ความตายบนเก้าอี้ไฟฟ้า (Electric chair)

ว่ากันว่าในบรรดาสิ่งประดิษฐ์ที่โทมัส เอดิสันที่เกลียดที่สุด นั้นคือ “เก้าอี้ไฟฟ้า”
ในตอนที่เขากำลังสิ้นลมนั้นเขาถึงกับเอ่ยปากว่า
“มันเป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตของผมที่สร้างเจ้าสิ่งนี้ขึ้น”

เก้าอี้ไฟฟ้านั้นถือกำเนิดจากการต่อสู้ระหว่างสองนักวิทยาศาสตร์ของสองประเทศคืออเมริกา-โซเวียต ซึ่งก็คือโทมัส อัลว่า เอดิสัน ราชานักประดิษฐ์ผู้มีชื่อเสียง กับนิโคลา เทสล่า บิดาแห่งไฟฟ้ากระแสสลับ

ตอนนั้นสองนักประดิษฐ์ต่างเปิดศึกแย่งลูกค้า พนักงานบริษัทและนักวิจัย เพื่อให้บริษัทของตนมีฐานกำลังมากที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่ดูเหมือนว่าฝ่ายของเทสล่าจะมีภาษีกว่าฉกบุคคลสำคัญของเอดิสันไปหลายราย จนเอดิสันได้จัดงาน

“อันตรายจากไฟฟ้ากระแสสลับ”

เพื่อเป็นการตอบโต้เทลล่า โดยนำเสนอถึงอันตรายของไฟฟ้ากระแสสลับของเทสล่ามาเป็นหัวข้อหลักในการดีสเครดิตของเทสล่านั้นเอง มีการจัดงานโชว์ขึ้นหลายที่ในอเมริกา โดยมากการทดลองนำหมาและแมว หรือแม้แต่ช้าง มาช็อตจนตายเพื่อทำให้ประชาชนเห็นว่าไฟกระแสสลับนั้นอันตรายเกินกว่าจะนำมาใช้ในสังคมจริงได้

ฮาโรลด์ บราวน์ซึ่งเป็นลูกจ้างคนสำคัญและผู้รับผิดชอบโครงการนี้กล่าวติดตลกว่า
"ไฟกระแสสลับเหมาะกับการใช้ฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าเท่านั้น และต่อให้เป็นนักโทษประหารก็ยังช็อตให้ตายได้"

 

ปี 1887 โทมัส อัลว่า เอดิสันผลงานของเขาเกิดไปเข้าตาสภาผู้แทนของนิวยอร์ค ซึ่งเพิ่งจะมีการประชุมเสนอวิธีการประหารแบบใหม่ที่มีศีลธรรม มากกว่าการแขวนคออยู่พอดี สภาซึ่งคาดว่าไฟช็อตจะทำให้นักโทษเสียชีวิตได้ในทันที ได้ติดต่อเรื่องไปยังเอดิสันเกี่ยวกับการนำเสนอวิธีการประหารดังกล่าว(ความจริงมีไม่ต่ำกว่า 5 คน ที่อ้างว่าเป็นผู้ค้นคิดเก้าอี้ไฟฟ้าขึ้นมา บางคนถึงกับจดลิขสิทธิ์ไว้ด้วย)  

ความจริงเอดิสันเป็นอีกผู้หนึ่งที่ต่อต้านบทลงโทษประหารชีวิต แต่สถาการณ์ในขณะนั้นจำเป็นที่เขายอมตกลงโดยไม่มีทางเลือก เอดิสันตกลงทำสัญญากับสภานิวยอร์ค นำเข้าลิงอุรังอุตัง 6 จากไทยเพื่อใช้ในการทดลอง และทุกตัวก็ตายสนิทหลังจากถูกช็อตไฟฟ้า ซึ่งเป็นการยืนยันว่าจะไม่มีนักโทษคนใดรอดชีวิตอยู่ได้เหมือนที่เป็น
ในการแขวนคอ

แล้วทำไมต้องเป็นเก้าอี้ไฟฟ้าเหรอ ก็อันเนื่องมาจากเหตุผล 3 ประหาร

1. ต้นทุนผลิตเก้าอี้ถูกกว่าเตียง
2. ในท่านั่งการติดขั้วไฟฟ้า (Electrode) ที่บริเวณศีรษะสะดวกกว่าท่านอน
3. สักขีพยานที่เฝ้าดูการประหารจะมองเห็นได้ชัดเจนกว่า

 

ตัวนี้ประจำการใน ทัคเกอร์ ยูนิต ในอาร์คันซอส์
ตั้งแต่ปี1926-1948 ผ่านศึกมาแล้ว 104 ราย !!!

1 มกราคม1889 สภานิวยอร์คได้ประกาศให้การประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าเป็นสิ่งถูกต้องตามกฎหมาย และถูกนำมาใช้ครั้งแรกที่เรือนจำออเบิร์น และนักโทษคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ประหารโดยเก้าอี้ไฟฟ้าคือ วิลเลี่ยม เคมม์เลอร์ (William Kemmler)
   
เคมม์เลอร์เป็นนักโทษประหารในคดีฆาตกรรมภรรยาตัวเองด้วยขวาน ในตอนนั้นประเด็นการประหารเก้าอี้ไฟฟ้านั้นเป็นของใหม่ และน่ากลัวมาก (ตอนนี้ก็ยังน่ากลัวอยู่) ทำให้ทนายของเคมม์เลอร์ต่อต้านสุดฤทธิ์ ซึ่งทนายได้พยายามยกประเด็นว่าการประหารด้วยเก้าอี้ไฟฟ้านั้นป่าเถื่อนและยังไม่แน่นอนพอที่จะนำมาใช้กับมนุษย์จริงๆได้ แต่คำค้านดังกล่าวก็ไม่เกิดผลเมื่อเอดิสันออกมาโต้แย้งในศาลด้วยตัวเอง เพราะจะอย่างไรคณะลูกขุนก็ไม่มีความรู้ในเรื่องไฟฟ้า และชื่อเสียงของเอดิสันก็ทำให้ทุกคนเชื่อ จนมีการตัดสินให้ประหารชีวิตวิลเลี่ยม เคมม์เลอร์ด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าในที่สุด

โดยปกติเก้าอี้ไฟฟ้าโดยทั่วไปจะทำขึ้นจากไม้ ขาเก้าอี้ถูกยึดไว้กับพื้น ที่ตัวเก้าอี้จะมีเข็มขัดหนังสำหรับศีรษะ อก ลำตัว แขนและขาเพื่อให้ผู้คุมมัดตัวนักโทษให้ติดกับเก้าอี้

ในการประหารสิ่งสำคัญในการใช้เก้าอี้ไฟฟ้า คือต้องจับนักโทษผูกติดกับเก้าอี้ให้แน่นหนา จากนั้นต่อขั้วไฟฟ้าเข้าสองขั้ว ขั้วหนึ่งต่อเข้าไปที่หมวกหนังที่บุทองเหลือไว้ โดยใช้ฟองน้ำที่จุ่มน้ำทะเลหรือน้ำเกลือจนโชกรัดไว้ด้วย ส่วนขั้วไฟฟ้าอีกขั้นเป็นแถบทองเหลืองหรือตะกั่ว ใช้ร่วมกับฟองน้ำชุบน้ำเกลือชุ่ม รัดเข้าที่น่องซึ่งโกนขนหน้าแข้งแล้วของนักโทษ

ว่ากันว่าก่อนการประหาร เจ้าหน้าที่ต้องเอาหน้ากากหนังปิดหน้านักโทษไว้ โดยรัดให้แน่นบริเวณเหนือดวงตา เพื่อไม่ให้ลูกตาของนักโทษกระเด็นหลุดออกมาเมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย

จากนั้นผู้คุมจะสวมหมวกที่มีสายไฟที่หนึ่งติดอยู่ให้กับนักโทษ แล้วติดปลายสายไฟที่สองกับข้อเท้าของนักโทษเพื่อสร้างวงจรปิดกระแสไฟจะถูกส่งไหลไปยังนักโทษอย่างน้อย 2 ครั้งเป็นเวลาหลายนาที ในขั้นแรกจะใช้กระแสไฟ 2000 โวลต์ เพื่อทำลายแรงต้านจากผิวหนังเสียก่อน จากนั้นจึงลดไฟฟ้ามาเป็นประมาณ 8 แอมแปร์เพื่อลดแรงดันไฟฟ้าลง กระแสไฟฟ้าสังหารชีวิตนักโทษด้วยการเข้าไปทำลายขั้วแม่เหล็กในสมอง รวมถึงโครงสร้างประสาทของก้านสมอง ทำให้อุณหภูมิสมองทะลุเดือด สูงถึง 280-284 องศาเซลเซียส นอกจากนี้กระแสไฟฟ้ายังเข้าไปทำลายอวัยวะภายใน ทำให้ร่างของนักโทษเป็นเหมือนกับหลอดไฟ ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลวนอยู่ภายในผิวหนังและเส้นผมบางส่วนของนักโทษก็ไหม้เกรียม

 

หลังจากเสร็จการประหารแล้ว แพทย์จะเป็นผู้ตรวจยืนยันว่านักโทษได้เสียชีวิตแล้วหรือไม่ เป็นอันเสร็จพิธี 6 สิงหาคม 1890 เคมม์เลอร์ก้าวไปยังที่นั่งสุดท้ายในชีวิตด้วยท่าทีสงบ เขาถึงกับกล่าวแก่สักขีพยานในที่นั้นว่า

"Gentlemen, I wish you luck. I'm sure I'll get a good place, and I'm ready."
   
และท่ามกลางสายตาของผู้เฝ้ามองกว่า 70 คน เคมม์เลอร์ก็ถูกมัดติดกับเก้าอี้ แล้วไฟ 1000 โวลท์ก็ถูกปล่อยไปยังเก้าอี้เป็นเวลา 17 วินาที เคมม์เลอร์กระตุกอย่างแรงจนเก้าอี้แทบจะล้ม (เก้าอี้ไฟฟ้าตัวแรกไม่ได้ถูกยึดติดกับพื้น) เมื่อไฟถูกตัดและแพทย์เข้าไปตรวจ พวกเขาก็กลับพบว่าเคมม์เลอร์ยังมีชีวิตอยู่การประหารครั้งที่สองเริ่มขึ้นในทันที

ครั้งนี้เคมม์เลอร์ถูกปล่อยไฟ 2000 โวลท์ใส่ติดต่อกันเป็นเวลาถึง 70 วินาที ซึ่งในไม่ช้าห้องประหารก็เต็มไปด้วยกลิ่นเนื้อไหม้ มีควันออกมาจากศีรษะของเคมม์เลอร์ และเมื่อตัดไฟฟ้า ไฟก็ลุกขึ้นมา ซึ่งถือว่าโหดร้ายมากๆ

ซึ่งหลังจากความผิดพลาดครั้งแรก ส่งผลให้เอดิสันทำการปรับปรุงเก้าอี้ไฟฟ้าอย่างระมัดระวัง และใช้เวลากว่า 10 ปี จึงจะทำให้เนื้อเลิกไหม้ ความจริงการถ่ายภาพนักโทษประหารนั้นเป็นเรื่องต้องห้ามแต่กระนั้นในประวัติศาสตร์ของอเมริกา ก็มีการลงภาพนักโทษประหารที่ตายด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าเหมือนกัน(อันแรกก็วิลเลี่ยม เคมเลอร์ที่เราได้เห็นมาแล้ว)

 

รูธ ซินด์เดอร์ นักโทษประหารหญิงคนแรกของอเมริกาที่ตายเพราะเก้าอี้ไฟฟ้า ที่จริงเขาห้ามถ่ายรูปนะ แต่ยอดช่างภาพนาม โทมัส โฮวาร์ด แอบติดกล้องไว้ที่ข้อเท้า ทำให้สามารถถ่ายภาพนักโทษประหารหญิงก่อนตายได้และรูปนี้ได้ขึ้น
ในหน้าหนังสือนิว ยอร์ก เดวี่ นิวส์ ด้วยนะ

อัลเล็น ลี เดวิด แต่อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นก็ไม่มีการเผยแพร่รูปการประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าไปนานแสนนาน จนกระทั้ง ค.ศ. 1999 ศาลสูงสุดสหรัอเมริกาได้อนุมัติให้มีการเสนอภาพนักทาประหารนาม อัลเล็น ลี เดวิด ออกสู่สายตาคนทั่วโลก ในวันประหารชีวิต 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 อัลเล็นอยู่บนเก้าอี้ไฟฟ้า ก่อนที่จะโดนกระแสไฟฟ้าแรงสูงพล่านไปทั่วร่าง ทำให้อัลเล็นถึงแก่ตายในสภาพเลือดท่วมทะลักออกมาจากจมูกและปากอย่างสยดสยอง

ในการประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้านั้น กระแสไฟฟ้าที่ใช้ของแต่ละแห่งไม่แน่นอน และยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าแค่ไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด เนื่องจากเป็นกรรมวิธีที่ต้องลองผิดลองถูกกับนักโทษประหารไปเรื่อยๆ เพราะไม่สามารถทำการทดลองในห้องทดลองได้อย่างมากที่สุดก็ทดลองกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีน้ำหนักใกล้เคียงกับคน ยกตัวอย่างเช่น
เก้าอี้ไฟฟ้าที่เรือนจำ Greenville รัฐ Virginia อเมริกา ใช้ไฟฟ้าที่มีแรงเคลื่อน 1,825 โวลท์กระแส 7.5 แอมป์ เป็นเวลา 30 วินาที แล้วลดเหลือ 240 โวลท์ 1.5 แอมป์ เป็นเวลา 60 วินาที
   
หลายๆ คนคงคิดว่าเป็นเรื่องน่ากลัวและทารุณ แต่ศาลสูงของสหรัฐไม่ได้คิดอย่างนั้น เพราะ ตั้งแต่ปี 1890 จนถึงปัจจุบัน เฉพาะในอเมริกาประเทศเดียวก็มีการประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าไปแล้ว 4,324 ราย

จากข้อมูลที่น่าสนใจพบว่า รัฐอบาฮาม่า รัฐเซาท์แคโรไลน่า และรัฐเวอร์จิเนีย เก้าอี้ไฟฟ้าเป็นวิธีการประหารเพียงวิธีเดียวที่อนุญาติให้ใช้ ส่วนรัฐเคนตั๊กกี้และเทนเนสซี่ได้ยกเลิกการประหารด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าไปเมื่อปี 1998 ส่วนรัฐอิลินอยส์และรัฐโอกราโฮม่าถือเป็นหนึ่งในวิธีการประหารที่เลือกได้ และสำหรับรัฐฟลอริด้าก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักโทษที่ไม่อยากฉีดยาพิษ (ใครหนอที่อยากโดนประหารโดยเก้าอี้ไฟฟ้าบ้างเนี้ย)

 

 

 

credit :: cammy@dek-d.com

เท็ด บัดดี้ ฆาตกรต่อเนื่องถูกประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้า



7 ก.ย. 59 เวลา 20:53 3,271
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...