10 พันธุ์พืชหายากที่สุดในโลก

10 พันธุ์พืชหายากที่สุดในโลก

 

ดอกที่1 Amorphophallus titanum หรือดอกไม้ศพ

จากพืชตระกูล “บัวผุด” (Rafflesia)ดอกบัวพุดนี้ที่สุราดมีนะคะอยู่ที่เขาสก เป็นดอกไม้เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช
พบขึ้นอยู่บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลำพังตัวช่อดอกแทงยอดตั้งขึ้นไปกว่า 3 เมตร
เรียกว่าสูงกว่าคนเสียอีก ด้วยรูปลักษณ์ที่ใหญ่โตมโหฬารนี้เป็นธรรมชาติที่พืชสร้างขึ้นมา
เพื่อปกป้องตัวเองจากสัตว์บางชนิด
ขณะเดียวกัน กลิ่นน่าสะอิดสะเอียนที่หึ่งไปทั่วกลับเย้ายวนแมลงบางชนิดให้มาดูดน้ำหวาน

“ไทแทน อารั่ม” มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว จะสูงขึ้นประมาณ 10 เซนติเมตรต่อวัน
และจะมีความสูงที่สูดที่ประมาณ 1-3 เมตร โดยน่าจะเป็นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้แน่นอน
ที่จะทำการคัดสรรพันธุ์พืชต่าง ๆ หลากหลายที่หาได้ยากทั่วโลก
ซึ่งดอกไทแทน อารั่มนี้ได้ปลูกและออกดอกบานไปแล้วกว่าสองดอก
ตั้งแต่ฤดูกาลดอกไม้ในปี 2004 ที่ผ่านมา

ดอกที่2 Dracunculus vulgaris

ต้นและใบลายๆ คล้ายต้นบุกของเราแต่เป็นคนละสายพันธุ์ มีอีกชื่อว่า Voodoo Lily หรือ Dragon Lily เป็นดอกไม้ รูปทรงแปลกๆ อย่างกับใบไม้ยักษ์



  ดอกที่3 Nepenthes Tanax เป็นพวกหม้อข้าวหม้อแกง พันธุ์หนึ่ง

หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes) เป็นพืชกินแมลงประเภทหนึ่ง เนื่องจากเราสามารถพบเห็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงได้ไม่ยากนัก ประกอบกับหม้อข้าวหม้อแกงลิง
มีสายพันธุ์ (Species) อยู่ประมาณ 90 กว่าชนิด ทั่วโลก ตามเขตโซนร้อนทั่วไป โดยเฉพาะบนเกาะบอร์เนียวพบถึง 30 กว่าชนิด



  ดอกที่4 Aigrette มีฉายานกกระสา

มีลักษณะต้นและดอกคล้ายดอกหญ้า เพราะดอกของมันดูคล้ายฝูงนกที่กำลังโบยบิน

ดอกที่5 Venus flytrap ฉายาเทพธิดาดักแมลง

เป็นพวกพืชกินแมลง ต้นนี้มีสีสันสวยงามกว่าพันธุ์อื่น เมืองไทยเราเรียก กาบหอยแครง เจ้า venus flytrap นี้
ต้นกำเนิดของมันอยู่ที่อเมริกาเท่านั้น และจะพบมันได้ใน 2 รัฐเท่านั้น คือทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ North carolina และทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐ
south carolina เท่านั้น venus flytrap จะมีการพักตัวด้วยเมื่อถึงฤดูหนาว วิธีการดักแมลงกันของมัน จะใช้บริเวณกาบนี่แหละที่จะงับแมลงได้
เมื่อแมลงบินมาเกาะที่กาบเพื่อกินน้ำหวานที่ผลิตออกมาจากต่อมน้ำหวาน ขณะที่มันกำลังเพลิดเพลินกับการบริโภคอยู่นั่นเอง ตัวของมันก็จะบังเอิญไปสัมผัสกับขนเล็กๆ
ที่อยู่บริเวณด้านในกาบ ในเวลาไม่ถึงวินาที กาบก็จะปิดลงทันที เมื่อแมลงยิ่งดิ้นกาบก็จะงับแน่นขึ้น แน่นขึ้น หลังจากหุบไปหลายวัน เพื่อย่อยเหยื่อ
แล้วเจ้ากาบใบนั้นก็จะค่อยๆ เปิดออกเพื่อต้อนรับแมลงตัวใหม่ที่จะมาเยือนอีกครั้ง venus flytrap เป็นที่นิยมมากในหมู่นักเล่นไม้กินแมลงเมืองไทย

ดอกที่6 Drosera capensis เป็นพันธุ์หนึ่งของไม้ประเภท หยาดน้ำค้าง

เพราะที่ขนบนใบจะมีตุ่มอยู่บนยอดคล้ายน้ำค้างเกาะ ที่เมืองไทยเราพอมีเลี้ยงกันอยู่จะเป็น
species – Drosera binata ที่เรียกกันว่า “หยาดน้ำค้างใบส้อม” หรือ ?หยาดน้ำค้างเขากวาง? มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และสามารถทนอุณหภูมิได้ค่อนข้างสูง
จนนิยมจัดไว้ในกลุ่มไม้เมืองร้อน โดยไม่ทิ้งใบเลยทั้งปี

ดอกที่7 Rafflesia arnoldii

ถือได้ว่าเป็นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 70-80 เซนติเมตร เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง
ที่อาศัยกินน้ำเลี้ยงจากรากและลำต้นของไม้เถาที่ชื่อว่า ย่านไก่ต้ม ( Tetrastigma papillosumplanch ) จะโผล่เฉพาะดอก ซึ่งเป็นดอกเดี่ยวสีแดงคล้ำหรือน้ำตาล
ปนแดงคล้ำ ขึ้นมาจากพื้นดินในระหว่างฤดูฝนหรือในระยะที่อากาศและพื้นดินยังมีความชุ่ม ชื้นสูงคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม ยามที่มันออกดอกสีปูนแดง
สดใสอยู่กลางป่าดิบเขียวชอุ่มนั้น ถือเป็นภาพที่น่าตื่นตามาก บัวผุดหรือที่ชาวบ้านทางภาคใต้ของไทยเรียกว่า “บัวตูม” จริงๆแล้วเป็นพืชกาฝาก ซึ่งมีลักษณะ
เป็นเส้นใยอาศัยอยู่ในรากและลำต้นของเถาไม้เลื้อยวงศ์องุ่นป่า ชื่อ “ย่านไก่ต้ม” โดยบัวผุดจะอาศัยดูดกินแร่ธาตุและน้ำจากย่านไก่ต้ม โดยต้นแม่ก็ยังคงมีชีวิตอยู่
พวกเราจะเห็นบัวผุดได้ก็เฉพาะยามเมื่อมันต้องการผสมพันธุ์กัน คือ จะเริ่มมีตาดอกเป็นปุ่มกลมเล็กๆ โตขึ้นที่ผิวของย่านไก่ต้ม แล้วใช้เวลา 9 เดือน ขยายขนาดจน
เท่ากับหัวกะหล่ำยักษ์ จากนั้นก็ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน ในรอบปีให้ดอกบาน ทว่าดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่ จึงต้องได้เวลาเหมาะเหม็งมากในช่วงเวลาบาน
แมลงวันจึงจะช่วยผสมเกสรให้ได้ จึงถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการสูญพันธุ์ในเมืองไทยจะพบบัวผุดได้ตั้งแต่คอ คอดกระ จังหวัดระนอง เรื่อยลงไปตามแนวเทือกเขาภูเก็ต
จนสุดชายแดนที่นราธิวาส โดยอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งชมบัวผุดแหล่งใหญ่ที่สุด มีบัวผุดทยอยบานให้ชมทั้งปี แต่เป็นที่นิยมไปชม
กันมากในฤดูแล้งช่วงเดือนพฤศจิกายน- เมษายน เพราะเดินป่าง่าย แต่เขาสกก็ได้ผ่านบทเรียนอันเจ็บปวดมาแล้วจากอดีต ในการสูญเสียบัวผุดที่ควนลูกช้าง
เพราะในอดีตยังขาดความเข้าใจในชีวิตอันเปราะบางของมัน จึงมีผู้แห่กันไปชมบัวผุด โดยมีการเหยียบย่ำเถาย่านไก่ต้ม เหยียบย่ำดอกอ่อน และเหยียบย่ำตาดอก
ขนาดเล็กที่เพิ่งผุดขึ้นมา (โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์) ทั้งนี้เพื่อเข้าไปชมและถ่ายรูปกับดอกบัวผุดให้ใกล้ชิดที่สุด ส่งผลให้บัวผุดตาย และสาบสูญไปจากควนลูกช้าง
แม้ปัจจุบันบัวผุดบริเวณกิโลเมตรที่ 111 และที่เขาสองน้องก็มีจำนวนดอกลดน้อยลง และขนาดดอกในรอบ 2 ปี (พ.ศ. 2545-2546) ที่ผ่านมาก็เล็กลงจนน่าตกใจ
ทีเดียว อุทยานแห่งชาติเขาสก และทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เล็งเห็นความเร่งด่วนของสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้ออกมาตรการป้องกันรักษา
ดอกบัวผุด โดยออกสำรวจ เมื่อพบดอกใกล้บานจะทำการล้อมรั้ว ติดป้ายห้ามเข้าใกล้ดอก และสร้างสะพานไม้ยกระดับให้ยืนชมดอกอยู่ห่าง ๆ บนสะพานไม้ ไม่ให้มี
การลงไปเหยียบย่ำพื้นดินหรือเถาย่านไก่ต้มอีกต่อไป นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านเป็นไกด์ท้องถิ่นพานักท่องเที่ยวเข้าชมบัว ผุด เพื่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนอัน
จะนำมาซึ่งความรัก ความเข้าใจ ความหวงแหน และการอนุรักษ์แหล่งชมดอกบัวผุดได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

ดอกที่ 8 Tacca chantrieri เป็นไม้จำพวก Black Lily

ที่เรามาประดับบ้าน มีชื่ออื่นๆอีกเช่น ว่านหัวฬา ว่านพังพอน (ยะลา) ว่านนางครวญ (นครศรีธรรมราช) และค้าว
คาวดำ ลำต้น เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอก ขอบขนานแผ่ใบกว้าง 7-15 เซนติเมตร ยาว 20-60 เซนติเมตร ปลายและโคนแหลม ก้านใบค่อนข้างเล็ก
กลม ยาวประมาณ 1 คืบ เส้นใบคล้ายใบกล้วย แต่ร่องลึกและแคบกว่า ดอกมีสีม่วงดำคล้ายหัวค้างคาว กลีบเหมือนหูโตๆ ใบประดับกลมยาวเหมือนหนวดแมว สีม่วงดำ
10-25 เส้น เกิดในป่าดงดิบชื้น สูง 500-1500 เมตร

ดอกที่9 Strangler fig

คือกาฝากชนิดหนึ่ง เป็นไม้เถาวัลย์อาศัยดูดซับสารอาหารจากต้นไม้อื่นและเจริญเติบโตขึ้นอย่าง ช้าๆ เหมือนกาฝาก แต่ขนาดใหญ่กว่ามาก
พอๆกับต้นที่มันเกาะอาศัยอยู่ทีเดียว รากของมันไม่ได้แค่เกาะไปกับต้นไม้ที่มันอาศัย แต่จะพันรัดไปรอบทั้งลำต้นเลยทีเดียว จนในที่สุดโอบรัดต้นไม้ใหญ่และสังหารต้น
ที่มันอาศัยเสียเมื่อตัวมันเติบโตเต็มที่ ทำให้ได้ฉายา Strangler (สแทรงเกลอร์ฟิก) หรือนักบีบรัด นั่นเอง ที่จริงพฤติกรรมโหดๆแบบนี้ ไม่น่าหายาก
หรือใกล้สูญพันธ์เลยนะ



  ดอกที่10 Starngler มาจากคำว่า Strangling แปลว่า “บีบคอ”

บางครั้งก็จะเรียกต้นนี้ว่า Strangling Fig ซึ่งก็มีความหมายคล้ายๆ กัน

31 มี.ค. 53 เวลา 19:45 5,843 9 110
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...