‘ดาวหางแพนสตาร์’ เยือนโลก 8-17 มี.ค. ย้ำมาแค่ครั้งเดียว!

 

 

 

 

‘ดาวหางแพนสตาร์’ เยือนโลก 8-17 มี.ค. ย้ำมาแค่ครั้งเดียว!

 

 

 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนคนไทยอย่าพลาดชม “ดาวหางแพนสตาร์” ในวันที่ 8-17 มี.ค. ย้ำมาแค่ครั้งเดียว และสังเกตได้หลังดวงอาทิตย์ตกประมาณ 30 นาที…

เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ในวันที่ 8-17 มี.ค.นี้ “ดาวหางแพนสตาร์ (C/2011 L4 PANSTARRS)” จะโคจรมาใกล้โลกและดวงอาทิตย์ ขอชวนคนไทยอย่าพลาดชม ย้ำมาเที่ยวเดียว ไม่มาอีกแล้ว หากฟ้าใสดูตาเปล่าได้ โดยดาวหางแพนสตาร์ จะโคจรมาใกล้ดวงอาทิตย์ ระหว่างวันที่ 8-17 มี.ค. นี้ และสุกสว่างมากที่สุด เมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 10 มี.ค. สามารถสังเกตได้ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตกดินประมาณ 30 นาที หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ดาวหางจะปรากฏอยู่ใกล้ขอบฟ้าบริเวณกลุ่มดาวปลา และหากอยู่บริเวณที่ท้องฟ้ามืดสนิท ปราศจากแสงรบกวนและไม่มีสิ่งบดบัง จะมีโอกาสเห็นดาวหางแพนสตาร์อยู่บนฟากฟ้าได้ด้วยตาเปล่า หรือหากใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ช่วย ก็จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ดร.ศรัณย์ กล่าวต่อว่า จากการติดตามการเคลื่อนที่ดาวหางดวงนี้ นักดาราศาสตร์พบว่าในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ดาวหางแพนสตาร์ที่สังเกตได้มีหางฝุ่นสั้นๆ และมีความสว่างปรากฏประมาณ * 4 ซึ่งนับว่าน้อยมาก จากเดิมที่คาดการณ์ว่า ดาวหางแพนสตาร์น่าจะสว่างพอที่จะเห็นได้ด้วยตาเปล่าโดยง่าย แต่ปัจจุบันเมื่อดาวหางเข้าใกล้โลกมากขึ้น ได้มีการศึกษาและคำนวณค่าความสว่างปรากฏแล้ว พบว่าอาจมีความสว่างไม่มากเท่าที่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้คาดว่าความสว่างปรากฏจะสูงสุดที่ประมาณ 3

7 มี.ค. 56 เวลา 15:47 2,313 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...