หมีกระป๋อง ณ เมืองลาว...ขบวนการโหด ผ่าตัดสด ๆ ตัวเป็น ๆ

หมีสีดำตัวใหญ่ส่ง เสียงขู่ พร้อมเขย่าซี่กรงที่ขังมันอยู่ภายใน เหมือนกับหมีอีกหลายตัวทั่วทวีปเอเชียที่ต้องอยู่ในกรงที่มีขนาดใหญ่กว่าตัว ไม่มากนัก และรอให้เจ้าของมาสกัดน้ำดี ที่ถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในตำรับแพทย์แผนโบราณของจีน
   
   
อาคาร ไร้กระจกหลังหนึ่ง ที่ส่งกลิ่นปัสสาวะไปทั่วบริเวณ ตั้งอยู่ในเมืองบ่อเต็น ของลาว ใกล้พรมแดนจีน กรงเหล็กประมาณ 15 กรง ตั้งเรียงติดกัน แต่ละกรงมีหมีอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่พอให้หมุนตัวได้ และต้องอยู่ในลักษณะยืนตลอดเวลา “ถ้ากรงใหญ่กว่านี้จะเป็นอันตรายกับคนดูแล” นายเส เจ้าของฟาร์มหมีควาย กล่าว ในบริเวณสนามของฟาร์ม มีลูกหมี 4 ตัว อายุเพียงไม่กี่สัปดาห์ ถูกขายให้กับพวกลักลอบค้าสัตว์ป่าในราคาตัวละ 750 ดอลลาร์ ซึ่งพวกมันจะได้รับการดูแลไม่ต่างจากหมีตัวอื่นๆ ที่อยู่ที่นี่ “ในแต่ละวัน พวกเขาจะสกัดเอาน้ำดีออกจากหมีด้วยเข็ม เราสับเปลี่ยนหมีทุกวัน” นายเส กล่าว และปฏิเสธที่จะให้ถ่ายภาพหมีในฟาร์ม
   
   
นักรณรงค์ สิทธิสัตว์ที่เรียกร้องให้ห้ามการสกัดดีหมี ระบุว่า ในฟาร์มแห่งอื่นๆ หมีควายพวกนี้ต้องใช้ชีวิตพร้อมกับหลอดสวน หรือรูที่หน้าท้อง ที่ทำไว้เพื่อให้คนเลี้ยงสกัดน้ำดีได้สะดวกขึ้น “การสกัดน้ำดีจากหมี มักใช้วิธีผ่าตัดสดๆ หรือผ่านทางหลอดสวนที่ฝังไว้กับตัวหมี ซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงต่อถุงน้ำดี และมักพัฒนากลายเป็นเนื้องอกในเวลาต่อมา” นายจู๊ด ออสบอร์น ที่จัดการศูนย์พักพิงให้กับหมี ของกองทุนฟรีเดอะแบร์สออสเตรเลีย ใกล้เมืองหลวงพระบาง กล่าว และว่า สภาพหมีในฟาร์มเหล่านี้เลวร้ายมาก ต้องทนทุกข์ทรมานกับความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจ

 


ภาพ ถ่ายขององค์กร TRAFFIC เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2553 ลูกหมีควายที่ถูกเลี้ยงอยู่ในกรงที่ฟาร์มหมีแห่งหนึ่งในกรุงฮานอย เวียดนาม รายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 พ.ค. ขององค์กร TRAFFIC ระบุว่า หมีควายอย่างน้อย 12,000 ตัวถูกเลี้ยงอยู่ในสภาพเช่นนี้ทั่วเอเชีย โดยใช้คำว่า ฟาร์ม เป็นฉากหน้าทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการเพาะพันธุ์หมีแต่อย่างใด.-- AFP PHOTO / HO / M. Silverberg / TRAFFIC.


นายหลุยส์ โง ผู้อำนวยการสมาคมศึกษาและวิจัยเรื่องสัตว์ (ACRES) สิงคโปร์ กล่าวว่า จากการกระทำดังกล่าวจะส่งผลให้อายุขัยของหมีเหล่านี้ลดลงเฉลี่ยเหลือเพียง 10 ปี จากที่ปกติหากหมีอาศัยอยู่ในป่าจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 25 ปี “หลังจากคนเลี้ยงฆ่าพวกมัน (หมี) พวกเขาจะนำถุงน้ำดีไปใช้ในตำรับยาแผนโบราณ และเอาอุ้งเท้าไปทำซุป พวกเขาเชื่อว่าถ้าคุณได้ทานจะทำให้คุณแข็งแรงเหมือนหมี” นายโง กล่าว
   
   
ตาม รายงานที่เผยแพร่ในวันนี้ (11 พ.ค.) โดย องค์กร TRAFFIC ที่เป็นเครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่า ระบุว่า หมีอย่างน้อย 12,000 ตัว มีชีวิตอยู่ในสภาพดังกล่าวทั่วเอเชีย ในสถานที่ที่ใช้คำว่า ฟาร์มเป็นชื่อบังหน้า เพราะส่วนใหญ่สถานที่พวกนี้ไม่ได้เพาะขยายพันธุ์สัตว์  สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ระบุว่า ประชากรหมีควาย หรือ หมีดำเอเชีย ในทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 25,000-100,000 ตัว และถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ และตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์และพืชป่าที่ ใกล้สูญพันธุ์ หรือ CITES กำหนดห้ามค้าหมี
   
   
องค์กร TRAFFIC ระบุว่า จีนเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำดีหมีรายใหญ่ที่สุด ด้วยปริมาณการผลิตระหว่าง 6-30 ตัน ต่อปี และว่าจีนส่งออกผลิตภัณฑ์จากหมีเป็นจำนวนมากซึ่่งเป็นเรื่องถูกกฎหมายใน ประเทศของตัวเอง

 


ภาพ ถ่ายของกองทุนฟรีเดอะแบร์ส เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2551 หมีควายกำลังเล่นน้ำอยู่ในบริเวณศูนย์ช่วยเหลือหมีที่ตั้งขึ้นโดยกองทุน ในจ.หลวงน้ำทา ทางภาคเหนือของลาว.-- AFP PHOTO / HO / FREE THE BEARS FUND.



ดี หมีที่ผลิตจากประเทศจีนตามร้านยาแผนโบราณทั่วทั้งเอเชีย จะอยู่ในหลายลักษณะ เช่น ของเหลว ผง และยาเม็ด และน้ำดีถูกใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยได้หลากหลาย ตั้งแต่ เจ็บคอ ไปจนถึงโรคลมชัก หรือเคล็ดขัดยอก  นางเคธลิน ฟอลีย์ จากองค์กร TRAFFIC กล่าวว่า การทำฟาร์มหมี ทำให้ความต้องการกลายเป็นเรื่องถาวร และน้ำดีถูกผลิตออกมาจนล้นตลาด ที่ในปัจจุบันพบว่าเป็นส่วนประกอบแม้แต่ในยาสีฟัน ลูกอม และยาสระผม
   
   
กลุ่ม คุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ในลาว ระบุว่า ในลาวมีหมีประมาณ 100-200 ตัว ถือว่ายังน้อยกว่าจีน เวียดนาม และเกาหลีใต้ อยู่มาก แต่บรรดานักเคลื่อนไหวกล่าวว่า ลาวอาจกลายเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้เพาะเลี้ยง หลังจากบางประเทศเริ่มได้รับแรงกดดันเกี่ยวกับการทำฟาร์มหมีมากขึ้น  “ผู้ทำฟาร์มหมีชาวเวียดนามจำนวนมากเริ่มย้ายมาที่ลาวและทำฟาร์มที่นี่ เพราะรัฐบาลเวียดนามกำลังควบคุมการทำฟาร์มหมี” นายโง กล่าว
   
   
นาง ฟอลีย์ กล่าวว่า ความกังวลขององค์กร คือ การกดดันให้ปิดกิจการทำฟาร์มหมีในจีนและเวียดนามที่เพิ่มสูงตอนนี้ อาจส่งผลให้เกิดตลาดใหม่ในลาวและพม่า เพราะกฎระเบียบที่ควบคุมยังมีน้อย 


นาย ออสบอร์น กล่าวว่า ฟาร์มหมีในลาวส่วนมากเป็นชาวเวียดนาม และจีนที่ดำเนินกิจการ “เราจำเป็นต้องเฝ้าระวังในทุกความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะตั้งฟาร์มผิดกฎหมายในลาว เราทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของลาวอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าสถานการณ์ดัง กล่าวจะไม่เกิดขึ้น” นายออสบอร์น กล่าว

 



ภาพถ่ายของกองทุนฟรีเดอะแบร์ส เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2552 หมีควาย 2 ตัว
เล่นอยู่ในเปลของศูนย์ช่วยเหลือหมีที่ตั้งขึ้นโดยกองทุน ในจ.หลวงน้ำทา
ทางภาคเหนือของลาว นักเคลื่อนไหวคุ้มครองสิทธิสัตว์ต่างกังวลว่า
ลาวจะกลายเป็นปลายทางทำฟาร์มหมีเพื่อสกัดน้ำดีแห่งใหม่ หลังเวียดนาม
ที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน กำลังควบคุมการทำฟาร์มหมีอย่างเข้มงวด.
-- AFP PHOTO / HO / FREE THE BEARS FUND.



ที่ สนามบินในกรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว แผ่นป้ายขนาดใหญ่แสดงภาพหมี และคำเตือนว่า การลักลอบค้าสัตว์ป่าจะถูกลงโทษตามกฎหมาย โดยมีตัวอักษรเขียนว่า “ทุกครั้งที่ซื้อ...ธรรมชาติจ่าย” อยู่บนแผ่นป้ายดังกล่าวด้วย  แต่ความต้องการยังมีสูงมาก ทำให้ร้านของเส ที่ตั้งอยู่ในเมืองบ่อเต็น ดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี ลูกค้ารายหนึ่งกำลังเดินออกจากร้านพร้อมขวดเล็กๆ ราคา 4 ดอลลาร์ กล่าวว่า เขาซื้อดีหมีให้ญาติเพื่อรักษาเข่า และสำหรับคนที่กำลังมองหาอะไรที่มากกว่าดีหมี ร้านของเสยังมีเขี้ยวหมี หนังช้าง และ ไวน์งู ให้ลูกค้าได้ซื้อหาอีกด้วย ทั้งหมดถูกจัดวางรวมอยู่ในร้านพร้อมกับเซ็กซ์ทอยและดีวีดีโป๊

 


ชาวลาวเดินผ่านหน้าร้านค้าริมถนนของชาวจีนที่ขายเซ็กส์ทอยและยาต่างๆ
ที่ รวมถึง ผลิตภัณฑ์จากหมีควาย ในเมืองบ่อเต็น จ.หลวงน้ำทา บริเวณพรมแดนลาว-จีน หมีควายหลายร้อยตัวถูกเลี้ยงในกรงขังในลาวและสถานที่อื่นๆ
ในเอเชีย เพื่อรองรับความต้องการดีหมีที่ใช้มากในตำรับยาแผนโบราณของจีน
.--AFP PHOTO / Hoang Dinh Nam.

 


กล่องบรรจุผงดีหมีวางโชว์อยู่ในตู้สินค้าภายในร้านค้าของชาวจีนในเมืองบ่อเต็น

.--AFP PHOTO / Hoang Dinh Nam.

 


ผู้โดยสารยืนรอรับกระเป๋าในบริเวณอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ
ที่สนามบินเวียงจันทน์ ถัดไปด้านหลังเป็นโปสเตอร์เตือนบรรดานักเดินทาง
เกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย โดยเฉพาะสินค้าจากหมี.

--AFP PHOTO / Hoang Dinh Nam.

 



“ทุกครั้งที่ล่า...ทุกครั้งที่ซื้อ...ธรรมชาติจ่าย”

 


พรานฆ่าสัตว์ป่่า...ด้วยวิธีโหดเ***้ยมตัดอวัยวะเพียงไม่กี่ส่วนเอาไปขาย

 



ร่วมด้วยช่วยกันนะคะ...ไม่ซื้อ ไม่ล่า เพื่อลูกหลานของเรา

อนาคตเราคงไม่อยากให้เขารู้จักสัตว์ป่า ผ่านทางรูปภาพเพียงอย่างเดียว...???

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...