ทรงผมญี่ปุ่นโบราณ Nihongami - 日本髪

หลาย ๆ คนอาจคุ้นตาทรงผมเอกลักษณ์ประจำชาติญี่ปุ่นที่เป็นทรง เกอิชา จริง ๆ ในประวัตศาสตร์อันยาวนั้นนั้น

ญี่ปุ่นเองได้มีการพัฒณาแฟชั่นทรงผมที่ได้รับอิธิพลมาจากจีน และปรับเปลี่ยนรูปแบบ วิธีการ เรื่อย ๆ จนเป็นเอกลักษณ์ตัวเอง 

โดยทรงผมที่เริ่มเป็นเอกลักษณ์ญ๊่ปปุ่น เริ่มพัฒณาขึ้นในยุค Classic japan (Asuka - Nara - Heian)

Kepatsu 

ทรงนี้ นิยมในช่วงศรรษวรรตที่ 6 - 7 โดยได้รับอิทธิพลจากจีน (ก่อนหน้านั้น จาก Jomon - kofun แฟชั่นจะยังเป็นจีน ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนสไตล์ชัดเจน) เป็นทรงผมยุคแรกก่อนพัฒณานะคะ ไม่มี ใคร รู้ว่า ทรงจริง ๆ เป็นยังไง เพราะช่างโบราณ คงตายห่าไปหมด จนไม่ทันได้สืบทอดก่อนปรับเปลี่ยนแฟชั่น เลยมีแต่รูปเขียนตามผนังวัด - - "

จากนั้น ก็ทรงผมทั้งหลาย รวมถึงแฟชั่น ก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน จากยุค เฮอัน นั่น ล่ะค่ะ

Taregami | Long, Straight Hair, c. 794 - 1345 

  

ทรงนี้ นิยม ในยุคเฮอัน ส...างใน เจ้าหญิงที่ไม่ได้ออกงานอะไร จะนิยมไว้กัน เป็นผมยาวธรรมดาปล่อยยาวไปเรื่อย ๆ จน ถึงเท้า (ยิ่งยาว ยิ่งสูงศักดิ์ ) แสกกลางปรกติ อาจมีการ ตัดหน้าม้าแบะกลางเล็กน้อยเพื่อเปิด แก้ม แล้วแต่ นิยม .... เป็นทรงฮิตปรกติ ในราชสำนัก (ว่ากันว่าสาวยุคนี้ ตกเป็นเมียขุนนาง หรือ ซามูไรง่าย ๆ จากการโดนเหยียบผมหรือชายผ้าไม่ให้หนีแล้วปล้ำแม่ง !!! - แต่ที่นิยมไว้กันเพราะบังคับให้เคลื่อนไหวช้า ๆ เป็นกุลสตรี ) ส่วนลูกขุนนาง หรือ ซามูไร จะไว้ทรงนี้แหละ แต่ จะรวบผมด้านหลัง ต่ำ ๆ ถ้าใครเคยดูการ์ตูนอิคคิวซํง คงจำท่านแม่ ได้ ตอนในวัง จะผมยาวลากพื้น แต่พอ ถูกถอดยศไปอยู่บ้านนอก จะรวบผม

 ทรงนี้ เหลือหลักฐานค่อนข้างเยอะเลย พอเห็นทรงจริง ๆได้ ตาม ตำนานเกนจิ เลย ฮิตจนถึงปัจจุบัน เจ้าหญิง นางรำ อุปรากร ยังนิยมแต่งในพิธีสำคัญ ๆ (แต่สวมวิกเอานะ คงไม่มีใครอยากไว้ยาวได้แบบนี้อีกแล้ว )

Osuberakashi

ผมทรงยุคเฮอัน เช่นกันค่ะ แต่ จะเป็นราชวงศ์ชั้นสูง ทำทรงนี้เวลาออกงานพิธีใหญ่ ๆ หรือ ว่าราชการ 

เอาผมยาวถึงเท้านั่นล่ะ มาจัดทรงเป็นปีกสามเหลี่ยม แล้วผมที่เหลือ ปล่อยยาว มัดเป็นท่อน ๆ ด้านหลัง ประดับเครื่องประดับกลางหน้าผาก (เครื่องประดับมีความหมาย ถึง โลกสามโลก ตามคติชินโต รึเปล่าไม่แน่ใจ ไว้หาข้อมูงเสริมเพิ่ม อาจะมาโพสอีกที)

ยุคเหลือ ๆ ก้ไว้ 2 ทรงนี้แหละค่ะ ผลัดเปลี่ยนตามกาลเวลา จน มา ปรับรุปทรงอีกที ช่วง กลางเอโดะ 

(ยุคนี้แฟชั่นทรงผมเฟื้องฟูมาก ทรงคล้าย ๆ กันหมด แต่ แยกการประดับ และการมัด ตาม ตำแหน่ง ฐานะ )

The middle of the Edo era
Shimada Mage 

ทรงปีกครึ่งวงกลม มีหวีสับบนหัว ทรงนี้เริ่มเป็นที่นิยม ยุค ตระกูล โตกุกาว่า เรืองอำนาจ เกอิชา สาวชาวบ้าน สตรีมีศักดิ์ จะนิยมไว้กัน เป็น ทรงเรียบง่ายที่สุด ของ เซ็ท ผม แบบนี้ ถ้าปักปิ่นอันเดียว แล้วมัดรวบ ๆ จะเรียก Tsubushi-Shimada(สาวชาวบ้าน เด็กเสริฟนิยมทำ ) ถ้ามีการมัดมวยผมเพิ่มกลางศรีษะเป็นแนวตั้งคล้ายกล่อง จะเรียก Hakoshimada ...( คนรวยมาหน่อย หรือนางรำนิยม )

หาก ประดับ พุ่มดอกไม้ จะกลายเป็น Tsubuichi ( พวกประดับดอกไม้นี้ .. เจ้าหญิง กะ ลูกขุนนางนิยมทำ )

จริง ๆ เซ็ท ชิมาดะ ทรง Tsubuichi สวยสุด อลังการสุด เลยมีหนัง มั่วไปใช้ กะพวก เกอิชา หลายเรื่อง แม้แต่ memoir of geisha ... คนธรรมดาแต่งงี้ โดนตำหนินะคะ เหมือนพวกหมิ่นเทียมเจ้าว่างั้น ( ยกเว้นไมโกะ กะ นางรำ คงได้รับการยกเว้นเพราะแสดง )

ยุคปลายเอโดะ ที่ญี่ปปุ่นเริ่มค้ากับต่างชาติ จะมีการปรับเปลี่ยนทรงไปอีกหลายทรงแต่คง กระบังปีกครึ่งวงกลม ด้านหน้าไว้ แต่มีการ ประยุกต์การมัดด้านหลัง ในดูเก๋ไก๋ อลังการเพิ่มเติม โดย เรียกไปต่างแบบมีหลายทรงมากแต่เยอะ เลยขอยก ทรงเด่น ๆ มาให้รู้จัก

Kyo fu (kyo to style) 

ทรงนี้หญิงงามเมือง ระดับสูง จะนิยมทำไว้เดินออกงาน ในย่านโยชิวาระ คล้าย ๆ ชิมาดะนั่นล่ะ แต่มีการสัดยกผมไปเป็นกระบังครึ่งวงกลม อีก 2 ซีดข้างหลัง เยอะไปหมด ปักปิน 12 ชิ้น หน้า 6 หลัง 6 ประดับดอกพู่ เต็มหัว บางนางก็เอาผ้ามาโพกให้มันเยอะแยะ แบบนี้แหละ 

ส่วนพวกอยากสวย คนธรรมดา ๆ ไว้ทรงนี้ จะแค่ปักปิ่น 2 - 4 ชิ้นค่ะ  

ส่วนลักษณะผมทั่วไปตระกูล ชิมาดะ จะเรียกแยกไปตามการมัดด้านหลังตามนี้ 

Karawa

Fukiwa

Shinoji

Yoko hyoko

Ryote

ปัจจุบันทรงผมพวกนี้ ยังหาดูได้ ตาม โตเกียว และ เกียวโต .... ไมโกะ และ เกอิชา ยังคงรักษาวัฒณธรรมพวกนี้ไว้ได้อย่างดีเยี่ยม ยังคงเห็นได้ตามท้องถนน นะคะ 

ส่วน ทำไมทรงผมยุดเอโดะ มันถึง บังคับทรง เป็นครึ่งวงกลมแบบนี้ สันนิฐานว่าเกี่ยวข้องกับ เอกลักษณ์ประจำชาติ คือ ดวงอาทิตย์ และ คติตามศาสนาที่อ้างอิงจาก เทพี อามาเตราสุ (เทพีแห่งแสงสว่าง หรือ พระอาทิตย์) ค่ะ  .... 

 

 

เนื้อหาโดย: Jane Gozen
9 มิ.ย. 56 เวลา 11:24 5,102 1 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...