กฎหมายใหม่ คิดก่อนแชร์ ไม่งั้นเตรียมแห่เข้าคุก

 

 

 

 

 

ปัจจุบันโซเชี่ยลมีเดียมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ บางคนใช้ในทางที่ผิด บางคนใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยิ่งในยุคของการแชร์ แย่งกันแบ่งปันข้อมูลด้วยความรวดเร็ว ขาดการกรอง จนเกิดความเสียหาย คุณไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ มาพูดคุยเพื่อเป็นความรู้ ในการใช้อินเตอร์เน็ตให้ถูกที่ถูกทาง รวมถึงกฎหมายใหม่ที่ครอบคลุม และเอาผิดกับคนที่ละเมิดสิทธิ์ส่วนตัวชาวบ้านได้มากขึ้น ฟังให้ดีนะวัยรุ่น! กฎหมายใหม่ คิดก่อนแชร์ ไม่งั้นเตรียมแห่เข้าคุก

กฎหมายใหม่ คิดก่อนแชร์ ไม่งั้นเตรียมแห่เข้าคุก

คุณไพบูลย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีคดีฟ้องร้อง พรบ.คอมพิวเตอร์ทุกวัน ร้อยกว่าคดีในแต่ละปี เป็นเพราะคนใช้โซเชี่ยลมีเดียไม่ระมัดระวัง ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ facebook เพราะมีอยู่สองอย่างที่ทำให้เกิดปัญหา

1. คิดว่า facebook เป็นสื่อของโซเชี่ยลมีเดีย เราสามารถจะคอมเม้นท์ใคร ตัดต่อภาพอะไรก็ได้ ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะมีกฎหมายที่ดูแลกำกับอยู่

2. ที่เป็นปัญหามากขึ้นคือ ทุกคนคิดว่าพอเราใช้ facebook หรือ twitter โดยการปลอมตัวเป็นคนอื่น ใช้เป็นเครื่องมือในการว่ากล่าวผู้อื่น หรือมีคลิปภาพตัดต่อ แล้วคิดว่าไม่สามารถจับตัวผู้กระทำความความผิดได้ ตรงนี้เป็นความเชื่อที่ผิด ที่จริงแล้วทุกครั้งที่ใช้อินเตอร์เน็ต มันจะปรากฏหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือหมายเลขประจำตัวเครือข่าย หรือที่เราเรียกว่า IP address ซึ่งทางตำรวจหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี สามารถเช็คได้ว่าเป็นใคร เพราะข้อมูลมันจะเก็บไว้ตรงที่เครื่องของผู้ใช้ แล้วก็ iAP ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ส่วนการแชร์โดยไม่ได้เป็นคนต้นเรื่อง หรือเจ้าของภาพ จะมีส่วนผิดในการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โทษลักษณะนี้จะชัดเจนขึ้น เพราะว่า สนช. กำลังพิจารณากฎหมายฉบับหนึ่ง ซึ่งสำคัญมาก เป็นร่าง พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ความเป็นไปได้ว่าอาจผ่าน สนช. แล้วประกาศใช้ในปีนี้ ถ้าออกมาเมื่อไหร่ หมายความว่า ภาพในชีิวิตประจำวันของบุคคลอื่น ภาพศิลปิน ดารา ถ้าเราไปถ่ายแล้วนำมาแชร์ หรือนำมาออกโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็จะผิดกฎหมายฉบับนี้ หรือจะมีโทษปรับ และอาจจะมีโทษทางอาญาด้วย ต้องระวังกันมากขึ้น แต่อาจมีข้อยกเว้นในสื่อมวลชน เพราะต้องรายงานข่าว รายงานความเป็นไปของสังคม ซึ่งปกติจะมีข้อยกเว้นตรงนี้อยู่ แต่ร่าง พรบ.ฉบับล่าสุด ยังไม่เห็นในข้อนี้ก็ยังมีข้อกังวลกันอยู่

คุณไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์

ซึ่งกฎหมายปัจจุบัน ยังทำได้ ถ้าแชร์แล้วไม่คอมเม้นท์ให้เขาเสียหาย แต่ถ้าแชร์และคอมเม้นให้เสียหาย ก็จะมีกฎหมายอาญากับ พรบ.ว่าด้วยการทำความผิดคอมพิวเตอร์มาเกี่ยวข้อง ครอบคลุมถึงสื่อเทคโนโลยีทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น Line, whatapp, twitter, instagram โซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ยกตัวอย่าง กรณีที่ไปคอมเม้นท์ศิลปินดาราในกระทู้ดังอย่าง pantip แล้วลืมตัวคอมเม้นท์ค่อนข้างรุนแรง อาจมีโทษ และโทษค่อนข้างสูง จำคุกถึง 5 ปี ยอมความไม่ได้ หมายความว่าถ้าเป็นคดีขึ้นมาแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างถึงที่สุด คือศาลมีคำพิพากษา

กรณีที่ถ่ายภาพเพื่อฟ้องสังคม เช่นจอดรถไม่ถูกกฎจราจร ถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่นั้น โดยหลัก เป็นการละเมิดสิทธิ์ แต่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ ปัจจุบันยังทำได้ แต่ถ้ามี พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายใหม่ จะทำไม่ได้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิโดยชัดแจ้ง ตัวข้อมูลมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายได้

ทั้งนี้ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายเร่งด่วนฉบับแรก เป็นกฎหมายที่น่าจับตามาก เพราะไม่ได้ใช้เฉพาะอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว หมายความว่ารูปทั่วๆ ไป อย่างเช่นไปสมัครงานที่ใดที่หนึ่ง แล้วเขาเกิดไม่รับหรือว่าลาออกไปแล้ว เขาต้องทำลายข้อมูลส่วนบุคคล ไม่สามารถเก็บรูปหรือข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ แล้วกรณีที่เจอกันทุกวัน อาทิ อยู่ดีๆ มีเครดิตแบงก์โทรมาเสนอประกัน จะทำไม่ได้เลย ถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกมา เพราะข้อมูลทุกอย่างจะต้องได้รับอนุญาตจากตัวเจ้าของก่อนจะไปเผยแพร่ ถ้าเจ้าของไม่ยินยอมก็ต้องมีการลบหรือทำลายทิ้ง ไม่สามารถแชร์ได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ก็คือผู้แอบถ่ายจะไม่สามารถทำได้ จะคุ้มครองมากกว่าเดิม เวลาไปต่างประเทศ ตรงไหนมีกล้อง cctv ก็ต้องติดว่า ระวังกล้อง cctv ตรงนี้ต้องติดไว้ให้ทราบ เพราะว่ากรณีที่ไม่ได้ติดไว้ ภาพต่างๆ ที่เอาไปใช้ในกล้อง cctv ถือว่าเป็นการละเมิดสิิทธิส่วนบุคคล เป็นต้น

-ขอบคุณข้อมูล http://mcot-web.mcot.net/

 
20 ต.ค. 57 เวลา 18:39 1,165 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...