อภินิหารเสื้อคลุม สวมแล้ว หายตัวได้

 


รถถังแช ลเลนเจอร์


เดือนตุลาคม 2007 ณ ฐานทัพอันโดดเดี่ยว ทางตอนใต้ของอังกฤษ บุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยนักวิทยาศาสตร์และนายทหารระดับสูง ต่างเฝ้าจับตามองไกลไปที่เส้นขอบฟ้า รถถังยานเกราะคันหนึ่งได้ปรากฏขึ้นต่อสายตาทุกคู่ และแล้วในฉับพลันทันใด ยานรบน้ำหนัก 60 ตัน
คันนี้ก็อันตรธานหายวับไป

รถถังแชลเลนเจอร์ (Challenger Tank) นั้นลำมหึมาเกือบเท่าบ้านหลังเล็กๆ ความยาวของมันร่วม 10 เมตร จากปลายลำกล้องปืนถึงบั้นท้าย แล้วมันล่องหนไปอย่างน่าอัศจรรย์ได้ยังไง?


เซียง ชาง



และถ้าสิ่งนี้เป็นจริง กองทัพที่สามารถทำให้ หน่วยทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ กำบังตนได้จากสายตาข้าศึก ย่อมจะได้เปรียบในการรบอย่างมหาศาล แน่นอน

หาก แต่ปฏิบัติการทดลองครั้งนี้มิได้เสกให้รถถังล่องหนหายวับได้ เพียงแต่อาศัยเทคนิคในการพรางตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบด้าน นั่นคือเริ่มต้น ด้วยการฉาบซิลิโคน (Silicone) ทั่วตัวถังยานเกราะ แชลเลนเจอร์ ทำให้มันมีสภาพเหมือนจอภาพยนตร์ที่สะท้อนแสงได้ดี ส่วนภายในก็ติดตั้งอุปกรณ์การฉายภาพซึ่งประกอบด้วยโปรเจคเตอร์ (Projector) กระจกเงา แผ่นสะท้อนแสง และที่สำคัญคือกล้องวีดิโอ (Video Camera) ซึ่งจะถ่ายภาพสิ่งแวดล้อม รอบตัวที่เป็นอยู่จริงๆในขณะนั้น แล้วฉายขึ้นบนตัวถังที่เปรียบเสมือนจอ ดังนั้น สิ่งที่ปรากฏต่อสายตาของผู้สังเกตการณ์ก็คือทิวทัศน์บนตัวรถถังที่กลมกลืนไป กับสิ่งแวดล้อมนั่นเอง


เทคนิค นี้ว่าไปแล้วก็เอาไอเดียมาจากสัตว์ที่พรางตัวให้รอดพ้นจากสายตาของผู้ล่า นั่นแหละ

การ "เห็น" หรือ "ไม่เห็น" นั้นขึ้นอยู่กับทฤษฎีของแสงที่ว่าทุกวินาทีนั้นตัวเราถูกระดมยิง (Bombardment) ด้วยลำแสง (beam) นานาชนิด ตั้งแต่รังสีที่แผ่จากดวงอาทิตย์ แสงจาก

หลอดไฟต่างๆ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electro-magnatic) จากสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งการที่เรามองเห็นได้ก็เพราะแสงเหล่านี้เดินทางไปกระทบวัตถุแล้วสะท้อน กลับมาเข้าตาเรา ดังนั้น วิธีการหนึ่งที่จะทำให้ "มองไม่เห็น" ก็คือ การทำให้แสงเบี่ยงเบนหักเหไปทางอื่น หรืออ้อมหลบจากวัตถุนั้น


ภาพขยาย วงจรเมตา-แมทีเรียล


หากทว่ายังไม่ เคยมีใครค้นวิธีการเช่นว่านี้ได้

ในช่วงปี 1943 ที่สงครามโลกเข้าขั้นรุนแรง เพียงแค่ห้าเดือนแรกของปีนี้ เรือสินค้าของสัมพันธ-มิตรถูกเยอรมันทำลายด้วยเรือบิน, ทุ่นระเบิด และตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำ จมลงสู่ก้นสมุทรแอตแลนติกเหนือถึงกว่า 250 ลำ เรียกเป็นสุสานเรือสินค้าก็ว่าได้ ทางนาวีสหรัฐฯจึงคิดอ่านหาวิธีแก้ไข

อัล เบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยเขียนทฤษฎีว่าด้วยการทำให้เรือ "หายตัว" รอดพ้นจากการตรวจพบของเรดาร์และตอร์ปิโด หากทว่าเขาเองไปทุ่มเทให้กับการคิดค้นระเบิดปรมาณู ทฤษฎีนี้จึงยังไม่มีการทดลองให้มีผลจริงจัง


เรือ เดินสมุทรนั้นเป็นเหล็ก จึงดึงดูดทุ่นระเบิดและตอร์ปิโดที่เป็นแม่เหล็ก ดังนั้น ถ้าหากวางสายเคเบิลไฟฟ้าทั่วลำเรือ เมื่อปล่อยกระแสไฟก็จะสร้างขั้วแม่เหล็กที่ผลักดันขั้วแม่เหล็กของทุ่น ระเบิดและตอร์ปิโดได้ ด้วยเหตุนี้ สหรัฐฯจึงทำการทดลองโครงการ "ฟิลาเดลเฟีย" (Philadetphia Ex-periment) โดยสร้างเรือลำเลียงยูเอสเอส เอลดริดจ์ เดอ 173 (USS Eldridge DE 173) และปล่อยลงน้ำใน วันที่ 25 กรกฎาคม 1943 โดยมีเป้าหมายใช้ขนส่งผู้คนและสิ่งของไปยังแอฟริกาเหนือ

เรือ เอลดริดจ์มีความยาวไล่เลี่ยกับสนามฟุตบอล หลังจาก "ห่อหุ้ม" ทั้งลำด้วย "ขดลวดไฟฟ้า" เรียบร้อย แล้ว ก็จอดพักอยู่ที่ท่าเรือเมืองฟิลาเดลเฟีย รอการทดสอบขั้นสุดท้ายก่อนออกปฏิบัติงาน



ห้าโมงเย็นของวันที่ 28 ตุลาคม 1943 แม้จะผ่านการวางแผนอย่างรอบคอบ ทว่าก็ยังมีหลายสิ่งที่คณะผู้สร้างยังไม่อาจล่วงรู้ได้ พอเปิดสวิตช์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็บังเกิดขึ้น มีหมอกควันสีเขียวกระจายฟุ้งปกคลุมทั่วลำเรือ หลังจากหมอกควันจางหายไป เรือเอลดริดจ์ก็อันตรธานไปจากสายตาผู้สังเกตการณ์ด้วย!

ผู้ควบคุม สั่งปิดสวิตช์และเรือเอลดริดจ์ก็กลับคืนสู่สภาพเดิมท่ามกลางกลุ่มหมอกควันสี เขียวดั่งเช่นที่เกิดขึ้นในตอนสับสวิตช์ แต่ตำแหน่งของการกลับมานั้นอยู่ห่างจากที่เดิมไปนับร้อยไมล์!

สิ่ง ที่นาวีสหรัฐฯต้องตระหนกก็คือ ลูกเรือบางส่วนหายไป บางส่วนเกิดอาการเสียสติและวิกลจริตในที่สุด สองสามคนฝังจมอยู่ในโลหะของลำเรือ แขนข้างหนึ่งของลูกเรือคนหนึ่งฝังติดอยู่ในหัวเรือ


เสื้อ คลุมล่องหน


ทางการสหรัฐฯสั่งยุติการ ทดลองนี้ทันที และไม่มีบันทึกรายงานผลการทดลองนี้ปรากฏออกมาให้สาธารณชนได้รู้เห็นเลย

สิ่ง หนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์แห่งอนาคตสนใจก็คือวัสดุที่เรียกว่า เมตา-แมทีเรียล (Meta-Material) มีคุณสมบัติในการเบี่ยงเบนแสงให้อ้อมวัตถุ เมื่อใช้วัสดุนี้หุ้มวัตถุก็เปรียบเสมือนเป็นเสื้อคลุมล่องหน ไม่มีใครมองเห็นวัตถุนั้นได้

ปี 2006 ดร.เดวิด สมิธ (David Smith) แห่งมหาลัยดุ๊ค, นอร์ทแคโรไลนา ก็ทำให้โลกตะลึงเมื่อเขาประกาศว่าสามารถสร้างวัสดุเมตา-แมทีเรียล ได้สำเร็จแล้ว!

ทั้งนี้ ดร.สมิธได้นำสารชนิดต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกันจนมีลักษณะคล้ายแผ่นวงจรไฟฟ้า และมีคุณสมบัติต้านแม้เหล็กไฟฟ้าที่แตกต่างไปจากวัสดุอื่นที่เคยมีบนพื้น พิภพ   โดยเขาได้ใช้แผ่นไฟเบอร์กลาสเป็นฐาน จากนั้นก็นำเอาแผ่นทองแดง บางๆที่มีรูปแบบเป็นวงแหวนวงจรไฟฟ้าขนาดเล็กมาทาบทับบนไฟเบอร์กลาส  สิ่งที่ได้ก็คือแผ่นเส้นสายใยที่ไม่เคยได้เห็นกันมาก่อน  สมิธ กล่าวว่า    วัตถุใดก็ตามที่แฝงอยู่ภายในเส้นสายใยนี้จะรอดพ้นจากรังสีต่างๆ    รวมทั้งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า   หรือในการทดลองของเขาก็คือ   คลื่นไมโครเวฟ

แผ่น วงจรเมตาแมทีเรียลนี้แม้ตัวของมันเองจะไม่ล่องหน แต่เมื่อมันสามารถเบี่ยงเบนไมโครเวฟได้ มันก็จะเป็นกุญแจสำคัญที่ไขไปสู่การล่องหนหายตัวในอนาคต สมิธตั้งเป้าหมายว่า   ภายในปี   2035   อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆของกองทัพ อาทิ รถถัง เครื่องบินรบ จรวด ฯลฯ จะถูกห่อหุ้มด้วยเสื้อคลุมเมตาแมทีเรียล และทำให้มันเป็นยานรบที่เรดาร์ไม่อาจจับได้ ตลอดจนแม้ดาวเทียมจารกรรมก็ไม่สามารถตรวจ ค้นหาพบเช่นกัน กระนั้นก็ยังไม่ถือว่าล่องหนโดยสมบูรณ์   เพราะหลบได้แต่เรดาร์   หากทว่าสายตามนุษย์ก็ยังมองเห็นอยู่ดี


ดร.เดวิด สมิธ

เราลองมาดูผลงานของ โปรเฟสเซอร์ เซียง ชาง (Xiang Zhang) กับคณะแห่งมหา'ลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบิร์คลีย์กันบ้าง

เมตาแมทีเรียลของชาง มีความหนากว่าของสมิธ แต่ก็ยังบางเฉียบราวหนึ่งในสิบของแผ่นกระดาษ มีวงจรเครือข่ายคล้ายแห ซึ่งสามารถทำให้ วัตถุขนาดเล็กมาก (microscopic object) ซึ่งแฝงอยู่ภายในร่างแหนี้อันตรธานไปได้จริงๆ ทั้งนี้ ชางได้ประกอบร่างแหขึ้นโดยใช้แผ่นเงินบางๆ เป็นฐาน สลับทาบทับด้วยวงจรไฟฟ้าทำจากแมกนีเซียมฟลูออไรด์ ผลที่ได้ก็คือ สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะผลักดันแสงต่างๆ ให้เบี่ยงเบนอ้อมรอบวัตถุไป ซึ่งในลักษณะนี้จะเป็นการล่องหนที่แท้จริงกว่า เพราะแม้แต่สายตามนุษย์ก็มองไม่เห็น

ครับ ถึงอย่างไรก็ตาม การจะนำเมตาแมทีเรียลนี้ไปใช้งานได้จริง สามารถพรางยานรบและอาวุธต่างๆได้ ก็คงใช้เวลาอีกนานพอควร
#แปลก
Messenger56
นักแสดงรับเชิญ
สมาชิก VIP
24 พ.ค. 53 เวลา 15:31 3,471 9 96
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...