รูปแบบของ"เกราะ"ในแต่ละชนชาติ(๖/๒)----The East Asia Armour : KOREA

ต่อจากตอนก่อน ซึ่งเราได้กล่าวถึงรูปแบบของเกราะฝ่ายจีนไปแล้ว
คราวนี้จะขอกล่าวถึงรูป แบบของชุดเกราะของดินแดนใกล้เคียงกันบ้าง
คือ เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งดินแดนเหล่านี้ เคยเกิดสงครามอยู่บ่อยๆ
และได้รับอิทธิพลเทคโนโลยี ด้านอาวุธมาจากจีนไม่น้อย
จึงจะเห็นได้ว่าชุดเกราะของทางเกาหลีและ ญี่ปุ่นนั้น
ค่อนข้างที่จะคล้ายกับเกราะแบบจีน

.............................................................................
เกาหลี
เป็น ชนชาติที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปี
มีลักษณะสังคมที่เริ่มต้นจากชน เผ่าต่างๆ
ที่อาศัยบนคาบสมุทรแห่งนี้



เมื่อย้อนไปสักราว ๔,๐๐๐-๒,๕๐๐ ปีก่อนนั้น
จัดเป็นสมัยของสังคมชน เผ่า มีการรบพุ่ง
เพื่อแย่งชิงทรัพยากร,ที่ดินทำกินเป็นประจำ
ซึ่งชน เผ่าเหล่านี้ อาจจัดอยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมแบบ
เอเชียเหนือ-ไซบีเรีย เช่น เผ่าพูยอ,โคโชซอน,
โคกูรยอ,ซาโร,สามฮั่น,ทงเย,โอกจอ,คายา ฯลฯ

ชน เผ่าแรกๆที่มีอำนาจปกครองดินแดนแห่งนี้
คือเผ่า"โคโชซอน"(โชซอนเก่า)จาก ปัจจัย
ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีด้านโลหวิทยา
ซึ่งทำให้สามารถผลิตอาวุธ เหล็กที่ทนทานได้

แต่อย่างไรก็ตาม ดินแดนของเผ่าโคโชซอน
ก็ได้ถูก ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีนในเวลาต่อมา
ทำให้อิทธิพลวัฒนธรรมจีนเริ่มหลั่ง ไหลเข้ามา
จนกระทั่งราว ๒,๐๐๐ ปีก่อน ชนเผ่าโคกูรยอ
ซึ่งมีถิ่นฐานแถบ แมนจูเรีย-เกาหลีเหนือ
ได้ทำสงครามขับไล่จีนออกไปสำเร็จ


และขณะเดียวกัน ทางตอนกลางและตอนใต้ของ
คาบสมุทร ก็เริ่มมีอาณาจักรเกิดขึ้น
จึง เรียกสมัยดังกล่าวว่า"ซัมกุกชิแด"(สมัยสามก๊ก)


ในสมัยสามก๊ก เกาหลี(๒,๒๐๐-๑,๔๐๐ ปีก่อน)
ปรากฏดินแดนอาณาจักรบนคาบสมุทรที่สำคัญ
อยู่ สามอาณาจักร อันได้แก่


๑.โคกูรยอ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเผ่าพูยอ
ชำนาญการรบบนหลังม้า มีกองทัพม้าที่แข็งแกร่ง
นักรบนิยมสวมเกราะที่ทำจากแผ่นโลหะร้อยเข้าด้วย กัน



มีกระบังป้องกันส่วนลำคอ เกราะที่ปิดท่อนล่าง
มีลักษณะที่คล้ายกางเกง เป็นเกราะแบบLamellar
ทำ ให้เคลื่อนไหวได้สะดวก

ทหารม้าโคกุรยอ


พล เดินเท้าชาวโคกูรยอ


ทหาร ม้าโคกูรยอปะทะทัพราชวงศ์ถัง


กองทหารม้าของพระเจ้าควาง แกโท แห่งโคกูรยอ


แม่ทัพอึลจีมุนดอก นำทัพโคกูรยอโจมตีกองทัพราชวงศ์สุยของจีน
จนฝ่ายจีนต้องสงบศึก และยอมถอยทัพกลับ


หลาย สิบปีต่อมา กองทัพจีนสมัยราชวงศ์ถังกลับมาตีโคกูรยออีกครั้ง
คราวนี้ แม่ทัพยอนแกโซมุนสามารถตีทัพจีนแตกพ่ายไป


๒.แผกเจ สืบสายมาจากเผ่าพูยอที่อพยพลงใต้
มาครอบครองดินแดนเผ่ามาฮัน(มาฮั่น)
มี อาณาเขตทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทร


ลักษณะ ของเกราะนักรบแผกเจ





ขุนศึกคเยแบ็ก แห่งแผกเจ


๓.ชิ ลลา เดิมคือชนเผ่าซาโร
ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทร
โดย เดิมทีในพื้นที่แถบนี้ เป็นถิ่นของเผ่าคายา
ซึ่งชนเผ่าคายานี้ แม้จะได้รับอิทธิพลเทคโนโลยี
ด้านโลหะภายหลัง แต่ก็ได้พัฒนาเทคนิคการผลิตอาวุธ
จนสามารถถ่ายทอดต่อให้กับแคว้นยามาโตะ บนเกาะญี่ปุ่น




ลักษณะของเกราะนักรบเผ่า คายานั้น
ทำจากเหล็กแผ่น(Plate Armour)
ซึ่งต่างจากเกราะของถิ่นอื่นๆ ในละแวกนี้
ที่มักจะทำจากแผ่นโลหะชิ้นเล็กๆร้อยเข้าด้วยกัน


เกราะ เหล็กแผ่น




แต่อย่างไรก็ตาม เกราะแบบเผ่าคายาที่มีลักษณะ
แบบLamellarก็ได้รับการพัฒนาขึ้นในเวลาต่อ มา
และส่งอิทธิพลต่อชิลลาด้วย


นักรบชิลลาในยุคต้น


หุ่น ดินเผารูปทหารม้า


แม่ทัพคิม ยู-ชิน(สังเกตว่าเกราะของชิลลาช่วงต่อมา จะเริ่มรับรูปแบบ
จากโคกูรยอ ผสมเกราะแบบจีน)


แม่ ทัพจาง โบ-โก


กษัตริย์ แคว้นชิลลาหารือกับเหล่าแม่ทัพนายกอง


ต่อมาเมื่อราว ๑,๔๐๐ ปีก่อน
โคกูรยอและแผกเจได้ตกเป็นของอาณาจักรชิลลา
ซึ่งได้รับการหนุน หลังจากจีนสมัยราชวงศ์ถัง
นำไปสู่การสถาปนาอาณาจักรทงอิลชิลลา(รวมชิลลา)
ซึ่ง เจริญมาได้ประมาณสองร้อยกว่าปี
ก็ถูกโค่นอำนาจ โดยมีราชวงศ์โค-รยอขึ้นมาแทน
(คำว่า"เกาหลี"มาจากคำว่าโค-รยอนี่เอง)


รูปแบบของเสื้อเกราะนักรบ เกาหลีในสมัยโค-รยอ
จะมีลักษณะคล้ายเกราะแบบจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง
และ ปรากฏอิทธิพลของเกราะแบบหยวน(มองโกล)ด้วย
จากการที่เคยตกเป็นส่วนหนึ่ง ของจักรวรรดิมองโกล


เกราะ แบบมองโกลที่เข้ามาในช่วงนี้ เป็นเกราะโซ่เหล็กถัก
แบบChaimail, Mail-Plate Armour




หมวก ศึกนักรบสมัยโค-รยอ




แม่ ทัพคัง กัม-ชัน แห่งอาณาจักรโค-รยอ


ต่อ มา แม่ทัพโค-รยอนามว่ายี ซอง-กเย
ได้ก่อการยึดอำนาจ สถาปนาราชวงศ์ยี(โชซอน)ขึ้น
(ช่วงเวลาใกล้เคียงกับการสถาปนาราชวงศ์หมิ งในจีน)

ลักษณะเกราะสมัยโชซอนช่วงต้น ยังเป็นแบบเดียวกับ
เกราะใน สมัยโค-รยอ


แม่ ทัพยี ซุน-ชิน วีรบุรุษผู้นำทัพเรือเกาหลีต้านทานการรุกรานจากญี่ปุ่น



ชุด เกราะสมัยโชซอน


นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้เกราะรูปแบบอื่นๆ เช่น
เสื้อเกราะเกล็ด(Scale Armour)






เสื้อ เกราะฝังหมุด (Brigandine)





ข้าง ในตัวเสื้อเกราะ เป็นแผ่นโลหะหลายๆชิ้น ยึดตรึงกับเสื้อด้วยหมุด



เสื้อ เกราะนวม(Padded Armour)




-----------------------------------------------------------------
=================================

1 ก.ค. 53 เวลา 00:50 5,939 6 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...