แกะรอย!! "เผ่าล่าหัวมนุษย์" ที่ซาราวัค

 

 

 ชนพื้นเมืองในรัฐซาราวัคประเทศมาเลเซีย

โดย  นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

 

 

 

 

 

 

รัฐซาราวัคเป็นอีกรัฐหนึ่งที่มีประชากรหลากหลายทางชาติพันธุ์ ในรัฐซาราวัคมีชาติพันธุ์ต่างๆเช่น ชาวพื้นเมือง ชาวจีน ชาวอินเดีย สำหรับชนพื้นเมืองในรัฐซาราวัคนั้น มีจำนวนนับสิบชนเผ่า เช่น

 

           1. Kenyah

           2. Melanau

           3. Lun Bawang

     4. Iban

     5. Penan

     6. Kendayan

     7. Kayan

     8. Kelabit

     9. Murut

    10. Bidayuh

    11. และอื่นๆ 

 

       

ผู้เฒ่าชาวอีบัน 

 

 

การเล่นดนตรีของชาวอีบัน

 

ชนเผ่าอีบัน (Iban)

 

 เป็นชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานอยู่ทั้งในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย เฉพาะในรัฐซาราวัคมีประชากรประมาณ 600,000 คน ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์และยึดถือความเชื่อประจำเผ่า จะมีภาษาพูดของตนเองคือภาษาอีบัน เดิมจะรู้จักในนามของ ชนเผ่าดายัก (Dayak) เป็นชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในรัฐซาราวัค แต่ด้วยชาติพันธุ์นี้ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์ ทำให้ตำแหน่งประมุขของรัฐซาราวัคต้องตกเป็นของเผ่า มลาเนา (Melanau) ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เพราะรัฐธรรมนูญของรัฐซาราวัคกำหนดให้ประมุขหรือผู้ว่าการเป็นชาวมุสลิม ถึงแม้ว่าชาวอีบันจะนับถือศาสนาคริสต์แต่ยังคงมีการประกอบพิธีตามความเชื่อของชนเผ่าอยู่ รวมทั้งบางส่วนก็ยังคงนับถือความเชื่อประจำเผ่า

 

 

การแต่งของชาวอีบัน

 

การแต่งของชาวอีบัน 

 

การแต่งกายของชาย-หญิงชาวอีบัน

 

 

ความเชื่อของชาวอีบัน

  

ชาวอีบันจะยึดถือความเชื่อที่ได้รับการตกทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยความเชื่อเหล่านี้ถูกบันทึกลงบนแผ่นที่เรียกว่า Papan Turai ผู้ที่บันทึกความเชื่อเหล่านี้คือผู้นำเผ่าที่เรียกว่า Turai raban bansa หรือ Chief Paramount ส่วนหนึ่งของความเชื่อดังกล่าวเป็นการชี้นำของผู้นำชนเผ่าในอดีต เช่น ในการสร้างบ้านนั้นต้องมีการตรวจสอบสภาพพื้นที่ที่จะสร้างบ้านก่อน ด้วยชาวอีบันในสิ่งที่เรียกว่า Petanda หรือสิ่งบอกเหตุการณ์ เชื่อหรือสังเกตุจากเสีนงนก หรือสัตว์อื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะบอกถึงความปลอดภัยในการสร้างบ้านต่อไป

 

 

การล่าหัวมนุษย์

 

 ในอดีตนั้นชาวอีบันจะถูกเรียกว่า ชนเผ่านักล่าหัวมนุษย์ โดยชาวอีบันจะล่าหัวศัตรูแล้วนำกะโหลกของศัตรูมาเก็บไว้

 

เมื่อชาวอีบันฆ่าศัตรูได้แล้ว ก่อนอื่นจะดื่มเลือดของศัตรู 2-3 หยดหลังจากนั้นจะนำหัวศัตรูไปต้มให้สุก เมื่อห้วกะโหลกสุกแล้วจึงนำมาเลาะเนื้อและทุกสิ่งที่อยู่ในกระโหลกออกให้หมดเมื่อเสร็จแล้วจึงนำกะโหลกไปเก็บไว้ ถือเป็นความภาคภูมิใจในความกล้าหาญของตน

 
 

ในอดีตซึ่งยังมีการล่าหัวมนุษย์ จะมีการเด็ดหัวศัตรูก็ต่อเมื่อมีโรคระบาดในชุมชนเท่านั้น เชื่อกันว่าหัวของศัตรูสามารถป้องกันภยันอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บได้ และการตัดหัวมนุษย์นั้นยังเป็นการพิสูจน์ความเป็นมนุษย์ด้วย การล่าหัวมนุษย์นั้นไม่ใช่ว่าคิดอยากก็จะไปตัดหัวใครก็ไปตัดมาได้ การล่าหัวมนุษย์ของชาวอีบันนั้นจะเลือกล่าหัวศัตรูและหัวของนักรบผู้กล้าเท่านั้น (นี่ถือว่าเป็นการให้เกียรติด้วย) โดยที่ภรรยาและลูกหลานของศัตรูจะตกเป็นฝ่ายชนะ (อันนี้คนที่โดนตัดหัวอาจจะไม่พอใจเท่าไหร่) และมีการนำหัวของศัตรูที่ล่าได้ไม่รู้กี่รายต่อกี่รายกลับมาพิทักษ์บ้านเรือนของตน จะไม่มีการฆ่าเด็ก ผู้หญิง คนแก่คนเจ็บ (น่าเสียดายที่นักเขียนในศตวรรษที่ 19 เข้าใจธรรมเนียมเหล่านี้ผิดไปมาก จึงทำให้การเขียนเล่าเรื่องสยดสยองของนักล่าหัวชาวอีบัน ทำให้ภาพลักษณ์ของชาวอีบันจัดอยู่ในสังคมที่ป่าเถื่อนและมีผลกระทบไปถึงสังคม อุษาคเนย์ของเราอีกด้วยเล็กน้อย ซึ่งอันนี้ควรตรองใหม่ได้แล้ว) ทุกวันนี้การล่าหัวมนุษย์เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย(อันนี้แน่นอนเพราะเป็นการฆาตกรรมชัดๆและก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องล่าแล้วด้วย) กะโหลกที่แขวนอยู่ในแต่ละบ้านเป็นมรดกที่สืบทอดต่อๆกันมาเป็นความเชื่อของชาวอีบันว่าการแขวนกะโหลกของศัตรูที่มีความสามรถไว้หน้าบ้านนั้นจะช่วยคุ้มครองพวกเขา (แต่กะโหลกของจริงนั้นหดตัวเล็กลงเท่ากะลามะพร้าวลูกเล็กๆเท่านั้นเอง)

 

ผู้เฒ่าชาวอีบันกับกะโหลกที่เก็บไว้

 

 

 

 
ลักษณะกะโหลกที่เก็บรักษาไว้

 

 

 

 
 
หนึ่งในลักษณะการเก็บรักษากะโหลก

 

 

แต่ในปัจจุบันนี้ชาวอีบันไม่มีการล่าหัวมนุษย์มอีกแล้ว แต่กะโหลกที่ล่าได้ก็ยังคงเก็บไว้อยู่ และในปัจจุบันนี้นักท่องเที่ยวส่วนมากก็เข้าใจวัฒนธรรมของชาวอีบัน และจากที่อธิบายมาชาวอีบันนั้นก็ไม่ได้เป็นคนที่กระหายเลือดอย่างไร้กฏเกณฑ์...

 

 

แหล่งข้อมูล : http://nikrakib.blogspot.com/2009/12/blog-post_115.html   

                                                               http://oommooworks.blogspot.com/2009/09/saravak.html

 

 

ขอบคุณคะที่แวะมา
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...