ย้อนรอยกองทัพเรือมองโกลโดนถล่ม

thairath

ครั้ง หนึ่งในอดีตกาลนั้น อาณาจักรมองโกลเคยกว้างใหญ่ไพศาล แผ่คลุมอำนาจปกครองดินแดนทั้งเอเชีย และยุโรปเป็นอาณาบริเวณกว้างขวางกว่าในยุคสมัยของจอมจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ แห่งกรีกถึง 4 เท่า มีกองทัพที่เข้มแข็งทรงพลานุภาพ แต่ด้วยเหตุการณ์ที่ผันแปรเพียงชั่วข้ามคืน และสร้างความวิบัติมหาศาลให้แก่ทัพมองโกล อาณาจักรอันรุ่งโรจน์นี้ก็พลันเสื่อมลงและล่มสลายไปในที่สุด เหตุวิบัติดังกล่าวเกิดจากอะไร เราจะมาเล่าสู่กันฟังในหนนี้




แต่ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักอาณาจักรมองโกลกันพอสังเขปก่อน


ประเทศจีนตั้งแต่ครั้งจักรพรรดิ จิ๋นซีฮ่องเต้ มักถูกรบกวนด้วยชนเผ่านักรบเถื่อน ที่เรียกกันว่า พวกตาดฮั่น และเตอร์ก ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือ จนจิ๋นซีฮ่องเต้ต้องสร้างกำแพงใหญ่ขึ้นเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเหล่านี้ ดังที่เราทราบดีทั่วกัน

กาลต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 ได้เกิดมีชนเผ่าใหม่ขึ้นในพวกตาด ได้แก่ มองโกล (mongol) ซึ่งเป็นชนนักสู้ผู้กล้า ได้ตั้งราชธานีขึ้นที่เมืองคาราโครัม (Karakorum) ริมฝั่งแม่น้ำออร์คอน (Orkhon) และแล้วในปี ค.ศ.1162 ก็มีมหาบุรุษถือกำเนิดขึ้นในเผ่ามองโกล ตอนเยาว์วัยเขามีนามว่า เต มูยิน

ปี ค.ศ.1206 เตมูยินก็สามารถรวมเผ่ามองโกลให้เป็นหนึ่งเดียวได้ เขาขึ้นเป็นผู้นำในนาม “เจ็ง กิสข่าน”


ผู้นำมองโกลที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้เจ็งกิสข่าน คือ หลาน ชายของพระองค์ ซึ่งมีนามว่า กุบไลข่าน ได้รับเลือกเป็นมหาข่านปกครองมองโกลในปี ค.ศ.1260 งานแรกของข่านองค์นี้ คือ ปราบปรามวงศาคณาญาติที่ต้องการโค่นล้มพระองค์ หลังจากนั้นก็ทรงถือเอากรุงปักกิ่งเป็นนครหลวง และสถาปนาราชวงศ์ หยวน ขึ้น พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิจีนแทบจะยิ่งกว่าผู้นำมองโกล และตั้งพระนามว่า ง่วนสีโจ๊วฮ่องเต้ เป็นปฐมกษัตริย์ ของราชวงศ์หยวน




ตลอดรัชสมัยของ กุบไลข่าน ได้ทรงทำสงคราม ขยายดินแดนอย่างไม่หยุดหย่อน จนอาณาจักรมองโกลกว้างใหญ่ไพศาล ตั้งแต่เกาหลีไปจดโปแลนด์ ในยุโรปทางคาบสมุทรอินโดจีน ทั้งตังเกี๋ย อันนัม และพม่า ล้วนตกเป็นเมืองขึ้นของมองโกล แต่กระนั้นก็ยังไม่เพียงพอ พระองค์มุ่งหมาย ที่จะได้ครอบครอง ดินแดนโพ้นทะเล อันประกอบด้วย ญี่ปุ่น เกาะกิวชิว เกาะชวา ซึ่งการจะโจมตีดินแดนเหล่านี้ จำเป็นจะต้องใช้ทัพเรือ แม้ว่ามองโกลจะเก่งกาจ ในด้านการรบบนบกเพียงใด แต่ในเรื่องเรือ และการรบทางทะเลนั้นไม่มีความรู้เลย

และนี่เองเป็นที่มา ของความเสื่อมสลายของอาณาจักรมองโกล และแผ่ขยายอำนาจ ครอบครองดินแดนต่างๆ ไว้ได้อย่างไพศาล รวมทั้งมณฑลทางเหนือของจีน


การยกทัพเรือไปโจมตีญี่ปุ่นครั้งแรก มีขึ้นในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ.1274 มองโกลเกณฑ์กองเรือเกาหลี 900 ลำ นำทหารมองโกล 25,000 คน ขึ้นฝังที่ท่าเมืองฮากาตา เกาะกิวชิว วันต่อมาได้เกิดการสู้รบตะลุมบอนกันอย่างดุเดือดกับพวกญี่ปุ่น แต่ยังไม่ทันจะรู้แพ้รู้ชนะ คืนนั้นก็ได้เกิดพายุใหญ่ทำลายเรือมอง โกลพินาศไปครึ่งหนึ่ง มองโกลจึงต้องถอยกลับ



เจ็ดปีต่อมา คือในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ.1281 กุบไลข่านก็ทรงส่งกองทัพเรือ มหึมาไปตีญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง โดยขึ้นฝั่งที่เกาะกิวชิวเช่นกัน คราวนี้การสู้รบยืดเยื้อ อยู่เกือบสองเดือน แต่แล้วในคืนวันที่ 14 สิงหาคม เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ก็อุบัติซ้ำรอยขึ้นอีก นั่นคือเกิดพายุใหญ่ โหมกระหน่ำ ทัพเรือมองโกล จนย่อยยับต้องถอยกลับอีกครั้ง


ไม่มีการโจมตีญี่ปุ่นเป็นหนที่สาม เพราะองค์ จักรพรรดิกุบไลข่าน สิ้นพระชนม์เสียก่อนในปี ค.ศ.1294 และหลังจากรัชกาล ของพระองค์อำนาจ ของมองโกลในจีนก็เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว กระทั่งปี ค.ศ.1468 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เหม็ง หรือมิงของจีน ก็สามารถขับมองโกล ออกไปพ้นจากกำแพงใหญ่ได้


ความเสื่อมสลายของอาณาจักรมองโกล ส่วนหนึ่งมาจากการพ่ายแพ้ ยับเยินในสงครามกับญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นอ้างว่าเป็นเพราะ ได้รับ ความช่วยเหลือ จากเทพดาแห่งพายุ “กามิกาเซ”

เท็จจริงจะเป็นอย่างไรนั้น ขณะนี้ได้มีการสำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูลกันแล้ว


ผู้ที่สนใจค้นคว้าในเรื่องนี้ก็คือ เคนโซ ฮาโยชิดะ แห่งสถาบันโบราณคดี ใต้น้ำเกียวชูโอกินาวา เขาทุ่มเทกว่า 15 ปี ในการดำน้ำสำรวจหาร่องรอย ของกองเรือจีนที่อับปาง ในสงครามหนนั้น ซึ่งไม่ใช่งานง่ายๆ เลย เพราะญี่ปุ่นมีถึง 3,000 กว่าเกาะ ติดต่อกันยาว 2,000 ไมล์

ทว่าโอกาสก็มาถึง เมื่อฮาโยชิดะได้ข่าวว่าชาวประมงแห่งเกาะเล็กๆ ทากาชิมาได้พบแผ่นโลหะที่มีอักษรต่าง ด้าวจารึกจมอยู่ใต้ทะเล และพอฮาโยชิดะนำโลหะนั้นมาพิจารณาดูมันอาจเป็นไป ได้ว่า สิ่งนี้คือ ตราประจำตัวของนายทัพที่คุมกำลังทหารราว 1,000 คน อีกด้านหนึ่งของตรามีระบุว่าได้ทำขึ้นในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1276 ซึ่งเป็นเวลา 5 ปีก่อนจีนยกทัพเรือบุกญี่ปุ่น นับว่าเข้าเค้าได้พอดี


เมื่อ มั่นใจแน่ว่า ณ ฝั่งทะเลแห่งนี้เป็นสุสานของกองเรือรบจีน ทีมงานของฮาโยชิดะก็ได้ดำน้ำค้นหาหลักฐานอื่นๆ หากทว่า 700 ปีที่ผ่านไปนั้น ทำให้มีดินโคลนท่วมทับพื้นสมุทรหนาเกือบ สองเมตร การควานหาวัสดุย่อมยากยิ่งดั่งคำว่า “งมเข็มในมหาสมุทร”

อย่าง ไรก็ตาม ในที่สุดพวกเขาก็ค้นพบวัตถุหนึ่งซึ่งสันนิษฐานว่าคือสมอเรือ ซึ่งทำด้วยไม้ และเป็นไปได้อย่างยิ่งที่เป็นสมอของเรือมองโกล เนื่องจากไม้นั้นมิได้เป็นไม้ญี่ปุ่น แต่มาจากจีน และเรือรบมองโกลก็ใช้ไม้เมืองจีนสร้างขึ้น เมื่อสำรวจต่อไปทีมงานก็พบสมอไม้ใกล้ๆ กันอีก 9 สมอ นับว่าเรือที่ใช้ต้องเป็นเรือขนาดใหญ่ หรือเรือรบนั่นเอง

และ ในที่สุด ความฝันของฮาโยชิดะ ก็เป็นจริง พวกเขาได้ค้นพบหมวกเฮลเม็ท ของนักรบมองโกล รวมทั้งดาบ และหัวธนูจมอยู่ภายใต้โคลน กระทั่งสุดท้าย ก็คือกะโหลกศีรษะ นักรบของจักรพรรดิกุบไลข่าน


บัดนี้ก็พิสูจน์ได้แล้ว จากเศษซากไม้นับพันๆ ชิ้นที่เคยประกอบเป็นตัวเรือ ที่มีความยาวเกิน 230 ฟุต และกว้างกว่า 18 ฟุต ว่าชายฝั่ง เกาะทากาชิมานี้เอง ที่เป็นสุสานของเรือรบจีน

หาก ทว่า มันจมลงด้วยฤทธิ์ของพายุ ที่เทพเจ้ากามิกาเซ ส่งมาจากสวรรค์จริงหรือ


ฮาโยชิดะศึกษาดูจากปูมประวัติศาสตร์ ย้อนกลับไปในฤดูใบไม้ผลิแห่งปี 1281 จักรพรรดิ กุบไลข่าน ได้ทรงมีบัญชาให้ อราข่าน เป็นแม่ทัพใหญ่ ยกกองทัพเรือมาโจมตีญี่ปุ่น โดยมีแสนยานุภาพที่ยิ่งใหญ่ กว่าทัพเรือใดๆ ในอดีตประกอบด้วยเรือรบถึง 4,400 ลำ ทหารชั้นดี 140,000 คน นอกจากนี้ ยังบรรทุกม้าศึกมองโกลชั้นเยี่ยม รวมทั้งเสบียง ยาและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ระดมเอามาจากหัวเมืองต่างๆ อีกเพียบ

แต่ไฉน กองทัพเรือมหึมานี้จึงประสบกับความวิบัติภายในคืนเดียวคือ คืนวันที่ 14 สิงหาคม 1281 อย่างไม่น่าเชื่อ เทพเจ้ากามิกาเซ ทรงดลบันดาลให้เป็นไปจริงหรือ?

ฮา โยชิดะพิจารณาข้อมูลอย่างถี่ถ้วน เริ่มแรกเขาเชื่อว่า จากการที่กองเรือมองโกลต้องหยุดยั้งอยู่ในทะเลนานหลายสัปดาห์ ย่อมทำให้ทหารอิดโรย และเจ็บป่วย เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับน้ำเค็มและอากาศร้อนอบอ้าว

ประการที่ สองที่สำคัญยิ่ง นั่นคือ ในฤดูกาลของญี่ปุ่นจะมีพายุ ไต้ฝุ่น (typhoon) อันรุนแรงกระหน่ำอยู่เสมอ ความเร็วของไต้ฝุ่นบางครั้งเกินกว่า 150 ไมล์/ชั่วโมง ซึ่งสร้างความพินาศได้อย่างมหาศาล และพีคไทม์หรือเดือนที่เกิดไต้ฝุ่นสูงสุดก็อยู่ในช่วงสิงหาคม กันยายน และตุลาคมของทุกปี เป็นไปได้ว่ากองเรือรบจีนถูกพายุนี้โจมตีอย่างรวดเร็วจนตั้งตัวไม่ติดและนาน ถึง 6-12 ชั่วโมง กระแสพายุขนาด 150 ไมล์/ชั่วโมง จะทำให้เกิดคลื่นสูงถึง 10 หรือ 20 เมตร กระแทกเอากองเรือรบไปปะทะหินโสโครกจนพังพินาศสิ้น


ฮาโยชิดะประเมินว่า ทหารมองโกล ที่จมน้ำตายมีจำนวนถึง 70,000 คน จัดเป็นความสูญเสีย ทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุด

อย่าง ไรก็ตาม แม่ทัพอราข่าน กับทหารอีกจำนวนหนึ่ง รอดชีวิตกลับไปเมืองจีนได้นั่น อาจเป็นเพราะเขาอยู่บนเรือ ที่มีความแข็งแรง มั่นคงกว่าเรือรบลำอื่นๆ

แม้เคนโซ ฮาโยชิดะ จะสรุปว่า พายุไต้ฝุ่นท้องถิ่นนั่นเอง ที่เป็นตัวการทำลายล้าง กองทัพเรือจีน และมีผลให้อาณาจักรมองโกล อันยิ่งใหญ่ต้องเสื่อมสลายลง

หากทว่า ชนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็ยังคงยึดมั่นอยู่ว่า ฟ้าได้โปรดประทานกามิกาเซมาช่วยให้ชาติของตน รอดพ้นจากภัยพิบัติถึงสองครั้งสองคราอยู่นั่นเอง

ก็แล้วแต่ ความเชื่อถือศรัทธาของแต่ละคน

Credit: http://www.artsmen.net/
#พลิปปูมสงคราม
Messenger56
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIPสมาชิก VIP
13 มิ.ย. 53 เวลา 15:59 1,402 4 86
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...