แลมบายาเก้ นครแห่ง 26 ปิระมิดในเปรู

 

 


พีรามิดมันมีทั่วโลกเลยก็ว่าได้ แต่ยังมีที่หนึ่งซึ่งไม่เหมือนที่ใดมาก่อน

หากพูดถึงพีรามิดทุกคนคงนึกถึงอียิปต์ วัฒนธรรมของพวกเขานั้นก็คือสร้างเป็นสุสานขนาดมหึมามียอดแหลม สร้างเพื่อเป็นที่ประทับของฟาโรห์ที่สิ้นพระชนม์ และพูดถึงพีรามิดของชาวแอสเทกแล้วล่ะก็พวกเขาสร้างเพื่อเป็นวิหาร เหมือนกับชาวมายาด้วยครับ ซึ่งบางแห่งก็ใช้เป็นสุสาน หรือใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมโดยเฉพาะ แต่ที่เหมือนกันทุกคนชาติของพีรามิดนั้น ล้วนเกิดจากความเชื่อ ศรัทธา แต่ที่นี่ พวกเขามีความเชื่อที่ต่างออกไป

มันอยู่ในเปรู เป็นสถานที่หนึ่งในหุบเขาที่ยังคงสภาพอยู่ อาจเป็นนครพีรามีดที่ใหญ่ที่สุดเลยก็ว่าได้ ที่ที่สมบูรณ์ที่สุดจะอยู่ที่ทุคุเม ซึ่งมีพีรามิดถึง 26 แห่งด้วยกันซึ่งในแถบอเมริกาใต้ที่นี่มีพีรามิดมากที่สุดครับ  แต่ที่ใกล้กันนี้ ก็มีนะ คือ ปัมปาแกรนเด้ (Pampagrande) แม้จะมีพีรามิดเพียงแห่งเดียวแต่มันใหญ่มากเลย ความสูงกว่า 50 เมตร และกว้าง200 เมตร  แล้วก็ บาทันแกรนเด้ ซึ่งมีพิรามิดมากกว่า 6 แห่งด้วยกัน

 

 


 

นี่ที่คือ ปัมปาแกรนเด้



แล้วพวกเขาเป็นชาวอะไรล่ะ

เรื่องราวหลักฐานยังไม่แน่ชัดครับ เนื่องจากพวกเขาไม่มีภาษาเขียน จึงไม่รู้ว่าพวกเขาเรียกตัวเองว่าอย่างไร ดังนั้นพวกเราจึงเรียกชนกลุ่มนี้ว่า แลมบาเยเค (Lambayeque)

และที่ที่ใหญ่ที่สุด เห็นทีจะเป็น ที่ทุคุเมครับ (tucume) มันถูกออกแบบมาไม่เหมือนกับที่อื่นใดในโลก บริเวณที่มีพีรามิดทั้ง 26 แห่งล้วนแตกต่างนั้น กลางหุบเขาในพื้นที่กว้างใหญ่ มีการค้นพบพีรามิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ครับ ความยาว 700 เมตร และสูงกว่า 20 เมตร บนยอดจะเป็นพีรามิดหัวตัด ที่มีขนาดกว้างเท่าสนามฟุตบอล 7สนามด้วยกัน แม้มันจะใหญ่เพียงใด แต่ไม่มีห้องอยู่หรือทางลับอยู่ภายในเหมือนที่อื่น ๆ ครับ และวิธีที่จะขึ้นไปนั้นจะเป็นทางลาดบางแห่งยาวถึง 120 เมตรเลยทีเดียว ก็เหมือนกับบันไดนี่แหละครับ

ทางลาดอันสลับซับซ้อนจากพื้นตรงไปยังยอดนั้น ผู้ที่ผ่านมาจะ แท่นบูชาไว้สักการะเพื่อให้ผู้ผ่านทางได้เห็นและได้เคารพ ก่อนที่จะถึงกษัตริย์ ที่น่าแปลกของเมืองนี้ก็คือ เมืองนี้มีกษัตริย์ถึง 26 พระองค์ ซึ่งอยู่ประจำพีรามิดทั้ง 26 แห่ง แต่จะมีกษัตริย์ที่มีอำนาจมากที่สุดประทับอยู่พีรามิดกลางเมือง มีนักบวชและข้าราชบริพานกันพร้อมเพรียงตลอดจนอาหาร ที่พวกเขาโปรดปรานก็คือ ลามะและปลา

แล้วเหตุใดกษัตริย์ทั้ง 26 พระองค์ จึงประทับกับพิรามิด 26 แห่งร่วมกันในเมืองเมืองเดียวครับ

ภูเขาในเปรู เปรียบเสมือนศูนย์กลางแห่งพลังอำนาจ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งเลยทีเดียว คนที่นี่ในยุคโบราณเชื่อว่า เทพเจ้าสื่อสารผ่านทางธรรมชาติ โดยพวกเขาเชื่อว่าพลังธรรมชาติ แห่งภูเขา ทำให้พวกเขาเชื่อว่า หากสร้างภูเขาจำลองขึ้นมา พวกเขาก็จะได้พลังธรรมชาติจากเทพแห่งขุนเขายังไงล่ะ

 

 


 

นี่คือเสือจากัวทองคำฝีมือชาวแลมบาเยเคเขาล่ะ



ถึงแม้พวกเขาจะไม่มีภาษาแต่ก็ยังพาทราบจากหลักฐาน ที่ค้นพบซึ่งก็คืออิฐที่ใช้ในการสร้างพีรามิดนั้นมีมากมาย มันสร้างจากดินเหนียวที่ตากแดดจนแห้ง และทุกคนต่างทำงานกันอย่างเข้มแข็ง อิฐทุกก้อนมีเครื่องหมายบอกถึงแหล่งผลิต จากการชุมนุมของพวกเขาที่สร้างโรงงานอิฐนับร้อยแห่ง แต่ละแห่งจะมีเครื่องหมายเฉพาะตัวของแต่ละโรงงาน บ้างก็เหมือนกับรอยเท้า เส้นขดหรือก้นหอย, รูปตัวที โดยรวมแล้วมีความแตกต่างถึง 80 เครื่องหมายเลยทีเดียว

จากโครงสร้างเหล่านี้ แสดงว่าพวกเขามีการสร้างอย่างมีแบบแผน ในแต่ละปีต้องใช้แรงงานคนถึง 2,000 คนในการสร้างก้อนอิฐ ส่วนแรงงานอีกชุดหนึ่งสร้างพีรามิด และที่เหลือประมาณร้อยคนก็ทำหน้าที่เพาะปลูกอาหารไว้เลี้ยงคนงาน ดังนั้นกว่าจะสร้างพิรามิดเสร็จสักแห่ง จึงต้องใช้คนงานนับพันทำงานนานหลายปีเลยทีเดียว ถ้าดูจากทุคุเมมีพีรามิดถึง 26 แห่ง และอีกกว่า 200 แห่งทั่วทั้งหุบเขา การสร้างพิรามิดจึงเป็นเรื่องที่สิ้นเปลืองผู้คนอย่างมากเลยครับ

ความเชื่อนำมาซึ้งการสร้างพีรามิดอันมากมาย

เมื่อฟ้าร้อง ฟ้าแลบชาวแลมบาเยเคเชื่อว่านี่คือเสียงของเทพเจ้าที่กำลังพิโรธ เทพเจ้าที่สถิตอยู่ในหุบเขาของพวกเขา ที่เทพเจ้าเป็นที่ประทับของพระเจ้าผู้ทรงอำนาจได้สร้างน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาแอนดิส ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการสร้างพีรามิดเปรียบเสมือนการสร้างภูเขาจำลอง เพื่อเป็นตัวแทนพลังเหนือธรรมชาติครับ โดยพวกเขาเชื่อว่า หากสร้างภูเขาจำลองนี้มันจะรับพลังของพระเจ้าพลังแห่งการคุ้มครองนั่นเอง

จากหลักฐานที่ได้ทั้งปัมปาแกรนเด้ก็ดี บาทันแกรนเด้ก็ดี และทุคุเม ทั้งสามนี้ไม่ได้อยู่ในยุคเดียวกัน ทำให้สันนิษฐานว่าพวกเขาได้สร้างมันขึ้นมา แต่แล้วพวกเขากลับทิ้งพีรามิดเก่าไว้เพียงเบื้องหลัง และได้ย้ายไปสร้างพิรามิดแหล่งใหม่ต่อไป

ตั้งแต่ปัมปาแกรนเด้ถูกสร้างขึ้นเป็นเมืองแรก จากนั้นไม่กี่ร้อยปีต่อมาเมืองนี้ก็ถูกทิ้งไป หลังจากนั้นพวกเขาก็สร้างบาทันแกรนเด้ขึ้นทันที แต่แล้วจู่ ๆ ก็ทิ้งเมืองนี้ไปอีกเช่นเดียวกัน ในที่สุดด้วยความอุตสาหะ มหานครทุคุเมก็เกิดขึ้น และถูกทิ้งร้างเช่นเดียวกัน จนนำมาซึ่งจุดจบของอารยธรรม

ความเชื่อนำมาซึ่งสูญสิ้น....

เรื่องแปลกเกี่ยวกับการทิ้งเมืองเหล่านี้ก่อนที่แต่ละเมืองจะถูกทอดทิ้ง ยอดพีรามิดทุกแห่งได้ถูกจุดไฟเผา

 

 


 

chimu dragon



มีหลักฐานชัดเจนในเมืองทั้งสามแห่ง อย่างเช่นพีรามิดที่เมืองทุคุเม เป็นร่องรอยของการถูกไฟเผาผนังกินมีสีแดงเป็นไฟที่แรงมาก ๆ จนไฟนี่สามารถทำให้เนื้อหินละลายได้เลยครับ แล้วเปลวไฟมาจากไหนกัน มันไม่ได้เกิดจากกองทัพที่มารุกรานหรอกนะครับ แต่ผู้คนที่ที่เผาเมืองนี้เป็นพวกเขาเสียเอง ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง พีรามิดสิ่งล้ำค่าของพวกเขาที่ใช้เวลาหลายร้อยปีทีเดียวแต่แล้วพวกเขาทิ้งมันไปอย่างไร้เยื่อใย การทำลายสิ่งที่ร่วมกันสร้างอย่างยากลำบากดูเป็นเรื่องแปลก แต่ถ้าเรารู้ความเชื่อของคนในหุบเขา เราก็สามารถเข้าใจได้

เปรูเหนือนี้มีการใช้ไฟทำลายล้างสิ่งชั่วร้ายให้หมดไปจากพื้นที่ ไฟถือเป็นธาตุที่สำคัญมาก ซึ่งจะทำให้เกิดความบริสุทธิ์ สามารถกำจัดต่อสิ่งชั่วร้ายไปหมดสิ้นไปครับ ถ้าหากพวกเขาพบร่องรอยทั่วพื้นที่มีพลังเหนือธรรมชาติที่คนในหุบเขาต่างหวาดกลัว หากเจอสิ่งนี้เมื่อไหร่พวกเขาต้องทำสิ่งนี้ให้บริสุทธิ์โดยการเผาก่อนจะจากไป ด้วยเหตุนี้พื้นที่อันเลวร้ายแห่งนี้ประสบภัยธรรมชาติมากที่สุดในโลก เป็นภัยพิบัติที่ทุก ๆ คนเชื่อว่า กษัตริย์และพีรามิดจะปกป้องพวกเขาได้

แต่ไม่เลยที่บาทันแกรนเด้ที่นี่เคยถูกโจมตีจากคลื่นน้ำขนาดใหญ่ และพีรามิดของเผ่ามอชเช่ที่อยู่ใกล้เคียงก็ถูกคลื่นทรายซัดปกคลุมทั่วทั้งเมืองเลยทีเดียว ภัยพิบัติดังกล่าวนี้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรุนแรง ที่เรียกว่า เอลนินโย่ ซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ปรากฏการณ์นี้เหมือนพลังศักดิ์สิทธิ์ที่คนในหุบเขาหวาดกลัวทำให้ชาวแลมบาเยเคเข้าใจว่าภัยธรรมชาติเกิดจากเทพเจ้าพิโรธ เมื่อเทพเจ้าแสดงอิทธิฤทธิ์เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดฝนตกหนักท่วมท้องทุ่ง และเกิดโรคระบาด ทำให้ทุกคนเริ่มรู้ว่าพีรามิดและกษัตริย์ตนไม่อาจช่วยพวกเขาได้อีกต่อไป และก็ถึงเวลาแล้วว่าจะต้องทิ้งเมืองและไปสร้างเมืองใหม่

สิ่งนี้เปรียบเสมือนลางร้ายของพวกเขา ได้แผ่ไปทั่วหุบเขา การที่พีรามิดปกป้องจากภัยพิบัติไม่ได้แสดงว่าพีรามิดต้องคำสาป พวกเขาจำต้องเผาพีรามิดและจากไป และสร้างพีรามิดแห่งใหม่ขึ้นมาทดแทนใหม่อีกครั้ง และนี่คือสาเหตุของหุบเขาที่เต็มไปด้วยพีรามิดมากมายครับ

ยกเว้นที่ทุคุเมแหล่งพักพิงที่สุดท้ายของพวกเขานั้นนั้นแตกต่างออกไป ไม่มีหลักฐานว่าที่นี่เคยประสบภัยธรรมชาติที่รุนแรงมาก่อนครับ

 

 


มาเปิดเผยเหตุการณ์วาระสุดท้ายของทุคุเมกันครับ...

ที่นี่มันกว้างมาทีเดียวครับ มีทางเดินคดเคี้ยว มีผนังสองด้านสู่ตัวเมือง มีสิ่งก่อสร้าง มันออกแบบมาให้ผู้มาเยือนทุกคนต้องผ่านจุดนี้ของตัวเมือง สิ่งก่อสร้างนี้ ก็คือวิหาร เป็นที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของชาวทุคุเมครับ

 

 


 

แผนที่รอบ ๆ ทุคุเมครับ



ในยามเกิดภัยพิบัติ ประชาชนจะมาที่นี่เพื่อสวดอ้อนวอนให้เทพเจ้าหายพิโรธ พิธีบูชาเทพเจ้ากระทำขึ้นที่วิหารแห่งนี้ หินที่อยู่กลางวิหาร เป็นตัวแทนของภูเขาและเทพเจ้าผู้ทรงอำนาจ

ในโลกแห่งไสยศาสตร์ พิธีกรรมนี้แสดงให้เห็นความเชื่อของชาวทุคุเมเกี่ยวกับการควบคุมโลก ในช่วงสุดท้ายของอารยธรรม วิหารได้กลายเป็นสถานที่แห่งความโหดร้าย หลักฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ โครงกระดูกมีบางอย่างผิดปกติพบว่า ลำตัวปกติแต่ศีรษะกลับบิดผิดธรรมชาติ ศีรษะและกระดูกต้นของสองชิ้นถูกแยกออกมาจากกระดูกสันหลังเป็นที่ชัดเจนว่าคนเหล่านี้ไม่ได้เสียชีวิตโดยธรรมชาติ แต่เกิดจากการฆาตกรรม ในจำนวนศพ 119 ศพ ที่ค้นพบนอกวิหารก็ยังมีเด็กและสตรีด้วยครับ ทั้งหมดล้วนถูกตัดศีรษะ จากหลักฐานที่ระบุว่านี่คือการบูชายัน ทำให้ทุคุเมกลายเป็นดินที่บูชายันมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมาเลยทีเดียว

...จากเหตุการณ์เลวร้ายข้างต้นแล้วนำมาซึ่งการบูชายัน

การบูชายันมนุษย์จะบูชาเมื่อมีการจำเป็นจริง ๆ ในยามที่โลกอยู่ในภาวะวิกฤต โดยที่ไม่ทราบสาเหตุทางเดียวที่จะแก้ได้ก็คือ ทำให้เทพเจ้าหายพิโรธ มีบางสิ่งที่น่ากลัวเกิดขึ้นในวาระสุดท้ายของทุคุเม ทางเดียวที่สามารถรับมือได้ คือการถวายสิ่งล้ำค่าแด่เทพเจ้า นั่นคือ เลือดผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กอายุห้าขวบ และดูเหมือนการบูชายันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ครับจนถึงวันสุดท้าของทุคุเม ยังไม่พอนะครับ เมื่อในปี 1532 เมื่อนักสำรวจชาวสเปนมาถึงเปรู ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของหุบเขาแลมบาเยเคแห่งนี้ กลุ่มคนแปลกหน้าที่บุกรุกเข้ามา ขี่สัตว์สี่ขาหน้าตาประหลาดซึ่งดูเหมือนเทพเจ้า กลับมาเดินบนผืนโลก เมื่อนั้นชายทุคุเมในหุบเขาแลมบายาเคย์ ต่างตื่นตระหนกหวาดกลัวกันไปทั่วทั้งทุคุเมเลยทีเดียว

ในขณะนั้นชาวแลมบายาเคย์ตกอยู่ใต้การปกครองของชนเผ่าอินคา พวกเขาต่างเชื่อว่าชาวสเปนผู้บุกรุกที่น่ากลัว คือสัญลักษณ์แห่งความพิโรธของเทพเจ้า ดังนั้นพวกเขาต้องทำให้เทพเจ้าสงบ แต่แล้วชาวสเปนได้จับกุมหัวหน้าเผ่าอินคา สร้างความตื่นตกใจไปทั่วทุคุเม พวกเขาไม่มีทางเลือกจำต้องหาสิ่งล้ำค่ามาสังเวยเทพเจ้า นั่นก็คือมนุษย์ ในบันทึกของชาวสเปนเกี่ยวกับ การบูชายันเกิดขึ้นที่นอกวิหารในวาระสุดท้ายของชาวทุคุเม

หัวหน้านักบวชได้สนทนากับหินศักดิ์สิทธิ์หรือเทพแห่งขุนเขา นักบวชอีกรูปจะสนทนากับเทพฟ้าร้อง ส่วนอีกรูปจะสนทนากับเทพแห่งสายฟ้า ในการบูชายันจะต้องปฏิบัติตามประเพณีอย่างเคร่งครัด กษัตริย์แห่งแลมบายาเคย์ และผู้นำเผ่าอินคา จะมารวมตัวกันที่วิหารก่อนการบูชายัน

จากหลักฐาน มีการพบ เมล็ดอมอล่า อยู่ภายนอกวิหาร เมล็ดพืชนี้มีสารที่ทำให้ร่างกายชาเป็นอัมพาต แต่ยังรู้สึกตัวและรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ ทำให้เป็นที่แน่ชัดว่าคนที่ถูกนำตัวไปบูชายัน พวกเขานั้นไม่ได้ต่อสู้ดิ้นรนหรือขัดขืนเพราะพวกเขาต่างก็กิน เมล็ดอมอล่าเข้าไปในปริมาณมากนั่นเองครับ นับเป็นชะตากรรมที่น่ากลัวมาก เป็นการรับรู้ความตายที่ใกล้เข้ามา โดยมิอาจจะขัดขืนได้เลย

แต่การบูชายันไม่อาจหยุดยั้งชาวสเปนได้ ดูเหมือนเทพเจ้าจะต้องการเลือดมากกว่านี้ ดังนั้นพวกเขาจึงต้องหาเหยื่อมาสังเวยมากขึ้น พวกเขาต้องกำจัดสิ่งชั่วร้ายออกไป จนในที่สุดพวกเขาตัดสินใจเผาพีรามิดและพวกเขาจากไป หลังจากทุคุเมถูกทิ้งไป ก็ไม่มีการสร้างพีรามิดอีกเลย ประเพณีการสร้างพีรามิดก็ยังสืบหาร่องรอย ย้อนหลังไปเมื่อสามพันปีนั้นได้ สิ้นสุดลงแล้ว

ทุคุเมกลายเป็นเมืองร้าง และยังเป็นที่สงสัยว่าคนพวกนี้ได้ไปอยู่ที่ไหนหลังจากเกิดเหตุการณ์ในครั้งนั้น ชาวแลมบาเยเคอพยพออกจากเมืองไป โดยหวังว่าจะเริ่มต้นใหม่อีกครั้งด้วยการสร้างนครพีรามิดขึ้นใหม่อีกครั้ง แต่บัดนี้เปรูอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนหมดแล้ว ทำให้พีรามิดและเทวราชา จะไม่มีอีกต่อไป
 

7 ก.ค. 54 เวลา 13:48 5,020 1 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...