โรคงูสวัด

                                                                          โรคงูสวัด 

                                                      มารู้จักและระวัง เจ้าโรคงูสวัด กันดีกว่า        
โรคงูสวัด (อังกฤษ: Herpes zoster) เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ "วีแซดวี" (varicella-zoster virus) เป็นคนละโรคกับ โรคเริม คนที่เป็นโรคงูสวัดจะต้องเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน เมื่อภูมิต้านทานอ่อนแอลงจึงกลายเป็นโรคงูสวัด มักจะเป็นผื่นตามแนว dermatome(แนวเส้นประสาทของผิวหนัง) และมักจะปวดมาก
การติดเชื้อครั้งแรก (Primary infection) โรคอีสุกอีใส
มักติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไวรัสจะเพิ่มจำนวนบริเวณ Nasopharynx (คอหอยหลังโพรงจมูก) แล้วเข้าสู่ reticuloendothelial system จากนั้นจะเข้าไปในกระแสเลือด เกิดเป็น Viremia ซึ่งจะทำให้มีการติดเชื้อทั่วร่างกาย มีอาการแสดงออกทางผิวหนังเป็นตุ่มใส (vesiculopapula skin lesion) หรือที่เรารู้จักกันว่าเป็น โรคอีสุกอีใส

ช่วงนี้จะสามารถตรวจพบเชื้อได้จากเลือดของผู้ป่วย นอกจากนี้จะตรวจ DNA ของไวรัสได้จากรอยโรคบนผิวหนัง (skin lesion) หรือ จากเลือด โดยวิธี PCR

ในทางเนื้อเยื่อวิทยา (Histology) ถ้าตรวจรอยโรคจะพบ เซลล์ที่บวมขึ้น , multinucleated giant cells ,eosinophilic intranuclear inclusions,มีเนื้อตาย และเลือดออก ต่อมา น้ำในตุ่มจะขุ่นขึ้น เนื่องจาก polymorphonuclear leukocytes ที่กินเซลล์ที่ติดเชื้อ รวมทั้ง fibrin และซากเซลล์ ปะปนกัน สุดท้าย ตุ่มน้ำจะแตกออก ปล่อยของข้างในออกมา รวมทั้งไวรัสด้วย

การติดเชื้อซ้ำ (Recurrent infection)
สำหรับกลไกการติดเชื้อซ้ำของ VZV (โรคสุกใส) ที่ทำให้เป็นโรคงูสวัด (Herpes Zoster) ในภายหลังนั้นยังไม่แน่ชัด แต่เท่าที่ทราบคือ VZV จะไปซ่อนตัวหลังการเป็นโรคสุกใสที่ปมประสาทรากบนของไขสันหลัง(Dorsal root ganglion) จนกระทั่งออกมาติดเชื้อซ้ำอีก ตามแนวที่ปมประสาทนั้นเลี้ยงอยู่ (ตาม dermatome) จึงเกิดผื่นเหมือนโรคสุกใส แต่จะเป็นตามแนว dermatome

โดยในการตรวจทางเนื้อเยื่อวิทยา (Histopathologic examination) พบว่า Dorsal root ganglion มีลักษณะ บวม เลือดออก และมี lymphocyts อยู่มาก

โรคนี้สามารถติดเชื้อในอวัยวะอื่นได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIVs ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น เช่นการติดเชื้อในปอดจะพบปอดอักเสบ(interstitial pneumonitis) , multinucleated giant cell, intranuclear inclusions และเลือดออกในปอด (pulmonary hemorrhage) หากติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง(Central nervous system ) อาการจะคล้ายโรคหัด (measles) และ สมองอักเสบจากไวรัส(viral encephalitides) อื่นๆ

ส่วนการตายของเนื้อสมองและมีเลือดออกซึ่ง คล้ายโรค herpes simplex virus (HSV) encephalitis นั้น พบได้น้อย

อาการ

จะมีอาการปวดอย่างมากบริเวณที่เป็นงูสวัด เจ็บแสบๆ ร้อนๆ บางคนมีอาการคันร่วมด้วยหรือเป็นไข้ได้ บางคนทรมานจากอาการปวดมากจนนอนไม่หลับ เมื่อเป็นอาการแดง มีผื่นขึ้น และบริเวณที่เป็นจะมีกลุ่มของตุ่มน้ำในผิวหนัง ต่อมาตุ่มน้ำจะเริ่มแห้งและตกสะเก็ดจางหายไป ระยะเวลาตั้งแต่เป็นจนหายไปประมาณ 7-14 วัน

ในเด็ก โรคนี้จะไม่รุนแรง เท่าผู้ใหญ่

ลักษณะผื่น

2-3 วันแรก จะมีอาการ ปวดแสบปวดร้อน หรือคัน ตาม dermatome เรียก zoster-associated pain และ ระดับ T3 to L3 มักพบได้มาก

ต่อมาจะมีผื่นขึ้นแบบ erythematous maculopapular rash ขึ้นไม่มาก อยู่ประมาณ 3-5 วัน

รวมระยะเวลาแล้ว คือ 7-10 วัน

เพราะฉะนั้น จะเห็นเป็นทางขวางตามลำตัวด้านหน้า ด้านหลัง รอบเอว ตามแนวเส้นประสาทตามยาวที่แขนและขา หรือตามแนวเส้นประสาทที่บริเวณใบหน้า นัยน์ตา หู ศีรษะ เป็นต้น หากลามเข้าที่ตาแล้วจะทำให้ตาบอด (จาก ophthalmic branch of the trigeminal nerve ทำให้เกิด zoster ophthalmicus )

งูสวัด ไม่สามารถจะพันตัวเรา จนครบรอบเอวได้เพราะแนวเส้นประสาทของตัวเรา จะมาสิ้นสุดที่บริเวณกึ่งกลางลำตัวเท่านั้น ในคนธรรมดาที่มีภูมิต้านทานปกติ งูสวัดจะไม่ลุกลามเข้ามาแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่ง ของร่างกาย (ยกเว้นในกรณีที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น ถ้าเกิดเป็นงูสวัด ก็อาจปรากฏขึ้นสองข้างพร้อมกัน ดูเหมือนงูสวัดพันข้ามแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่งของร่างกายได้ หรือเป็นงูสวัดทั่วร่างกายได้)

อาการต่อเนื่อง

แผลที่เกิดขึ้น จะสามารถหายสนิทเป็นปกติในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์

อาการปวดตามแนวเส้นประสาทระยะจากที่โรคงูสวัดหายแล้ว (post herpetic neuralgia) คืออาการปวดเจ็บแสบร้อนตามแนวเส้นประสาทนี้ ถึงแม้ว่า ผื่นงูสวัดหายไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีอาการปวดแสบร้อนอยู่ บางรายเป็นอยู่หลายเดือนทำให้ทรมานพอสมควร มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

อาการแทรกซ้อน

สำหรับอาการแทรกซ้อนที่สำคัญคือ อาการปวดเกิดขึ้นภายหลังจากผื่นหายหมดแล้ว มักเกิดกับผู้สูงอายุที่เป็นงูสวัดบริเวณประสาทสมองคู่ที่ 5 อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผื่น หรือโรคแทรกซ้อนทางตา เช่นตาอักเสบ เส้นประสาทตาอักเสบ หรือ แผลที่กระจกตา ในกรณีของผู้ป่วยที่ภูมิต้านทานต่ำ เช่น เป็นโรคเอดส์ หรือผู้ป่วยที่ได้รับยากดอิมมูน อาจมีการกระจายของผื่นทั่วตัวได้ แพทย์บางท่านอาจจะให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสชนิดรับประทานเป็นเวลาประมาณ 5-10 วันร่วมด้วย ทั้งนี้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา

วิธีรักษาโรคงูสวัด
1.รักษาตามอาการคือ กินยาระงับอาการปวด อาการคัน เช่น พาราเซตามอล ไอดาแรค พอนสแตน คลอเฟนนิรามีน ฯลฯ ไม่ควรใช้ aspirin ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี
2.ยาต้านไวรัส ช่วยระงับอาการได้และทำให้ระยะเวลาของโรคสั้นลงและลดการเกิด PHN ได้แก่
Acyclovir 800 มก. รับประทานวันละ 5 ครั้ง 5-7 วัน (ในเด็ก 20 mg/kg ทุก 6 ชั่วโมง)
Valcyclovir (the prodrug of acyclovir) 1000 กรัม รับประทานวันละ 3 ครั้ง 5-7 วัน
Famcyclovir (prodrug of penciclovir) 500 มก.ในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ 250 มก. ในประเทศอื่นๆ รับประทานวันละ 3 ครั้ง 7 วัน
3.ยาทากลุ่มฆ่าเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มยาอะไซโคลเวียร์
ยาทาพวกเสลดพังพอน ใช้ทาระงับอาการได้ดีพอสมควร ราคาไม่แพง

การปฏิบัติตน

งูสวัด เป็นโรคที่เชื่อว่าไม่ติดต่อ เป็นแล้วหายไปเองได้ เพียงแต่รักษาแผลให้สะอาด ในระยะเป็นตุ่มน้ำใสที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือ กรดบอริก 3% ปิดประคบไว้ เมื่อผ้าแห้งก็ชุบเปลี่ยนใหม่ ทำเช่นนี้วันละ 3-4 ครั้งๆ ละประมาณ 15 นาที ในระยะตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่จะเข้าสู่แผลได้ ควรใช้น้ำเกลือสะอาดชะแผลแล้วปิดด้วยผ้าก๊อสที่สะอาด ถ้า ปวดแผลมากรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล

ในรายเป็นมากหรือรุนแรงจะต้องเข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์ทันที เช่น ผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการปวดและอับเสบรุนแรง ในคนที่มีภูมิต้านทานต่ำจากการได้ยากดภูมิต้านทานไว้ ได้แก่ ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือจากการได้รับการฉายรังสี หรือในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งของตอมน้ำเหลือง เป็นต้น การรับประทานอาหารที่เกี่ยวกับโรคที่คุณเป็นนั้น สามารถรับประทานได้ทุกอย่างไม่มีข้อห้าม ยกเว้นแต่ของหมักดองที่ควรจะงด

ปัจจุบันมีวิคซีนป้องกันงูสวัด ได้ผลประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์

สูตรยาไทย

ให้นำด่างทับทิม ผสมน้ำอุ่น และเช็ดตามตุ่มแผลต่างๆเพื่อฆ่าเชื้อ และให้นำว่านหางจระเข้ ทาหลายๆรอบ และให้ใช้ด้วยผงวิเศษตราร่มชูชีพปะตามแผล ก่อนว่านหางจรเข้แห้ง (สูตรนี้จะทำให้แผลเริ่มแห้งภายใน1-4 วัน) ซึ่งด้วยสรรพคุณ ของว่านหางจรเข้แล้ว จะทำให้ไม่เกิดแผลเป็น

ช่วงแผลแห้งจะเกิดอาการคัน ซึ่งถ้าเกาอาจเกิดเป็นแผลเป็นได้
ใช้เสลดพังพอน ตำ ผสมกับ พิมเสน แล้วทำดินสอพองมาผสม ใสนำเล็กน้อย

แล้วคนให้เข้ากัน ให้ข้นแล้วปะที่แผล ทุกวัน

มีข้อแม้ว่างูสวัดห้ามโดนน้ำ ห้ามกินไก่ ห้ามดื่มเหล้า

ห้ามกินของแสลงที่เป็นของร้อน เช่น ทุเรียน สับปะรด


**  ที่นำมาลงเพราะ เราก็เพิ่ง จะหายนะ เลยอยากนำมาให้เพื่อนๆอ่านกัน

ระวังและรักษาตัวเองให้แข็งแรง ส่วนผู้ที่ยังไม่เป็น อีสุกอีใส ก็ควรพยายาม

ระวัง ตัวเองมากๆเพราะ เป็นในวัยผู้ใหญ่ หายช้ามากๆ และลำบากด้วยสิ

อาจจะได้แผลเป็นมาเพิ่มตัวอีก  เพราะว่า โรคอีสุกอีใส เมื่อเป็นแล้วทุกคน

จะมีโอกาสเป็นโรค งูสวัด ได้แน่นอน เพราะสาเหตุจากที่ในตัวเรามีเชื้อ

ไวรัสฝังตัวอยู่ จะมีอาการ ต่อเมื่อร่างกายเราอ่อนแอ 

ข้อควรระวัง  ...อันนี้สำคัญมากๆ คือ พักผ่อนให้เพียงพอ  ขอเน้น ว่า

อย่านอนน้อย และอย่าเครียด สาวๆก็อย่าเครียดนะจ้า โดยเฉพาะช่วงวัน

เบาๆ(รอบเดือน)  

...ขอขอบคุณ สาระดีๆจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

                 

 

#นานสาระ
sekimi
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
11 ม.ค. 53 เวลา 00:59 4,017 5 86
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...