10 สุดยอดการประหารสมัยใหม่ (เรื่องจริงที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน)


10 สุดยอดการประหารสมัยใหม่ (เรื่องจริงที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน)

(Top 10 Modern Methods of Execution)

 

                เราคงได้ยินเกี่ยวกับการประหารต่างๆ ที่ทั่วโลกและในประเทศศิวิไลซ์นำไปใช้เพื่อมอบความตายแก่นักโทษอยู่บ่อย ครั้ง แต่เราไม่ทราบวิธีการและเรื่องความเป็นมาของมันเท่าไหร่ บางอันก็ถูกยกเลิก บางอันก็ยังถูกนำไปใช้ถึงปัจจุบัน ดังนั้นในวันนี้ผมก็ได้รวบรวมวิธีการประหารสมัยใหม่มาให้ทุกคนได้อ่านกัน    (หมายเหตุมันเป็นการประหารศตวรรษที่ 19-20 กรุณาทำความเข้าใจด้วย ไม่ใช้ของโบราณกาล)

 

อันดับ 10 Lethal Injection

               

                ภาพจากห้องฉีดยาพิษที่ Huntsville ในเท็กซัส

                การฉีดยาพิษเข้าเส้นเลือดเรียกได้ว่าเป็น วิธีที่ทันสมัยที่สุดเท่าที่มีบทลงโทษแล้ว มันเป็นวิธีประหารชีวิตที่ประเทศไทยได้นำไปใช้ แล้วใช้เวลาตายรวดเร็วที่สุด

                ระหว่าง ที่นักโทษ จะมีการเตรียมการทำใจแต่เนินๆ มีการเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำฝักบัว กินอาหารมือสุดท้าย สวดมนต์ ฟังธรรม ฯลฯ จากนั้นนักโทษจะถูกมัดไว้กับรถเข็น โดยมีสายน้ำเกลือสองสาย (สายหลักและสำรอง) ปักอยู่ในแขนแต่ละข้าง สารพิษที่ใช้นั้นแม้จะแตกต่างกันไปในแต่ละที่ แต่กระบวนการพื้นฐานที่ต้องดำเนินก็คือ

             ขั้นแรกเป็น การฉีดยาสลบ (โซเดียม Thiopental) ซึ่งเป็นยาชาสำหรับผ่าตัดปริมาณที่ใช้ประมาณ 150 Mg แต่ ใครจะไปสนปริมาณมากล่ะในเมื่อมันจะตายอยู่แล้ว

                จาก นั้นก็ฉีดยาให้กล้ามเนื้อหยุดทำงาน(Bromide Pancuronium) หรือเรียกอีกอย่างคือ Pavulon เป็นยาที่ทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมซี่โครงและกระบังลมหยุดทำงาน เหลือเพียงหัวใจที่ยังเต้นอยู่ ลมหายใจของนักโทษจะอ่อนลงเรื่อยๆ ยานี้ให้ผลใน 1-3 นาที ปริมาณการแพทย์ที่ใช้ปกติ 40-100 Mg แต่สำหรับนักโทษใช้ 100 Mg ขึ้นอยู่กับ ความต้องการ

             ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการฉีดสารพิษให้หัวใจหยุดเต้น(โพแทสเซียม คลอไรด์) โดยมากนักโทษจะ ‘ไป’ ภายใน 6-13 นาที อย่างไรก็ตาม แม้ภายนอกจะดูเหมือนเป็นการ ‘ไป’ อย่างสงบ แต่ภายในนั้น ทั้งปอดและอวัยวะภายในอื่นๆ ของนักโทษต่างก็บิดเบี้ยวเนื่องจากขาดออกซิเจน

              สุดท้ายเจ้า หน้าที่จบกระบวนการประหารด้วยการนำศพเข้าห้องเย็นในอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส นาน 12 ชั่วโมง ก่อนที่ศพจะถูกส่งไปยังครอบครัวของนักโทษหรือรัฐเพื่อนำไปประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนาต่อไป

 

อันดับ 9 The Electric Chair

               

                ภาพ เก้าอี้ไฟฟ้าที่คุกซิงซิง

                เก้าอี้ ไฟฟ้าถูกคิดค้นโดยฮาโรลด์ บราวน์ ลูกจ้างโดยโทมัส เอดิสัน เพื่อวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวคือแข่งกับเทสซ่าในการใช้กระแสไฟสลับในการ ฆ่าสิ่งมีชีวิต และทางการอเมริกาเกิดสนใจสิ่งประดิษบ์นี้ก่อนมีการพัฒนาเป็นเก้าอี้ไฟฟ้าที่ เห็นกันในปัจจุบันโดยนักโทษที่ได้รับการประหารนี้เป็นคนแรกคือ William Kemmler (1890)

                ใน ช่วงแรกๆ ที่มีการใช้เก้าอี้ไฟฟ้า สังหารนักโทษในนิวยอร์กเมื่อปี 1830  นั้น หลายคนเชื่อว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่มีเมตตามาก เพราะมันเหมือนกับว่านักโทษถูกฆ่าด้วยแรงที่มองไม่เห็น

                สิ่ง สำคัญในการใช้เก้าอี้ไฟฟ้า คือต้องจับนักโทษผูกติดกับเก้าอี้ให้แน่นหนา จากนั้นต่อขั้วไฟฟ้าเข้าสองขั้ว ขั้วหนึ่งต่อเข้าไปที่หมวกหนังที่บุทองเหลือไว้ โดยใช้ฟองน้ำที่จุ่มน้ำทะเลหรือน้ำเกลือจนโชกรัดไว้ด้วย ส่วนขั้วไฟฟ้าอีกขั้นเป็นแถบทองเหลืองหรือตะกั่ว ใช้ร่วมกับฟองน้ำชุบน้ำเกลือชุ่ม รัดเข้าที่น่องซึ่งโกนขนหน้าแข้งแล้วของนักโทษ

                ว่า กันว่าก่อนการประหาร เจ้าหน้าที่ต้องเอาหน้ากากหนังปิดหน้านักโทษไว้ โดยรัดให้แน่นบริเวณเหนือดวงตา เพื่อไม่ให้ลูกตาของนักโทษกระเด็นหลุดออกมาเมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย

                กระแส ไฟฟ้าสังหารชีวิตนัก โทษ ด้วยการเข้าไปทำลายขั้วแม่เหล็กในสมอง รวมถึงโครงสร้างประสาทของก้านสมอง ทำให้อุณหภูมิสมองทะลุเดือด สูงถึง 280-284 องศา เซลเซียส นอกจากนี้กระแสไฟฟ้ายังเข้าไปทำลายอวัยวะภายใน ทำให้ร่างของนักโทษเป็นเหมือนกับหลอดไฟ ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลวนอยู่ภายใน  

                สำหรับ กระแสไฟฟ้าขนาดไหนถึงจะให้คนตายได้นั้น ได้หลักการแล้วกระแสไฟฟ้าที่ทำให้เสียชีวิตได้คือ 0.06-0.1 แอลป์ กระแสสลับหรือ 0.3-0.5 แอมป์กระสตรง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ แต่ละแห่งนั้นจะใช้กระแสไฟฟ้าไม่แน่นอน ยกตัวอย่างที่เรือนจำ Greenville รัฐ เวอรจีเนีย ใช้กระแสไฟฟ้า 1825 โวลท์ กระแส 7.5 แอมป์ เป็นเวลา 30 วินาที แล้วลดเหลือ 240 โวลท์ 1.5 แอมป์ เป็นเวลา 60 นาที

 

อันดับ 9 The Electric Chair

               

                ภาพ เก้าอี้ไฟฟ้าที่คุกซิงซิง

                เก้าอี้ ไฟฟ้าถูกคิดค้นโดยฮาโรลด์ บราวน์ ลูกจ้างโดยโทมัส เอดิสัน เพื่อวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวคือแข่งกับเทสซ่าในการใช้กระแสไฟสลับในการ ฆ่าสิ่งมีชีวิต และทางการอเมริกาเกิดสนใจสิ่งประดิษบ์นี้ก่อนมีการพัฒนาเป็นเก้าอี้ไฟฟ้าที่ เห็นกันในปัจจุบันโดยนักโทษที่ได้รับการประหารนี้เป็นคนแรกคือ William Kemmler (1890)

                ใน ช่วงแรกๆ ที่มีการใช้เก้าอี้ไฟฟ้า สังหารนักโทษในนิวยอร์กเมื่อปี 1830  นั้น หลายคนเชื่อว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่มีเมตตามาก เพราะมันเหมือนกับว่านักโทษถูกฆ่าด้วยแรงที่มองไม่เห็น

                สิ่ง สำคัญในการใช้เก้าอี้ไฟฟ้า คือต้องจับนักโทษผูกติดกับเก้าอี้ให้แน่นหนา จากนั้นต่อขั้วไฟฟ้าเข้าสองขั้ว ขั้วหนึ่งต่อเข้าไปที่หมวกหนังที่บุทองเหลือไว้ โดยใช้ฟองน้ำที่จุ่มน้ำทะเลหรือน้ำเกลือจนโชกรัดไว้ด้วย ส่วนขั้วไฟฟ้าอีกขั้นเป็นแถบทองเหลืองหรือตะกั่ว ใช้ร่วมกับฟองน้ำชุบน้ำเกลือชุ่ม รัดเข้าที่น่องซึ่งโกนขนหน้าแข้งแล้วของนักโทษ

                ว่า กันว่าก่อนการประหาร เจ้าหน้าที่ต้องเอาหน้ากากหนังปิดหน้านักโทษไว้ โดยรัดให้แน่นบริเวณเหนือดวงตา เพื่อไม่ให้ลูกตาของนักโทษกระเด็นหลุดออกมาเมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย

                กระแส ไฟฟ้าสังหารชีวิตนัก โทษ ด้วยการเข้าไปทำลายขั้วแม่เหล็กในสมอง รวมถึงโครงสร้างประสาทของก้านสมอง ทำให้อุณหภูมิสมองทะลุเดือด สูงถึง 280-284 องศา เซลเซียส นอกจากนี้กระแสไฟฟ้ายังเข้าไปทำลายอวัยวะภายใน ทำให้ร่างของนักโทษเป็นเหมือนกับหลอดไฟ ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลวนอยู่ภายใน  

                สำหรับ กระแสไฟฟ้าขนาดไหนถึงจะให้คนตายได้นั้น ได้หลักการแล้วกระแสไฟฟ้าที่ทำให้เสียชีวิตได้คือ 0.06-0.1 แอลป์ กระแสสลับหรือ 0.3-0.5 แอมป์กระสตรง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ แต่ละแห่งนั้นจะใช้กระแสไฟฟ้าไม่แน่นอน ยกตัวอย่างที่เรือนจำ Greenville รัฐ เวอรจีเนีย ใช้กระแสไฟฟ้า 1825 โวลท์ กระแส 7.5 แอมป์ เป็นเวลา 30 วินาที แล้วลดเหลือ 240 โวลท์ 1.5 แอมป์ เป็นเวลา 60 นาที

 

อันดับ 7 Single Person Shooting

               

                รูปที่คุณเห็นเป็นภาพนายตำรวจคนหนึ่งกำลังใช้ปืนยิงผู้ต้องสงสัยคน หนึ่งที่คิดว่าเป็นคนเวียดกง ภาพโดยเอ็ดดี้ อดัมส์ ในปี 1968 มันเป็นวิธีประหารแบบง่ายๆ แต่ได้ใจในหลายๆ คน แค่ใช้ปืนอะไรก็ได้มาจ่อจุดตายของนักโทษแล้วลั่นไก

                การกระทำโดยการยิงจ่อหัวแบบเดี่ยวๆ นี้เป็นวิธีพบเห็นบ่อยมาก ของการประหารที่ใช้กว่า 70 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่ประเทศเหล่านี้ใช้วิธีประหารนี้ทันทีที่พบนักโทษ ไม่ว่าจะเป็นทหารและไม่ใช้ทหาร โดยไม่มีการไต่สวนหรือขังใดๆ ทั้งสิ้น ที่โซเวียตจะใช้วิธีจ่อปืนด้านหลังศีรษะนักโทษ ไม่เว้นแม้กระทั้งจีนที่สามารถใช้ปืนยิงที่คอและหัวนักโทษได้ และในอดีตรัฐบาลจีนยังเคยให้ครอบครัวของนักโทษจ่ายค่ากระสุนสำหรับประหารอีก ด้วย ในไต้หวันนักโทษจะถูกฉีดยาชาเพื่อให้เขาหมดสติก่อนที่กระสุนปืนจะแล่นเข้า สู่หัวใจของเขา

 

อันดับ 6 Firing Squad

               

                ภาพการประหาร Antonio Echazarreta ในเม็กซิโก ปี 1913

                การยิงเป้าแบบทีมยิงถือได้ว่าเป็น การประหารที่เป็นเกียรติมากที่สุดของอาชญากรสงครามแล้วก็ว่าได้

                วิธีการก็ง่าย คือจับนักโทษมามัดให้แน่นอยู่กับที อาจผูกติดเสา หรือผูกติดกับเก้าอี้ ใช้ผ้าปิดตา จากนั้นก็เรียกทหารที่ถูกตั้งเป็นทีมกลุ่มหนึ่ง เพื่อทำการประหารระดมยิงไปที่นักโทษเป็นอันเสร็จพิธี

                ในประเทศอเมริกามีสองรัฐที่มีการประหารแบบนี้อยู่ ที่ไอดาโฮและโอกลาโฮมา ส่วนรัฐยูทาห์เคยมีการบันทึกการประหารนี้ในปี 1861 โดยนักโทษประหารชื่อวิลเลี่ยม จอห์นสัน(William Johnson) ฐานหนีทัพ จอห์นสันถูกยิงหลายครั้งที่หัวใจตายในการระดมยิงครั้งแรก

 

อันดับ 5 Hanging

               

                ภาพการประหารเด็กวัยรุ่น17 และ 18 ปี ใน Hanged ประเทศ อิหร่าน ข้อหารักร่วมเพศ

                การ แขวนคอเป็นการประหารที่นิยมเป็นอันดับ 2 ของโลก ปัจจุบันมีประเทศกว่า 78 ประเทศใช้วิธีการประหารนี้ เพราะว่านั้นเป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ดูจะรวดเร็ว ประหยัดและทำให้นักโทษเจ็บปวดน้อยที่สุด... หากทำอย่างถูกวิธี

                การแขวนคอมีหลายวิธีแล้วในแต่และประเทศ เช่นญี่ปุ่นจะมีบันไดใช้แทนตะแลงแก’เรียกว่า “บันได 13 ขั้น” ที่อิหร่านจากภาพจะเห็นรูปตะแลงแกงแบบเตียงและเอามาประจานให้คนอื่นดูไม่ให้ เป็นเยี่ยมอย่าง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติมีการใช้วิธีประหารนี้ประหารอาชญากรสงครามนาซีเป็นจำนวนมาก  และ รายล่าสุดที่เรียกเสียงอื้อฮาจากทั่วโลกก็คือ การแขวนคอนายซัดดัม ฮุนเซ็น อดีตผู้นำอิรัก ในปี 2007

                การประหารชีวิตโดยแขวนคอแบบมาตรฐานต้องยกให้อังกฤษ เนื่องจากเขามีการวางแผนการเตรียมพร้อมการประหารนี้อย่างละเอียด ก่อนการลงมือ เจ้าหน้าที่ต้องเตรียมการโดยเอาเชือกที่จะใช้ไปต้มในน้ำเดือดเพื่อให้ตัว เชือกหมดความยืดหยุ่นเสีย จากนั้นก็ติดตั้งบนตะแลงแกง เชือกจะถูกดึงแล้วดึงอีก เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ยืดหยุ่นแล้วจริงๆ ส่วนตัวบ่วงที่จะถูกนำไปคล้องขอนักโทษ โดยให้รอยขมวดอยู่ด้านหลังใบหูข้างซ้ายนั้น จะถูกขมวดรอบๆ 13 ขดเป็น มาตรฐาน

                ตัว นักโทษนั้นจะต้องสวมผ้าคลุมหัว และมัดแขนมัดขาเพื่อไม่ให้ใช้มือหรือเท้าเหนี่ยวพื้นเอาไว้ได้ เมื่อผู้ประหารเปิดประตูกลให้ตัวนักโทษหล่นลง ตามทฤษฎีแล้ว ทันทีที่ทิ้งน้ำหนักลงไปจนสุดปลายเชือก กระดูกสันหลังของที่สามหรือสี่ของนักโทษจะเคลื่อนออกจากกัน ทำให้เสียชีวิตในทันที

                แต่ สิ่งที่ยากที่สุดในการแขวนคอก็คือ การจัดระยะความยาวเชือก ถ้าเชือกสั้นเกินไปนักโทษอาจต้องตะเกียกตะกายอยู่ในสภาพหายใจไม่ออกอยู่นาน เกือบสิบนาที แต่หากเชือกยาวเกินไป แรงดึงอาจทำให้นักโทษถึงกับหัวขาด ซึ่งก็เป็นภาพอันน่าสยดสยองพอๆ กัน ดังนั้นที่อังกฤษจริงได้มีการจดบันทึกในการคะเนความยาวของเชือกในการประหาร แก่นักโทษคนๆ นั้น โดยใช้น้ำหนักของนักโทษเป็นเกณฑ์ นอกจากนี้ยังมีการซ้อมการประหารโดยใช้กระสอบทรายแทนนักโทษเพื่อไม่ให้เกิด ข้อผิดพลาดในการประหารจริง

 

อันดับ 4 Beheading

               

                ภาพการตัดสินพิพากษาที่ 15 Dhahian Rakan-Sibai’I ซึ่งทำการประหารในปี 2007

                การตัดหัวนั้นเป็นวิธีที่ครึ่งไทยได้ไปใช้และได้รับยกเลิกเพราะมัน โหดร้าย แต่กระนั้นการประหารนี้ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันในบางประเทศที่มีกฎหมายอิสลาม เช่น โซมาลี ซาอุดิอาระเบีย

                การ ตัดหัวที่พบเห็นบ่อยที่สุดในประเทศที่มีกฎหมายมุสลิน คือการประหารโดยใช้ดาบวงพระจันทร์  ในประเทศซาอุดิอา ระเบียจะทำการประหารนี้ที่ใจกลางเมือง ในนครเจดาห์ คืนวันศุกร์ในที่สาธารณะนอกมัสยิดหลักของเมือง หลังจากละหมาด ต่อหน้าทุกคนที่ชุมนุมกันมาดู(ผมดูสารดดีที่ใจกลางประหารที่พื้นจะมีช่อง ระบายน้ำสำหรับกวาดเลือดที่ไหลออกจากตัวของนักโทษลงไป) การลงโทษนี้ใช้สำหรับนักโทษ ที่ลงมือกระทำข่มขืน, ฆาตกรรม, ยาเสพติด และปฏิเสธความเชื่อทางศาสนา

                เนื่องด้วยมันเป็นดาบวงพระจันทร์ มันไม่ใช้ดาบหนักๆ ที่มีพลังทำลายมาก ดังนั้นมีอยู่บ่อยครั้งที่นักโทษประหารไม่ตายในดาบเดียว    ทำให้เพชฌฆาต ต้องลงดาบ ซ้ำหลายครั้งจนกว่าหัวจะหลุดจากบ่า

                วิธีการประหารตัดหัวของประเทศซาอุได้จุดประเด็น เรื่องสิทธิมนุษยธรรมจากนานาๆ ประเทศอย่างมากมาย เนื่องจากมีนักโทษอายุน้อยที่ตายในการประหารชีวิตแบบนี้ด้วย ซึ่งในภาพคือ Dhahian Rakan-Sibai’I เขาถูกตัดหัวในขณะอายุ 18 ปีเท่านั้น

 

อันดับ 3 Guillotine

               

ภาพข้างบนเป็นการ ประหาร ยูจีน เว็ดแมนน์ (Eugene Weidmann) ฆาตกรสังหาร 5 ศพ บุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินคือ โดยถูกตัดศีรษะเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1939 เวลา 16.32 น. ภายนอกคุก Saint-Pierre rue Georges Clemenceau 5 ที่เมืองแวร์ซายส์

กิโยตินเป็นเครื่องมือประหารที่ ใช้ตัดตัดคอนักโทษ ประกอบด้วยโครงที่ส่วนมากจะเป็นไม้ ใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู น้ำหนักประมาณ 40 กก. จะถูกแขวนไว้ในส่วนบนสุด ภายใต้ใบมีดจะเป็นส่วนที่ให้ผู้ถูกลงโทษวางศีรษะ เมื่อเชือกได้ถูกปล่อยหรือตัดลง ใบมีดที่หนักจะหล่นลงไม้ในระยะทางประมาณ 2.3 เมตร และตัดศีรษะผู้ถูกประหาร (ความสูงและน้ำหนักตามมาตรฐานกิโยตินฝรั่งเศส) บุคคลต้นคิดการประหารนี้คือ อองตวน หลุยส์ (Antoine Louis) สมาชิก ของ กลุ่ม Académie Chirurgical โดยเครื่องกิโยตินตอนแรกได้ใช้ชื่อว่า หลุยซอง (Louison) หรือ หลุยเซท (Louisette) แต่ได้ถูก เปลี่ยนชื่อเป็น "กิโยติน" ตามชื่อของ ดร.โจเซฟ-อิกเนซ กิโยติน (Joseph-Ignace Guillotin) แพทย์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เสนอแนะการประหารชีวิตโดยการตัดคอ ภายหลัง ดร.กิโยติน ได้เปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากไม่ต้องการใช้ชื่อสกุล เป็นคำเดียวกับวิธีการประหารชีวิต การใช้เครื่องกิโยตินแทนการประหารชีวิตแบบเก่า โดยเหตุผลในการตัดคอ มีหลายครั้งที่ตัดคอไม่สำเร็จในดาบแรก ทำให้เกิดความทรมานต่อผู้ถูกประหารชีวิต การใช้กิโยตินจะทำให้ผู้ถูกประหารชีวิตเจ็บปวดน้อยที่สุด  ก่อน การปฏิวัติฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียงจะถูกตัดคอโดยดาบหรือขวาน ในขณะที่ชาวบ้านทั่วไปจะถูกแขวนคอ หรือวิธีการประหลาดต่างๆ ในช่วงของยุคกลาง (เช่น ถูกเผา หรือมัดกับล้อไม้) ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส มีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินอย่างน้อย 20,000 คน โดยการประหารด้วยกิโยตินถือเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปเช่นกัน

ถึงแม้ว่าประเทศฝรั่งเศสได้ชื่อ ว่าเป็นประเทศแรกที่ใช้การประหารชีวิตด้วยกิโยติน นิโคลัส เจ. เพลเลทีเยร์ (Nicolas J. Pelletier) โจรปล้นสัญจรถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินเป็นคนแรกเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1792 แต่ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 สหราชอาณาจักร มีเครื่องลงโทษลักษณะที่คล้ายกันชื่อ จิบบิต (gibbet) และมีเครื่องลงโทษลักษณะคล้ายกันใน ประเทศอิตาลี และ สวิตเซอร์แลนด์

กิโยตินถือเป็น เครื่องประหารชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย จนกระทั่งยกเลิกกฎหมายประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1981

อันดับ 2 Stoning

               

ภาพการปาหินใน อิหร่าน

การใช้หินขว้างจนตายคือการลงโทษ ที่โบราณที่สุดที่ยังคงหลงเหลือในปัจจุบัน ในอิหร่าน มัวริทาเนีย ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย ซูดาน อัฟกานีสถาน ไนจีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน โดยเฉพาะประเทศที่มีกฎหมายอิสลามจะถูกบันทึกอย่างละเอียดในการประหารชนิดนี้

ในประเทศอิหร่านมีการกำหนดการ ประหารนี้ในมาตราที่ 104 เรียกว่ากฎหมายของ Hodoud ใช้ สำหรับกาเม สุมิจฉาจาร(การที่ชายหญิงมีเพศสัมพันธ์กันโดนไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีกรณีที่ยกเว้นเหมือนกันคือถ้าเป็นเด็กวัยรุ่นจะถูกโบย 100 ครั้งในที่สาธารณะ)และอาชญากรรมอื่นๆ โดยมีวิธีที่เหมือนๆ กันคือ เอาตัวนักโทษมาฝังทรายให้ โดยถ้าเป็นชายให้ฝังดินถึงเอว ส่วนฝ่ายหญิงให้ฝังเหลือถึงไหล่ เพื่อให้เจ้าทุกข์หรือฝูงชนใช้ก้อนหินที่ทางการจัดไว้ข้างใส่ที่ศีรษะจนขาด ใจตาย(บางรายสมองไหลเลยก็มี) โดยก้อนหินนั้นจะต้องมีขนาดพอเหมาะ ไม่ใหญ่เกินไปเพื่อไม่ให้นักโทษตายทันที ควรกำหนดเป็นก้อนกรวดแต่ต้องทำให้บาดเจ็บสาหัส

ล่าสุดมีการถ่ายวีดีโอการประหารปา หินที่อิหร่าน เมื่อ Jaffar Kiani ตายจากการโดน ปาหินฐานกาเมสุมิจฉาจาร จนถูกประณามจากคนทั่วโลก พร้อมกับมีการเรียกร้องให้ยุติการประหารนี้(จากสถิตในปี 2007 อิหร่านทำสถิตลงโทษประหารชีวิตมากกว่าประเทศอื่นๆ ในโลก พอๆ กับจีนที่มีสถิตประหารชีวิตถึง 317 ราย)

อีกราย หนึ่งที่โด่งดังที่สุดคืออามินา ลาวาล (Amina Lawal) ผู้หญิงชาวมุสลิมอายุ 31 ปี อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของไนจีเรีย ถูกพิพากษาเมื่อเดือนมีนาคม 1972 โดยศาลชาริอะห์ (Shariah) ของศาสนาอิสลาม พิพากษาตัดสินให้ประหารชีวิตเธอด้วยการขว้างก้อนหินใส่ ในข้อหาที่เธอมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ชายที่ไม่ไช่สามีที่ถูกต้องตาม กฎหมาย (having sex outside of marriage) แต่ผลสุดท้ายทั่วโลกต่างกดดันรัฐบสลไนจีเรียผลสุดท้ายเธอก็รอดจากการประหาร ในที่สุด

อันดับ 1 Garrote

               

                ภาพข้างบนคือการประหารแบบ Garrote ในกรุงมะลิกา ในปี 1901

                และแล้วก็มาถึงอันดับ 1 ของเรา(แต่ในเว็บเป็นอันดับ 10) ผมว่าเป็นการประหารที่ทรมานที่สุดของการประหารในยุค 19 แล้วมั้ง กับการประหารแบบ บีบปลอกคอเหล็ก เป็นวิธีการ ประหารที่ไม่ได้อนุมัติตามกฎหมายของประเทศเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ แม้ว่าการประหารนี้จะมีการฝึกอบรมในประเทศฝรั่งเศส โดย Garrote เป็นอุปกรณ์สำหรับรัดคอ และยังสามารถใช้ตัดหัวของนักโทษได้ อุปกรณ์นี้เคยถูกใช้ในสเปน จนกระทั้งถูกยกเลิกในปี 1978 และถูกนำมาใช้ในประเทศอาณานิคม บางประเทศ

               การ ประหารชีวิตโดนการบีบปลอกคอเหล็ก โดยปกติแล้วจะประกอบด้วยที่นั่งนักโทษตามภาพเราจะเห็นว่ามี ที่นั่งนี้มีจุดล็อกต่างๆ เพื่อไม่ใช้นักโทษดิ้นรนหรือหนีได้ และที่น่ากลัวคือปลอกโลหะที่อยู่บริเวณคอของนักโทษ ที่มันจะล็อกคอนักโทษ  จากนั้นสังเกตว่าข้างๆปลอกคอจะมีที่สลักเกลียวเหมือนที่ หมุนน้ำแข็งใส เพชฌฆาตจะใช้สลักนี้หมุนไปหมุนมา ปลอกคอก็จะเริ่มแคบลงแคบลงๆ เข้าหากัน ทำให้คอของนักโทษบีบอัดอึดอันทรมานมากจนขาดใจตายอย่างน่าสงสาร และถ้าหมุนไปเรื่อยหัวอาจขาดอย่างน่าชื่นชม บางรุ่นอาจมีอัฟชั่นเสริมเช่นมีกระชอนโลหะใช้กดกระดูกสันหลัง. ทำลายคอ หรือใช้เดือยแหลมตอกร่างกายที่เรียกว่า “Catalan Garrote”การประหารโดย Garrote ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นที่

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...