พ่อครับ..แม่ครับ...ช่วยพาผมไปฆ่าตัวตายด้วย...!!!

 
Assisted suicide is a crime of compassion


การให้ความร่วมมือเพื่อการฆ่าตัวตาย ถือเป็นความผิดทางอาญาที่กระทำการ เนื่องจากความสงสารและเห็นใจ 








เมื่อพ่อแม่คู่หนึ่งกำลังถูกพิพากษา

ความผิด ฐานที่ร่วมมือและให้

ความช่วยเหลือพาลูกชายไปฆ่าตัวตาย

 

 

 

พาดหัวข่าวที่เราเห็นกันอยู่ข้างบนนี้

เป็นเรื่องราวของมาร์คและจูลี่

สองสามีภรรยาที่มีลูกชายวัยยี่สิบสาม

นามว่า เดเนียล หรือ แดน(ในภาพข้างบน)

 

 

แดนเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์จนต้อง

กลายเป็นอัมพาตตั้งแต่ทรวงอกลงไป

 

 

พ่อแม่คู่นี้บอกเล่าว่า เมื่อสองสามอาทิตย์ก่อน

ที่แดนจะทำการฆ่าตัวตายนั้น เขาทั้งคู่

ได้แต่ยืนดูลูกชายที่นอนป่วยอยู่ในโรงพยาบาล

 

 

แค่เห็นน้ำตาที่ไหลออกมาเพราะความทุกข์ทรมาน

และความกลัวของลูกชายแล้ว พ่อแม่คู่นี้

ก็แทบหัวใจสลาย เพราะความเจ็บปวด

ของลูก.....มันประเมินค่าได้ขนาดที่

พ่อแม่คู่หนึ่งขอยอมเจ็บปวดแทน ถ้าทำได้

 


 

เมื่อเป็นเช่นนั้น พ่อแม่คู่นี้จึงคิด

หาทางกำจัดความเจ็บปวดของ

ลูกอันเป็นที่รัก แม้มันจะโหดร้าย

และไม่ปกติธรรมดาไปหน่อยก็ตาม




แดน ขอร้องพ่อแม่ให้ช่วยเหลือพาเขาไปฆ่าตัวตาย

 

มาร์ค กับ จูลี่จึงต้องตกเป็นอาชญากร

ในฐานะที่ให้ความช่วยเหลือ และ

สนับสนุนให้ลูกชายตนเองฆ่าตัวตาย

ณ คลินิค การทำอัตวิบาตกรรม

ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์

 

 

การช่วยให้ลูกชายสมหวังในครั้งนี้

แน่นอนมันย่อมเป็นความขัดแย้ง

ต่อสัญชาตญาณของคนเป็นพ่อและแม่




"ไม่ว่าชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไร ในเมื่อเขาเลือกทางเดินของเขาแล้ว

เราซึ่งเป็นพ่อแม่ ทำได้ดีที่สุดก็คือ  ให้ความช่วยเหลือเขา สิ่งสุดท้าย

ที่จะทำได้คือ การโอบกอดเขาไว้ในอ้อมแขน ฟังเสียงอันแผ่วเบา

ของเขา แม้มันจะเพียงแค่ไม่กี่นาทีที่เหลือ

แต่เราก็ได้ร่ำลากันอย่างเต็มที่ จนถึงคำลาสุดท้าย"

 

 

 

นั่นคือสิ่งที่ จูลี่ และมาร์คได้ทำให้แดน

ลูกชายอันเป็นที่รักของพวกเขา ได้สมหวังแล้ว

 

 

 

พวกเขาจำต้องยืนดูลูกชายอันเป็นที่รัก

ของพวกเขา ดื่มยากดประสาทชนิดหนึ่ง

 ซึ่งทำให้ แดน ค่อยๆ หมดลมหายใจ...

ไปต่อหน้าต่อตาของคนเป็นพ่อและแม่

ที่เป็นผู้ให้กำเนิดเขามา และเป็นผู้ที่

ต้องมายืนอำลา เพื่อส่งวิญญาณของลูกชาย

ซึ่งกำลังจากโลกนี้ไป ตามจุดประสงค์ของคนเป็นลูก

 

 

 

 พวกเขาแสนเจ็บปวดเมื่อมองดูร่าง

ที่ไร้วิญญาณของลูกในขณะนั้น

แต่อย่างน้อยตอนนี้ หนุ่มน้อยร่างกำยำ

ที่มีฉายา ว่า เจ้าคาวบอย ก็ได้สมหวัง

กับสิ่งที่เขาขอเป็นอย่างสุดท้ายในชีวิตไปแล้ว


....

....

....

 



จูลี่ กับมาร์ค ถูกตำรวจสอบปากคำ และ

ได้ส่งขึ้นรายงานต่อศาล เพื่อการตัดสินแล้ว

 

 

เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น มันเหมือนละครตลกร้าย

ที่ใครๆ ก็รู้ว่า พ่อแม่คู่นี้ทำผิดกฎหมายอังกฤษ

แต่...ไม่มีใครสักคนอยากเห็นพวกเขา

ต้องโดนลงโทษ และติดคุก

 

 

 

เพราะมันจะมีบทลงโทษอะไรอีกหรือ

ที่ร้ายไปกว่า การสูญเสียเดเนียลไป

ในแบบที่พวกเขาต้องเผชิญอยู่นี้

 

 



ก่อนจะมีการไปคลินิคฆ่าตัวตายนั้น

 แดนพยายามฆ่าตัวตายมาแล้วถึงสามครั้ง

 

 

มันเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กหนุ่ม

ร่างกายกำยำคนหนึ่ง ซึ่งเคยผ่าน

การมีชีวิตที่เข้มแข็ง เป็นนักกีฬาอาชีพ

และเคยทำอะไรต่อมิอะไรได้ด้วยตนเอง

 

 

จนวันหนึ่ง เขาต้องกลายมาเป็นคนพิการ

ซึ่งทำอะไรเองไม่ได้ไปตลอดชีวิต

แถมยังต้องเป็นภาระให้กับคนอื่นๆ

อีกด้วย..จุดนี้กระมังที่ทำให้แดน

 คิดว่า ความตาย นั้นย่อมจะดีกว่า

การมีชีวิตอยู่แบบทุกข์ทรมาน

และไร้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นคน

 

 

เมื่อมีนักกายภาพบำบัดออกความเห็นว่า

 แดนคงเผชิญความทุกข์จากโรคซึมเศร้า

 ซึ่งทำให้เขากลายเป็นคนอ่อนแอ ยอมแพ้

แก่ชีวิต ถ้าให้เวลาเขาอีกสักนิดหนึ่ง

บางที... เขาอาจจะพบความหวังใหม่

เช่น คนพิการที่เข้มแข็งรายอื่นๆ

 


 

บุคคลที่รู้จักเขาดีเป็นที่สุด

นั่นคือ จูลี่ แม่ของเขา จึงออกมา 

แก้ต่างอย่างมีวาทศิลป์ให้ฟังว่า

 

 

"ในขณะที่พวกคุณไม่ได้เป็นแดน

 และไม่เคยพบกับความโหดร้ายที่

คนอย่างแดนคิดว่า รับมันต่อไปไม่ไหวแล้ว

พวกคุณก็ไม่มีวันรู้ว่า เขารู้สึกทุกข์ทรมานอย่างไร"

 

 

"และพวกคุณก็ไม่มีสิทธิ์อะไรมาตัดสิน

ความเป็นมนุษย์ของเขาว่าการยอมแพ้

แก่ชีวิตของแดน เป็นความล้มเหลว

หรือพวกคุณต้องการให้เขาพิสูจน์

ถึงชัยชนะ ด้วยการอยู่กับความ

ทุกข์ทรมาน และ ไร้ซึ่งศักดิ์ศรี"

 

 


นั่นคือสิ่งที่จูลี่คิด...ในวันนั้นเธอได้ทำหน้าที่

ของคนเป็นแม่อย่างดีที่สุดแล้ว ด้วยการ

ต่อสู้เพื่อยื้อชีวิตลูกชายให้อยู่ต่อ มาแล้ว 

 

 

และในวันนี้เมื่อลูกบอกกับเธอว่า

เขาไม่สามารถมีชีวิตอยู่แบบคน

พิการเช่นนี้ได้อีกต่อไป เขาขอร้อง

อ้อนวอน...ให้ปลดปล่อยเขาไป

จากความทุกข์ ด้วยความตาย

 

 

จึงทำให้คนเป็นแม่คนเดิม

คนนี้ ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้อีกครั้ง

เพื่อให้ลูกชายได้สมหวังกับ

ความต้องการครั้งสุดท้ายของเขา

ด้วยการปลดปล่อยเขาไปจากโลกนี้

 

 

 จูลี่ และ มาร์ค พ่อแม่คู่นี้

สมควรจะได้รับความเข้าใจ

และเห็นใจ มากกว่าที่จะ

ต้องโดนกล่าวหา และ ลงทัณฑ์

 

 

เพราะการกระทำผิดต่อกฎหมายครั้งนี้

มันเป็นการทำความผิด จากจิตใจที่รัก

และสงสารลูกเป็นที่สุด อะไรที่จะหยุด

ความเจ็บปวด ทุกข์ทรมานของลูกได้

มีหรือ คนเป็นพ่อและแม่จะไม่ทำให้ลูก

 แม้ว่ามันจะผิดต่อ กติกา ของสังคมก็ตาม

 

 

แต่กติกาในสังคมนี้ ใครหรือเป็นคนกำหนด

แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า กติกานี้

มันใช้ได้ดีกับ มนุษย์ทุกคน  



 

คนเรามีสิทธิ์ที่จะอ่อนแอ และยอมแพ้ได้เสมอ

แม้ว่าคนภายนอกจะคอยบอกพวกเราว่า

อย่ายอมแพ้ จงสู้ต่อไป แต่ลองวัดใจ

เราดูสักนิด ว่าถ้าถึงเวลาของเรา

เราจะเลือกทำอย่างไร?

 

 

 

เชื่อว่า คำตอบในวันนี้ อาจจะยัง

ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่แท้จริง

จนกว่า...จะถึงวันนั้นของพวกเรา



 






การให้ความร่วมมือ หรือช่วยเหลือคนเพื่อการฆ่าตัวตาย

เป็นเรื่องผิดกฎหมายอาชกรรมในอังกฤษ ด้วยบทลงโทษ

คือการติดคุกเป็นเวลา 14 ปี ชาวอังกฤษทั้งหลายที่อยากจะนำพา

คนที่ตนรัก ไปฆ่าตัวตายในต่างประเทศนั้น 

เมื่อกลับมายังประเทศอังกฤษพวกเขาก็ย่อมต้องได้รับโทษนี้

ตามตัวบทกฎหมาย 

ด้วยเหตุผลนี้ จึงทำให้กรณีของ เด็บบี้ เพอร์ดี้ สาวอังกฤษวัย 45 ปี

ผู้พิการซ้ำซ้อนจึงทำการร้องขอต่อศาล เพื่อให้การอนุญาต

ต่อโอมาร์ ผู้สามีเป็นคนช่วยนำพาเธอไปฆ่าตัวตาย







เด็บบี้ให้เหตุผลว่า ถ้าหากวันใดวันหนึ่ง โอมาร์ สามีซึ่งเป็นผู้ดูแลเธอ

อยู่คนเดียวนั้น ต้องตายไปก่อนเธอ แล้วเธอจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร

ชีวิตเป็นของเธอ และเธอใคร่ขอเลือกทางชีวิตของเธอเอง

ด้วยความตาย ดีกว่าที่จะอยู่อย่างยากลำบาก และทนทุกข์ทรมาน

ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น 

 





แม้ว่า พวกเราจะรู้สึกไม่ค่อยเห็นด้วยในการทำอัตวิบาตกรรม

ของมนุษย์ด้วยกันก็ตาม แต่ก็ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่า

เด็บบี้สมควรที่จะได้รับสิทธิในการเลือกทางเดินของเธอเอง

 






พึมพำเป็นการส่วนตัวกับหัวข้อในวันนี้:

 

ในโลกปัจจุบันนี้ ดูเหมือน มันจะ

ยากที่จะไปตัดสินเรื่องถูก เรื่องผิด

ที่เหมือนขาวกับดำ ในสมัยก่อน


 

เมื่อโลกวิวัฒนาการมาจนถึงวันนี้

สีขาวกับสีดำ ถูกแทรกกลาง

ด้วยสีต่างๆ กฎกติกาและทฤษฏี

ความถูกผิดที่ตั้งกันไว้ ทั้งจาก

ในภาคสังคม ศาสนา ทั้งจาก

คำสั่งสอน และความเชื่อ ต่างๆ

นานา  ดูเหมือนจะดิ้นได้ไปเสียแล้ว

 




กติกาที่ว่า คนเราต้องสู้ และไม่ยอมแพ้แก่ชีวิต

ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ดี ที่ถูกต้อง ซึ่งใครๆ ต้องยอมรับ

 

 

เมื่อพวกเราดูการแข่งขัน พาราลิมปิก

ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ที่เพิ่งผ่านไปเมื่อไม่นานนี้

 

 

พวกเราย่อมรู้สึกดีและชื่นชมที่ได้เห็น

ผู้พิการหลายต่อหลายคนลุกขึ้นมาแข่งขันกีฬา

ที่สะท้อนถึงวิญญาณของนักสู้ ผู้ไม่ยอมแพ้แก่ชีวิต

 

แม้ว่าพวกเขาจะพิการก็ตาม

 




แต่ในขณะเดียวกันพวกเราก็ไม่มีสิทธิ์

จะไปกล่าวหา ดูถูก ดูแคลน น้ำใจ ของผู้พิการ

อีกหลายๆ คน ที่ขอยอมแพ้แก่ชีวิต และเลือก

ที่จะจากโลกนี้ไป แทนการลุกขึ้นสู้อยู่ต่อด้วยความทุกข์

 

 

 

 เพราะในโลกความเป็นจริงแห่งนี้  ย่อมมีทั้งผู้แพ้ และผู้ชนะ

 

 

 

จงยินดีกับผู้ชนะ แต่โปรดอย่าได้

ไปเหยียบย่ำผู้แพ้กันเลยนะคะ

 

 

 

 

ขอบคุณภาพและเรื่องราวจาก หนังสือพิมพ์เดลี่เมลล์

มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ 

เขียนโดย natayaa

ที่ 2008-10-22 22:22:58 น.

http://mblog.manager.co.th/natayaa/th-34737/

 


กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...