เกอิชา

กว่า จะเป็นเกอิชาได้นั้น เธอจะต้องเรียนรู้ศิลปะแห่งการปรนนิบัติทั้ง ปวง ไม่ว่าจะเป็นกิริยามารยาทอันอ่อนน้อมในการต้อนรับแขก วิธีการชงน้ำชา การร้องรำ และเล่นดนตรี ซึ่งศิลปกรรมเหล่านี้จะต้องฝึกฝนมาแต่เด็ก และมักเป็นอาชีพที่สืบทอดกันมาหลายชั่วคนในตระกูล นอกจากนี้ “เกอิชา” ยังเป็นคำที่โลกภายนอกเรียกขาน แต่ในญี่ปุ่นพวกเธอส่วนใหญ่จะถูกเรียกว่า “มา อิโกะ” หรือนักร่ายรำ และ “เกอิโกะ” ผู้มีศิลปะ


วัฒนธรรมเกอิชามีมาแต่ครั้งศตวรรษที่ 17 โดยเฉพาะภายในเมืองเกียวโต ที่เคยเป็นนครหลวงเดิมมานานกว่าพันปี (จนถึง ค.ศ. 1868 สมัยราชวงศ์เมยจิ ที่ตั้งโตเกียวเป็นเมืองหลวง) ภายในเกียวโต ซึ่งมี ศาสนสถานโบราณหลายแห่ง ทั้งวิหารชินโต และวัดพระพุทธศาสนานั้น ขณะเดียวกัน ก็ยังมีย่านที่เรียกกันว่า ฮานามาชิ อันเป็นอาณาเขตที่ใช้สำหรับ การเฉลิมฉลองในเทศกาลต่างๆ และในย่านนี่เองเป็นที่ตั้งของ โอชายะ หรือสถานน้ำชาที่มี มาอิโกะและเกอิโกะ คอยให้บริการปรนนิบัติในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งธุรกิจโรงน้ำชารุ่งเรืองสุดขีดนั้น กิออน ซึ่งเป็นย่านฮานามาชิใหญ่ที่สุดในเกียวโต มีโรงน้ำชาถึง 700 แห่ง และมีเกอิชามากกว่า 3,000 นาง ประจำทำงานอยู่

 

หากถามว่าทำไมสาวญี่ปุ่น จึงมาประกอบอาชีพเป็นเกอิชา

คำตอบมีอยู่หลายประการ แรกสุดนั้นก็คือความจนนั่นเอง เกอิชาหลายคนมาจากชนบท ด้วยความใฝ่ฝันว่า จะมีชีวิตในเมืองที่ดีกว่า ไม่ต้องทำงานหนักในไร่นา เธอจะได้ฝึกฝนร่ำเรียน ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ ที่สำคัญคือเธอจะได้มีโอกาส พบกับบุรุษที่ร่ำรวย ที่เข้ามาใช้บริการในสถานน้ำชา และถ้าฝันของเธอเป็นจริง เธอก็จะได้แต่งงานและมีหลัก มีฐานต่อไป


หาก ทว่าในปัจจุบันนี้ ความยากจนได้หมดไป จากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ผู้หญิงมีโอกาสหางานดีๆ ได้มากมาย ความสนใจที่จะมาเป็นเกอิชาคอย ปรนนิบัติบุรุษเพศก็หมดสิ้นไป ทุกวันนี้มีมาอิโกะ หรือสาวนาฏศิลป์อยู่ในเกียวโตเพียง 55 คน และทุกย่านฮานามาชิก็กำลังขาดแคลน เกอิชามาปฏิบัติงาน จะมีก็เพียงสาวเกอิชาที่สืบทอด วิชาปรนนิบัติตามอาชีพดั้งเดิม ของตระกูลเท่านั้น


ย้อน กลับมาสมัยรุ่งเรืองของเกอิชาใหม่ โดยทั่วไปเด็กสาวที่สมัครมาเป็นเกอิชา จะมายังสถานน้ำชาพร้อมกับบิดามารดา เมื่อตกลงกันได้เรียบร้อยแล้ว เธอก็จะเริ่มต้นด้วยการเป็น ชิโกมิ ซัง หรือเด็กรับใช้ของมาอิโกะและเกอิโกะ ซึ่งมีระยะเวลาประมาณหนึ่งปี ในช่วงนี้เธอจะต้องเหนื่อยยากลำบาก เช่นว่า ชาวญี่ปุ่นทุกคนจะอาบน้ำก่อนเข้านอน แต่สาวชิโกมิซังจะต้องคอยจนกว่า นายผู้หญิงของเธอทั้งหมดได้ อาบก่อน ซึ่งบางวันนายของเธอ กลับจากปฏิบัติงานหลังเที่ยงคืน กว่าเธอจะได้อาบน้ำก็ตีสาม และต้องลุกขึ้นทำงานแต่เช้าตรู่


เมื่อผ่านพ้นระยะแรกแล้ว เธอก็จะก้าวขึ้นเป็น มินาราอิ ซัง เข้าเรียนในการเป็นเกอิชา ซึ่งเธอจะต้องฝึกฝนตั้งแต่กระบวนการ ชิโรนูริ หรือการลงแป้งใบหน้า จนขาวจั๊วะอันเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของเกอิชา การสวมใส่ชุดกิโมโนพิเศษที่เรียกว่า โอฮิกิซูริ ซึ่งยาวกรอมเท้าและมี “โอ บิ” ผ้าคาดอกและเอว ต้องฝึกเดินตัวตรงตลอดเวลา เพื่อให้โอบิตรึงอยู่ได้ เธอต้องหัดโค้งคำนับอย่างสุภาพ อ่อนน้อมต่อลูกค้าผู้เข้ามาใช้บริการ

แต่ที่สำคัญที่สุดก็ คือ การร่ำเรียนดนตรีและนาฏศิลป์ โดยเครื่องดนตรี ที่พวกเธอจะต้องฝึกฝนจนชำนาญ ได้แก่ อูกาวา (กลองหิ้วขนาดใหญ่) โคสึซูมิ (กลองหิ้วขนาดเล็ก) ทาอิโกะ (กลอง) ฟูเอะ (ขลุ่ย) และ ซามิเซน หรือพิณสามสาย นอกจากนี้ เธอยังต้องเรียนการร่ายรำร้องเพลง และศิลปะการละครของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “โนะ” อีกด้วย ตามความเชื่อตั้งแต่ครั้งโบราณถือว่า ศิลปะเหล่านี้ควรเริ่มฝึกฝนตั้งแต่อายุ 6 ขวบ 6 เดือน กับ 6 วัน จึงจะได้ผลสำเร็จที่เยี่ยมยอด

หาก ทว่าเด็กสาวส่วนใหญ่ ที่เริ่มเข้ามาอยู่ในสถานน้ำชาโอชายะนั้น มักเข้าวัยรุ่น 15 ปี บางคนจึงพบกับความยากลำบากในการเรียนและต้องเลิกราออกไป

 


พิธีชงน้ำชาก็เป็นภารกิจหนึ่ง ที่เกอิชาจะต้องเรียนรู้ ชานั้นจีนเป็นผู้นำมาสู่ญี่ปุ่น ในช่วงศตวรรษที่ 8 และค่อยๆ เป็นที่นิยม ของขุนนางและคหบดี กระทั่งต่อมา เซนโนริเกียว (ค.ศ. 1522-91) พ่อค้าแห่งซากาอิใกล้เมืองโอซากา ได้นำเอาธรรมเนียมการชงชา มาเผยแพร่เป็นศิลปะรูปแบบหนึ่ง ซึ่งแม้แต่โชกุนก็ยังชื่นชอบ ที่จะจัดการเลี้ยงน้ำชาเป็นงานใหญ่ และมีเกียรติในระหว่างเหล่าขุนนางชั้นสูง

จุดประสงค์แท้จริงของพิธีชงชานั้น มิได้อยู่ที่รสชาติของชาแต่อย่างใด หากเป็นการแสดงออกถึงมารยาท และธรรมเนียมประเพณีอันงดงามต่างๆ นับตั้งแต่การต้อนรับ การปรุงน้ำชา การส่งถ้วยชา การแสดงความชื่นชมในศิลปะของการจัดดอกไม้แบบอิเคบานา ตลอดจนกลิ่นอายของเครื่องหอมภายในห้องพิธี

สำหรับชนทั่วไปแล้ว การจะเข้ามาใช้บริการในสถานน้ำชาหรือโอชายะนั้น จะต้องขอจองล่วงหน้าต่อ โอ กาซัง หรือ “คุณแม่” แห่งสถานน้ำชาในโอชายะชั้นดี บุรุษที่จะเข้ามาได้มักต้องรู้จักคุ้นเคยกับโอกา-ซัง หรือมิฉะนั้นก็เป็นแขกรับเชิญของผู้ที่รู้จัก นอกจากนี้ เขาจะต้องมีฐานะดีอย่างยิ่ง เพราะการเข้ามารับความบันเทิงใจคลายเครียด จากการปรนนิบัติของสาวเกอิชานั้นจัดว่ามีราคาแพงเอาการ

เนื่องจากสาวเกอิชามีความสามารถ ในการให้ความบันเทิง และมีศิลปะในการปรนนิบัติ จนบุรุษเพศที่มาใช้บริการมีความสุข และคลายเครียด จากการงานอันหนักหน่วงทั้งวัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาอยู่เอง ที่บางครั้งทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีความสนิทสนม จนถึงขั้นผูกพันรักใคร่ แต่ข้อห้ามหนึ่งของการเป็นเกอิชาก็คือ เธอจะ ไม่ได้ รับอนุญาต ให้มีสามีในระหว่างประจำทำงาน และที่สำคัญก็คือ บุรุษที่เธอรักใคร่นั้นก็มักจะมีฐานะสูงส่ง และหมายถึงว่าเขามีครอบครัวแล้ว

ความรักของเธอจึงมีอุปสรรคดังเช่นชีวิตของ “ซายูริ” นางเอกเกอิชาใน “นางโลมโลกจารึก” นั่นเอง

 

29 พ.ค. 55 เวลา 10:10 9,096 5 100
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...