ตามรอยรถจักรยานยนต์อเมริกัน

 

ปี 1898 ในวอลทั่ม แมซซาชูเซต บริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติอเมริกัน ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้ชื่อบริษัท วอลทัม อุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเคยผลิตรถจักรยาน ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นรถจักรยานยนต์
   
   
ต่อ มาในปี 1901 บริษัท เฮนดี อุตสาหกรรม ในสปริงฟิลด์ แมซซาซูเซต ได้เริ่มต้นผลิตรถจักรยานยนต์ที่ใช้ชื่อว่า อินเดียน และเริ่มจำหน่ายจนมียอดขายติดตลาดตั้งแต่นั่นมา

 

Charles Metz หนึ่งในสองผู้ก่อตั้งบริษัทวอลทั่มได้แยกตัวออกไปก่อตั้งบริษัทผลิตรถ จักรยานยนต์ของตัวเอง โดยได้ประดิษฐ์รถจักรยานยนต์ที่สามารถวิ่งด้วยความเร็ว 1 ไมล์ต่อ 70 วินาทีได้สำเร็จ จากความสำเร็จนั้นเองต่อมาในปี 1905 เขาได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับบริษัทผลิตรถจักรยานยนต์ Marsh เพื่อก่อตั้งบริษัทผลิตรถจักรยานยนต์อเมริกันและเป็นที่รู้จักกันในนาม MM
   
   
การ ผลิตของ Merkel เริ่มต้นที่รัฐวิสคอนซิน ในปี 1902 เป็นรถจักรยานยนต์ที่มีชื่อเสียงทางด้านความเร็ว Merkel ได้ผลิตคิดค้นระบบต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตของรถจักรยานยนต์ในปัจจุบัน

 

ปี 1903 ฮาร์เลย์ เดวิดสันได้เริ่มต้นผลิตรถจักรยานยนต์ในรัฐวิสคอนซิน
   
   
ปี 1906 บริษัทผลิตรถจักรยานยนต์อเมริกาได้เริ่มต้นผลิตรถจักรยานยนต์ 1000 cc 4 แรงม้าเป็นครั้งแรก
   
   
ปี 1907 อินเดียนผลิตเครื่องยนต์ V-twin และเริ่มนำเข้าไปในการแข่งขัน ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้นักบิดที่ชื่อ Irwin Cannonball Baker ผู้ซึ่งขี่รถอินเดียนจากซานดิเอโก้ แคริฟอร์เนียถึงนิวยอร์คโดยใช้เวลา 11 วัน 12 ชั่วโมง
   
   
ปี 1908 ฮาร์เลย์ เดวิดสัน ทำสถิติชนะเลิศการแข่งขันประเภทความเร็วสูงสุด ทำให้ชื่อ ฮาร์เลย์ เดวิดสัน ได้รับความนิยมในอเมริกานับแต่นั้นมา
   
   
ปี 1909 ฮาร์เลย์ เดวิดสัน ผลิตเครื่องยนต์ V-twin 1000 cc 7 แรงม้าเป็นครั้งแรก และ V-twin ได้กลายมาเป็นเครื่องหมายการค้า และโลโก้ ในปี 1917 รถของฮาร์เลย์ได้ถูกนำไปใช้ในกองทัพสหรัฐเพื่อใช้ในสงครามโลก ฮาร์เลย์จึงกลายเป็นบริษัทผลิตรถจักรยานยนต์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา

 

บริษัทของ Merkel ได้ปิดตัวลงในปี 1917 โดยในปี 1920 เหลือเพียง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐ คือ ฮาร์เลย์และอินเดียน ซึ่งยังทำการผลิตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี
   
   
ปี 1921 บริษัท MM ได้ปิดตัวลงหลังโลดแล่นอยู่ในวงการธุรกิจยานยนต์นานถึง 23 ปี
   
   
ใน สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อินเดียนและฮาร์เลย์ได้ผลิตรถจักรยานยนต์เพื่อใช้ในทางทหาร และในช่วงปลายสงครามโลกไม่ได้ทำให้ฮาร์เลย์ได้รับผลกระทบอย่างใด แต่อินเดียนได้รับผลกระทบจนทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจนี้ต่อ ต่อมาในปี 1950 อินเดียนหันมาทำการนำเข้ารถขนาดเล็กภายใต้ชื่ออินเดียนเหมือนเดิม จนในที่สุดต้องปิดตัวลงในปี 1962 ปล่อยให้ฮาร์เลย์เป็นผู้นำและเป็นตำนานรถจักรยานยนต์อเมริกานับตั้งแต่นั้น มา

 


.


.


.


.



ที่มา
http://www.manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9530000087675

ผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2553 10:07 น.
27 ก.ค. 53 เวลา 16:52 4,940 3 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...