ปืนครก ระเบิดมือและจรวดอีกนานาชนิดที่ยังไม่ระเบิด หนังสือพิมพ์ของทางการนครเวียงจันทน์กล่าว
   
   
ระเบิดที่หลงเหลือตั้งแค่ครั้งสงครามยังคงทำลายชีวิตและทรัพย์ชาวลาวมาจนถึงบัดนี้ ทุกๆ ปียังมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตราว 300 คน คือ มีผู้ตกเหยื่อของระเบิดเกือบจะทุกวัน
   
   
หลายปีมานี้ลาวได้รีบความร่วมมือช่วยเหลือจากหลายประเทศในการเก็บกู้วัตถุระเบิดมากมายหลายชนิด ทั้งด้านทุนรอนและด้านวิชาการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งจากสหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นอร์เว สวีเดน และ ญี่ปุ่น.

 

องค์การ MAG ทำลายวัตถุระเบิดต่างๆ ที่เก็บได้ในแขวงเซียงขวาง ในภาคเหนือของลาว ภาพนี้เป็นเหตุการณ์ในเดือน พ.ย.2553 ซึ่งลาวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมกลุ่มภาคีต่อต้านระเบิดลูกหว่าน "สมรภูมิทุ่งไหหิน" เป็นสนามรบที่ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง และในช่วงสงคราม 30-40 ปีก่อน สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดแบบปูพรมในหลายท้องถิ่นของแขวงนี้ หวังทำลายกองกำลังของฝ่าย "ลาวแดง" ระเบิดที่ตกค้างจำนวนมหาศาล ยังคงเป็นภัยข่มขู่คุกคามชีวิตประจำวันของชาวลาวตลอดมา โศกนาฏกรรมล่าสุดเกิดขึ้นในแขวงสะวันนะเขตสัปดาห์ที่แล้ว มีเด็กๆ เสียชีวิต 4 คน อีก 7 คนบาดเจ็บสาหัส จาก "บอมบี้". --ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่

 

ผู้แทนประเทศภาคีต่อต้านระเบิดลูกหว่านที่ไปร่วมประชุมในลาวเดือน พ.ย.2553 กำลังชมระเบิดบอมบี้ ที่องค์การ MAG เก็บกู้ได้ในแขวงเซียงขวางก่อนนำไปทำลาย เชียงขวางเป็นหนึ่งใน 10 แขวงที่ได้รับผลกระทบจากระเบิดที่หลงเหลือจากครั้งสงครามมากที่สุด จากทั้งหมด 14 แขวง ทั่วประเทศที่มีมัจุราชพวกนี้แฝงตัวอยู่ เชื่อว่าในลาวยังมีระเบิดชนิดนี้หลงเหลืออยู่ราว 8 แสนลูก.-- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่

หน้าตาของ "บอมบี้" ระเบิดลูกหว่านก็จะเป็นแบบนี้ ระเบิดได้ทันทีเมื่อกระทบเป้าหมาย กรณีล่าสุดที่เกิดโศกนากฏกรรมในสะหวันนะเขตสัปดาห์ที่แล้ว เกิดจากความร้อน ขณะเด็กๆ กำลังก่อไฟผิงแก้หนาวในลานบ้าน โดยไม่ทราบว่าใต้ผืนดินตรงนั้นมีบอมบี้ซ่อนอยู่มานานกว่า 30 ปี เมื่อได้รับความร้อนจึงระเบิดขึ้น เด็กๆ เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บสาหัสอีก 3 ใน 14 แขวงของลาวยังมีวัตถุระเบิดซุกซ่อนอยู่หลายล้านชิ้น.-- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่

 

ภาพจากเว็บบล็อกของ Prince Roy อดีตเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ ในเวียงจันทน์ ระเบิดบอมบี้พบในเขตเมืองคูน แขวงเซียงขวาง ก้อนเจ้าหน้าที่องค์การ MAG จะเก็บไปทำลายในวันรุ่งขึ้น มัจจุราชพวกนี้ซุกอยู่ในเกือบจะทุกๆ ที่ทั้งในป่า ในลำน้ำลำธาร ทุ่งนาและทุ่งหญ้า ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น เชื่อกันว่าปัจจุบันยังมีระเบิดลูกหวานแบบนี้ราว 8 แสนลูก ใน 14 แขวงของลาว

ผู้แทนประเทศภาคีต่อต้านระเบิดลูกหว่านที่ไปร่วมประชุมในลาวเดือน พ.ย.2553 กำลังชมระเบิด "ไอ้อ้วน" และ "บิ๊กบอมบ์" ที่องค์การ MAG เก็บกู้ได้ในแขวงเซียงขวางก่อนจะนำไปทำลาย เชียงขวางเป็นหนึ่งใน 10 แขวงที่ได้รับผลกระทบจากระเบิดที่หลงเหลือจากครั้งสงครามมากที่สุด จากทั้งหมด 14 แขวง ทั่วประเทศที่มีมัจุราชพวกนี้แฝงตัวอยู่ เชื่อว่าในลาวยังมีวัตถุระเบิดชนิดต่างๆ หลงเหลืออยู่หลายสิบล้านลูก.-- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.

 

ภาพจากเว็บบล็อกของ Prince Roy อดีตเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ ในเวียงจันทน์ หลุมขนาดใหญ่ที่เกิดจากการทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ เมื่อครั้งสงครามในเขตเมืองคูน แขวงเซียงขวางซึ่งตรวจพบว่ายังมีวัตถุระเบิดหลงเหลืออยู่ เจ้าหน้าที่องค์การ MAG ปักป้ายเตือนเพื่อเตรียมเก็บกู้และห้ามเข้าใกล้ เชื่อกันว่าปัจจุบันยังมีระเบิดชนิดต่างๆ หลายสิบล้านชิ้นกระจายอยู่ใน 14 แขวงของลาว
#ลาว
Messenger56
1st Asst. Director
สมาชิก VIPสมาชิก VIP
31 ม.ค. 55 เวลา 10:39 7,736 15 200
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...