การจากไป ของเจ้าชายที่ถูกลืม



 วันที่ 12 มกราคม พุทธศักราช 2455 เสียงพระแสงปืนสนั่นก้อง พร้อมกับดวงพระวิญญาณที่ปลิดปลิว
ออกจากร่างของ พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี 
ด้วยการปลง พระชนม์พระองค์เอง ซึ่งขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง 29 ชันษา

พระ ประวัติโดยย่อของพระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์ ได้ปรากฏในหนังสือ ราชกุลวงศ์ ตอน “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชการที่ 5” (อ้างใน สุพจน์ แจ้งเร็ว. ศรีเมืองเชียงใหม่ ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2527 หน้า 92) ว่า

“ที่ 44 พระองค์เจ้าชายดิลกนพรัฐ ประสูติ ณ วันเสาร์ เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษแลเยอรมัน เปนดอกเตอร์วิทสตาตส์ วิสเซนชัพท์ ในมหาวิทยาลัยทุบบิงเงน ในรัชกาลที่ 5 เปนอำมาตย์เอก เจ้ากรมพลัมภังกระทรางมหาดไทย ถึงรัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 และเลื่อนเปนมหาอำมาตย์ตรี คงตำแหน่งในกระทรวงมหาดไทย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 12 มกราคม ปีชวด พ.ศ. 2455 พระชันษา 29 ปี เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสร ชาวเชียงใหม่”



 เจ้าแก้วนวรัฐ   เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9
 

แห่งราชวงศ์ทิพย์จักรา ธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายแห่งนคเชียงใหม่ ....


 จะ เห็นว่า มีพระองค์เจ้าดิลกนั้น มีพระมารดา เป็นเจ้าหญิงจากเชียงใหม่ ในตระกูล “เจ้าเจ็ดตน” หรือ “ทิพจักราธิวงศ์” ซึ่งเมื่อสืบสายตระกูลของพระองค์ จากหนังสือ “เจ้าหลวงเชียงใหม่” จะได้ดังนี้ 



ขอกล่าวถึงพระมารดาของพระองค์ ซึ่งก็คือ เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสร ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากเชียงใหม่พระองค์แรกที่ไปเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แต่ ไม่ได้เป็นเจ้าหญิงล้านนาองค์แรกที่ไปอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งก่อนหน้านั้น ก็คือ พระอัครชายาเธอ เจ้าศรีอโนชา (เจ้าครอกศรีอโนชา) ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าฟ้าชายแก้ว และเป็นน้องอันดับที่ 5 ของเจ้ากาวิละ ซึ่งเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้ใช้ให้ขุนนาง มาขอจากเจ้าฟ้าชายแก้วและ 7 พี่น้อง เพื่อไปเป็นราชเทวี

ซึ่งเมื่อเจ้าศรีอโนชาไปเป็นราชเทวีในเจ้าพระยา สุรสีห์นั้นก็ได้ ทำคุณทำประโยชน์แก่ประเทศ คือครั้งเมื่อ พระยาสิงห์พระยาสัน ได้ปลงพระชนม์กษัตริย์เจ้าตากสิ้น แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์แทน เจ้าครอกศรีอโนชา ก็ได้มีดั้น (จดหมาย) ไปยังชาวปากเพรียว ที่สระบุรี ซึ่งเป็นชาว ไทโยน ที่กวาดต้อนมาจากเชียงแสน โดยให้ข้อแม้ว่า จะให้ทำมาค้าขายโดยสะดวก ไม่ต้องทำการบ้านเมือง ชาวไทโยนปากเพรียวก็ได้เข้าจับพระยาสิงห์พระยาสันแล้วฆ่าเสีย เจ้าครอกศรีอโนชา “หงายเมือง” ได้ จึงเชิญเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์เข้ามาผ่านพิภพ ขึ้นเสวยราช โดยที่พระยาจักรีเป็นกษัตริย์วังหลวง และ เจ้าพระยาสุรสีห์เป็นพระราชวังบวรสถานมงคลวังหน้า


 

พระมหาเทวีทิพย์เกสร

ในตอนต้นกรุง รัตนโกสินทร์เจ้าหญิงจากล้านนา หาได้ด้อยด้วยศักดิ์และศรี มีความสามารถ สร้างคุณงามความดีแก่สยามเป็นอันมาก จวบจนกาลเวลาล่วงเลยมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งชาวสยามได้ยกฐานะตัวเอง โดยเฉพาะในรั้วในวัง ว่าเป็นผู้ดี เป็นบุคคลที่ศิวิไลซ์ นั้น มักถือว่าผู้อื่นกลุ่มอื่น หรือ ชาติพันธุ์อื่นด้อยกว่าตน มักดูถูกเหยียดยาม และบางที ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับบุคคลที่ตัวเองดูถูกนั้นเลยสักนิด

เมื่อปี พ.ศ. 2426 ก็ได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอม ซึ่งก่อนหน้าที่เจ้าหญิงทิพเกสร แห่งนครเชียงใหม่ เข้าถวายตัว ก็ได้ลงมาศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี ของการอยู่ในพระราชสำนัก ของเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ) ทรงเป็นผู้อภิบาล และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานรรัตน์ราชมานิต (โต มานิตกุล) เป็นผู้อุปการะเป็นบุตรีบุญธรรม 

ด้วยตอนแรก ซึ่งตอนนี้ เจ้าจอมเจ้าทิพเกสรเป็นเจ้าจอมเพียงพระองค์ ที่ถือว่า มาจากที่อื่น ในตอนนั้น ชาววังรู้จักล้านนา แต่เพียงว่า “ลาว” โดยที่ไม่รู้ว่า ล้านนา กับ ลาว นั้น แตกต่างกันอย่างไรบ้าง …และคำว่า ”ลาว” ในความรู้สึกของคนกรุงเทพฯ เวลานั้น เห็นเป็นเพียง “อีกินกิ้งก่ากินกบ” เจ้าหญิงทิพเกสรนั้นเชื่อแน่ว่า ทรงได้รับการดูหมิ่นเหยียดยามจากบรรดาเจ้าจอมต่าง ๆ เป็นแน่ ซึ่งหลังจากนั้น ครั้นเมื่อ เจ้าหญิงดารารัศมี ซึ่งมีศักดิ์เป็นถึงธิดาเจ้าหลวงเชียงใหม่ เข้ามาถวายตัวก็ไม่เว้นที่จะถูกกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา ไม่ว่าจะเป็น มีกระดาษที่เขียนอักษรเลขยันต์อยู่ในขันทองสรงน้ำ และน้ำในห้องสรงก็ถูกโรยด้วยหมามุ่ย หรือแม้แต่ใส่ร้ายป้ายสีว่าขโมยถุงเงินของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็มี เป็นต้น 

เมื่อเจ้าจอมเจ้าทิพเกสรประ สูตรพระราชโอรส ในปี 2427 ด้วยเหตุที่มีสายพระโลหิตสัมพันธ์กับเจ้านายฝ่ายเหนือ พระองค์จึงได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระราชบิดาว่า “ดิลกนพรัฐ”


พระมหา เทวีทิพย์เกสร

 พระ ประวัติโดยย่อของพระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์ ได้ปรากฏในหนังสือ ราชกุลวงศ์ ตอน “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชการที่ 5” (อ้างใน สุพจน์ แจ้งเร็ว. ศรีเมืองเชียงใหม่ ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2527 หน้า 92) ว่า

“ที่ 44 พระองค์เจ้าชายดิลกนพรัฐ ประสูติ ณ วันเสาร์ เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษแลเยอรมัน เปนดอกเตอร์วิทสตาตส์ วิสเซนชัพท์ ในมหาวิทยาลัยทุบบิงเงน ในรัชกาลที่ 5 เปนอำมาตย์เอก เจ้ากรมพลัมภังกระทรางมหาดไทย ถึงรัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 และเลื่อนเปนมหาอำมาตย์ตรี คงตำแหน่งในกระทรวงมหาดไทย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 12 มกราคม ปีชวด พ.ศ. 2455 พระชันษา 29 ปี เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสร ชาวเชียงใหม่”
 


 

จดหมาย เหตุ ใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิรุณหิศฯ ทรงบันทึกเมื่อพระชันษา 6 พรรษา ไว้ตอนหนึ่งว่า

“วันอังคาร วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2427

สอง โมงเช้าไปอ่านหนังสือ เลิกสามโมงนาน ให้แก้วเกล้าจุกแล้วกลับมาตำหนัก บ่ายสี่โมงนาน ไปบน เฝ้าที่ออกขุนนาง เสด็จขึ้นเกือบค่ำ เสด็จลงสมโภชน้องชายลูกทิพเกสร ทูลหม่อมบนประทานชื่อว่า ดิลกนพรัฐ สมเด็จแม่ทรงแปลประทานเราว่า ศรีเมืองเชียงใหม่ สมโภชเสร็จ เสด็จที่หอ ประทับตรัสกับเจ้านาย ทูลเหม่อมอาองค์น้องก็เสด็จมา เรากลับมาตำหนักนอนสี่ทุ่ม ฟังป้าโสมอ่านหนังสือสามก๊ก”


งาม สมโภชที่ทรงบันทึกนั้น ก็คือ สมโภชเดือน พระชันษาครบ 1 เดือนเต็ม และพระนามที่พระราชทาน อันมีความหมายว่า ศรีเมืองเชียงใหม่ นั้น นับว่าแสดงถึงความผูกพันธ์ระหว่าง สยาม กับ ล้านนา อันมีเชียงใหม่เป็นประธาน ทั้งนี้เนื่องจากว่า มีพระมารดา เป็นสายสกุล “ณ เชียงใหม่” และในอีกแง่หนึ่งก็คือการผสานความสัมพันธ์ในด้านการเมืองระหว่างสยามและล้าน นาไปในตัวอีกด้วย 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นศิษย์ของแหม่มแอนนา เลียวโนเวน ทรงศรัทธาในความเจริญก้าวหน้าทุกประการของยุโรป ฉะนั้น จึงทรงส่งพระราชโอรส ออกไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เพื่อนำเอาความเจริญต่าง ๆ มาพัฒนาสยามประเทศต่อไป สำหรับพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐนั้น เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ระหว่างเดือน เมษายน ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2440 ซึ่งขณะนั้น พระองค็เจ้าดิลกนพรัฐ ได้มีพระชันษาครับ 13 ปีบริบูรณ์ การเสด็จประพาสยุโรปในครั้งนั้นได้มีพระราชโอรสติดตามไปด้วย 4 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย(กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์), สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร(กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์) , พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ(กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร) และ พระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์ (กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี)

 เมื่อ ถึงอังกฤษ พระองค์เจ้าดิลกได้ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียน วอร์เรนฮิลล์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนที่จะย้ายไปที่โรงเรียนมัธยมชาร์เตอร์เฮ้าส์

เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากยุโรปในการเสด็จประพาส ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2440 จึงทรงมีพระราชหัตเลขาถึงเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เมื่อครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิ-สุทธสุริยศักดิ์ (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) มีข้อความที่บ่งชี้พระบรมราโชบายและพระราชดำริในเรื่องการศึกษาของพระราช โอรส ได้ทรงมีรับสั่งถึงพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ไว้ดังนี้

"ยังมีอีกคน หนึ่ง ชายดิลก เป็นคนตาสั้นข้างหนึ่ง ตามตำราเขาก็จะไม่เอาเป็นทหารกันอยู่ ควรจะจัดให้เล่าเรียนฝ่ายพลเรือน ดิลกนั้นเป็นคนมีความขยันเล่าเรียน มีไอเดียเป็นลาว ๆ อยู่บ้าง ถ้ามีไม่ความรู้อาจจะฟุ้งซ่านได้เล็กน้อย แต่เป็นคนไม่สู้กล้า ยังจะเอาเป็นแน่ไม่ได้ ด้วยอยู่ในเวลากำลังที่จะเปลี่ยนแปลง นี่แลเป็นการที่สังเกตได้ในอัธยาศัยทั้งเก่าทั้งใหม่ดังนี้ แต่ต้องสังเกตเมื่อเวลาเจริญขึ้นต่อไป เมื่อตรวจเห็นผิดถูกประการใด ขอให้บอกมาให้ทราบ และคอยสังเกตตาไว้ จัดการป้องกันแลแก้ไขเข้าหา ให้ทางที่จะเสียหย่อนไป ให้สิ่งที่หย่อนอยู่เจริญขึ้น.”

จากข้อความ ที่ว่า “มีไอเดียเป็นลาว ๆ อยู่บ้าง” จะเห็นว่า แม้แต่พระราชบิดาเอง ยังมองพระราชโอรสแบบแปลกแยกแตกต่างกับชาวสยามอยู่นั่นเอง 

ในปี พ.ศ. 2444 นี้ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้ทรงมีเรื่องขัดแย้งกับพระยาประสิทธิศัลยการ และ นายเวอร์นี ในเรื่องโรงเรียนที่ผู้ดูแลฯ จัดให้ทรงเข้าศึกษา



 ในที่สุด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ย้ายสถานที่ศึกษาจากอังกฤษ ไปที่เยอรมนีในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2444
ในช่วงสองปีแรกที่ทรงศึกษาอยู่ ในประเทศเยอรมนี ได้ทรงเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมในโรงเรียนที่เมือง “ฮาลเล” ภายใต้การควบคุมของ ดร.ตริน ศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน ทรงอุตสาหะวิริยะเล่าเรียนทั้งภาษาเยอรมันจนแตกฉานและสำเร็จชั้นมัธยมภายใน เวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2446 ซี่งพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐมีพระชันษาได้ 19 ปีบริบูรณ์ พระองค์ได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมิวนิค ในหลักสูตรวิชา “เศรษฐศาสตร์การเมือง” หรือที่รู้จักกันดีในสมัยนี้ว่า “เศรษฐศาสตร์” พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงค้นคว้าเพื่อเรียบเรียงวิทยานิพนธ์เรื่อง “เกษตรกรรมในสยาม : บทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยาม” (Landwirtschaft in Siam : Ein Beitrag Zur Wirtschaftsgeschichte des Königreichs Siam) ใน พ.ศ. 2447 ซึ่งในด้านเอกสารข้อมูล ทรงรวบรวมจาก กระทรวงเกษตราธิการ ส่งไปถวายจากสยาม ตลอดจนหนังสือและเอกสารต่าง ๆ ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ทั้งที่เป็นภาษาเยอรมัน อังกฤษ และ ฝรั่งเศส 

หลังจากที่ศึกษาอยู่ ที่มหาวิทยาลัยมิวนิคเป็นเวลา 2 ปี ก็ทรงย้ายไปศึกษาต่อในแขนงเดียวกัน ณ มหาวิทยาลัยทึบบิงเงน ทางตอนใต้ของเยอรมนี ซึ่ง ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ พระองค์ได้ทรงสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาดอกเตอร์ทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า “ดอกเตอร์วิทสตาตส์ วิสเซนชัฟท์” คือ ดุษฎีบัณฑิตของรัฐในวิชาเศรษฐศาสตร์ ใน พ.ศ. 

 

 ซึ่งที่โดดเด่นนั้น พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ และเป็นคนไทยคนแรกที่ศึกษาวิจัย สภานภาพและปัญหาเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งนักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจทุกชาติที่สนใจประเทศไทย ต้องนำพระวิทยานิพนธ์ของ “ปรินซดิลก ฟอน สิอาม” มาศึกษา 

และเป็นคน ไทยคนที่สองที่ได้รับปริญญาในระดับดุษฎีบัณฑิต ส่วนคนที่ได้มาก่อนนั้นเป็นสามัญชน ชื่อ ดร.ชู 

ในวิชา “เศรษฐศาสตร์” นี้ มีพระเจ้าลูกเธอ 2 พระองค์ที่ทรงศึกษาด้านนี้ หนึ่งก็คือ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ส่วนอีกพระองค์หนึ่งก็คือ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ซึ่งทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ โดยจะทรงศึกษาในช่วงทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่วนพระองค์เจ้าดิลกฯ นั้นได้ทรงศึกษาในช่วงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20

และ การศึกษาวิชา “เศรษฐศาสตร์” ของทั้งสองพระองค์ก็แตกต่างกัน โดยศึกษาคนละส่วน โดยที่พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถนั้น ทรงเอาใจใส่ในส่วนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์ อุปทาน การผลิต การบริโภค เป็นต้น ส่วนพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐนั้น ทรงใส่ใจในเรื่องของความยากจน การด้อยการพัฒนา โดยอาศัยจากการผสมระหว่าง สังคม เศรษฐกิจ และการปกครอง 

หนึ่งนั้นเหมาะสำหรับรับราชการใน กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และหนึ่งเหมาะสำหรับรับผิดชอบความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบท และทั้งสองแง่นี้มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นอย่างมากไม่ ว่าจะเป็นในสมัยไหน


 

หลัง จากที่กลับถึงกรุงเทพฯ ในปลายปี 2450 ก็ได้เข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทยในตำแหน่ง “ปลัดกรมพิเศษ” แผนกอัยการต่างประเทศ แล้วย้ายไปเป็น “ปลัดสำรวจ” กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ และต่อมาก็ดำรงตำแหน่ง “เจ้ากรมเลขาณุการ” ปฏิบัติงานขึ้นตรงต่อเสนาบดี
การ กลับมาของพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ หลังจากไปศึกษาเล่าเรียนยังต่างประเทศ แล้วกลับมารับราชการสนองพระเดชพระคุณ นำมาซึงความปลาบปลื้มยินแด่แก่พระมารดาเป็นที่ยิ่ง แต่เสียดายที่พระมารดาได้มีโอกาสเห็นความสำเร็จของลูกรักได้เพียงปีเดียว เท่านั้น ก็ประชวร และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2450 ขณะมีพระชนมายุเพียง 38 พรรษา

เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสรเป็นเจ้าหญิง จากเชียงใหม่ ฉะนั้นพระญาติและผู้ที่คุ้นเคยจึงมีน้อย ก็จะมีเพียงแต่ บุตร...ดร.ดิลกฯ และ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เท่านั้น ที่เป็นเรี่ยวแรงในการจัดพระศพในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เล็งเห็นเหตุนี้ด้วย จึงมีพระบัญชาไปยังอธิบดีหญิงกรมหลวงพิทยรัตน์กิริฎกุลินี เนื่องจากเกรงว่าจะมีเจ้าจอมหม่อมห้ามมาร่วมงานน้อย ในวันนั้นว่า 

นภา พร

งานศพนางทิพนี้ไม่มีญาติพี่น้อง จะมีก็นางดาราไปแกร่วอยู่คนเดียว ฉันเห็นว่าเงียบนัก ขอให้เจ้านายลูกเธอและเจ้าจอมมารดา เจ้าจอมอยู่งานชั้นพวกสูงที่ชอบพอกันไปช่วยบ้าง ตามแต่ใจที่เขาจะไป จะเป็นการช่วยองค์ดิลก แต่เจ้านายพี่นางน้องนางไว้แต่วันเผา เพราะถ้ามากนักจะขนลำบาก

สยามมินทร์



งานพระศพของเจ้า จอมมารดาเจ้าทิพเกสรนี้ได้รับพระกรุณาจากพระสวามีและบรรดาเจ้าจอมต่าง ๆ ที่มาช่วยงาน จึงผ่านไปด้วยดี 

พระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์ได้เสกสมรสกับ เจ้าศิริบังอร ณ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าธรรมวงษา (เจ้าธรรมวงษาเป็นบุตรชายของเจ้าอุบลวรรณา พระเจ้าน้าหญิงองค์เดียวของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี) ทั้งสองไม่มีโอรสหรือธิดาสืบสกุล

ต่อมาในปี 2453 พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ก็ได้รับพระราชทานยศเป็น “อำมาตย์เอก” (เทียบยศทหารพลตรี) และดำรงตำแหน่ง “เจ้ากรมพลำภัง”

และในปีเดียวกัน นี้เอง พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ก็ทรงสูญเสียพระราชบิดาในวันที่ 23 ตุลาคม 2453 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้า ที่ทรงสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักทั้งสองพระองค์ในเวลาห่างกันไม่กี่ปี …แต่ความโศกาดูรไม่ได้หมดลงเพียงแค่นั้นไม่ ในปีถัดมาหลังจากพี่พระราชบิดาสวรรคต เจ้าหญิงศิริบังอร พระชายา ได้สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุตกน้ำในสระในพระตำหนัก… แม้ว่าจะทรงประสบแต่เรื่องที่เศร้าโศกเสียใจเพียงใด ก็มิทรงที่จะท้อถอย ย่นย่อแต่ประการใด พระองค์ทรงวิริยะอุตสาหะตั้งใจปฏิบัติราชการอย่างเต็มพระสติกำลัง

หลัง จากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้ทรงลาเพื่อจะกลับไปพำนักอยู่ที่ภูมิลำเนายังดินแดนล้านนา และในครั้งนี้ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้ทรงตามเสด็จมาเยือนเชียงใหม่ อันเป็นมาตุภูมิของพระมารดาเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย


ต่อมา ในเดือน พฤศจิกายน 2455 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม ดังมีข้อความในประกาศว่า

“จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี อัชนาม ทรงศักดินา 15000 ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง จงทรงเจริญพระชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสมบัติ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล วิบุลยศุภผลมโหฬารทุกประการ

ให้ทรงตั้ง เจ้ากรม เป็น หมื่นสรรควิสัยนรบดี ถือศักดินา 600
ให้ตั้งปลัดกรม เป็น หมื่น อุไทยธานีนรสมาคม ถือศักดินา 500
ให้ทรงตั้งสมุห์ยัญชี เป็น หมื่นมโนรมนรานุรักษ์ ถือศักดินา 300”


หลังจาก “ทรงกรม” เพียงสองเดือนถัดมา พระเจ้าน้องยาเธอฯ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ก็ทรงปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยพระแสงปืน ด้วยพระชันษาเพียง 28 

 

หลัง จากที่สิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามเป็น “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ” เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478

เครื่องราช อิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน
1. ปฐมจุลจอมเกล้า ปจ. เมื่อ 19 มกราคม ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2423)
2. ประถมาภรณ์มงกุฎ ปม. เมื่อ 20 กันยายน ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451)

พร้อมกับการสิ้นพระชนม์ บรรดาความรู้และแนวคิดทั้งหลายทั้งปวง อันเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจของสยามที่กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ได้ทรงค้นคว้า วิจัย จนกระทั่งมาสัมผัสครั้งเมื่อรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ก็มลายหายไปด้วย

แต่ โชคยังดีที่ทางประเทศเยอรมนี กำหนดให้ผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับ “ดอกเตอร์ของรัฐ” ต้องพิมพ์วิทยานิพนธ์เผยแพร่ไปตามห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่งโลก

สำหรับ วิทยานิพนธ์ของพระองค์นั้น เป็นรูปเล่มที่เป็นหลักเป็นฐาน ด้วยมีเนื้อหาถึง 216 หน้า และ ตารางแผ่นพับขนาดใหญ่อีก 8 แผ่นในตอนท้าย สำหรับในพระนิพนธ์ที่เป็นคำนำนั้น จะขออัญเชิญมาดังนี้ (อ้างใน ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพ็ชร. เศรษฐกิจสยาม.สำนักพิมพ์มติชน : กรุงเทพฯ หน้า 28)

นับเป็นเรื่องที่แปลกอยู่เหมือนกัน ที่ปรากฏว่ายังไม่เคยมีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเกษตรกรรมในประเทศสยามมาเลย ทั้ง ๆ ที่สยามเป็นประเทศเกษตรกรรมมาโดยตลอด อีกทั้งยังมีระบบการเกษตรที่เป็นแบบเฉพาะของตัวเองด้วย

ความพยายาม ที่จะเรียบเรียงเรื่องราวให้เป็นระบบเกี่ยวกับเกษตรกรรมในประเทศสยามดังที่ ปรากฏต่อไปนี้นั้น ได้ประสบอุปสรรคมากมาย ทั้งนี้เนื่องจากบันทึกต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ในเอกสารหลายเล่มนั้น ไม่สามารถจะรับการยืนยันให้เป็นที่เชื่อถือได้เลย นอกเหนือไปกว่านั้น ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นบางครั้งก็ยังมีความขัดแย้งกันเองโดยตรงอีกด้วย 

ด้วย เหตุนี้ ในการเขียนวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ข้าพเจ้าจึงพรรณนาโดยอาศัยโลกคติของข้าพเจ้าเองเป็นส่วนใหญ่ นอกเหนือไปจากนั้นก็อ้างอิงเอกสารต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตราธิการแห่งสยามมาประกอบด้วย

สำหรับข้อมูลที่แสดงใน ตารางสถิติ และตารางแสดงอื่น ๆ นั้น ข้าพเจ้าได้รวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งได้ระบุที่มาไว้อย่างชัดเจนด้วยแล้ว.”

 

 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีอยู่ 5 บทด้วยกัน ดังนี้

บทที่ 1 จะเป็นการพรรณนากว้าง ๆ ทางด้านภูมิศาสตร์ และเงื่อนไขทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม

บทที่ 2 จะทรงกล่าวถึงกฎหมาย, พระเจ้าแผ่นดิน แลเจ้านายบรมวงศานุวงศ์, เจ้าเมืองออก, ขุนนางข้าราชการ, ราษฎร, แลทาส ซึ่งจะเป็นการกล่าวถึงสภาพสังคมของสยามในสมัยนั้น

บทที่ 3 ทรงให้เค้าโครงกว้าง ๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจของชาวสยาม โดยเน้นว่าสยามเป็นประเทศเกษตรกรรมที่แท้จริง การอุตสาหกรรมไม่สามารถหยังรากลงในสยามได้ ด้วยอาศัยมาแต่เหตุ 3 ประการ คือ
1. ประเทศสยามขาดแคลนแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหล็ก
2. ประชาชนในเขตร้อนไม่ได้ทำงานด้วยอุปนิสัยอย่างชนิดที่อุตสาหกรรมพึงต้องการ
3. การเกษตรยังคงขยายออกไป และได้ผลตอบแทนมาง่ายกว่าและงามกว่า
และในบาง ตอน ทรงตั้งข้อสังเกตว่า อุปสรรคสำคัญก็คือ การขาดแคลนเงินทุนและสินเชื่อ

บท ที่ 4 บทนี้จะยาวที่สุด ได้ทรงพรรณนาวิธีการผลิตทางการเกษตรไว้อย่างละเอียดลออมากทีเดียว ทั้งวิเคราะห์สถานภาพของเกษตรกรไทย และปัญหาในเชิงเศรษฐกิจการเกษตรในการผลิตต่าง ๆ รวมทั้งอาชีพและรายได้เสริมด้วย

บทที่ 5 เป็นบทสุดท้ายเป็นการให้ข้อสังเกตและความเห็นอันเกี่ยวกับนโยบายการเกษตรของ ประเทศสยาม และในย่อหน้าสุดท้ายในพระวิทยานิพนธ์กล่าวว่า

“อาศัยเหตุ นั้นก็คงจะเป็นที่น่ายินดีนักถ้าหากรัฐบาลจะยอมช่วยเหลือด้วยการก่อตั้งชมรม ผู้บริโภคและระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นมา และขยับขยายวงออกไป กับทั้งถ้าหากว่ารัฐบาลจะได้ยอมดำเนินการทางกฎหมายอันจำเป็นแก่การนี้สืบไป”

ศ.ดร.ฉัตร ทิพย์ นาถสุภา และ ศ.ดร.ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ หลังจากได้อ่าน “เกษตรกรรมในสยามฯ” แล้ว ได้วิเคราะห์โดยสรุปว่า 

“หลังจากที่ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้ทรงนิพนธ์งานวิทยานิพนธ์เรื่องดังกล่าวเสร็จไปเพียง 3 – 4 ปี ก็เกิดกรณี “ขบถ ร.ศ. 130 ” ขึ้น และหลังจากนั้นเพียง 25 ปี ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่งการปฏิวัติทั้งสอง มีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวนาไทย เห็นชัดว่าปัญหาความยากจนของชาวนาไทยที่พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงมองเห็นก่อน ใคร ๆ และทรงเสนอมาตรการปฏิรูปเป็นประเด็นรากฐานของสังคมไทยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงเป็นพระราชวงศ์ชั้นสูงพระองค์แรก ๆ ที่มีความคิดก้าวหน้า” (ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพ็ชร. อ้างแล้ว)


 วังที่ประทับพระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์(ปัจจุบัน อยู่ในเขตการไฟฟ้านครหลวง สามเสน
 
 สำหรับเรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่สุพจน์ แจ้งเร็ว ได้เขียนไว้ในบทความเรื่อง “ศรีเมืองเชียงใหม่” ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือน พฤษภาคม 2527 ระบุไว้ว่า

เมื่อปี 2453 ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 วันหนึ่ง หลังจากที่ทรงไปร่วมงานพระราชพิธี ได้ขับรถเพื่อเสด็จกลับวัง พอถึงมุมวังเปรมประชากร ของกรมหลวงชุมพรฯ รถรางซึ่งแล่นมาเร็วเต็มที่และมิได้ไห้สัญญาณก็พ้นมุมออกมา พอชนเอารถของพระองค์ตกลงไปในคลอง ทั้งพระองค์และมหาดเล็กไม่บาดเจ็บอะไรนักนอกจากฟกช้ำดำเขียว ฉลองพระองค์เต็มพระยศได้กันกระจกที่แตกละเอียดไว้ได้ 

สิ่งแรกที่ขึ้นมาจากคลอง แทนที่จะตั้งศาลเตี้ยชำระความ แต่กลับไปแจ้งความที่โรงพักเพื่อให้ตำรวจตัดสินคดี ซึ่งผิดวิสัยของเวลานั้น ซึ่งเป็นอย่างที่ ส.ธรรมยศ กล่าวไว้ในบทความเรื่อง “ดร.ดิลกแห่งสยาม” ว่าพระองค์ เป็น “เจ้าอย่างสามัญชน” ไม่โปรดคำราชาศัพท์ ชอบคุยเรื่องต่าง ๆ สนุกสนาน 

ส. ธรรมยศ กล่าวไว้ในบทความเรื่องดังกล่าว ว่า การที่พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ต้องปลงพระชนม์พระองค์เองนั้น เนื่องจากสภาพความกดดันต่าง ๆ มากมายในสมัยนั้น หนึ่ง ด้วยการที่พระองค์มีดีกรีเป็นถึง ดอกเตอร์ ซึ่งเจ้านายในสมัยนั้น ไม่มีใครที่ได้ดีกรีถึงขึ้นนี้ อย่างมากก็แค่ปริญญาโท เท่านั้นเอง ความอิจฉาริษยาของผู้คนรอบข้าง มักจะนำมาซึ่งความเดือนเนื้อร้อนใจอยู่เสมอ ๆ 

และประเด็นใหญ่ ก็ด้วยเหตุที่พระองค์ มีพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากเชียงใหม่ ซึ่งในขณะนั้น สยามยังมองเชียงใหม่ว่า เป็น “ลาว” ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ระหว่างสยามและล้านนายังมีอยู่ในใจลึก ๆ ของชาวสยามอยู่นั่นเอง จนถึงขั้นที่กล่าวหาพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐว่า จะคิดแยกล้านนาออกจากสยามประเทศ ซึ่งทำให้พระองค์ช้ำใจมาก ทั้งที่พระองค์ได้เสด็จไปดินแดนล้านนาเพียงครั้งเดียว ซึ่งข้อกล้าวหานี้ จะเป็นเพียงเพราะที่พระองค์มีพระมารดาเป็นชาวเชียงใหม่เท่านั้นเอง ซึ่งข้อหานี้เป็นข้อหาที่หนักหน่วงเอาการ …. 

ความเศร้าโศกาดูร ความกดดันกับมรสุมที่เข้ามาในชีวิต ที่ต้องฟันฝ่ากับการดูหมิ่นหยามจากชาวสยามในสมัยนั้น จนประสบความสำเร็จยิ่งกว่าใคร 

ด้วยความที่ความสามารถของพระองค์ยัง ใช้ได้ไม่เต็มที่ก็มาสิ้นพระชนม์ลงเสีย นับเป็นความสูญเสียบุคคลที่มีค่า ของทั้งสยาม และ ล้านนา อันที่จะเรียกคืนไม่ได้ 

ก็ได้เพียงแต่ เสียดาย หากไม่เช่นนั้น ประเทศจะพัฒนาไปได้ดีกว่านี้อีกมากนัก 

เมื่อ วันที่ 12 มกราคม 2546 ที่ผ่านมา นับเวลาได้ 90 ปี สำหรับการจากไปของ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ผู้เป็น “ศรีเมืองเชียงใหม่” ขอให้ดวงพระวิญญาณไปสถิตยังสวรรค์ชั้นฟ้าด้วยเทอญ

…สิ้นแล้ว สิ้นแก้ว มณี
ดวง นี้ ดับสิ้น หวงแหน
ล้านนา สยาม เขตแดน
ทั่วแคว้น รำลึก อาลัย…

20 มิ.ย. 53 เวลา 15:53 29,162 31 454
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...