เรื่องผัวๆ เมียๆ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๗ ผ่านกฎหมาย คดีความและฎีกา

 

การ ที่หญิงชายจะเป็นผัวเป็นเมีย ไม่ว่าจะมีจุดเริ่มต้นมาจากความรัก หรือในทางกลับกันการเป็นผัวเป็นเมียจะเป็นจุดเริ่มต้นของความรักที่ตามมาก็ ตาม แต่ที่แน่นอนการเป็นผัวเมียเป็นเรื่องธรรมดาของคนทั่วไปและยังมีลักษณะทาง ประวัติศาสตร์ เมื่อการเป็นผัวเมียถือเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของสังคมในแต่ละยุค กล่าวคือในแต่ละยุคการเป็นผัวเมียในแง่หนึ่งย่อมถูกกำหนดโดยกฎหมายและถูก ครอบงำจากค่านิยมในสังคม อันมีผลให้การเป็นผัวเมียแตกต่างกันไปตามแต่ละเงื่อนไขของสังคมแต่ละยุค สมัย 

 

บท ความนี้จึงพยายามทำความเข้าใจการเป็นผัวเมียในสมัยปฏิรูปนับตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๕-รัชกาลที่ ๗ อันเป็นช่วงเวลาที่สยามประเทศเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ตามแบบตะวันตกทั้งด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จากการที่อิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตกแพร่ขยายเข้ามา แต่ถ้าหากพิจารณาเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่าง ผัวเมียŽ อาจกล่าวได้ว่าประเด็นเรื่องผัวๆ เมียๆ กลับถูกสังคมแช่แข็งเอาไว้ โดยเป็นเรื่องที่ชนชั้นปกครองของสยามพยายามสงวนรักษาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่น้อยที่สุด ตัวอย่างที่ปรากฏชัดเจนคือ กฎหมายครอบครัวสมัยใหม่ ที่จะจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างผัวกับเมียที่แน่นอนตายตัว รวมถึงมีความทันสมัยแบบตะวันตก กลับยังไม่มีการประกาศใช้ในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นความเป็นผัวเมียในสมัยปฏิรูปจึงต้องพิจารณาจากกฎหมายดั้งเดิมใน กฎหมายลักษณะผัวเมีย

โดย ในบทความนี้จะเริ่มอธิบายจากประเด็นผัวเมียนั้นเป็นกันเมื่อใดจากการพิจารณา กฎหมายลักษณะผัวเมีย จากนั้นจึงกล่าวถึงหน้าที่ของผัวเมียต้องมีอะไรบ้าง มีเงื่อนไขใดเป็นเกณฑ์กำหนดการจะเป็นผัวเมียกัน ซึ่งในส่วนนี้จะแสดงเรื่องราวระหว่างผัวกับเมีย (หญิงกับชาย) ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงเวลาสมัยปฏิรูป ซึ่งปรากฏเป็นข้อพิพาทในเอกสารประเภทคดีความและฎีกา โดยเอกสารเหล่านี้จะสะท้อนค่านิยมรวมถึงการนำข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับ ความเป็นผัวเมียที่ใช้ในการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม อันจะทำให้สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างผัวกับเมียในสมัยปฏิรูปได้มาก ขึ้น


 

ผัวเมียเป็นกันเมื่อใด?

               

หญิง กับชายจะมีสถานภาพเป็นผัวเป็นเมียกันเมื่อใด กฎหมายลักษณะผัวเมีย (ผ.ม.) มิได้มีบทบัญญัติไว้โดยชัดเจนว่า หญิงชายจะต้องพฤติกันอย่างใดจึงจะถือว่าเป็นผัวเมียกันตามกฎหมาย หากแต่เมื่อนำบทบัญญัติต่างๆ มาพิเคราะห์ดูตามที่นายเซี้ยงเนติบัณฑิต ได้เรียบเรียงกฎหมายผัวเมียไว้ กล่าวได้ว่า หญิงชายไม่ได้เป็นผัวเมียกันเพราะเหตุว่าได้ร่วมประเวณีกัน โดยในบางบทบัญญัติหญิงกับชายยังมิได้ได้เสียกัน กฎหมายก็ถือว่าหญิงกับชายได้เป็นผัวเมียกัน ดังจะเห็นได้จาก (ผ.ม. ๑๑๙) ว่า ชายใดพึงใจลูกสาวหลานสาวท่าน ให้ผู้เถ้าผู้แก่ไปสู่ขอเปนคำนับแก่บิดามานดาหญิง บิดามานดาหญิงยกลูกสาวหลานสาวนั้นให้แก่ชายผู้สู่ขอ ทำการมงคลแล้ว ชายนั้นมีกิจราชการไป ยังมิได้มาอยู่ด้วยหญิง ถ้าชายกลับมาไซ้ ท่านให้ส่งตัวหญิงนั้นให้แก่ชาย

 

ขณะ ที่ในบางครั้งหญิงกับชายได้เสียกัน กฎหมายก็ไม่ถือว่าชายกับหญิงเป็นผัวเมียกัน โดยเฉพาะเมื่อผู้ปกครองของหญิงมิได้ยินยอม การกระทำดังกล่าวจะถือเป็นการลักพา ซึ่งฝ่ายชายมีความผิดฐานละเมิดอำนาจอิศระของผู้ปกครอง ดังจะเห็นได้จาก (ผ.ม. ๘๑, ๘๒, ๑๒๖, ๑๓๕) ที่มีเนื้อความว่า เมื่อหญิงใดยังอยู่ใต้อำนาจอิศระของพ่อแม่ (ผู้ปกครอง) การที่ชายมาลอบทำชู้ด้วย หรือลักพาเอาไปนั้นเปนการเลมิดอำนาจพ่อแม่ เขาอาจฟ้องร้องเรียกสินไหมได้ จากบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวจึงพอสรุปได้ว่า การที่ชายกับหญิงจะเป็นผัวเมียกันเกณฑ์สำคัญก็คือ เมื่อฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง (หรือผู้ปกครองหญิง) ตกลงยินยอมเป็นผัวเมียกัน และทั้งสองฝ่ายได้รับรอง หรือแสดงต่อธาระกำนันว่าเขาทั้งสองเป็นผัวเมียกัน

 

การ รับรองหรือแสดงต่อธารกำนัลว่าหญิงกับชายเป็นผัวเมียกันเกิดได้จาก การกล่าวด้วยวาจาและการแสดงกิริยาหลายประการ ประการหนึ่งคือ การมีพิธีแต่งงานŽ ตามที่กล่าวใน (ผ.ม. ๑๑๙) ซึ่งการแต่งงานนี้กฎหมายไม่ได้กำหนดเอาไว้ว่าต้องมีพิธีอย่างไร หากแต่ให้เพียงเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นการแต่งงาน อีกประการที่สำคัญคือ ′การเลี้ยงดูอยู่กินอย่างผัวเมีย′ ซึ่งในกฎหมายมีบทบัญญัติกล่าวถึงหลายบท อาทิ (ผ.ม. ๓๓) ′หญิงข้าก็ดี ไทก็ดี มาขออาไศรยอยู่ด้วยชายก็ดี ชายรับประกันไว้ก็ดี...ถ้าชายไปมาหาสู่มัน เกิดลูกด้วยมัน  มันนอกใจมีชู้ ให้ไหมชายชู้แลหญิงนั้นโดยฉันอณุภรรยา′ ซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าวนี้ ควรสังเกตว่า การที่หญิงกับชายจะเป็นผัวเมียข้อสำคัญคือ ′เกิดลูกด้วยมัน′ เพราะไม่ทำให้ผู้อื่นนึกว่าหญิงเป็นแต่ผู้อาศัย

 

และ ใน (ผ.ม. ๘๕) ′ฝูงไพร่ฟ้าข้าคนทังหลาย หาขันหมากมิใคร่กันอยู่ด้วยกันเปล่าๆ พ่อแม่แห่งหญิงรู้มิได้ร้องฟ้องว่ากล่าวแลมันปลูกเรือนบ้างต่างเรือนแฝงอยู่ กินด้วยกันโดยฉันผัวเมีย หาบุตรมิได้ก็ดี หญิงสิทธิเปนเมียชาย ถ้าแลผู้ใดมิได้ปลูกเรือนอยู่มิได้ทำเลี้ยงกันโดยฉันผัวฉันเมีย ท่านว่ามิได้เปนเมียสิทธิแก่ชายเลย′ ซึ่งสังเกตได้ว่า การที่พ่อแม่รู้แล้วไม่ฟ้องร้องว่ากล่าว กฎหมายถือว่าพ่อแม่ได้ยินยอม และการปลูกเรือนอยู่ด้วยกันก็ย่อมทำให้ผู้อื่นรับรู้ว่าชายกับหญิงเป็นผัว เมียกัน ขณะเดียวกันในกรณีที่ชายกับหญิงเลี้ยงดูอยู่กินกันเป็นเวลา ๒-๓ ปี ชายกับหญิงก็ถือเป็นผัวเมียกัน โดยคาดได้ว่าเวลาดังกล่าวน่าจะนานพอที่จะทำให้คนทั่วไปรับรู้ ดังใน (ผ.ม. ๑๐๒) ที่ว่า ′ชายขอลูกท่านถึงหลบฝาก (หลบฝาก แปลว่า ไม่ออกหน้า) ยังแต่จะทำงาน แลพ่อแม่หญิงให้ชายฝากบำเรอ แลทำกินอยู่ด้วยกันเปน ๒-๓ ปี แลพ่อแม่หญิงให้ช

ยอยู่ด้วยกันไซ้ ท่านว่าเปนเมียสิทธิแก่เจ้าผัวเสมือนเมียทำงาน.



 

ผัวเมียมีหน้าที่อะไรบ้าง?

             

จาก การที่การเป็นผัวเป็นเมียตามกฎหมายแต่เดิมไม่มีหลักฐานกำหนดไว้อย่างชัดเจน ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นก็คือ การต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง เมื่อฝ่ายหนึ่งอ้างสิทธิที่เกิดจากการเป็นผัวเป็นเมีย ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งกลับปฏิเสธความสัมพันธ์เพื่อยืนยันสิทธิของตนเองและ ปฏิเสธหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบในฐานะผัวหรือเมีย โดยเฉพาะในข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สิน ซึ่งในการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงต่างก็หยิบยกเอา ′หน้าที่ของการเป็นผัว′ กับ ′หน้าที่ของการเป็นเมีย′ มาต่อสู้กัน อันสามารถแสดงให้เข้าใจได้ว่าผัวเมียนั้นเป็นกันอย่างไร

               

หน้าที่ของการเป็นผัว

               

จาก การพิจารณาเอกสารประเภทคดีความและฎีกาในสมัยรัชกาลที่ ๕-รัชกาลที่ ๗ หน้าที่ของการเป็นผัว อาจสังเกตได้จากข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย และข้อพิพาทเมียกล่าวโทษผัวว่าไม่เลี้ยงดู ซึ่งข้อพิพาทเหล่านี้สามารถจะสะท้อนหน้าที่ของผัวคือ ′การเลี้ยงดูครอบครัว′

 

ใน ข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย ตัวอย่างเช่น คดีความที่เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ระหว่างเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี และคุณหญิงสุ่น พิพาทกันด้วยเรื่องที่ดินริมวังบูรพาภิรมย์ ด้านหน้าจดถนนพาหุรัด มีผลประโยชน์เป็นรายได้จากค่าเช่าตึกแถว ในคดีนี้นอกเหนือจากการต่อสู้ตามตัวบทกฎหมายแล้ว ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างหยิบยกเอาหน้าที่ของการเป็นผัวมาต่อสู้กันเพื่ออ้างกรรมสิทธิ์ใน ที่ดิน 

 

ทั้งนี้ ′คุณหญิงสุ่น′ มีคำให้การว่า  

   

"เจ้า พระยาภาณุวงษ์ได้ทะเลาะวิวาทกับสุ่นถึงแก่ความแตกร้าวละทิ้งเรือนไป ไม่ได้นำพาเหลียวแลจนทุกวันนี้ถึง ๕๐ ปีแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าเปนผู้ปกครองหาเลี้ยงบุตรตลอดจนทุกวันนี้ แลเหย้าเรือนที่ปลูกสร้างแลให้มีผู้เช่าเปนทุนทรัพย์ของสุ่นแต่คงเปนสินสมรศ แต่ครั้นเกิดเพลิงไหม้ถึง ๓ ครั้ง ข้าพระพุทธเจ้าก็ลงทุนทำก่อสร้างเป็น ๔ ครั้ง ทั้งครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทุนรอนของเจ้าพระยาภาณุวงษ์ แลข้าพระพุทธเจ้าได้เปนความด้วยเรื่องที่นี้จนชนะแลทั้งได้แบ่งขายที่นี้ โดยมิประกาศโฆษณาในนามของสุ่นผู้เดียว เจ้าพระยาภาณุวงษ์ก็หาได้ทักทวงว่าตามกฎหมายไม่ จึงถือว่าที่นี้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า"

 

จาก คำให้การของคุณหญิงสุ่นข้างต้น ความหมายก็คือ เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ ไม่ได้ทำหน้าที่ของผัวที่จะต้องดูแลเลี้ยงดูเมีย ซึ่งเป็นสิทธิที่เมียทุกคนจะต้องได้รับ เป็นเวลานานถึง ๕๐ ปี ดังนั้นสิทธิการเป็นผัวของเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ ที่มีเหนือเมีย (สุ่น) จึงสิ้นสุดลงไปด้วย ในแง่นี้เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ จึงไม่มีสิทธิในที่ดินรายนี้ในแง่ที่เป็นสินสมรส เพราะทั้งสองไม่ได้เป็นผัวเมียกันแล้ว โดยคุณหญิงสุ่นอ้างสิทธิปกครองจากการลงทุนทำประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว ตามลักษณะสิทธิในการครอบครองที่ดินทั่วไป ซึ่งในที่นี้คุณหญิงสุ่นน่าจะมองตนเองในฐานะคนทำมาหากินที่สามารถเลี้ยงชีพ ได้ด้วยตนเอง หรือมีอำนาจปกครองตนเอง ไม่ได้อยู่ใต้ปกครองของเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ ที่เป็นผัว ดังปรากฏจากคำให้การที่คุณหญิงสุ่นที่พยายามเน้นให้ศาลเชื่อว่าตัวเธอกับ เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ ได้ขาดจากการเป็นผัวเมียกันแล้ว 

 

ขณะที่ ′เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ′ มีคำให้การว่า

   

"ที่ รายนี้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษ์ได้ยกให้เกล้าฯ...ข้าพระพุทธเจ้า จึงให้สุ่น มารดาพระยาสุธรรมไมตรีผู้เปนภรรยาข้าพระพุทธเจ้าอยู่รักษาบ้าน เพราะตัวเขาสมัครจะอยู่รักษาบ้านนี้ด้วย สุ่นก็อยู่เก็บค่าเช่ารับพระราชทานต่อมา...ครั้นเพลิงไหม้บ้านครั้งนี้ สุ่นไปเที่ยวหาเงินมาทำตึกแถว โดยไม่ปรฤษาข้าพระพุทธเจ้าเลย แลพูดว่าที่รายนี้อยู่ในกรรมสิทธิ์ของสุ่นผู้เดียว...ข้อที่ต้องพิจารณาใน ชั้นนี้ก็มีอย่างเดียวคือ ทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่ได้มาในระหว่างเป็นผัวเมียกันแล้ว (แลที่รายนี้ที่ผัวให้) ผัวมีอิศระหรือไม่ แลถ้าเมียจะเอาไปถลุงเสียฝ่ายเดียวโดยไม่ปรกษาได้หรือไม่ ตามกฎหมายเข้าใจว่า  ผัวมีอิศระในทรัพย์สมบัติทั้งปวงที่เปนเดิมก็ดี เปนสมรสก็ดี เมียจะเอาไปทำอะไรต้องได้รับอนุญาตจากผัวก่อน...ในที่สุดข้อที่สุ่นกล่า วว่า  เกล้าฯ ลงเรือนมาไม่ได้เลี้ยงดูอย่างฉันสามีภรรยาถึง ๕๐ ปีแล้วนั้น แปลว่ากระไร ที่ดินก็ให้อยู่ ค่าเช่าก็ให้เก็บกิน เจ็บไข้ก็ได้รับไปรักษาพยาบาล (เมื่อครั้งเปนบ้า) และเมื่อหายแล้วมีทุกข์ศุกสิ่งใดก็ได้มาปฤกษาหาฤาช่วยเหลือตามกำลัง...มี อยู่อย่างเดียวก็คือ ความสังวาศ แต่ข้อนี้ก็เหลือนิไสเพราะอายุ ๗๐ เศษด้วยกันแล้ว อนึ่งแต่เหตุนี้เท่านั้น เกล้าฯ เข้าใจว่ากฎหมายไม่ถือเปนสิ่งที่ให้หญิงชายขาดจากการเปนภรรยากัน"

 

จาก คำให้การของ ′เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ′ ความหมายก็คือ เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ พยายามต่อสู้ว่า ตัวท่านได้ทำหน้าที่ของผัว โดยท่านได้เลี้ยงดูคุณหญิงสุ่นในฐานะเมีย ทั้งในยามปกติ ยามที่เจ็บป่วย ไม่เคยทอดทิ้งให้ต้องลำบาก ในแง่นี้ตามกฎหมายท่านกับคุณหญิงสุ่นจึงยังไม่ขาดจากการเป็นผัวเมีย ดังนั้นในฐานะผัว เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ จึงมีสิทธิในทรัพย์สินที่หามาได้ระหว่างสมรส (สินสมรส) ซึ่งแม้คุณหญิงสุ่นจะอ้างกรรมสิทธิ์ที่ดินจากการที่เป็นผู้ลงทุนทำกิจการโดย ที่เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ ไม่รู้เห็น ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงการที่เมียละเมิดอำนาจของผัวเท่านั้น

 

หน้าที่ของการเป็นเมีย

               

หน้าที่ ของการเป็นเมีย ตามที่ปรากฏในคดีความและฎีกาในสมัยรัชกาลที่ ๕-รัชกาลที่ ๗ โดยเฉพาะในข้อพิพาทเรื่องเมียกล่าวโทษว่าผัวไม่เลี้ยงดู ในข้อพิพาทนี้ฝ่ายชายมักจะกล่าวหาว่าฝ่ายหญิงไม่ได้ทำหน้าที่ของเมียที่ดี ดังนั้นพวกเขาจึงไม่เลี้ยงดูพวกเธอ ในทางตรงข้ามกันฝ่ายเมียก็มักจะกล่าวถึงตนเองว่าได้ทำหน้าที่เมียที่ดี เพื่อที่เรียกร้องสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูในฐานะเมีย โดยหน้าที่ของการเป็นเมียที่ประมวลได้จากคดีความและฎีกา ที่สำคัญคือ หน้าที่ของ ′การเป็นแม่บ้านแม่เรือน′ หน้าที่ต้อง ′เคารพเชื่อฟังผัว′ และหน้าที่ต้อง ′ช่วยเหลืออุปการะเกื้อกูลกัน′

 

หน้าที่ ของ ′การเป็นแม่บ้านแม่เรือน′ ตัวอย่างเช่น เรื่องราวที่เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ หม่อมแสงมณีกล่าวโทษหม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติว่า ประพฤติชั่วทอดทิ้งไม่เลี้ยงดูลูกเมีย จึงร้องขอให้หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติจ่ายค่าเลี้ยงดูและแบ่งทรัพย์สินให้ แก่ลูกๆ


 

ในหนังสือของ′หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ′ กล่าวว่า

 

"การ ทางบ้านซึ่งเปนน่าที่ของแม่เจ้าเรือนก็มิได้จัดการทำ การบริโภคก็อัตคัดทุกอย่าง เที่ยวหาซื้อตามหาบตามที่มีผู้มาขายก็เห็นว่าพอ ครั้นเมื่อมีเพื่อนฝูงซึ่งเปนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปมาหาข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าก็ต้องเลี้ยงดูรับรองท่านให้สมแก่เกียรติยศท่าน กลับใช้วาจาว่าเอาเนื้อหมาให้มันกินก็ได้ ถึงการบริโภคทุกวันนี้ข้าพระพุทธเจ้าก็ได้อาไศรยมารดาข้าพระพุทธเจ้าเท่า นั้น หม่อมแสงมณีทองแถมณกรุงเทพไม่พยายามหาความศุขให้ข้าพระพุทธเจ้าเลย เงินทองส่งไปเท่าใดก็ว่าหมดและไม่พอใช้ กลับเขี้ยวเข็ญด่าว่าต่อไปอีก"

 

จาก คำกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่เป็นเมียมีหน้าที่ดูแลปรนนิบัติผัวให้ได้รับความสุข โดยจัดการดูแลกิจการภายในบ้านให้เรียบร้อย เช่น จัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคให้เหมาะสมไม่ขาดเหลือ รู้จักต้อนรับแขก ตลอดจนมีหน้าที่ควบคุมรายรับรายจ่ายของครอบครัวให้เหมาะสม

 

หน้าที่ สำคัญอีกประการของเมียคือ หน้าที่ ′ต้องเคารพเชื่อฟังผัว′ ดังปรากฏจากคำกล่าวของฝ่ายผัวที่มักจะกล่าวหาว่าฝ่ายเมียแสดงกิริยาที่ไม่ เหมาะสมกับผัวจนเป็นสาเหตุทำให้เขาไม่เลี้ยงดูพวกเธอ เช่น ใช้คำหยาบต่อว่าผัว พูดจาไม่เชื่อ ซึ่งหน้าที่นี้ยังรวมไปถึงการเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ของผัวด้วย

 

ดังในหนังสือของ ′หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ′ ที่ต่อว่าฝ่ายหม่อมแสงมณีว่า

 

′(หม่อม แสงมณี) ใช้คำหยาบและด่าต่อหน้าประชุมชน...ด่าว่าข้าพระพุทธเจ้าเปนสัตว์ และลูกไม้ไม่หล่นไกลต้น ข้อนี้ข้าพระพุทธเจ้าถือว่าด่าบิดาข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าเปนกิริยาและวาจาที่ไม่สมควรที่สุภาพสัตรีจะพึงใช้ ใช่แต่เท่านั้น ยังใช้คำว่าหน้าด้านเลวกว่าฝุ่นตามถนนเสียอีก ชาติสัตว์ นอกจากนี้ยังด่าทอถึงพี่ป้าอาลุงของข้าพระพุทธเจ้า...ทำให้ข้าพระพุทธเจ้า รู้สึกว่าข้าพระพุทธเจ้าเกลียดอะไรในโลกนี้เท่ากับเกลียดหม่อมแสงมณีทองแถม ณกรุงเทพ เปนไม่มี′

 

โดย การที่เมียจะต้องเคารพผัว อาจเนื่องจากว่า ในกรณีครอบครัว สังคมมีค่านิยมให้ ผัวŽ (ผู้ชาย) เป็นหัวหน้าครอบครัว และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้หารายได้มาจุนเจือครอบครัว ส่วน เมียŽ (ผู้หญิง) เป็นฝ่ายต้องพึ่งพา ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเพียงเรื่องในบ้าน ดังนั้นผู้หญิงจึงต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของฝ่ายชาย

 

หน้าที่ สำคัญอีกประการของการเป็นเมียคือ ช่วยเหลืออุปการะเกื้อกูลกัน ซึ่งตัวอย่างของหน้าที่นี้สะท้อนได้จากกรณีฎีกาของอำแดงใหญ่ (เมีย) กล่าวโทษหลวงสถานพิทักษ์ (ผัว) ว่าไม่เลี้ยงดู ในฎีกาอำแดงใหญ่พยายามบอกว่า เธอเป็นผู้คอยช่วยเหลือหลวงสถานพิทักษ์เมื่อต้องคดี เมื่อหลวงสถานพิทักษ์ต้องคดี ข้าพระพุทธเจ้าได้ช่วยเปนธุระในการที่ทนายจะว่าความตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด ก็สู้ยอมเสียเงิน โดยคิดหวังการข้างหน้า เผื่อว่าหลวงสถานพิทักษ์หลุดพ้นโทษไปได้ จะได้เลี้ยงดูข้าพระพุทธเจ้าเปนแม่นมั่นนั้น ซึ่งในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่า เธอพยายามเน้นย้ำว่าเธอได้หน้าที่ของเมียที่จะต้อง ′ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน′ไม่ว่าจะในยามสุขหรือยามทุกข์ ดังนั้นการที่อำแดงใหญ่กล่าวว่า เธออยู่คอยช่วยเหลือหลวงสถานพิทักษ์ในยามต้องเ

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...