ยุทธการถล่มภูผาที

 


 ภูผา ที เป็นชื่อของแนวเขาสูงตระหง่าน แบ่งเขตระหว่างเมืองซอน และมืองซำเหนือของลาวอยู่ห่างออกไปประมาณ ๒๕ ไมล์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซำเหนือ

 
ด้วยภูมิประเทศของภูผาที ซึ่งเป็นแนวเขาสูงชัน ทอดจากทิศเหนือไปทิศใต้
ด้านตะวันตกของภู เป็นหน้าผาสูงชันเกือบตั้งฉากจากพื้น ส่วนด้านตะวันออกลาดลงเล็กน้อย


 ความสูงที่จุดสูงสุดของยอดภู อยู่ที่ ๑๗๘๖ เมตร หรือเกือบหกพันฟิตเหนือระดับน้ำทะเลภูผาที จึงเปรียบเสมือนชัยภูมิอันได้เปรียบ มีทั้งความสูง และปราการธรรมชาติ ช่วยป้องกัน

 
 ในระหว่างสงครามเวียดนาม ฮานอยตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินอเมริกัน(ยุทธการ Rolling Thunder รายละเอียดอยู่ในกระทู้ NAM : 10,000 day-war)ด้วยความสำคัญที่เป็นยอดเขาสูงที่สุด และอยู่ใกล้เป้าหมาย(ฮานอย) มากที่สุด(เพียง ๑๕๐ ไมล์จากฮานอย)

 

ที่ตำแหน่ง 202642N 1034305E หรือพิกัด UH65496355 ในแผนที่เสกล ๑: ๕๐๐๐๐ (L-7017)ชื่อรหัสของมันคือ ลิม่าไซท์ ๘๕ (LS-85) ซึ่งทหารอเมริกันมักเรียกมันว่า The Rockแต่ทหารผ่านศึกเรียกมันว่า The Tragic Mountain ! 


 
 ภูผาที จึงเป็นที่ตั้งของเครื่องช่วยเดินอากาศ TACAN(Tactical Air Navigation) บนยอดภูผาที

 

แผน การตั้งสถานีเครื่องช่วยฯ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้รหัส " Pony Express "คือการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์หนักกว่า ๑๕๐ ตัน จากอุดร ไปยังล่องแจ้ง แล้วใช้ ฮ. หิ้วขึ้นไปติดตั้งบนภูผาที 


 ภายใต้การสนับสนุนของทหารม้ง และทหารลาวฝ่ายขวา
ซึ่งคุ้มกันโดยตำรวจ PARU (Police Air Reinforce Unit) จากประเทศไทย 


 
 อุปกรณ์ชุดแรกคือ TACAN/TRN 17 ถูกติดตั้งในช่วงครึ่งหลังของปี ๒๕๐๙(1966)ภาพขณะทำการติดตั้ง บนภูผาที



 

 
สองภาพนี้คือ TSQ 81 ระหว่างใช้งานที่นครพนม 
 
 TRN 17 ใช้งานได้เพียงปีเดียว สงครามเวียดนามเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นจำนวนเที่ยวบิน และความจำเป็นในการทิ้งระเบิดกลางคืนมากขึ้นTRN 17 ถูกเปลี่ยนเป็นรุ่นที่ทันสมัยกว่า คือ TACAN/TSQ 81 ในปี ๒๕๑๐(1967)
TSQ 81 ตัวนี้ไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นเครื่องที่เคยติดตั้งใช้งานแล้วที่นครพนม(NKP AFB)ถูกถอดและลำเลียงขึ้นไปติดตั้งบนภูผาที

 

หลัง จากที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์บนภูผาทีเสร็จแล้ว สัญญานเรดาร์จากภูผาทีก็ทำหน้าที่ของมันอย่างซื่อสัตย์ ในการนำทิศเครื่องบินโจมตี และทิ้งระเบิดเข้าสู่เป้าหมาย ทั้งฮานอยและไฮฟอง อันเป็นเมืองสำคัญของเวียดนามเหนือ

อาจกล่าวได้ว่า ไม่มีนักบินรบอเมริกัน ไม่รู้จัก " คลาร่า " และ " คอมมานโด คลับ "อันเป็นนามเรียกขานของสถานี TRN - 17 และ TSQ - 81 ตามลำดับ ที่ภูผาที
 การ ส่งกำลังบำรุงไปยังภูผาที ใช้ทางอากาศเป็นหลัก เสบียงอาหาร อาวุธ-กระสุนและน้ำมันเชื้อเพลิง ถูกลำเลียงไปยังภูผาทีหลายเที่ยวบินต่อหนึ่งสัปดาห์
เอาแค่เรื่องน้ำมัน อย่างเดียว สถานีเครื่องช่วยฯ ที่ภูผาที ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สัปดาห์ละ ๓ ตันหรือเกือบ ๔,๐๐๐ ลิตร(ลองนึกถึงถัง ๒๐๐ ลิตร แบบที่เขาใช้เผาทนายสมชายนะครับสัปดาห์ละ ๒๐ ถังนี่ต้องใช้กี่เที่ยวบิน ?) เพื่อเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้กับเครื่องช่วยเดินอากาศ ทั้งกลางวัน-กลางคืน 


 
 สภาพสนามบินที่ภูผาทีนั้น น่าจะเรียกว่าเป็น Air Strip มากว่าสนามบิน
เพราะ มันยาวไม่ถึง ๗๐๐ ฟุต หรือประมาณ ๒๐๐ เมตรเท่านั้นเอง แถมอยู่ที่พื้นราบตีนภูส่วนที่เชิงภู มี " Helipad " เล็กๆ เอียงลาดไปตามภูมิประเทศ ตามภาพ  ดังนั้นเครื่องที่จะขึ้นลงเพื่อส่งกำลังบำรุงไปยังภูผาที ต้องเป็นเครื่องขนาดเล็ก หรือเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น 


 ใน เมื่อภูผาที เป็นภัยคุกคามต่อเวียดนามเหนือโดยตรง มีหรือที่ฝ่ายอเมริกาจะไม่มีการระวังป้องกันหน่วยทหารม้ง ภายใต้การนำของ ร.อ.เกียตู้ และหน่วยทหารอาสาสมัครไทย ภายใต้การนำของ " โยธิน "หรือ ร.อ. จำลอง ศรีเมือง ถูกกำหนดให้เป็นส่วนระวังป้องกันภูผาที กำลังของม้งนั้นวางตัวอยู่เกือบบนพื้นราบส่วนกำลังของโยธินนั้น ตั้งฐานอยู่บนไหล่เขา ใกล้กับสนามบิน ซึ่ง Christopher Robbinsนักข่าวและนักเขียนสารคดีอเมริกัน ผู้ค้นคว้าเรื่องสงครามในลาวละเอียดยิบ กล่าวถึงฐานของทหารไทยว่า

" They were dug in well enough to withstand the heaviest artillery barrageand could easily hold out until daybreak. "

 สังเกตภาพจะมองเห็นสถานีอยู่ด้านขวา และ Helipad อยู่ด้านซ้ายมือเยื้องไป
ฐานของโยธิน อยู่ใกล้กับ Helipad นั้น (ด้านขวาไกล) ซึ่งห่างจากตัวสถานีพอสมควร

 

ผม ไม่มีภาพฐานของทหารไทย มีแต่ภาพฐานของม้งที่เชิงภู ดูสภาพนะครับ มันก็น่าจะแตกอยู่หรอกภาพนี้เป็นภาพในเอกสารของฝ่ายเวียดนามเหนือ ถ่ายหลังจากที่พิชิตภูผาทีได้แล้วแต่ ผมมีข้อสังเกตอันหนึ่งจากภาพนี้ สภาพฐานของม้งแทบจะไม่เสียหายหลังการเข้าตีของทหารแกวหรือว่านี่คือสาเหตุ ที่ ร.อ. เกียตู้ โดน " กระสุนปริศนา " ตายบนเครื่องบิน รายละเอียดค่อยติดตามต่อไปนะครับ 

 
 ฝ่ายเวียดนามเหนือ รู้ดีว่าภูผาที คือภัยคุกคามตัวร้ายแผนพิฆาตภูผาที จึงได้เริ่มขึ้น ครั้งแรกในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๑๑ ฝ่ายเวียดนามเหนือ ส่งเครื่องบิน Antonov AN-2 " Colt " ๓ เครื่อง เข้าโจมตีคอมมานโด คลับ
(Antonov AN-2 เป็น บ. ลำเลียง-ธุรการ สร้างโดยรัสเซีย ตั้งแต่ปี 1947
ลำตัวเป็นโครงอลูมิเนียมบุผ้า บินเร็วสุดไม่ถึง ๑๖๐ ไมล์ต่อชั่วโมง)

 


 เครื่องบินโฉบเข้าหาสถานี พลประจำเครื่องใช้ปืนกลมือยิงกราดออกมาจากหน้าต่างเครื่องบินแล้วทิ้งระเบิดโดยใช้ลูกปืน ค. ทิ้งลงมาดื้อๆ ยังงั้น  ผิดเป้าหมดเลยผลการโจมตีไม่ได้สร้างความเสียหายแก่ตัวสถานีแม้แต่น้อยแต่ คงจะเป็นเคราะห์หามยามซวยของ บ.เวียดนามทั้ง ๓ ลำ เพราะบังเอิญมี ฮ. ของแอร์อเมริกาบินไปส่งสัมภาระที่ถูผาทีเสร็จพอดี นักบิน ฮ. อเมริกัน จึงดึงเครื่องขึ้นไล่กวด บ. เวียดนามเหนือ
และด้วยความเร็วที่เหนือกว่า พลประจำ ฮ. ใช้ปืนกลมือ(บ้างว่า M-16 บ้างว่าเป็นปืน UZI)
ไล่ยิง บ. โจมตีทั้งสามลำผลก็คือลำหนึ่งตกบริเวณภูผาที อีกลำชนภูเขา ลำสุดท้ายถูก Forced Landing ห่างออกไปเพียง ๑๘ ไมล์จากภูผาทีเรื่องนี้กลายเป็นตำนานของวงการบิน 
 ซึ่ง นับเป็นครั้งแรกในโลกที่ ฮ. ไล่ยิง บ. Fixed Wing ตก  แถม ฮ. นั้นยังเป็นเครื่องสลิค (SLIK : ฮ.ลำเลียง)ไม่ใช่เครื่อง Gunship ซึ่งติดปืน M-60 หรือมินิกัน
นักบินอเมริกัน  นำส่วนหางดิ่ง((Vertical Stabilizer) ของ บ. AN-2หมายเลข ๖๖๕  ไปแขวนไว้ในบาร์ของแอร์อเมริกา ที่ล่องแจ้ง เป็น War Prize

 

ภาพนี้เป็นภาพของ Landing Zone(LZ) ที่ LS-85 ครับ
 ประเด็นที่ว่ามีเฮลิคอปเตอร์จอดอยู่ที่ LZ หรือที่ Helipad ในวันที่ภูผาทีถูกโจมตีหรือไม่ ?ผมยืนยันว่าไม่มีครับ เพราะไม่พบข้อเท็จจริงที่ใดเลย และในทางปฏิบัติแล้วหน่วยที่อยู่ในแนวรบ จะขอการสนับสนุน จากเฮลิคอปเตอร์หรือเครื่องบิน ที่มาจากที่มั่นหลักหลังแนวซึ่งในสงครามลาว ก็มีที่ซำทอง(LS-20) ล่องแจ้ง(LS-20A) ซึ่งนับว่าอยู่หน้าสุดแล้วอย่างน้อยครูของผมสองท่าน เป็น นบ.ของแอร์อเมริกาในขณะนั้น ช่วยให้ข้อมูลในเรื่องนี้ได้อย่างดี
แล้ว ร.อ.จำลองฯ จะจี้ ฮ. ที่ไหนหนีทัพ ?? ลองติดตามกันต่อไปนะครับ 

 ส่วนประเด็นที่ว่ามีคนไทยเข้าร่วมกับฝ่ายเวียดนามเหนือ เข้าตีภูผาที
ผมค่อนข้างจะมั่นใจว่าไม่ใช่คนไทยจากประเทศไทย  แต่เป็น" ชนเผ่าไทย " ที่อยู่ในลาว

จากเอกสารของ พ.อ. Do Chi Ben เอง 
ในข้อ ๔ ย่อย (4.  Situation of the [Area] Population.) ของหัวข้อที่ ๑ (I.  GENERAL SITUATION)

เขาบันทึกไว้ว่า " Our force's base of operations was in the vicinity of Muong-cau and Huoi-muoi,
in Muong-son District, a Pathet Lao liberated zone about 40 kilometers northwest of Pha-thi.
The majority of the population were ethnic Thai and Lao. "

เพราะ ที่จริงแล้ว คนลาวเรียกกลุ่มคนไทยในลาวอยู่หลายพวก ไทยพวน ไทยดำ  โซ่ง ฯลฯซึ่งบางพวก อย่างไทยดำนั้น มีอยู่ถึงเดียน เบียน ฟู(เมืองแถง)ใส่ชุดดำ แต่ผิวขาวเขาว่าพูดไทยกันรู้เรื่องด้วย ผมยังอยากไปพิสูจน์

คงไม่ใช่ไทยดำปี๋ อย่างพวกเราที่อยู่ในประเทศไทยเวลานี้ครับ

ปลาย ปี ๒๕๑๐(1967)ฝ่ายอเมริกาตรวจพบความเคลื่อนไหวของเวียดนามเหนือ มุ่งหน้ามายังภูผาทีโดยนักบิน FAC(Forward Air Controller) Art Cornellius ตรวจการณ์พบการสร้างถนนจากซำเหนือ
มุ่ง หน้ามายังภูผาที ซึ่งตรงกับเอกสารของเวียดนามเหนือ ที่ระบุว่า กรมทหารราบที่ ๗๖๖ ของเวียดนามเหนือได้รับคำสั่งให้ปิดล้อมเพื่อยึดครองพื้นที่รอบๆภูผาที
ฝ่ายอเมริกัน จึงทำการทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่อง แม้กระนั้นฝ่ายเวียดนามก็ยังคงความคืบหน้าในการสร้างถนนด้วยความเร็วประมาณ วันละ ๑ กิโลเมตร(แต่ช้ากว่าญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟสายมรณะที่เมืองกาญจน์ฯ เพราะคนน้อยกว่า)
การระดมทิ้งระเบิดของอเมริกา ทำให้แผนการที่จะใช้กำลังทหารราบของเวียดนามเหนือ ต้องชะงักลง

เดือน ธันวาคม ๒๕๑๐ เวียดนามเปลี่ยนแผน มาเป็นการใช้หน่วยแซปเปอร์ เข้าตีจุดสำคัญ คือตัวสถานีพ.อ. Do Chi Ben ได้รับมอบหมายให้ดำเนินภารกิจนี้
ก่อนที่ผมจะพาไปสู่เหตุการณ์ในวันเข้าตี ผมขอพาไปดูสภาพที่ตั้ง บนภูผาทีก่อนนะครับ 
 

 ภาพต่อจากนี้ เป็นภาพที่ฝรั่งถ่ายมาเมื่อปี ๒๕๓๗(1994) ฝรั่งตั้งทีมไปค้นหาศพผู้เสียชีวิตผมยกภาพนี้มาเสนอ เพื่อให้เห็นภาพรวมของภูผาทีชัดเจนครับ
 
 ตามภาพเป็นแนวเขาฝั่งตะวันตก ทิศเหนืออยู่ด้านซ้าย ทิศใต้อยู่ด้านขวาของภาพ 


 
อันนี้ภาพแผนที่ของ " คอมมานโด คลับ " จากเอกสารทางฝ่ายเวียดนามเหนือ
มีการแสดงเส้นทางเข้าตี(ลูกศรสีแดง)ด้วย ฐานของ ร.อ. จำลองฯ อยู่ตรงสถานีอุตุนิยม


การ วางกำลังของไทย จากเอกสารของเวียดนาม ระบุว่าฝ่ายไทยมีการวางกำลังทั้งสิ้น ๓ หมวด กับ ๒ หมู่ปืน ค.ตรงกับบันทึกของ ร.อ. จำลองฯ ว่าไทยมีกำลังอยู่บนภูผาทีประมาณ ๑ กองร้อยเพิ่มเติมกำลัง(ประมาณ ๑๐๐-๑๑๐ นาย)

ดูภาพแผนที่นะครับ สองหมวดอยู่ที่ฐานคุ้มกัน(สถานีอุตุนิยม: Dai KT ในแผนที่)อีกหนึ่งหมวดอยู่ทางทิศใต้ ในแผนที่ระบุว่าเป็น Command Post (SCH)แต่ที่จริงไม่ใช่

กำลังของไทยมีอยู่แค่สองจุดนี้(อีกสองหมู่แยกอยู่ที่เชิงผา เป็นบังเกอร์ปืน ค.)
เอกสารเวียดนามระบุว่าเรามีการวางกำลังที่ Helipad ด้วย แต่ที่จริงไม่มี

เหตุการณ์เข้าตีภูผาที

ฝ่ายเวียดนามเหนือ กำหนดให้ใช้ทีมแซปเปอร์จำนวน ๒ ชุด รวม ๓๐ นาย

----------------------------------------------------------------

(กำลังของหน่วยแซปเปอร์ ที่ขึ้นไปบนภู ทั้งหมด ๔๐ นาย แต่เป็นชุดสนับสนุน ๙ นาย
ซึ่งไม่ได้เข้าทำการรบในช่วงแรกและ ผบ.หน่วยอีก ๑ นาย)
ซึ่งใกล้เคียงกับข้อมูลของ รอ.จำลองฯ ว่า " ผมขอเครื่องบินไปทิ้งร่มพลุส่องแสง
เห็นข้าศึกประมาณ ๕๐ คน กำลังเคลื่อนที่มาที่ บก. Z-16 ที่ผมอยู่ "

---------------------------------------------------------------

ทีมที่ ๑ นำโดย ร.ท. เตรือง มัค มีกำลัง ๑๘ นาย แบ่งเป็น ๕ ชุดย่อย(Cells)
มุ่งเข้าตีและทำลายสถานีเป็นหลัก

ทีมที่ ๒ นำโดย ร.ต. เหงียน เวียต วุง มีกำลัง ๑๒ นาย แบ่งเป็น ๔ ชุดย่อย
มุ่งเข้าตีกำลังของทหารไทยที่คุ้มกันสถานี้

ผมตั้งข้อสังเกตตรงนี้นะครับ ว่ากำลังของฝ่ายเวียดนามเหนือ ที่เข้าตีทหารไทย
มีกำลังแค่ ๑๒ นายเท่านั้นเอง แต่เป็นหน่วยแซปเปอร์ ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดของทหารเวียดนาม

แล้ว ร.อ.จำลองฯ มีกำลังอยู่ร้อยกว่านาย จะหนีไปทำไม ?
ผมยังไม่เห็นเหตุผลที่ทหารไทยซึ่งมีกำลังเกือบสิบเท่าของทหารเวียดนามพ่ายแพ้จนจะต้อง " จี้ ฮ. หนีทัพ " คนกล่าวเช่นนี้ คิดเองเออเองหรือเปล่า ??

" ส่วนกำลังทหารแม้วอีกหนึ่งกองร้อย มีพันตรีซัวย่า เป็น ผบ.หน่วย พันตรีซัวย่า จบจากโรงเรียนนายทหารแซงซี ฝรั่งเศส 
วางกำลังป้องกันด้านหน้าผาที่คาดว่าข้าศึกจะไม่เข้าตีทางด้านนี้ (หน้าผาด้านทิศตะวันตก : ตาทุ้ย)
ส่วนด้านล่างของภูผาที มี ร.อ.เกียตู้ เป็น ผบ.ร้อยควบคุมทำหน้าที่ลาดตระเวน มีรหัสเรียกว่า พิกแฟต Pigfat "

ส่วนเอกสารของเวียดนาม ระบุว่าเชิงภูด้านตะวันออก มีกองพัน BS.209(ทหารลาวขวา : ตาทุ้ย)
ซึ่งเคลื่อนที่มาจากเมืองนาคัง และกองร้อย CV.261/BV26 and CS.2065 (น่าจะเป็นของ ร.อ. เกียตู้) คอยระวังป้องกันอยู่

ด้านทิศตะวันตก มีการวางกำลังสองกองร้อย ที่บ้านถ้ำน้ำ(Tham-nam : มีในแผนที่),สนามบินห้วยหก( Huoi-hoc )
และบ้านห้วยเม็ด(Huoi-met) หรือในรัศมี ๒ กม.จากภูผาที (ซึ่งน่าจะเป็นกำลังของ พ.ต. ซัวย่า : ตาทุ้ย)

นอก จากกำลังส่วนนี้แล้ว  กำลังฝ่ายอเมริกาที่อยู่ใกล้ที่สุด คือที่ Nhot Phat ผาโม และผาฮังซึ่งอยู่ห่างภูผาทีไปทางใต้อีก ๑๓ กิโลเมตร ??เอกสารเวียดนามเหนือกล่าวว่า เดิมมีกำลังสองกองร้อย 
คือ AC.15A และ AC.14A แต่ภายหลังมีการเพิ่มเติมกำลัง เป็นสองกองพัน

เอกสารของเวียดนามเหนือ  ดูจะประเมินกำลังของฝ่ายอเมริกา สูงไปสักหน่อยแต่เอกสารของอเมริกา ประเมินตรงกับของ ร.อ. จำลอง ฯ

ผมสรุปว่าในพื้นที่ทั้งหมดของภูผาที ไม่ว่าบนภู เชิงภู หรือตีนภู
มีกำลังของฝ่ายอเมริกา  รวมทั้งหมดไม่เกินสองกองพัน

ส่วน ทางเวียดนามเหนือ  เตรียมการให้กรม ๗๖๖ เข้ารบในพื้นที่รอบภูผาทีซึ่งตรงนี้ผมอยากเสนอเป็นความเห็นส่วนตัว  ว่า เมื่อเปรียบเทียบกำลังกันแล้วผมยังไม่เชื่อว่าเวียดนามเหนือจะต้องการชัยชนะ เบ็ดเสร็จที่ภูผาทีเพราะถ้าจะเอาจริง  เวียดนามเหนือต้องทุ่มกำลังมากกว่า นั้น(กรมเดียวไม่พอ)อันเป็นยุทธวิธีปกติของเวียดนามเหนือ  เมื่อเปรียบเทียบ กับสมรภูมิอื่นๆ  แต่ถ้าเป็นเช่นนั้น  เวียดนามเหนือต้องการอะไร ?? 

ในวันนี้ผมจะขอรวบรวมบันทึกจาก ๓ แหล่งด้วยกัน เทียบกับเหตุการณ์ในวันที่เวียดกงเข้าตี
อันแรกคือบันทึกเหตุการณ์ของ ร.อ. จำลองฯ ใช้สีเขียว
อันที่สองจากบันทึกของฝ่ายอเมริกา โดย Christopher Robbins 
ซึ่งเขาได้รวบรวมจากบันทึกปากคำของอเมริกันที่รอดชีวิต ใช้สีน้ำตาล
อันที่สามคือบันทึกของฝ่ายเวียดนาม  โดย พ.อ. Do Chi Ben ผบ.หน่วยแซปเปอร์
อันเป็นเอกสารที่คุณ Koratian อ้างถึงในหน้า ๒ ใช้สีแดง
สีน้ำเงินคือความเห็นของผมเอง
เวลาอาจคลาดเคลื่อนกันบ้างตามผู้บันทึก

เหตุการณ์ในวันที่ ๑๐ มีนาคม

-เวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. ข้าศึกยิงปืนใหญ่นัดแรกไปตกบนภูผาที 
-Before the sappers initiated this battle, our artillery fired on the enemy base 
on top of the karst mountain
-At 1800 hours, sent one team up the mountain. 
-The attack began at 6.15 PM Sappers took the airstrip in the valley 
while artillery opened up  on southeast side of the Rock.

ปรากฏว่าเวลา ๑๙.๐๐ น. ทหารลาวหนีหมด(หลังจากถูกระดมยิงด้วยปืนใหญ่ ๒ ชั่วโมง : ตาทุ้ย)
2030 hours,  the entire unit climbed the cliff.
2130 hours,  moved to the top of the mountain, passed within only 30 meters of an enemy guard post

ผมขออนุญาตแทรกความเห็นตรงนี้  ว่าช่วงเวลาสองทุ่มครึ่ง ถึงสามทุ่มครึ่ง ทีมแซปเปอร์ปีนเขา
ผ่านหน่วยของ ร.อ. เกียตู้(เพิ่งเริ่มปีนได้ ๒ ชั่วโมง ยังไม่ถึงยอดเขา)
ร.อ.เกียตู้ จะรู้เรื่องหรือไม่ ? ไม่มีบันทึกไว้ครับ
 

ตอนที่หน่วยจู่โจมของข้าศึกขึ้นไปที่ภูผาทีผมขอเครื่องบินไปทิ้งร่มพลุส่องแสง
เห็นข้าศึกประมาณ ๕๐ คน กำลังเคลื่อนที่มาที่ บก. Z-16 ที่ผมอยู่

 

แสดง ว่าในห้วงเวลาประมาณก่อนตีหนึ่ง  ร.อ.จำลองฯ ทราบแล้วว่า ข้าศึกจะเข้าตีแน่นอนถ้า ร.อ. จำลองจะหนีทัพ  ต้องหา ฮ. แล้วจี้ในห้วงเวลาหลังจากนั้น
 

จะเห็นได้ว่าเริ่มมีการปะทะกันเมื่อเวลา 0345 จากระเบิดมือลูกแรกที่ลูกน้อง ร.อ. จำลองฯโยนใส่ทีมแซปเปอร์

 ผม ใช้ยุทธวิธียิงในที่มั่น ให้ทุกชุดยิง ค. เข้าหา บก. Z-16 ในระยะพอเหมาะไล่ข้าศึกให้กระจายออกไปเป็นวงรอบ อาศัยที่ซ้อมมาอย่างหนัก ตารางยิงกระสุนสมบูรณ์ข้าศึกตกใจ ไม่คิดว่าเราจะใช้วิธีนี้ตอบโต้

ก่อนตีสี่ครึ่ง  ใครยิง ปืน ค. (mortar) ใส่พวกแซปเปอร์ ??
แสดงว่าเวลานั้น  ทหารไทยเรายังรบติดพันอยู่บนภู 
 การสู้รบดำเนินไปจนกระทั่งสว่าง เป็นวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๑๑ เวลาประมาณ ๐๘.๐๐ น. เราสามารถกวาดข้าศึกบนภูผาทีออกไปได้หมด 

ตรง นี้เป็นประเด็นสำคัญนะครับ  จะเห็นได้ว่าหลังจากตีสี่ครึ่ง แซปเปอร์ยึด TACAN ได้ทั้งหมดแล้วอเมริกันที่รอดชีวิตก็หนีลงไปอยู่ในถ้ำข้างหน้าผาหมดแล้ว

แต่ มีการตีตอบโต้ พยายามที่จะเข้าล้อมจับเป็น หน.ชุดย่อยของพวกแซปเปอร์โดยกำลังสองหมวด(two enemy platoons)  ซึ่งแน่นอนว่าบนภูขณะนั้น มีเพียงกำลังของ ร.อ.จำลองฯ
ขวัญของทหารก็ยังดี  ดีขนาดที่เคลื่อนที่ออกจากที่ตั้ง  จะล้อมจับเป็นข้าศึก

ถ้า ร.อ.จำลอง หนีทัพไปแล้ว  ใครจะบัญชาการรบให้กับทหารสองหมวดนั้น ??และถ้า ร.อ. จำลองหนีทัพ  ทำไมทหารใต้บังคับบัญชา ยังรบอยู่จนถึงเช้า ??ผมว่าข้อมูลของฝ่ายเวียดนามเหนือเองข้างต้น  ช่วยยืนยันเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

ใน บันทึกของฝรั่ง บอกว่ามีอดีตทหารหน่วยกรีนแบเร่ต์ ซึ่งทำงานให้กับซีไอเอชื่อ Huey Marlow พยายามนำกำลังม้งประมาณ ๔-๕ นาย ปีนเขาขึ้นไปช่วยบนภูแต่เมื่อถึงยอดภู พบว่าข้าศึกยึดพื้นที่ไว้แล้ว เกิดการปะทะกันจนม้งที่ไปด้วยตายหมดMarlow หนีกลับลงมา แต่ได้ช่วยชีวิต FAC อเมริกันผู้หนึ่งออกมาจากหน้าผาและกลับลงมาด้วยกัน

Marlow ได้รับเหรียญ Intelligence Cross ซึ่งเป็นรางวัลชั้นสูงสุดของ CIA

ทีนี้มาดูกันต่อ  ว่าที่ภูผาที  มี ฮ. จอดอยู่ให้ ร.อ.จำลอง จี้หรือไม่ ?

มาว่ากันที่จุดจอด ฮ. ก่อน  บริเวณภูผาที  มีสถานที่  ที่สามารถจอด ฮ.ได้  อยู่ ๓ จุด
 
จุด แรก  คือที่สนามบิน ในหมู่บ้านม้งตีนภู  ฝ่ายเวียดนามเหนือยึดไปตั้งแต่ตอนค่ำของวันที่ ๑๐ดูภาพแผนที่ นะครับ  ในแผนที่ สนามบิน อยู่ด้านซ้าย หรือทิศตะวันตกของภูซึ่งหน่วยแซปเปอร์ปีนขึ้นภูด้านนั้น สนามบินถูกยึดไปตั้งแต่หัวค่ำ

 
จุด ที่สองคือ Landing Zone(LZ)  ดูภาพถ่าย  ลูกศรหมายเลข ๒ ในภาพกับภาพของ LZ ในหน้าแรก เป็นพื้นที่โล่ง อยู่ห่างฐานพอสมควร คงไม่มีใครมาจอด ฮ. ทิ้งไว้ล่อเป้า

จุดที่สาม  คือ Helipad ในสถานี  ไม่มี ฮ.จอดอยู่เหมือนกัน  ดูจากบันทึกของ พ.อ. Do Chi Ben

"  Cell 4 also quickly attacked the enemy buildings east of the helicopter landing pad; "

มีแต่บันทึกว่าโจมตีอาคาร  ไม่เห็นมีโจมตี ฮ.  และถ้ามี ฮ. จอดอยู่จริง คงถูกยิงไปตั้งแต่ 0345  เมื่อแซปเปอร์เริ่มทำการโจมตีแล้ว
ถ้า ดูบันทึกของ ร.อ.จำลองฯ มีการติดต่อเครื่องบิน ก่อนเที่ยงคืน  เพื่อมาทิ้งแฟลร์และมีการติดต่อตอนเช้า  เพื่อให้เครื่องบิน มาทิ้งระเบิด และยิงกราดเวียดกงที่เกาะอยู่ตามหน้าผา


รายละเอียดข้อมูลมันแสดงไม่หมด ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร  ถ้าสนใจจะอ่านต่อลองตามไปอานที่ลิ๊งค์ด้านล่างก็แล้วกันครับ

http://aryaforum.freeforums.org/topic-t401-45.html

4 ก.ย. 54 เวลา 19:20 17,598 9 140
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...