หายนะโลกเวอร์ๆ ตอนโรคระบาดล้างโลก


ภาพวาดเดอะแบล็กเด็ธ ในคัมภีร์ Toggenburg Bible

หนังที่กล่าวเรื่องโรคระบาดนี้มีอะไรบ้างละ มันก็เยอะนพ เช่นเรื่อง12 Monkeys, The Stand, 28 Days Later, Omega Man, Michael Crichton's The Andromeda Strain, Outbreak.

โรคระบาดถือว่าเป็นหายนะอย่างหนึ่งของโลกและมันน่ากลัวมากเพราะ หายนะที่เกิดขึ้นนั้นถ้าเราเป็นมันก็ไม่ตายในทันที แต่จะทรมานช้าๆ แล้วทนทุกข์ทรมานสักระยะหนึ่งก่อนที่จะตายอย่างเจ็บปวด....นอกจากนี้มันยัง ติดต่อกับคนที่คุณรักอีกด้วย...เช่นผู้ป่วยเกิดจามเชื้อไวรัสเข้าใส่แฟนของ คุณแล้วแฟนของคุณก็กลายเป็นคนติดโรคระบาด ร่างกลายเน่าเปลือย สภาพดูแล้วเหมือนซอมบี้ไม่มีผิด ถึงตอนนี้คุณจะรักเธอหรือเปล่าละ??

นอกจากนี้นอกเหนือจากความน่ากลัวของความรุงแรงของโลกแล้ว เหตุการณ์ต่างๆ ที่น่ากลัวก็ตามมา คือทหารของรัฐบาลที่ใจร้ายฆ่าพลเมืองที่บริสุทธิ์ การก่อการจราจล เมืองไหม้ ฝูงชนที่บ้าคลั่งตามท้องถนนถนน เตียงนอนที่เต็มด้วยอาเจียน และลำไส้ด้วยตัวเองและพวกเขาทั้งหลาย  และผลสุดท้ายมนุษย์ชาติจะสูญสิ้นเผ่า พันธุ์..........

มันมีทางเป็นไปได้ไหมที่จะเกิดโรค ระบาดลุกลามไปทั่วโลกและมันไม่มีทางรักษา



ความ จริงแล้วเรื่องราวหายนะโรคระบาดถือว่าไม่ใช้เรื่องใหญ่เพราะว่าในอดีตนั้น เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นแล้ว เช่น กาฬโรค  ไข้ทรพิษ  หรือโรคไข้หวัดสเปนที่เคยระบาดในช่วงปี 2461  คร่าชีวิตผู้คนไป 25-40  ล้านคน  อีโบล่าในทวีปแอฟริกา หรือเอดส์ที่ลุกลามไปทั่วโลกในขณะนี้

                และมีความเป็นไปได้สูงที่ 70 ปี ข้างหน้าจะมีโรคระบาดชนิดใหม่ที่ไม่ใครเจอมาก่อนเกิดขึ้น!!

                  มีการคาดการณ์ไว้ว่าในอนาคตอันใกล้น่าจะมีโรคระบาดอุบัติใหม่ เกิดขึ้นซึ่งถือกำเนิดขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง  โดยเฉพาะโรคติดต่อทางการหายใจ   อาจมีการ ระบาดในอนาคต  ซึ่งอาจจะทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 40-200 ล้านคน

ผู้เชี่ยวชาญให้ ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "เมื่อปลายศตวรรษก่อน เกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรง 4 รอบ พร้อมกับการระบาดของเชื้อเอชไอวีและซาร์ส การระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลกจะเกิดขึ้นทุกรอบร้อยปี และคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดอย่างน้อยอีกครั้งในอนาคต ณ ขณะนี้

เชื้อที่สร้างความหวาดวิตกมากที่สุดคือเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 ที่ระบาด ในไก่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าไวรัสตัวนี้เรียนรู้วิธีการส่งเชื้อจากคนสู่คนแล้ว การระบาดจะแพร่ลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว การระบาดของไข้หวัดใหญ่ในปี ค.ศ. 1918 ได้คร่าชีวิตประชากรโลกไปแล้ว 20 ล้าน คน ภายในปีเดียว มากกว่าคนที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งด้วยซ้ำไป หากเกิดการระบาดอีกครั้งตอนนี้ก็คงส่งผลกระทบรุนแรงยิ่งกว่า"



มันมีสาเหตุเกิดจากอะไร

เรื่องของภาวะ “โลกร้อน (global warming)” หรือที่ภาษาวิชาการนิยมใช้ว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change)” นั้น ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ในหลายรูปแบบที่เห็นได้ชัด เช่น การละลายของน้ำแข็งมากกว่าปกติในหลายบริเวณของโลก นกบินผิดฤดู อาการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก และแน่นอนมันก็เป็นต้นเหตุที่เกิดโรคระบาดด้วย

ในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา โลกก็ได้ รู้จักและเผชิญหน้ากับโรคที่มนุษยชาติไม่เคยพบพานมาก่อนคือ โรคซาร์ส (SARS) และโรคไข้หวัดนกอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบ โรคมาลาเรียและวัณโรคสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ดื้อยา เกิดขึ้นตลอดเวลา

โรคที่เกิดขึ้นใหม่แบบไม่เคยพบมา ก่อน เช่น โรคซาร์สหรือโรคไข้หวัดนกนั้น จัดว่าอยู่ในกลุ่มของ “โรคอุบัติ ใหม่ (emerging diseases)” ในขณะที่โรคอย่างมาลาเรีย วัณโรค หรือแม้แต่เอดส์ที่เคยเป็นโรคอุบัติใหม่ในรอบหลายสิบหรือหลายร้อยปีก่อน ปัจจุบันนี้จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “โรคอุบัติ ซ้ำ (reemerging diseases หรือ resurgent diseases)”   โรคเหล่านี้ดูเหมือนคล้ายกับจะควบคุมได้และมีจำนวนผู้ป่วยลดลงในระยะก่อน หน้านี้ แต่แล้วในช่วงไม่กี่ปีนี้ก็กลับมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วอีก ครั้งหนึ่ง ซึ่งเฉพาะสามโรคนี้ก็ทำให้มีผู้ป่วยรวมกันแล้วมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดในโลกนี้ และทำให้มีผู้เสียชีวิตในแต่ละปีรวมกันแล้วมากกว่า 6 ล้านคนต่อปีเลยทีเดียว!

การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกอาจ ส่งผลอย่างร้ายแรงโรคระบาดบางชนิด เช่นแถบยุโรปนั้นความจริงเป็นทวีปที่หนาวทำให้เจอเชื้อโรคน้อย แต่ถ้าเกิดอาการร้อนเพราะโรคร้อนละก็เชื้อโรคหลายๆ ตัวมาหาแน่นอน เพราะคนยุโรปมีภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว



 

 ตัวอย่าง ที่ชัดเจนในเรื่องนี้คือ ในเดือน พ.ย. 1998 เมื่อพายุเฮอริเคน มิทช์ (Mitch) ที่เป็นผลจากทะเลแคริเบียนที่อุ่นขึ้นมากผิดปกติ เข้าถล่มแถบอเมริกากลางนาน 3 วัน ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นเกือบ 2 เมตรแบบฉับพลัน ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปว่า 11,000 คน และสร้างความเสียหายมากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์ ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว มีรายงานว่าในประเทศฮอนดูรัส มีผู้ป่วยจากอหิวาตกโรคตามมาถึง 30,000 ราย ซึ่งเท่าๆ กับจำนวนผู้ป่วยจากโรคมาลาเรีย และยังมีอีกกว่า 1,000 รายที่เป็นโรคไข้เลือดออก ในปีถัดมา ประเทศเวเนซูเอลาก็พบชะตากรรมคล้ายคลึงกันกับประเทศฮอนดูรัส

ใน ทำนองเดียวกัน ฝนตกหนักในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2005 ส่งผลให้น้ำท่วมสูงขึ้นทันที 1 เมตร ตามติดมาด้วยการระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะคือ โรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออก พ่วงต่อมาด้วยโรคที่มากับน้ำเช่น อหิวาตกโรคและโรคท้องร่วงแบบต่างๆ แถมซ้ำด้วยโรคที่มาสัตว์ฟันแทะ เช่น โรคฉี่หนู (leptospirosis) เป็นต้น

ใน อีกมุมหนึ่งของโลก พื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิลซึ่งปลูกอ้อยปริมาณมหาศาล มาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 3 ศตวรรษ ทำให้แผ่นดินแห้งแล้งอย่างหนักจนผู้คนในพื้นที่จำเป็นต้องอพยพเข้าสู่เขต เมืองพร้อมกับนำโรคมาลาเรียมาเผยแพร่ในเขตเมืองอย่างขนานใหญ่

ใน ประเทศไทยเอง แรงงานไร้ฝีมือค่าจ้างต่ำจำนวนมากที่หลั่งไหลมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ในหลายกรณีผู้คนเหล่านี้ก็เป็นผู้ป่วย (โดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม) ที่นำโรคมาแพร่สู่คนเมืองและคนท้องถิ่น และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการหวนกลับมาหรือการเพิ่มความรุนแรงขึ้นของโรค อุบัติซ้ำหลายๆ โรคเช่นกัน ดังนั้น การบริหารจัดการด้านสาธารณสุขสำหรบคนกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ สุขภาพของคนไทยเช่นกัน

อัน ที่จริงแล้ว ภาวะโลกร้อนเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการเกิดโรคระบาดเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่การเกิดโรคระบาดนั้นล้วนเป็นฝีมือของมนุษย์ทั้งสิ้นเช่น เกาะฮ่องกงที่พบโรคไข้หวัดนกและประเทศจีนที่พบโรคซาร์สเป็นครั้งแรกมีการตัด ไม้ทำลายป่ากันขนานใหญ่ซึ่งทำให้สัตว์พาหะของโรคที่เดิมอยู่ แต่ในป่า เข้ามาอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์มากยิ่งขึ้น



การเลี้ยงสัตว์เป็นแบบอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ที่มีสัตว์เศรษฐกิจเพียงไม่กี่สาย พันธุ์หลัก ทำให้หากเกิดโรคระบาดขึ้นจะเกิดความเสียหายอย่างมากเช่นกัน เนื่องจากการขาดความหลากหลายทางสายพันธุ์ที่จำเป็นต่อการสร้างระดับความต้าน ทาน โรคที่แตกต่างกันไป การอยู่ใกล้ชิดกันระหว่างคนและสัตว์นานาชนิด ซึ่งทำให้เชื้อโรคหลายชนิดที่เคยพบแต่ในสัตว์ สามารถปรับตัวจนสามารถเข้ามาอาศัยและก่อโรคในคนได้

นอกจากนี้แล้ว การเคลื่อนที่ของผู้คนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นจากการท่องเที่ยว การอพยพหนีภัยสงคราม ภัยแล้ง หรือภัยธรรมชาติอื่นๆ และความยากจนข้นแค้นในบางพื้นที่ รวมทั้งหนีจากผลกระทบทางการเมืองทั้งภายในและระหว่างประเทศ หรือภัยจากการก่อการร้ายต่างๆ

อาจกล่าว ได้ว่าเราอยู่ในยุคสมัยที่ “โลกเปรียบเสมือนขวดเพาะเชื้อขนาดใหญ่” ที่กำลังเพาะเลี้ยงเชื้อโรคต่างๆ นานาอยู่ และ “ภา วะโลคร้อน” ก็อาจจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่คล้ายกับเป็น ตัวเร่ง (catalyst) ให้ผลจากหายนะรุนแรงมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ!



เราจะรอดยังไงกับสถานการณ์นี้

ก็เหมือนกับเหตุการณ์ภาพยนตร์แหละ เมื่อซอมบี้ครองเมืองรัฐบาลก็ใจร้ายปิดเมืองแล้วปล่อยจรวดมิสไซต์ทำลายเมือง ทำลายเขาให้ภาษีกับประเทศอย่างหน้าตาเฉย หรือปิดเมืองกีดกันผู้อพยพ หรือการแต่งกายด้วยเครื่องแบบในห้องปฏิบัติที่แน่นหนาเหมือนในหนังอีเวกก้า หรือการแช่งแข็งตนเองเพื่อรอโอกาสในการรักษาในอนาคตข้างหน้า(ถ้าตอนนั้นโลก ยังอยู่นะ)

 

http://www.dekitclub.com/forum/index.php?topic=925.0+ +
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9B

 

13 ก.ค. 53 เวลา 00:33 4,181 3 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...