พระว่านจำปาสัก ของดีที่ถูกมองข้าม

 

 

 

พระว่านจำปาสัก ของดีที่ถูกมองข้าม

 

(พระว่านจำปาสัก ส่วนหนึ่งของ อ.ทองชุ่ม)


                   ว่าน กับคนไทยมีความผูกพันกันมาแต่โบราณกาลแล้ว ชาวสุวรรณภูมิ เชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพืชพันธ์บางชนิด
โดย เฉพาะว่าน  ตามความเห็นของผม ผมจำกัดว่า ว่านคือ พืชตะกูลหัวเท่านั้น      แม้ว่า ตำราว่านในปัจจุบัน (หลัง พ.ศ.๒๕๒๐) มีพืชพันธ์ที่มิใช่พืชหัว      อยู่หลายชนิด  แต่นั่นผมถือว่าเป็นมลพิษ      เป็นการยัดไม้อื่นเข้าเป็นว่านเพื่อขายกัน ตำราว่านหลักของไทยเราเรียกว่า      "กบิลว่าน"  เป็นว่านในสายตาของคนภาคกลาง      ผมเคยเสวนากับพรรคพวกที่เล่นว่านอย่างมืออาชีพ และเสนอความเห็นว่า      "กบิลว่าน" นั้น  มีที่มามาจาก "ว่านของกปิลฤาษี"
               ผมมีโอกาสเห็นตำรา  "นอกกบิลว่าน" หลายฉบับ เช่นของเมืองเชียงใหม่      ที่จารึกเป็นตัวธรรมลานนา  บอกได้ว่า      พืชหัวนั่นแลที่เป็นหลักของไม้ตระกูลว่าน      รูปธรรมของสูงสุดในการใช้ว่านในทางอีสานคือ "พระว่านจำปาสัก"

ว่านถูกนำมาใช้ ในหลากหลายวิธีการ
 

(อาบน้ำว่านสายเขาอ้อ)


เช่น การอาบว่านยา ที่โด่งดังในเมืองไทย คือการอาบว่านยาในสายเขาอ้อ       ซึ่งมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนมาก ทางเหนือมีวิธีอาบน้ำว่านที่งายกว่ากันมาก      เช่นในสายของ  พ่อ...........ซาว.... แห่งเมืองนันทบุรี      ที่ขั้นท้ายสุดต้องทุ่มหม้อยาอันเดือดพล่านลงบนหลังลูกศิษย์ทีเดียว      ทางอีสานก็มีต้องหมักว่านด้วยน้ำหมอก ของสายหลวงปู่ศรีทัต ว่ากันว่า      วรกายของพระนเรศวร ท่านสีคล้ำ เนื่องจากการแช่ยาเช่นกัน

การนำว่านมา ใช้อีกแบบคือการนำมาสัก วัฒนธรรมการสัก มาจาก ไทยใหญ่ ,ลานนา และลาว      ขอบอกตรงนี้ว่า "วิชาสักเป็นวิชาใหม่ของไทยภาคกลาง" การสักภาคกลางจึง      ไม่พิศดาร อะไรเท่าล้านนา ,ล้านช้าง" ลายยันต์สักเฉพาะตามแบบโบราณจริงๆ      ของภาคกลางจึงไม่มี เพราะล้วนแต่ประยุกต์ ขึ้นมาจากตำรายันต์เขียนตระกรุด      หรือประเจียดผ้ายันต์ เท่านั้น ทางลานนา ,ไทยใหญ่ ,ล้านช้าง ,อีสาน      ไปไกลกว่านั้นมาก  แค่การทำหมึกสัก ก็พิถีพิถัน กันคนละชั้น       มีการผสมว่านยาสารพัด  EXดีปลาเวียน,สมอหมึก,ว่านนานาชนิด       ...ปางแซงแหลง...กระจายฯ.... เขาไม่เรียกว่า หมึก      เขาพัฒนาจนถึงขั้น...ยาสัก
 

"ยาสัก"ของไทยใหญ่


               เรื่องยาสักนี้ แม้กระทั่ง เมื่อ ผม ไปเรียนดาบเหนือ หรือเจิง      จากอาจารย์ท่านหนึ่ง พอผมยกครูเสร็จ ท่านก็จัดแจงฝนยาสัก สัก บนหลังของผม      ท่านว่าเป็นทำเนียม ในการเรียนดาบ สายท่าน      ผมไม่ทราบว่าดาบสายอื่นต้องมีการสักยาหรือไม่ ท่านมอบยาสักมาให้ผมก้อนนึ่ง      ท่านว่า ถึงเวลาจะเป็นครูดาบ ก็จะได้ใช้มัน

          การนำว่าน      หรือยาไป ใช้ของคนโบราณ อาจพกต้นสด หรือตากแห้ง      หรือใช้กรรมวิธีอื่นในการถนอมยา เป็นต้นว่า ผสมสีผึ้ง      แช่ในน้ำมันแต่วิวัฒนาการขั้นสูงของมัน คือการ ทำเป็น"ยาแท่ง" "ยาสัก"      ก็เป็นยาแท่งรูปแบบหนึ่ง ตำราโบราณของภาคกลางก็มีเช่นกัน      แต่เน้นในทางรักษาโรค ผมเคยเห็นตำราโบราณอยู่หลายตำรับ แต่ปัจจุบัน      ไม่มีใครทำแล้ว เช่น ตำราทำยาแท่งกันยาสั่ง      แค่พกติดตัวก็จะเห็นฟองเกิดในอาหารที่เจือด้วยยาสั่ง  หากถูกพิษก็ฝนกินแล      ที่อาจจะคุ้นหูคนในยุคปัจจุบัน ก็อาจเป็น      "มหานิลแท่งทอง"ที่รวบรวมสรรพถ่านผสมทำยากัน ส่วนมาก ยา แท่ง      มีวิธีการใช้ที่พิศดารจนฝรั่งงงงง..!!!?      นั่น คือ การ  "ยักกระสาย" ยาตัวเดียวกัน ใช้มะนาวเป็นกระสายแก้โรคX ได้      ,ยาตัวเดียวกัน ใช้น้ำมะพร้าว เป็นกระสาย แก้โรค Z ได้ พิศดารไหมครับ
 

ที่พอเห็นร่องรอยในภาคกลาง คือ "ยาจินดามณี" ที่มีการนำมาสร้างพระพิมพ์เช่นกัน
 
(พระพิมพ์จินดามณี หลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว)


               ปล. ยาจินดามณี ตำราเหนือค่อนข้างชัดเจนครับ       ทางภาคกลางยังโต้แย้งเรื่องตัวยากันหลายอย่าง เช่น เกสรบุษบัน,ทองน้ำประสาน      ทางเหนือชัดเจนมากว่าคืออะไร ผมจึงกล้าบอกว่ารากฐาน      ของยาตำรานี้มาจากทางเหนือ แน่นอนครับ
 


ตัวอย่างยาต่างๆ
      หมายเลข ๓ คือ ยาดำออกศึก
   หมายเลข ๔ คือ ยาแคล้วคลาดของหลวงปู่ดิ่ง วัดบางวัว
 

แท่งยามหาระงับ  (ส่วนหนึ่งของตำราคือ ตระกรุดมหาระงับนั่นเอง)

 

(ยาอะป่อง ขวดนี้ผมได้มาหลายปีแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าเน่าเสียประการใด)


               ยาสักของไทยใหญ่ "ยาอะป่อง" เป็นภูมิปัญญาที่น่าทึ่ง      เพราะใช้น้ำจาก รากมะเดื่อ  ยาอื่นๆ ที่อยู่ในน้ำยาจึงไม่เน่า      ยานี้สักทางคงกระพัน
 

(ยาสักกันงู )


               ยานี้เป็นของพวก ญ้อ ชาวไทยลาวเผ่าหนึ่ง กันงูได้อย่างอัศจรรย์      ผมเคยสักให้พรรคพวกไป โดนตะขาบ กัด ไม่เป็นอันตราย      แค่เจ็บแผลธรรมดาอยู่สองวันก็หายแล้ว ยานี้หากผสมตัวยาบางอย่างลงไป ท่านว่า      แม้งูกัดเราเลือดออกถูกปากงู งูก็ต้องตายเสียเอง แต่ผู้รับการสัก      อาจมีไข้บ้าง เป็นอาการเหมือนการให้เซรุ่ม หรือ ปลูกฝี      เสียดายยาขนานนี้ใชน้ำเปล่าทำละลาย ตัวยาจึงเหม็นเน่า      ต้องรักษาไว้ในตู้เย็น (โบราณก็ใช้กันเเบบเน่าๆนี่ล่ะ)      นี่คือตัวอย่างการใช้ว่านยา จะเห็นได้ว่า การเก็บยาในลักษณะยาน้ำ นั้น      มีความเสี่ยง ผมยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า การ เป็นไข้ จากการสักกัน อสรพิษ      ที่กล่าวมานั้นเกิดจากตัวยา หรือ ความเน่า ของยากันแน่      (อาบว่านของเขาอ้อทำกันหลายวัน ยาเน่าก็แช่กันต่อไป ยาหายากนี่ครับ)      วิธีที่ดีที่สุด.. คือ เก็บแบบ ยาแทง..ยาสัก หรือ ทางอีสานเรา..      ทำเป็นพุทธบูชาเสียเลย คือ...เก็บเป็นพระว่านจำปาสัก      ผมจึงถือเป็นรูปธรรมสูงสุดของการเก็บว่าน
 

(องค์นี้ของอ.ทองชุ่ม เช่นกันครับ สีแดง บางเฉียบ งามมากครับ)


               คติ การสร้างพระพิมพ์ เพื่อเป็นพุทธบูชา มีมานานกาเล การทำพระว่าน      จำปาสัก มีความเเตกต่างจาก พระว่านทางภาคกลาง ที่เน้นเป็นมวลสารศักดิสิทธิ      (จะเห็นมวลสาร ว่านเป็นแค่ผงละเอียดๆ) เพราะพระว่านจำปาสัก นอกจากจะพก      เป็นของขลัง เป็นพุทธบูชาแล้ว ยังมีลักษณะที่เก็บไว้ใช้เหมือนยาแท่ง? จึงไม่แปลกอะไร ที่เราจะเห็นพระ ว่านจำปาสัก มีรอยบิ่น จากการฝน การหักกิน การหักต้มกิน ฝนทา เป็นยาสารพัดแก้
 

(พระว่านองค์นี้น่าสนใจมาก เพราะ ทำจากว่านดิบๆ มีกรรมวิธีเฉพาะที่น่าทึ่ง)


พระว่านจำปาสักคืออะไร

               บางคนเลยเถิดออกไปอีกก็ถามว่า "ว่านจำปาสัก" มันคือว่านอะไรกัน?      ว่านจำปาสักไม่มีหรอกครับ  !!!!! แต่หนังสือบางเล่ม      รับลูกความเข้าใจผิดนี้แบบเป็นตุเป็นตะ ผมจึงบอกเพื่อนบ่อยๆ ว่า อย่า      เชื่ออะไรที่หนังสือสมัยนี้เขียนบอกง่ายนัก!!

คนยุคก่อน      ถ้าเขาไม่รู้จริง จะไม่กล้าพูด กล้าเขียนอะไรออกมา กลัวคนเข้าใจผิดเป็นบาป      ยุคนี้ผมประหยัดค่าหนังสือได้มา ด้วยแยกได้ว่าอะไรเป็นหนังสือทรงคุณค่า      อะไรคือกระดาษเปื้อนน้ำหมึก เรื่องของเรื่อง เป็นเรื่องของโครงสร้างทางภาษา

พระ ว่านจำปาสักก็คือ "พระว่านจากเมืองจำปาสัก" นั่นเอง เพราะแรกพบ      (การค้นพบที่มันเป็นข่าว) คือพบที่จำปาสัก เหมือน กับคำว่า "แก้วโป่งข่าม"        ที่แม้แต่ โอท็อป ก็ยังหลงประเด็น แปลคำว่าโป่ง แปลว่า พอง      บวม,เหมือนแก้วที่มันดูโป่ง มันแปลง่ายๆครับว่า "แก้ว ที่ได้จาก โป่ง      (โป่งที่สัตว์กินนะครับเป็นลานดินในป่า) ที่มัน "ข่าม"      โบราณไม่เรียกว่าแก้วโป่งข่ามด้วย ชาวเมืองแต่โบราณเรียก "แก้วอมซาน"      ซึ่งนักปราชญ์ใหญ่ทางเครื่องรางของขลัง พยายามค้นหาว่า แก้ว "อมซาน"      คืออะไร  สุดท้าย ท่านแปลว่า "แก้วอมแล้วเหาะ" แปลเหมือนแปล "อมยิ้ม      "นั่นเอง

         เรื่องจริงมีนัยซับซ้อนอยู่       ขอไม่เล่าแล้วกันครับ  เดี๋ยวจะยาวถึง"วชิรเป๊ก"ของลานนา (พรรคพวกทาง      มหาสารคาม เขาพึ่งได้ตำราแก้ว โบราณอีสานมา ผมยังไม่ได้ดู      อาจมีอะไรให้เราได้หักมุมอีกก็เป็นได้)
 


นางธาตุพนม

               ตอนพระธาตุพนมล้ม นั้น พบพระพิมพ์เนื้อว่านเป็นจำนวนมาก โดย เฉพาะ      นางธาตุ พนม ที่น่าเชื่อว่าเป็นของ "ญาครูเจ้าโพนสะเม็ก" เพราะมีเอกลักษณ์      มาก ผู้เชี่ยวชาญพระเครื่องเมืองหนองคายท่านหนึ่งยืนยันกับผมว่า      ได้พบพระว่านนางธาตุ พนม ในองค็พระธาตุบังพวน เช่นกัน      ในครั้งพระธาตุบังพวนล้มลงมา

พระว่านจำปาสัก เข้ามาปรากฎในเมืองไทยสามละลอกใหญ่คือ


๑. ตอนสงครามอินโดจีน ที่กล่าวมาแล้ว


๒.      อีกครั้งที่เป็นข่าวครึกโครม รวม ถึงปรากฎในหน้าหนังสือพระเครื่องคือ คราว      ที่ "เจ้าคูณพระธรรมไตรโลกาจารย์" ท่านตะเวณประเทศลาว      และขนเข้ามาเป็นกระสอบ เอามาตากที่ลานวัดศรีเมือง ผมจำพ.ศไม่ได้      ประมาณ๒๕๑...      ผู้ที่เปเอามาพร้อมกับท่านยังมีชีวิตอยู่...เล่าว่าไปได้ในถ้ำภูเขาควาย        ตอนนั้นพบพระบุทอง ด้วย แต่ท่านเจ้าคุณมิได้สนใจ      พระรุ่นนี้ผมก็ได้มาจำนวนหนึ่ง และก็เกิดประสบการณ์โดยตรงกับผมด้วย


๓.ยุค ที่พระว่านทะลักเข้ามาเยอะที่สุดคือ ยุค "ลาวแตก" คนลาวอพยพ      ก็หอบหิ้วของดีของตนข้ามมา ยุคนี้เรามีโอกาส จะเห็นเครื่องค้ำของคูณ      ที่หาชมได้ยากมาก หลายอย่างที่คนอพยพนำติดตัวมา เช่น "คดคล้างาเอี่ยน"       "แก้วแสง"ต่างๆ นานา   เครื่องลางลาว นับว่าพิศดารและน่าชมมาก      และของยุคนั้นลองกันได้เห็นๆเลยทีเดียว ผมเคยเห็นเขาลองจันทะคาด กับตา      เป็นมหาอุดจริงๆ "แก้วไผ่" เคยพบในตำรา "มณีนพรัตน์ในสมัย ร.๔      มาเห็นของจริงแล้ว งดงามนัก      แค่เห็นด้วยตาเปล่าก็รู้ถึงความไม่ธรรมดาของเขาแล้ว      (มีโอกาสจะติดตามของพวกนี้มาให้ชม      เพราะบางชิ้นเจ้าของเขาขายเป็นทุนไปประเทศที่สาม      บางอันก็มอบให้เจ้าบ้านผู้อารีโดยเสน่หา)
 

(ชิ้นนี้ เจ้าคุณธรรมไตรโลกาจารย์นำมาจากประเทศลาว ขณะเป็นราชอาณาจักร)


               ผมประหลาดใจมาก ที่เห็นพระพิมพ์ โคนสมอ และพิมพ์พระขุนแผน!!      พระว่านจำปาสัก ในปัจจุบัน ยังเป็นของดีที่คนละเลย แม้ว่าจะเป็นพระกรุ      โบราณอายุ ร้อยปีขึ้นไป แต่ค่านิยมในวงการพระ ยังเป็นราคา หลักร้อยต้นๆ      จะมีราคาสูงหน่อยในพื้นที่ อำเภอธาตุพนม เนื่องจาก ใครมีพระ      ก็ยัดกรุเป็นพระว่านจากองค์พระธาตุเสียหมด เหตุที่ราคาไม่ไป      เพราะความแน่ชัดเรื่องกรุไม่มี เพราะที่ไหนๆ      แม้กรุในอยุธยาก็ยังพบพระว่านในลักษณะนี้       ที่มีราคาจะเป็นพวกพระว่านหน้าทอง
 

(พระว่านหน้าทอง)


               เอกลักษณะของพระว่านจำปาสักก็คือ พระว่านจะมีลักษณะบิดเบี้ยว      เพราะการแห้งตัวของว่านพระว่านจะมีหลายขนาด ขนาดใหญ่เป็นฝ่ามือก็มี       พุทธลักษณะส่วนมากเป็นแบบเชียงรุ้ง  มักเป็นรูปสามเหลี่ยมกรวย      พระว่านข้าพเจ้า จำแนกเองตามเนื้อได้สองแบบคือ

๑.พระว่านเนื้อแก่ ครั่ง บางทีเรียกพระขี้ครั่งพระแบบนี้มีเสน่ห์ตรง      เวลาส่องเข้ากล้องจะเห็นเป็นสีแดงสวย      เหมือนเกล็ดปลาช่อนอะเมซอนบางคนก็อวดรู้ว่า แดงเพราะเป็นว่านสบู่เลือด
 

(พระเนื้อแก่ครั่ง)


๒.      เป็นพระแก่ว่าน หรือเป็นเนื้อว่านร้อย เปอร์เซนต์ มักเป็นสีน้ำ ตาล,      ถ้าเจอสีแดงนับว่าเป็นเอก,ได้สีเหลือง งามนัก มักเจอทางภาคเหนือ
 

(พระเนื้อว่านสีน้ำตาล)

 

(พระสาม เนื้ออกเหลือง ข้าฯได้จากทางเหนือ)

 

พระเนื้อว่านล้วนออกแดง องค์นี้ได้จากกรุ จ. พเยา


               นอกจากนี้ยังมีพระว่านอีกบางลักษณะ      ที่ทำเนื้อว่านเป็นเนื้อละเอียด      แต่จัดเป็นจำปาสักได้ด้วยความที่เนื้อละเอียดมาก      จึงทำให้พระองค์นี้เห็นหน้าตา เพราะเก็บรายละเอียดจากแม่พิมพ์ได้ดี
 

องค์ นี้ ได้ จากวังเก่า เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก


นิทาน เรื่องที่ ๑

               ผมมีโอกาสได้ไปเรียนต่อ ที่จังหวัดขอนแก่น พ่อ      เป็นห่วงในความคะนอง อนุญาติให้หยิบพระบนหิ้งของท่านได้      สมัยนั้นผมไม่มีความรู้ หรอกว่าอะไรเป็นอะไร หยิบจำปาสัก มาห้อย      เพราะเห็นว่า เก่า รูปทรงแปลก เบา ดูขลังดี วันหนึ่งผมไปเยี่ยมเพื่อน      แถวทุ่งสร้าง  รอเพื่อนอยู่หน้าบ้าน มาสีดำตัวหนึ่งวิ่งรี่เข้าหาผม      มันไม่เห่า มันเอาปากมาชนขาผม หลายครั้ง ผมไม่ได้คิดอะไรเลยเตะมัน      ผมเดินเข้ามาในร้านก๋วยเตี๋ยว เจ้าของร้านถามผม "หนุ่มแขวนพระอะไร"      หมาตัวนั้นอาทิตย์ก่อนกัดคนเย็บ ๑๔ แผล ผมมาคิดได้ว่า      ที่มันเอาปากชนผมเพราะมัน อ้าปากไม่ขึ้นนี่เอง ความประทับใจครั้งนี้      ผมจึงเป็นแฟนตัวจริง พระว่านจำปาสักครับ

นิทานเรื่องที่๒

               ลุงของเพื่อน อยู่มุกดาหารเล่า ให้ฟังแกเป็นสรรพสามิต      ออกไล่พวกขายเหล้าเถื่อน พวกมันหนีเข้าไปหลบในถ้ำ ต่างฝ่ายต่างจะยิงกัน      แต่ยิงไม่ออกสักฝ่าย ท้ายที่สุดจึงรู้ว่าในถ้ำมีกรุพระว่านอยู่      พากันเก็บมาคนละหลายองค์ เขาได้กันไปหลายองค์ ล้วนมีประสบการณ์เรื่องปืน      กันมาก เสียดาย ถ้ำนี้ โดนเก็บพระเสียหมดเลย ชาวบ้านได้ข่าวกัน      เข้าถ้ำหากัน ถ้ำสะอาดไปเลย ปัจจุบัน       ไม่มีเกจิท่านใดสร้างพระเนื้อว่านจำปาสักแล้ว เห็นว่า มี หลวงปู่บุญ      วัดกลางบางแก้ว ,หลวงพ่อ วัดโตนดหลวงเพชรบุรี เคยสร้างไว้บ้าง      แต่แยกแยะได้ง่ายมีข้อแตกต่างจากเนื้อจำปาสักอยู่      ผมหลงเสน่ห๋ของพระว่านเนื้อแบบจำปาสัก      ได้ใช้เวลาทดลองสร้างพระเนื้อนี้โดยจำลองเทคนิคต่างๆ ฟังจากผู้เฒ่าบ้าง      จนผมสามารถสร้างพระว่านเนื้อดิบ สำเร็จ และเนื้อครั่งก็ทำได้      ผมไม่แน่ใจว่าจะเผยสูตร ณ เว็ปนี้เป็นแห่งแรก ดี      หรือจะสงวนไว้เป็นความลับต่อไป!!  เพราะเป็นเหมือนดาบสองคม      ให้นักปลอมพระ!!!

          ปัจจุบัน พระว่านก็มีปลอมอยู่แล้ว      แต่ไม่พบว่าจะมีรายใดปลอมได้เหมือนของเดิม      ถ้าจะปลอมได้เหมือนก็คงจะเป็นฝีมือผมเอง!!!หรือหาโอกาสทำพระว่านย้อนยุคแจก สมาชิกเว็ป ดีน้า.................................ขอคิดดูก่อนครับ

 

ขอบคุณบทความดีๆ จาก....
อาจารย์ขุนหาญ  ......

19 มิ.ย. 56 เวลา 15:35 56,650 1 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...