Black Museum พิพิธภัณฑ์อาชญากรรม จริงหรือ ?

 


แม้ว่าการเปิดให้คนทั่วไปได้เข้าชมหลักฐานเหล่า นั้นดูจะเป็นเรื่องที่น่า สยองขวัญไม่น้อย แต่ล่าสุด บอริส จอห์นสัน นายกเทศมนตรีลอนดอนออกมาประกาศสนับสนุน ให้นำสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว มาจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชม เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการเปิดให้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินของลอนดอน โดยต้องการให้นำหลักฐานในอาชญากรรมเหล่านั้น ไปจัดแสดงร่วมกับอุปกรณ์ของหน่วยดับเพลิงของลอนดอนที่พิพิธภัณฑ์ใหม่ที่ชื่อ Blue Light Museum


ไบรอัน โคลแมน ประธานหน่วยดับเพลิงและช่วยเหลือฉุกเฉินแห่งลอนดอนซึ่งเป็นผู้ช่วยของจอห์น สันในการทำโครงการนี้กล่าวว่า พวกตำรวจค่อนข้างหวงแหนสิ่งของและข้อมูลในพิพิธภัณฑ์ และถ้าพูดกันตามตรงเขาคิดว่าสิ่งของบางอย่างมันน่าสยดสยองเกินไปสำหรับคน ทั่วไป แต่เขาก็คิดว่าถ้ามีการเปิดพิพิธภัณฑ์จริงๆ นักท่องเที่ยวคงเข้าคิวดูยาวเหยียดแน่

 



พิพิธภัณฑ์นี้มีชื่อเป็นทางการว่าพิพิธภัณฑ์ อาชญากรรม (หลังจากที่มีการประท้วงว่าชื่อ “Black Museum” เป็นการเหยียดผิว) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บสะสมสิ่งของที่น่าสะพรึงกลัวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก หลักฐานและวัตถุพยานในคดีสะเทือนขวัญอย่าง แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ ฆาตกรโหดสะท้านโลกที่เป็นต้นแบบของฆาตกรต่อเนื่อง และดอกเตอร์ คริพเพน ต้นแบบหมอที่ฆ่าหั่นศพภรรยาแล้วนำศพไปแช่ในอ่างน้ำกรดก็ถูกเก็บไว้ที่นี่



ย้อน ไปเมื่อปี พ.ศ.2412 หลังจากที่รัฐสภาอังกฤษผ่านกฎหมายอนุญาตให้ตำรวจเก็บรักษาพยานหลักฐานของ อาชญากรเพื่อใช้ในการศึกษา สารวัตร นีม เป็นคนแรกที่เก็บของเหล่านั้นไว้เป็นคอลเลคชั่นเพื่อใช้สอนและอบรมตำรวจ โดยต้องการให้ตำรวจรู้วิธีสืบสวนสอบสวนและป้องกันไม่ให้อาชญากรรมเกิดขึ้น นีมเป็นคนก่อตั้งพิพิธภัณฑ์นี้ซึ่งเปิดเป็นทางการในปี 2417 พิพิธภัณฑ์นี้ถูกเรียกว่า Black Museum หลังจากที่มีนักข่าวคนหนึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปดูคอลเลคชั่นนั้น

 



หลักฐานการก่ออาชญากรรมที่เก่าแก่ที่สุดของ พิพิธภัณฑ์นี้คือ กุญแจมือที่ใช้ควบคุมตัวนักโทษกบฏคนหนึ่งในปี 2384 นอกจากนั้นก็มีอาวุธพิสดารต่างๆ เช่น ไม้เท้าที่แปลงร่างเป็นดาบ ร่มอาบยาพิษที่ใช้สังหาร จอร์กี้ มาร์คอฟ นักเขียนและนักต่อต้านชาวบัลแกเรียที่สะพานวอเตอร์ลูในปี 2521 กระเป๋าเอกสารที่ออกแบบให้เป็นเครื่องยิงลูกดอกอาบยาพิษ กล้องส่องทางไกลที่ดัดแปลงเป็นอาวุธ โดยทันทีที่ผู้ใช้ปรับโฟกัสของเลนส์ ตะปูก็จะพุ่งออกมาใส่ดวงตาของผู้ใช้ทันที รวมถึงอุปกรณ์ในห้องน้ำที่ใช้ในการซ่อนศพในคดีฆาตกรรมต่อเนื่องด้วย



ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 ของสำนักงานสกอตแลนด์ ยาร์ด ภายใต้การดูแลของอลัน แมคคอร์มิค ตำรวจที่เกษียณอายุไปแล้ว ของทั้งหมดถูกเก็บไว้ในห้องมืดที่มีเพียงแสงไฟสลัวๆ เพื่อป้องกันหลักฐานถูกทำลายจากแสง ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์นี้ถูกใช้เป็นห้องบรรยายให้ตำรวจและพวกนิติเวช นอกจากนี้พวกนักการเมืองและทูตก็เข้าไปเยี่ยมชมบ่อยๆ

 


แอนดี้ เฮย์แมน อดีตผู้ช่วยตำรวจนครลอนดอนสนับสนุนความคิดของจอห์นสันที่จะเปิดให้คนทั่วไป ได้ดูของสะสมในการก่ออาชญากรรม โดยขนานนามพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ที่จะตั้งขึ้นว่า “มาดาม ทุสโซ่ แห่งสกอตแลนด์ ยาร์ด”


“ผมค่อนข้างกลัวตอนที่เข้าไปในพิพิธภัณฑ์นี้ครั้งแรก ผมกลัวจะถูกสงสัยว่าเป็นพวกถ้ำมอง และจะเป็นการไม่เคารพเหยื่อและครอบครัว แต่เพียงชั่วครู่เดียว ความกังวลก็ถูกแทนที่โดยสิ่งที่น่าดึงดูดใจ” เฮย์แมนกล่าว


เขาบอกว่าพิพิธภัณฑ์นี้เป็นแหล่งสะสมสิ่งของที่มี คุณค่าสำคัญทางประวัติ ศาสตร์ มันเป็นเรื่องที่น่าละอายมากถ้าคนทั่วไปจะไม่มีโอกาสได้เห็นของเหล่านั้น


อย่าง ไรก็ตาม นักการเมืองของอังกฤษหลายคนเตือนให้จอห์นสันคิดให้ดี ด้าน มาร์ติน ไฟโด้ นักเขียนด้านอาชญากรรมกล่าวว่า พิพิธภัณฑ์อาชญากรรมถูกใช้เป็นสถานที่อบรมตำรวจมายาวนาน มันจะเป็นการรบกวนคนดูแลพิพิธภัณฑ์ถ้าเปิดให้สาธารณชนได้เข้าชม


เขายังตั้งคำถามเกี่ยวกับรสนิยม ของสิ่งของที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ด้วย ว่าหลักฐานบางชิ้นอาจเป็นตัวกระตุ้น ให้คนมีจิตไม่ปกติก็ได้


ขอบคุณข้อมูลจาก

www.bangkokbiznews.com
http://www.ilovetogo.com/Article/54/1970/Black-Museum-พิพิธภัณฑ์อาชญากรรม-จริงหรือ
25 ส.ค. 54 เวลา 09:51 2,497 4 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...