สิ่งประดิษฐ์ที่ฆ่านักประดิษฐ์ ตอนที่ 2.

 

 

 

สิ่งประดิษฐ์ที่ฆ่านักประดิษฐ์  ตอนที่ 2.

 

การมีชีวิตอยู่เพื่อดูสิ่งประดิษฐ์ของตนเองทำงานได้
และมีการนำสิ่งประดิษฐ์ไปใช้กันทั่วโลก
เป็นเรื่องราวที่น่าพอใจและยินดีอย่างยิ่ง
แต่ธรรมชาติไม่เคยปราณีกับใคร

ทุกคนไม่อาจจะเลือกการที่จะมีชีวิตยืนยาวได้
ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเรื่องราวของนักประดิษฐ์
ที่ถูกฆ่าตายด้วยสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง
เรื่องราวทั้งหมดนี้จึงกลายเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ
และไม่น่าจะเป็นไปได้เลยสำหรับนักประดิษฐ์
ที่น่าจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งประดิษฐ์ของตนเองมากกว่าคนอื่น ๆ

 
 

5. Franz Reichelt

 




ช่างตัดเสื้อได้คิดค้น/การออกแบบเสื้อกันหนาว/ร่มชูชีพแบบลูกผสม
ที่อ้างว่าสวมเสื้อนี้แล้วจะสามารถร่อนลงพื้นดินได้อย่างนุ่มนวล
หรือสามารถจะบินได้เลยทีเดียว
ในการทดลองครั้งแรกกลับกลายเป็นความล้มเหลว
เขาเสียชีวิตทันทีหลังจากโหม่งโลก (กระแทกพื้นดินหลังกระโดด)
จากดาดฟ้าชั้นแรกของหอไอเฟล

 




 


4 . Otto Lilienthal

 





ตามข้อเท็จจริงแล้วเขาเป็นคนแรกที่ประสบความสำเร็จ
ในการใช้เครื่องร่อนบินร่อนซ้ำได้หลายครั้ง
เป็นคนที่ทำให้ความคิดความฝันเรื่องเรือบินเกิดขึ้นได้จริง
ซึ่งก่อนหน้านั้นการทดลองในเรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องจินตนาการ
ผลจากความสำเร็จ/ความนิยมในตัวเขา
ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในฉายาว่า  ราชานักบินเครื่องร่อน
เขาเสียชีวิตเมื่อ 10 สิงหาคม 1896(2449) หนึ่งวันให้หลัง
จากการร่อนที่ล้มเหลวโดยหล่นจากที่ความสูง 17 เมตร
ทำให้กระดูกสันหลังหักเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต
คำพูดสุดท้ายก่อนตายคือ  " การเสียสละเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก แต่ต้องทำ "

 

 



3. Alexander Bogdanov

 





ชาวรัสเซียที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นคนเก่งในเรื่อง
แพทย์ นักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์  นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ และนักปฏิวัติ
ผลงานทดลองทางวิทยาศาสตร์หลายครั้ง
มาจากแนวความคิดเรื่องการฟื้นฟูร่างกายด้วยการถ่ายเลือด
เขาได้ถ่ายเลือดให้กับคนที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก
รวมทั้งน้องสาวของเลนิน (ผู้นำสหภาพโซเวียตรัสเซียคนแรก)

 



Bogdanov  ได้ตัดสินใจที่จะให้ถ่ายเลือดให้กับตนเอง
จากเลือดคนไข้รายหนึ่งของเขาที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคมาลาเรียและวัณโรค
เขาเสียชีวิตในเวลาต่อมา  จากการติดเชื้อจากคนไข้คนนั้นหลังจากนั้นไม่นานนัก



2. Marie Curie

 







นักฟิสิกส์/นักเคมีชาวฝรั่งเศส-โปแลนด์
ผู้ค้นพบธาตุกัมมันตรังสี(เรเดียมกับพอโลเนียม)
นอกจากนั้นเธอยังสร้างความก้าวหน้าในเรื่อง
ทฤษฎีกัมมันตภาพรังสี/การแยกไอโซโทปกัมมันตรังสี
เธอกับสามีได้รับรางวัลโนเบลในปี 1903(2447)
สำหรับผลการทำงานร่วมกันที่ดีเยี่ยม
แต่โชคร้ายที่เห็นได้ชัดจากการค้นพบเรื่องดังกล่าว
เธอเสียชีวิตในปี 1934(2467) จากโรคโลหิตจางชนิด aplastic
อันเป็นผลมาจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี
ส่วนสามีปิแอร์ ถูกรถม้าชนตายก่อนมารี

 



1. Thomas Midgley

 





นักเคมีชาวอเมริกันที่คิดค้นทั้งน้ำมันมีสารตะกั่วและสาร CFCs
(สารตะกั่วผสมในน้ำมันเบนซีนในสมัยก่อนทำให้เครื่องยนต์ไม่น็อค
สาร CFCs ใช้มากในตู้เย็นและสเปรย์หลายชนิด
เป็นตัวการทำลายชั้นบรรยากาศโลก)
มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างฉาวโฉ่ว่า
ต้องเป็นคนแรกที่ต้องรับผิดชอบต่อการตายของคนจำนวนมากในประวัติศาสตร์โลก
แต่โชคซ้ำกรรมซัด  ผลงานประดิษฐ์คิดค้นของเขาเอง
ทำให้เขาติดเชื้อ/ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังบนเตียงคนไข้
เพราะพิษจากสารตะกั่วและโรคโปลิโอตอนเขาอายุ 51 ปี

 



สารตะกั่วทำให้เครื่องยนต์ไม่น็อค ที่มาของภาพ http://goo.gl/fdeqkx



สาร CFCs  ที่มาของภาพ http://goo.gl/DQOKgh


แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังไม่ได้หยุดยั้งการประดิษฐ์
และการออกแบบระบบที่สลับซับซ้อนของ
เชือก(สายดึง)และลูกรอก(มูเล่) ที่ติดอยู่บนเตียง
เพื่อช่วยให้ยกตัวเขาขึ้นมาได้เมื่อจำเป็นและต้องการ
และเรื่องนี้ก็คาดเดาได้ว่าเตียงเป็นสาเหตุการตายของเขา
เขาตายตอนอายุได้ 53 ปี เพราะเชือก(สายดึง)
ไปเกี่ยวพันรัดเขาจนหมดลมหายใจ

 

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/ravio/2013/09/06/entry-1

10 มี.ค. 57 เวลา 14:18 3,398 2 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...