สมาร์ทโฟนต้องใช้ “ธาตุหายาก” ถึง 62 ชนิด โดยไม่มีวัสดุอื่นทดแทน

       นักวิจัยเตือน “ธาตุหายาก” กำลังขาดแคลน แต่อุตสาหกรรมแกดเจ็ตยังใช้ธาตุเหล่านั้นอยู่มาก โดยที่ยังหาวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงมาทดแทนไม่ได้ หวั่นถึงยุคนวัตกรรมถอยหลัง ด้านสื่ออังกฤษยกตัวอย่างวิกฤตกรณีน้ำท่วมในเมืองไทยกระเทือนอุตสาหกรรมฮาร์ดไดร์ฟไปทั่วโลก
       
       บีบีซีนิวส์เผยรายงานฉบับใหม่จากนักวิจัยแสดงความกังวลต่ออุตสาหกรรมแกดเจ็ต เนื่องจากเทคโนโลยียุคใหม่ต้องพึ่พา “ธาตุหายาก” และยิ่งมีการผลิตอุปกรณ์ทางด้านไอทีออกมามาก ยิ่งทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้น อีกทั้งวัสดุที่จะนำมาทดแทนยังไม่เพียงพอหรือบางอย่างก็ไม่มีอยู่ จนนักวิทยาศาสตร์บางคนระบุว่า “นี่คือเสียงเตือนครั้งใหญ่”
       
       ทางด้าน แอนเดรีย เซลลา (Andrea Sella) จากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (University College London) ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษาดังกล่าว ให้สัมภาษณ์ทางเว็บไซต์เดอะคอนเวอร์เซชันว่า การศึกษาดังกล่าวเผยให้เห็นถึงรายละเอียดของปัญหาอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก
       
       ทั้งนี้ ทีมวิจัยเรื่องดังกล่าว ซึ่งนำโดย ศ.โทมัส แกรเดล (Prof Thomas Graedel) จากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) สหรัฐฯ ได้วิเคราะห์ว่า มีการใช้ธาตุโลหะหรือธาตุกึ่งโลหะในสมาร์ทโฟนที่นิยมใช้กันมากถึง 62 ชนิด และพบด้วยว่าธาตุเหล่านั้นยังไม่มีสิ่งทดแทนที่ทำงานได้ใกล้เคียงกัน ในจำนวนนั้นยังมีธาตุถึง 12 ชนิดที่ไม่มีสิ่งอื่นมาทดแทนได้ และภาวะขาดแคลนธาตุหายากนี้จะยิ่งเพิ่มปัญหาให้แก่บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ
       
       สำหรับธาตุหายากนั้นเป็นธาตุที่สกัดออกมาด้วยกระบวนการที่มีราคาแพง อีกทั้งกระบวนการสกัดเอาธาตุหายากออกมายังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
       
       พร้อมกันนี้ บีบีซียังชี้ถึงปัญหาเมื่อสายโซ่อุตสาหกรรมหยุดชะงักเนื่องจากภาวะขาดแคลน โดยหยิบรายงานของผู้สื่อข่าวบีบีซีเมื่อปี 2012 ที่ระบุถึงผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในเมื่อไทยเมื่อปี 2010 ที่กระเทือนต่ออุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ ทำให้เกิดการขาดแคลนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นานถึงปี 2012 ตามรายงานของ IHS iSuppli
       
       นอกจากนี้ รายงานของทีมวิจัยยังชี้ด้วยว่าปัจจัยทางการเมืองก็มีผลต่อภาวะขาดแคลนธาตุหายาก ยกตัวอย่างเมื่อปี 2010 จีนเข้มงวดในการส่งออกธาตุหายาก เนื่องจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่า ความเข้มงวดดังกล่าวส่งผลแตกต่างอยางชัดเจนใน 2 ทาง คือ ราคาของธาตุหายากเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า ขณะที่บริษัทในจีนได้เปรียบในการเข้าถึงวัสดุล้ำค่าในราคาที่ถูกกว่า
       
       สำหรับข้อสรุปในรายงานของนักวิจัยเยลนั้น ระบุว่า ในอีกไม่กี่ทศวรรษหน้าทั้งความมั่งคั่งและประชากรจะเพิ่มขึ้นไปทั่วโลก ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์มีความท้าทายเพิ่มขึ้นในการรักษาและปรับปรุงสาธารณูปโภค ด้วยการออกแบบวัสดุใหม่ๆ ที่ดีขึ้น ภายใต้เงื่อนไขของการใช้ทรัพยากรที่หาได้ง่าย

Credit   http://www.manager.co.th

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...