ภาพถ่ายที่ไม่ควรลืมในอดีต

 

ถ้าซ้ำขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

 

 

โท มัส ชิปป์, อับราม สมิธ และเจมส์ คาเมรอน ชายผิวดำสามคนถูกจับในข้อหาปล้นและฆ่าเจ้าของโรงงานซึ่งเป็นคนผิวขาวรวมทั้งข่มขืนหญิงผิวขาว ซึ่งคนรักของผู้เคราะห์ร้ายและฝูงคนผิวขาวที่โกรธเกรี้ยวนับพันคนจึงบุกไปชิงตัวนักโทษจากคุกและรุมประชาทัณฑ์ก่อนจะปิดฉากด้วยการแขวนคอ เจมส์ คาเมรอนซึ่งในขณะนั้นมีอายุ 16 ปี หนีรอดจากการประชาทัณฑ์นี้มาอย่างเฉียดฉิว เจมส์ให้การกับผู้สื่อข่าวว่า พวกเขาขโมยของจริง แต่ไม่ได้รู้เห็นอะไรเกี่ยวกับการปล้นหรือฆ่าแม้แต่น้อย พวกเขาถูกจับกุมในทันทีโดยไม่มีโอกาสแก้ต่าง อีกทั้งในเขตนี้ยังมีการรวมตัว ของ Klu Klux Klan กันอย่างกว้างขวาง (ซึ่งอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความรุนแรงในครั้งนี้) ภายหลังเจมส์กลายมาเป็นหนึ่งในกลุ่มนักรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพของคนผิวดำ

 

 

 

การจลาจลที่โซเวโตในประเทศแอฟริกาใต้ได้หยุดความสนใจของชาวโลกไว้ด้วยรูปของเฮคเตอร์ ปีเตอร์สันวัย 12 ปี ซึ่งเสียชีวิตจากการยิงกราดไม่เลือกหน้าของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภาพนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการใช้อำนาจเกินหน้าที่ของตำรวจในการจลาจลครั้งนี้อีกด้วย การจลาจลที่โซเวโตนี้มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลประกาศบังคับให้โรงเรียนใช้ภาษาแอฟริคานส์ในการสอนเท่านั้น โดยผลทำให้ชนผิวดำจำนวนมากไม่พอใจ มีการประท้วงไม่ไปโรงเรียนเกิดขึ้นซึ่งลุกลามไปจนเกือบทั่วทุกโรงเรียนในโซเวโตก่อนจะกลายเป็นการประท้วงให้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าว ในวันเดียวกับที่เกิดการเดินขบวน ตำรวจออกระงับสถานการณ์ด้วยแก้สน้ำตาซึ่งฝ่ายขบวนประท้วงก็โต้ตอบด้วยการขว้างก้อนหิน และรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นการจลาจลในที่สุด ตำรวจ 300 นายเข้าปะทะกับนักเรียนผิวดำกว่าหมื่นคน ผลมีผู้เสียชีวิต 6 ราย และบาดเจ็บกว่า 300 รายเมื่อภาพนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ทั่วโลกต่างก็ประณามการทำของรัฐบาลแอฟริกาใต้ เด็กชายในภาพซึ่งเป็นผู้อุ้มเฮคเตอร์ถูกขับออกจากประเทศในเวลาถัดมาและหลังจากจดหมายฉบับสุดท้าย
ที่เขาส่งให้มารดาในปี 1978 เจ้าตัวก็หายสาบสูญไปส่วนเด็กหญิงในรูปคือน้องสาวของเฮคเตอร์ เธอยังคงอยู่ที่โซเวโตจนถึงทุกวันนี้

 

 

 

ภาพนี้ถูกถ่ายขึ้นในปีที่ 4 หลังจากการเหยียดสีผิวถูกกำหนดให้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การแบ่งแยกยังคงฝังลึกอยู่ในจิตใจของชาวอเมริกาโดยเฉพาะในหมู่คนฝั่งใต้ อลิซาเบธ เอ็คฟอร์ด เป็นหนึ่งในคนผิวดำกลุ่มแรกที่เข้าเรียนในโรงเรียนของคนผิวขาวและถูกรอบข้างคัดค้านอย่างรุนแรงในรูปนี้ อลิซาเบธกำลังเดินไปโรงเรียนท่ามกลางเสียงด่าของเพื่อนร่วมโรงเรียนซึ่ง ในจำนวนนั้นมีเฮเซล ไบรอันท์ (คนที่อ้าปากกว้างที่สุด) รวมอยู่ด้วยรูปนี้ถูกรับเลือกให้เป็นหนึ่งในร้อยรูปของศตวรรษที่ยี่สิบและทรมานจิตใจเฮเซลอยู่เป็นเวลานานหลายปี ภายหลังในปี 1963 เฮเซลกล่าวขอโทษอลิซาเบธต่อการกระทำของตัวเองทั้งสองเคยออกรายการของโอปร้าพร้อมกันในปี 1998 อีกด้วย 

 

 

 

บริษัท ไทรแองเกิ้ลเชิ้ตเวสต์มักจะล็อคประตูโรงงานไว้เสมอเพื่อกันไม่ให้คนงานหนีหรือขโมยของ หากในปี 1911 ประตูซึ่งถูกลงกลอนนี้ก็ได้ตัดสินชะตาชีวิตของคนงานเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นที่ชั้นแปดของตึก มีคนงาน 146 คนเสียชีวิตไปในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง 62 คนจากจำนวนนี้เสียชีวิตจากการกระโดดหรือตกลงมาจากชั้นเก้า (มีผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า เขาเห็นชายหญิงคู่หนึ่งแลกจูบกันก่อนจะกระโดดตามกันลงมา) ในภาพคือศพของผู้เคราะห์ร้ายที่ตกลงมาจากตึก และประชาชนซึ่งแหงนหน้ามองเหตุการณ์สยองนี้อยู่ อย่างไรก็ดีเหตุการณ์นี้ทำให้มีการรณรงค์ปรับปรุงกฎหมายแรงงานครั้งใหญ่เกิดขึ้น

 

 

 

ทหารหนุ่มในรูปร้องไห้ออกมา เมื่อทราบว่าถุงศพที่อยู่ข้างตัวนั้นคือเพื่อนของเขาเอง รูปนี้กลายมาเป็นหนึ่งในรูปอันมีชื่อเสียงของสงครามอ่าวเปอร์เซีย

 

 

 

รูปภาพประวัติศาสตร์นี้ บันทึกการปักธงอเมริกาบนเกาะอิโวจิมาในประเทศญี่ปุ่น และเป็นเพียงรูปเดียวที่ได้รับรางวัลพูลลิตเซอร์ของปีนั้น

 

 

 

14 ตุลาคม พ.ศ.2516 หรือ วันมหาวิปโยค ใครได้ยินก็คงร้องอ๋อกัน แต่แฝงไว้ด้วยความเจ็บปวดของคนไทยทั้งชาติ เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการในสมัยของจอมพลถนอม กิตติขจร ประกอบกับข่าวคราวเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการต่าง ๆ สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนอย่างมาก โดยในเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก

 

 

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน โดยไม่มีนักการเมืองร่วมอยู่ด้วยเลย และใช้สนามม้านางเลิ้งเป็นสถานที่ร่าง โดยเรียกกันว่า "สภาสนามม้า" จนนำไปสู่การเลือกตั้งในต้นปี พ.ศ. 2518 ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้น มีคำเรียกว่าเป็นยุค "ฟ้าสีทองผ่องอำไพ" แต่ทว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบ มีการเรียกร้องและเดินขบวนของกลุ่มชนชั้นต่างๆในสังคม ประกอบกับสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศรอบด้านจากการรุกคืบของลัทธิคอมมิวนิสต์และผลกระทบจากสงครามเวียดนาม แม้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ จนนำไปสู่เหตุนองเลือดอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2519 คือ เหตุการณ์ 6 ตุลา

นอกจากนี้แล้วเหตุการณ์ 14 ตุลา นับเป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในยุคศตวรรษที่ 20 และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจล ที่เมืองกวางจู เป็นต้น พ.ศ. 2546 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเอกฉันท์กำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันประชาธิปไตย" เป็นวันสำคัญของชาติ

 

แม้วันเวลาดังกล่าวจะผ่านเลยไป แต่ก็ยังไม่เคยลืมวีรชน 14 ตุลา

วีรบุรุษที่มีหัวใจรักประชาธิปไตย

ขอสดุดีและไว้อาลัยแด่วีรชนผู้กล้ามา ณ ที่นี้ด้วย...

 

 

ที่มา : http://atcloud.com/stories/115412

 

http://th.wikipedia.org/wiki/

 

22 ส.ค. 56 เวลา 16:10 5,273 5 150
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...