สิ่งที่คุณยังไม่รู้เกี่ยวกับปากกาไฮไลท์

 

 

 

 

 

สิ่งที่คุณยังไม่รู้เกี่ยวกับปากกาไฮไลท์

 

แต่สิ่งเหล่านี้เริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่ช่วงยุค 1960s เมื่อนักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า Yukio Horie ได้สร้างปากกาหัวสักหลาดที่ใช้หมึกสูตรน้ำเป็นไส้ใน เค้าใช้กลศาสตร์การไหลของของเหลวในการดึงหมึกให้กระจายเข้าไปอยู่ทั่วไส้ในของปากกา เมื่อหัวปากกาถูกกดลงไปบนกระดาษหมึกก็จะไหลติดกระดาษไปตามแรงกดนั้น

หลังจากนั้นในปี 1963 บริษัท Carter ยักษ์ใหญ่ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์จากแมสซาชูเซตส์ได้ผลิตปากกาแบบเดียวกัน โดยใช้หมึกแบบบางๆที่เมื่อขีดลงไปบนกระดาษแล้ว ช่วยดึงดูดสายตาได้ดีมาก การเลือกใช้หมึกสีก็มีความสำคัญเช่นกัน การใช้สีเหลืองและสีชมพูบางๆที่สามารถมองทะลุเห็นตัวหนังสือได้ นอกจากจะช่วยดึงความสนใจจากสายตาแล้วมันยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการอ่านอีกด้วย นอกจากนี้สีสูตรน้ำที่ใช้จะมีข้อดีต่างจากสีสูตรแอลกอฮอล์ที่เมื่อเวลาใช้ขีดไปแล้วกระดาษจะไม่เปื่อยจนทะลุค่ะ พวกเค้าตั้งชื่อปากกานี้ว่า Hi-Liter คนก็เลยเรียกชื่อนี้ติดปากกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในช่วงปี 1970s ปากกาไฮไลท์ก็กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการขีดเน้นข้อความ ต่อมาในปี 1978 บริษัท Dennison ก็ได้ซื้อกิจการของบริษัท Carter แล้วพัฒนาปากกาไฮไลท์ตัวนี้ต่อ จนได้นวัตกรรมที่สุดยอดนั่นคือ การผลิตหมึกแบบเรืองแสง (fluorescent colors) หมึกนี้จะดูดซับรังสียูวีแล้วปล่อยออกมาในสเปคตรัมที่ตามองเห็นได้ และซีคงไม่ต้องบอกว่ามันขายดีมากขนาดไหน (ปัจจุบันปากกาไฮไลท์สีที่ดีขายดีที่สุดก็คือ สีเหลืองและสีชมพู ซึ่งทั้งสองสีนี้มียอดขายรวมกันถึง 85% ของจำนวนปากกาไฮไลท์ที่ขายได้ทั้งหมด)

ช่วงต้นของยุค 1980s ปากกาไฮไลท์ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องท่ามกลางการแข่งขันที่สูง จนเราได้เห็นนวัตกรรมที่ใหม่บ้างแปลกบ้าง เช่น เปลี่ยนวัสดุที่ใช้ผลิตหัวเพื่อให้หมึกไหลออกมาได้ดีและเรียบขึ้น, การทำปากกาสองหัวที่มีไฮไลท์และหมึกซึมอยู่ในด้ามเดียว หรือการทำปากกาไฮไลท์ที่มีกลิ่นพิซซ่า เป็นต้น พอเข้าสู่ยุคดิจิตอลการไฮไลท์ข้อความก็ยังได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย ในโปรแกรมประเภทจัดการไฟล์เอกสารหรือซอฟท์แวร์ e-reader ก้ได้ใส่ฟีเจอร์ไฮไลท์ข้อความมาให้ด้วย  เรียกว่าการไฮไลท์ข้อความก็พัฒนาตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเหมือนกัน

 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...