ตามไปดูเวียดนามล่าฉลาม...ชอบไล่งับแย่งปลาชาวประมง

ทะเลเวียดนามมีฉลามชุกชุมน่าดู ไม่เพียงแต่จะแวะเวียนเข้าไปในอ่าวท่องเที่ยวทำให้ผู้คนขวัญหนีดีฝ่อเป็น ระยะๆ เท่านั้น "ทะเลตะวันออก" ยังเต็มไปด้วยฉลาม ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นผลพลอยได้อย่างหนึ่งจากการออกลากเหยื่อจับปลาของชาว ประมง ขณะที่กำลังลากอวนในทะเลลึก 
   
   
ด้วยนิสัย ที่ชอบไล่งับเหยื่อที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วอยู่หน้า หรือเหยื่อที่กำลังบาดเจ็บ ซึ่งเลือดจะเป็นสิ่งที่ช่วยเรียกฉลามทั้งฝูงให้กรูเข้าหา ปลาทูนาที่งับเหยื่อเบ็ดของชาวประมง จึงมักจะกลายเป็นเหยื่อของฉลามอีกทอดหนึ่ง และ .. ทำให้ฉลามพลอยติดเบ็ดไปด้วย
   
   
เมื่อก่อนโน้นฉลามติดอวนลาก ของใครต้องถือว่าซวย เพราะถ้าหากเป็นเรือลากอวนขนาดเล็ก ก็มักจะทำให้ลากต่อไปไม่ไหว และ ก็ไม้รู้จะเอาฉลามทำอะไรอีกเหมือนกัน เนื้อก็ไม่อร่อย ขายไม่ได้ราคา แต่ในปัจจุบันเมื่อจับได้จะมีใครทิ้งลงทะเลเปล่าๆ อีกแล้ว เพราะ "หู" ของมันแพงมาก ตลาดรับซื้อไม่อั้น ได้ราคาดีไม่แพ้ทูน่าที่จับยากแสนเข็น
   
   
ชาว ประมงเวียดนามทราบดีว่า รอบๆ หมูเกาะเจื่องซา (สแปร็ตลีย์) น่านน้ำและเขตแดนพิพาทนั้นฉลามชุมที่สุด แต่ก็เป็นแหล่งเดียวที่เหลืออยู่สำหรับลากอวนทูน่า ขณะเดียวกันก็ลงเบ็ดลากเหยื่อไปด้วย และ ก็มักจะได้ทั้งทูน่าและฉลาม
   
   
ภาพทั้งหมดนำเสนอโดยหนังสือพิมพ์ "ซเวินเหวียด" (Dân Việt) :

 

เรือลากอวนในทะเลรอบๆ เกาะสแปร็ตลีย์ลากอวนไปด้วย ลากเบ็ดเหยื่อล่าปลาตัวใหญ่ไปด้วย โดยหมายตาทูน่าเป็นหลัก แต่ก็มักจะได้ฉลามติดขึ้นมาด้วยบ่อยๆ ปัจจุบันไม่มีใครทิ้งลงทะเลอีกแล้ว เพราะ "หู" ของฉลามมีค่า และตลาดต้องการมาก. -- ภาพ: Dân Việt.

 

ฉลามติดเบ็ด .. กลายเป็นผลพลอยได้ของชาวประมง "หู" ของมันขายได้ราคาดีกว่าปลาทูน่าที่ออกลากอวนด้วยซ้ำ.

 

และนักล่าแห่งท้องทะเลกลายเป็นผู้ถูกล่า โดนตะขอเกี่ยวขึ้นเรือในที่สุด.

 

 

สู้จนนาทีสุดท้าย แต่โอกาสที่จะหลุดจากตะขอแทบจะไม่มี เพราะ "หู" ของมันขายได้ราคาดี

 

นักล่าก็ได้เห็นทะเลสีครามเป็นครั้งสุดท้าย แม้ว่าเวลาต่อมามันจะถูกโยนกลับลงทะเลอีกครั้ง.. แต่ในสภาพที่ไร้ชีวิต.

 

แต่น่าเสียดายฉลามส่วนใหญ่ที่ติดเบ็ดขึ้นมา มักจะเป็นปลาขนาดเล็ก ที่ไล่งับปลาที่กินเบ็ดของชาวประมงอีกที.

 


นี่คือสาเหตุที่ชาวประมงอวนลากจงเกลียดจงชังฉลามยิ่งนัก มันทำให้ปลาขายไม่ได้ราคา มันจึงต้องชดเชยด้วย "หู".

ตัวแล้วตัวเล่าที่ถูกนำขึ้นจากทะเลเป็นผลพลอยได้ ไม่มีใครทราบว่าในแต่ละวัน มีฉลามเคราะห์ร้ายโดนฆ่าไปกี่สิบหรือกี่ร้อยตัว.


กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...