ประตูนรก !! >> The Gates of Hell

 

 

 






ประตูนรก (ฝรั่งเศส: La Porte de l'Enfer, อังกฤษ: The Gates of Hell) เป็นประติมากรรมกลุ่มขนาดใหญ่ที่สร้างโดยออกุสต์ โรแดง
ประติมากรคนสำคัญชาวฝรั่งเศส

ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ออร์เซย์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

 



ประติมากรรม ชิ้นนี้เป็นภาพฉาก “นรกภูมิ” (Inferno) ซึ่งเป็นภูมิแรกของ “ไตรภูมิดานเต” โดยดานเต อลิเกียริ มีขนาดสูง 6 เมตร กว้าง 4 เมตร และ หนา 1 เมตร

และ ประกอบด้วยตัวแบบ 180 ตัว ตัวแบบมีขนาดตั้งแต่ 15 เซนติเมตร จนถึงกว่า 1 เมตร ตัวแบบบางตัวก็นำมาขยายเป็นประติมากรรมชิ้นอิสระโดยโรแดง


ประวัติ

ประติมากรรม ชิ้นนี้ได้รับการจ้างให้สร้างขึ้น โดยผู้อำนวยการวิจิตรศิลป์เมื่อปี ค.ศ. 1880 ให้สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1885 แต่โรแดงก็ยังคงทำการสร้างอยู่เป็นพักๆ เป็นเวลา 37 ปี จนกระทั่งมาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1917



แต่พิพิธภัณฑ์ ศิลปะตกแต่งก็มิได้รับการสร้างขึ้น งานของโรแดงชิ้นนี้จึงตั้งอยู่ที่โอเตลบิรอง โรแดงอุทิศประติมากรรมชิ้นนี้ ภาพวาดลายเส้น และ สิทธิในการลอกเลียนให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศสในบั้นปลายของชีวิต

ในปี ค.ศ. 1919 สองปีหลังจากที่โรแดงเสียชีวิต โอเตลบิรองก็กลายเป็นพิพิธภัณฑ์โรแดงซึ่งเป็นที่เก็บรักษา “ประตูนรก” และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

แรงบันดาลใจในการสร้าง “ประตูนรก”

การ สร้างงานชิ้นใหญ่ขนาด “ประตูนรก” เป็นงานที่ไม่เคยทำกันมาก่อน แต่แรงบันดาลของงานชิ้นนี้มาจากงานประติมากรรม “ประตูสวรรค์” บนบานประตู หอศีลจุ่มซานจิโอวานนิในฟลอเรนซ์ ที่สร้างโดยลอเร็นโซ กิเบอร์ติ

ประ ตูสัมริดจากคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีรูปลักษณ์จากพันธสัญญาเดิม แรงบันดาลอีกแรงหนึ่ง มาจากมหาวิหารของยุคกลาง ที่บางแห่งมีทั้งงานที่รวมประติมากรรม และประติมากรรมนูนสูงด้วยกัน



รูปลักษณ์ที่เด่น

ประติมากรรมต้นฉบับเหล่านี้ได้รับการขยายและกลายเป็นงานศิลปะชิ้นเอกลักษณ์

“ครุ่น คิด” หรือ “กวี” ฝรั่งเศส: Le Penseur) ตั้งอยู่ตอนบนของประตูเหนือบานประตู การตีความหมายหนึ่งกล่าวว่า เป็นภาพของดานเตมองลงมายังผู้คนในนรกภูมิ



อีก ความหมายหนึ่งก็ว่า ผู้ที่เป็นแบบคือโรแดงเอง ผู้กำลังครุ่นคิดถึงองค์ประกอบของงาน และบ้างก็เชื่อว่าเป็นภาพของอาดัม ครุ่นคำนึงถึงความหายนะต่อมวลมนุษย์ ที่ตนเป็นผู้นำมาหลังจากการกระทำบาปครั้งแรก

“จูบ” ฝรั่งเศส: Le Baiser เดิมเป็นภาพที่เป็นส่วนหนึ่งของประตู เช่นภาพ “เพาโลและฟราเชสคาดาริมินี” โรแดงต้องการที่จะแสดงภาพของการเริ่ม ด้วย

ความปิติและการสิ้นสุดลงด้วยการถูกลงโทษ



แต่ก็นำรูปลักษณ์นี้ ออก และกลายมาเป็นประติมากรรมชิ้นที่รู้จักกันว่า “จูบ” เพราะเป็นงานที่แสดงความรู้สึกอันตรงกันข้ามกับรูปลักษณ์อื่นๆ บนบานประตู

“อู โลลิโนและบุตร” (ฝรั่งเศส: Ugolin et ses enfants) เป็นประติมากรรมที่เป็นภาพของเคานท์ Ugolino della Gherardesca ผู้ตามตำนานแล้ว กินซากศพลูกของตนเอง หลังจากที่ลูกตายจากการอดอาหาร

กลุ่มอูโลลิโนต่อมา หล่อเป็นประติมากรรมสัมริดอีกชิ้นหนึ่งในปี ค.ศ. 1882

“Les trois Ombres” เดิมเป็นประติมากรรมเป็นรูปลักษณ์สามรูปแยกกัน ในปี ค.ศ. 1899 ต่อมาโรแดงเชื่อมเข้าด้วยกันที่มือ คล้ายกับเวอร์ชันขนาดเล็กกว่า

เดิมรูปลักษณ์ชี้ไปที่วลี "Lasciate ogne speranza, voi ch'intrate" (สิ้นความหวังจนหมดสิ้น, ท่านผู้ที่เข้ามา ณ ที่นี่ )

“ความ รักเทียม” (ฝรั่งเศส: Fugit Amor) ตั้งอยู่บนบานขวาของประตู เป็นประติมากรรม รูปลักษณ์หลายรูปของคนรัก ที่เป็นสัญลักษณ์ของเพาโลและรูปลักษณ์ฟรานเชสคาดาริมินี ภาพชายรู้จักกันในชื่อ The Prodigial ด้วย

“เพาโลและฟรานเชสคา” (อังกฤษ: Paolo and Francesca) เป็นประติมากรรม ที่ตั้งอยู่บนบานซ้ายของประตู เพาโลพยายามดึงตัวฟรานเชสคาที่ดูเหมือนจะหลุดลอยไป

“คำนึง” (อังกฤษ: Meditation) เป็นประติมากรรมที่อยู่ทางขวาสุดของหน้าบันของประตู ที่สร้างเป็นงานชิ้นใหญ่ในปี ค.ศ. 1896

“ภรรยา สูงอายุ” (อังกฤษ: The Old Courtesan) เป็นประติมากรรมสำริดที่หล่อในปี ค.ศ. 1910 ของสตรีเปลือยสูงอายุ หรือที่เรียกว่า “Celle qui fut la belle heaulmière” (เธอผู้ครั้งหนึ่งเป็นภรรยาคนงามของคนทำหมวกเกราะ) ซึ่งเป็นชื่อของบทกวีนิพนธ์โดยฟรองซัวส์ วิลลง



“ฉันเป็นคนงาม” (ฝรั่งเศส: Je Suis Belle) เป็นประติมากรรมที่หล่อในปี ค.ศ. 1882 เป็นกลุ่มคนกลุ่มที่สองทางด้านขวาสุดของประตู

“ฤดูใบไม้ผลิอันไม่สิ้นสุด” (อังกฤษ: Eternal Springtime) เป็นประติมากรรมที่หล่อในปี ค.ศ. 1884

“อาดัมและอีฟ” โรแดงของทุนเพิ่มขึ้น จากผู้อำนวยการในการสร้างงานประติมากรรมชิ้นนี้ โดยตั้งใจที่จะใช้ขนาบประตูสองข้าง

ที่ตั้ง

พลาสเตอร์ ของงานต้นฉบับ ได้รับการบูรณะในปี ค.ศ. 1917 และตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์โรแดง ในปารีส และพลาสเตอร์ที่แสดงขั้นตอนของการพัฒนาของงานตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์โรแดงในมูดอง



และในปี ค.ศ. 1917 เช่นกันก็ได้มีการสร้างหุ่นจำลองของพิมพ์ประติมากรรมสัมริดสำหรับ:

พิพิธภัณฑ์โรแดง ในปารีส
พิพิธภัณฑ์โรแดง ในฟิลาเดลเฟีย
พิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันตกแห่งชาติ ในโตเกียว

ต่อมาก็ได้มีการหล่อประติมากรรมสัมริด โดยพิพิธภัณฑ์โรแดงให้แก่สถาบันหลายสถาบันที่รวมทั้ง

Kunsthaus Zürich ซูริค

สวนประติมากรรมโรแดง บี. เจอราลด์ แคนเตอร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

หอศิลป์โรแดง โซล เกาหลี


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

25 ก.ย. 53 เวลา 06:43 17,002 14 222
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...