เจาะลึกเบื้องต้นกับ 'โรคพาร์กินสัน'

 

 

 

 

เจาะลึกเบื้องต้นกับ 'โรคพาร์กินสัน'

 

 

“ท้องผูกก็เป็นส่วนหนึ่งของโรคพาร์กินสันด้วยหรือ”

“ถ้าผมเป็นโรคพาร์กินสันจริง ลูกผมมีโอกาสเป็นโรคพาร์กินสันหรือเปล่า”

“หากหกล้มบ่อยเป็นอาการเริ่มแรกก่อนมีอาการเกร็ง ทำไมหมอบอกว่าผมไม่ใช่โรคพาร์กินสันแท้”

“ปัจจุบันมีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือยัง”

คำ ถามเหล่านี้มักถูกถามบ่อยๆ เมื่อญาติหรือคนในครอบครัวนั่งอยู่กับผู้ป่วยขณะที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรค พาร์กินสันครั้งแรก ไม่น่าแปลกใจที่พวกเขาเหล่านั้นจะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคที่อาจเกิด ขึ้นกับตนเอง เพราะความรุนแรงของโรคพาร์กินสันก็มิใช่น้อย ยิ่งระยะเวลาเป็นโรคยาวนานขึ้นอาการของโรคหรือผลข้างเคียงจากการรักษาก็มี โอกาสเกิดมากขึ้นเช่นกัน ทั้งอาการสั่นครึ่งซีก อาการแข็งเกร็ง การเคลื่อนไหวช้า ท่าเดินที่ผิดปกติ การทรงตัวที่ไม่ดี หรือแม้กระทั่งปัญหาการหกล้ม นี่เป็นเพียงอาการแสดงออกมาทางการเคลื่อนไหวเท่านั้น (Motor symptoms) ยังคงมีความผิดปกติที่อาจเกิดจากโรคพาร์กินสันที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Non-motor symptoms) ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่าอาการเหล่านั้นมีสาเหตุเกิดจากโรคพา ร์กินสัน ยกตัวอย่างเช่น การนอนละเมอ (พูดหรือออกท่าทางที่ตอบสนองต่อความฝันขณะนอนหลับ บางรายถึงขนาดทำร้ายร่างกายของคนที่นอนร่วมเตียง) ปัญหาการขับถ่ายโดยเฉพาะอาการท้องผูก อาการเหล่านี้อาจพบเป็นอาการนำก่อนที่จะเริ่มพบอาการผิดปกติทางการเคลื่อน ไหวหรืออาการสั่นมาก่อนหลายปีก็ได้

นอกจากนี้ยังพบลักษณะของสมอง เสื่อมหรือความจำเสื่อมที่สัมพันธ์กับโรคพาร์กินสันได้อีกด้วย แต่ความจำเสื่อมชนิดนี้มีสาเหตุและอาการแสดงที่แตกต่างกับโรคความจำเสื่อม ชนิดอัลไซเมอร์ และอีกอาการหนึ่งที่ไม่ควรลืม คือ อารมณ์ที่ผิดปกติ ผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคซึมเศร้า วิตกกังวลมากเกิน บางคนคิดว่าอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ป่วยต่อการรับ รู้ว่าตนเองเป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ปัจจุบันมีการศึกษามากมายในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่แสดงให้เห็นว่าอาการ ผิดปกติทางอารมณ์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของตัวโรคพาร์กินสันเอง นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายพูดน้อยลงหรือดูว่าขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมหรือ กิจกรรมที่เคยทำเป็นประจำในอดีต อาการทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วน หนึ่งของโรคพาร์กินสัน แต่เป็นอาการที่พบได้บ่อยและสามารถรักษาได้ด้วยยาหรือวิธีการอื่นๆ ดังนั้นผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวไม่ควรที่จะลืมสำรวจอาการเหล่านี้และบอกกับ แพทย์ของคุณเมื่อได้รับการตรวจ


 


โรคพาร์กินสันเป็นโรคทางพันธุกรรมเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ลักษณะที่พบในกลุ่มนี้คือ มีอาการแข็งเกร็งที่แขนหรือขา เคลื่อนไหวเชื่องช้า และที่ชัดเจนคือ มีประวัติครอบครัว (สายเลือดเดียวกัน) ที่บ่งชี้ว่ามีคนเป็นโรคพาร์กินสันหรือโรคของการเคลื่อนไหวผิดปกติ สิ่งนี้ก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่ควรสำรวจในครอบครัวของท่านแล้วแจ้งให้แพทย์ทราบ ข้อมูลนี้อาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงการรักษา แต่จะช่วยแพทย์ในการเลือกการรักษาที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ช่วยในการพยากรณ์โรคหรือช่วยในการวางแผนครอบครัวในอนาคตได้

ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการดังกล่าวข้างต้น ส่วนมาก 80% เป็นโรคพาร์กินสัน แต่ยังมีผู้ป่วยบางส่วนที่อาจมาด้วยอาการเหล่านี้แต่มักมีอาการอื่นๆ ที่พบไม่บ่อยในโรคพาร์กินสันร่วมด้วย เช่น เห็นภาพหลอนตั้งแต่ก่อนเริ่มรักษา มีการกลอกตาผิดปกติ วูบหมดสติบ่อยๆ เป็นต้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการตรวจละเอียดมากขึ้น เนื่องจากอาจเป็นโรคที่เรียกว่า โรคพาร์กินสันเทียม แทนที่จะโชคดีว่าไม่เป็นโรคพาร์กินสัน แต่กลับพบว่าโรคกลุ่มนี้มีความรุนแรงของโรคมากกว่าและไม่ค่อยตอบสนองต่อการ รักษาเหมือนโรคพาร์กินสัน การวินิจฉัยนอกจากการตรวจร่างกายแล้ว บางรายอาจต้องการการตรวจทางรังสีวิทยาหรือทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อ ช่วยในการวินิจฉัย อย่างไรก็ตามยังมีข้อดีอยู่บ้างในโรคกลุ่มพาร์กินสันเทียม ปัจจุบันยังเชื่อว่าเป็นโรคของความเสื่อมของสมองส่วนต่างๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะในผู้ป่วยแต่ละรายเอง ไม่ใช่โรคทางพันธุกรรม

อย่าง ไรก็ตามปัจจุบันนี้มีการศึกษามากมายเกี่ยวกับการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ หรือแม้กระทั่งการรักษาเพื่อชะลอการดำเนินโรค ทั้งยาทดแทนสารโดปามีนหรือวิทยาการรักษาใหม่ๆ เช่น การผ่าตัดด้วยการกระตุ้นสมองส่วนลึก ซึ่งเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่สนใจควรปรึกษาแพทย์ทางระบบประสาทก่อน จะดีที่สุด

3 พ.ค. 56 เวลา 14:25 2,984 2 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...