การคล้องช้างอันของพระเจ้ากรุงสยาม ภาพหาดูยากจากเมืองไทย

 

พิธีคล้องช้าง

 

สารคดีเกี่ยวกับสยามประเทศเรื่องแรกที่ได้ลงตีพิมพ์ใน

นิตยสารเนชั่น แนลจีโอกราฟฟิก เป็นเรื่องที่ย้อนหลังไป

เมื่อปี ค.ศ. 1906 (พ.ศ. 2449) หรือเมื่อ 107 ปีก่อนซึ่ง

เป็นสารคดีที่ฝรั่งเขาตั้งชื่ออย่างให้เกียรติว่า

 

"The Greatest Hunt in The Woard"

หรือการล่าช้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

 

เป็นเรื่องเกี่ยวกับพิธีการคล้องช้างครั้งสำคัญในสมัยของ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นเอง

 

 

ครั้งนั้น อีไลซา รูหะเมาะห์ สกิดมอร์ ผู้เขียนบทความให้คำเกริ่นนำไว้ว่า

 

"การล่าหรือการไล่ต้อนสัตว์ใดๆ จะสู้การคล้องช้างของพระเจ้ากรุงสยาม

นั้นเป็นไม่มี...การคล้องช้างเป็นธรรมเนียมโบราณของเมืองสยามที่น่าดูยิ่ง

แม้ล่วงเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 20 แล้ว ก็ยังคล้องช้างกันอยู่ตามแบบแผน

โบราณ เป็นที่โปรดปรานของบรรดาราชสำนักชาวพระนคร และชาวบ้าน

แทบริมน้ำในกรุงเก่าพระนครศรีอยุธยา"

 

อดีตราชธานีอันยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งในเอเชีย กลับครึกครื้นขึ้นมาอีกครั้งด้วย

บรรดาทูตานุฑูต และแขกบ้านแขกเมืองที่โดยสารเรือเก๋งอันสะดวกสบาย

ชาวพระนครโดยสารรถไฟจนแน่นทั้งขบวน ชาวบ้านที่อยู่ริมคลองพายเรือ

มาตามคลองเพนียดมุ่งหน้าเข้าสู่เพนียดหลวง เตรียมรอชมการคล้องช้าง

ที่น่าตื่นตาตื่นใจ

 

 

พิธีคล้องช้างนี้ จัดขึ้นเพื่อรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุธ

สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งเสด็จนิวัตพระนครหลังทรงสำเร็จการศึกษาจาก

มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และทรงแวะประพาสประเทศ

สหรัฐอเมริกาก่อนที่พระองค์จะทรงผนวชครองผ้าเหลืองจำพรรษา 3 เดือน

ตามพระราชประเพณี

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศ

ชุดขาวแบบชาวยุโรป ประทับทอดพระเนตรในพลับพลาที่ปลูกคล่อมเชิงเทิน

ด้านเหนือของเพนียด หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดฉายพระรูป จึง

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลาขึ้นอีกด้านด้วยทางทิศเหนือเป็นทำเลไม่เหมาะ

สมแก่การตั้งกล้องถ่ายรูป ผู้ที่มาชมการคล้องช้างมีกล้องงถ่ายรูปมาด้วยกัน

แทบทุกคนแต่ไม่มีผู้ใดกล้าถ่ายภาพพระเจ้ากรุงสยามและพระบรมวงศานุวงศ์

เว้นแต่จะมีพระบรมราชโองการหรือบัญชาอันเป็นธรรมเนียมที่ยังคงยึดถือและ

ปฏิบัติกันอยู่ แม้อยู่ในยุคที่สยามศิวิไลซ์แล้ว

 

 

ก่อนวันคล้องช้างหลายสัปดาห์ กรมช้างใช้เวลาแต่งคนไปสอดแนมและไล่

ต้อนช้างป่าจากทางเหนือและทางตะวันออก เตรียมข้ามน้ำเข้าสู่เพนียดรูป

สี่เหลี่ยมจตุรัสที่แข็งแรงมั่นคง ตัวเสาเป็นซุงไม้สักทั้งต้นสูงเกือบ 4 เมตรมี

เหล็กรัดแน่นหนา ตัวเพนียดเป็นคอกซุง 2 ชั้น แม้เสาเว้นช่องถี่แต่ก็ยังพอมี

ที่ให้ชาวสยามร่างน้อยๆลอดออกมาได้ทันครั้นถูกช้างไล่

 

เมื่อได้เวลาช้างต่อไล่ช้างป่าทั้ง 250 เชือกเข้าเพนียด เหล่าช้างตื่นส่งเสียง

อื้ออึง ช้างต่อต้องช่วยพยุงช้างป่าที่บาดเจ็บให้เดินต่อบ้างงัดช้างป่าที่ล้มตาย

ให้พ้นทาง และเข้าขวางช้างป่าที่ตื่นคะนองลอดหลุดจากเชือกบาศที่โยงกับ

หลัก บ้างถึงกับชนกันเป็นศึกใหญ่ ช้างชนกันเมื่อใดผู้คนก็ร้องโห่ดังกึกก้อง

ไปทั่วบริเวณเพนียด

 

 

เมื่อช้างเข้าเต็มเพนียดหมอช้างจะขึ้นช้างตระเวนคัดช้างป่าลักษณะดีงดงาม

ตามตำราที่ท่านบอกว่าต้องไร้ริ้วรอย ไร้แผลเป็น รอยย่นบนหนังต้องเป็นลาย

สม่ำเสมอ สีผิวยิ่งอ่อนยิ่งจัดว่างามเล็บตีนต้องดำ แม้ช้างเป็นสัตว์ใหญ่แต่หาง

เล็กๆนั้นสำคัญยิ่ง หากตัวใดหางขาดหรือแหว่งเสียแล้วก็จะถูกขับกลับเข้าป่า

และช้างที่ดีเหมาะกับการเดินทางต้องมีย่างก้าวสม่ำเสมอ กรมช้างจะเลือก

ช้างป่าไว้หัดใช้งานหลวงไม่กี่ตัว ที่เหลือจะเป็นช้างใช้ลากซุงและเดินป่าใน

งานสำรวจต่างๆของทางราชการ

 

เมื่อเสร็จสิ้นการคล้องช้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จกลับสู่ที่ประ

ทับแรม ณ พระราชวังบางปะอินโดยทางชลมารคและบรรดาชาวสยามที่มาชม

การคล้องช้างก็ต่างพากันแยกย้ายพายเรือกลับบ้าน อดีตราชธานีที่เคยครึก

ครื้นก็กลับกลายเป็นกรุงร้างกลางป่าอันเงียบเหงาเช่นเดิม...

 

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงเลือกช้างป่าด้วยพระองค์เองที่เห็นอยู่ด้านหน้าคือเสาโตงเตง

หรือประตูไม้ซุงแขวนสำหรับให้ช้างเดินเข้าออกเพนียด

 

 

ชาวสยามทั้งจากพระนครและกรุงเก่า แห่แหนกันมาดูการคล้องช้าง

ราวกับเป็นมหรสพ ในภาพช้างต่อกำลังเข้าขวางช้างป่าที่หลุดจากหลัก

 

 

ช้างต่อเข้าช่วยช้างป่าที่ถูกเบียดเสียดจนล้มลง

ระหว่างการคล้องช้างในเพนียด

 

 

กรมช้างค่อยๆต้อนช้างป่าข้ามน้ำไปเพนียดกรุงเก่า ที่เห็นอยู่ลิบๆด้านหลัง

คือบรรดาชาวบ้านที่ลอยเรือคอยดูการคล้องช้างที่ยิ่งใหญ่ในคราวนั้น

 

 

ช้างป่าราว 250 เชือก พักผ่อนอยู่ในเพนียดช้างป่ามักผอมโซจนเห็นกระดูก

บางตัวมีราขึ้นบนหนังเป็นดวงๆ แต่หากถูกนำมาเลี้ยงดีๆ

ก็จะงามน่าชมเช่นช้างเลี้ยง

 

 

ขอขอบคุณนิตยสาร National Geographic 109 (August 2010)

 

ขอบคุณค่ะที่แวะมา

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...