ฉลามหัวค้อน มฤตยูหน้าแปลก (Hammerhead Shark)

 

 

 

 

 

 

ฉลามหัวค้อน มฤตยูหน้าแปลก (Hammerhead Shark)


 

 


ฉลามหัวค้อน(Hammerhead shark) แน่นอนมันได้ชื่อนี้มาจากการที่มันมีหัวที่มีลักษณะ แบน และยื่นยาวออกไปด้านข้าง คล้ายรูปร่างของค้อน
ฉลามหัวค้อนทุกสายพันธุ์ในนั้นอยู่ใในวงศ์(family) Sphyrnidae โดยฉลามหัวค้อนส่วนใหญ่อยู่ในสกุล(genus) Sphyrna ยกเว้น ฉลามหัวปีก(winghead shark มีลักษณะหัวยื่นยาวกว่า และเรียวเล็กกว่า ฉลามหัวค้อน) ที่อยู่ในสกุล Eusphyra ฉลามหัวค้อนพบได้ทั่วโลก ในบริเวณน้ำอุ่นตามแนวชายฝั่ง และบริวเวณชายฝั่งทวีป ฉลามหัวค้อนไม่เหมือน ฉลามพันธุ์อื่นตรงที่พวกมันชอบว่ายน้ำกันเป็นฝูง ดังที่จะเห็นได้ที่ เกาะMalpelo ในโคลัมเบีย เกาะCocos ใน คอสตาริกา และในบริเวณใกล้ๆเกาะMolokai ในฮาวาย ฉลามหัวค้อนมีอยู่ 9 ชนิดที่มีการค้นพบในปัจจุบัน มีความยาวตั้งแต่ 0.9 - 6 เมตร หนักตั้งแต่ 500 ถึง 1000 กิโลกรัม ส่วนใหญ่พวกมันมีสีเทาแกมเขียว ส่วนท้องมีสีขาว โดยฉลาม Great hammerhead เป็นฉลามหัวค้อนชนิดที่ใหญ่ที่สุด โดยหัวที่มีลักษณะเหมือนค้อนนั้นมีหน้าที่เป็น เพิ่มวิสัยทัศน์ในการมองเห็น โดยตำแหน่งของตาที่อยู่อยู่ส่วนปลายของของส่วนหัวที่บานออกมานั้นทำให้ขอบเขตในการมองเห็นแนวดิ่งกว้างถึง 360 องศา(หมายความว่าพวกมันสามารถมองเห็นข้างบน และข้างล่างได้พร้อมๆกัน) เนื่องจากหัวที่บานออกกว้างทำให้พวกมันมีรูตรวจรับกระแสไฟฟ้า(Ampullae of Lorenzini)ได้มากขึ้น ทำให้พวกมันตรวจพบกระแสไฟฟ้าที่อ่อนถึง หนึ่งในล้านส่วนของโวลล์(สิ่งมีชีวิตจะมีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆปล่อยออกมา ฉลามใช้รู Ampullae of Lorenzini ตรวจหาตำแหน่งของเหยื่อ) หัวที่บานเป็นบานออกยังย้ายตำแหน่งจมูกของพวกมันยื่นออกมาด้านหน้ามากขึ้น ทำให้พวกมันเพิ่มความสามารถในการตรวจจับกลิ่นได้ดีขึ้น ที่แปลกก็คือ ฉลามหัวค้อนเป็นสัตว์เพียงไม่กี่ชนิดที่เมื่อสัมผัสแสงอาทิตย์แล้วผิวจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำขึ้น ฉลามหัวค้อนอาจจะมีบทรักที่โหดหน่อย คือพวกมันจะผสมพันธุ์ปีละครั้งโดยตัวผู้จะใช้การกัดตัวเมียอย่างรุนแรงจนกว่าตัวเมียจะสมยอม สิ่งที่แปลกของพวกมันอีกอย่างก็คือ ในปี 2007 มีการพบว่าฉลามหัวค้อนชนิด Bonnethead มีความสามารถในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ(asexual reproduction) โดยไข่จะพัฒนาเป็นตัวอ่อนโดยไม่ต้องอาศัยการปฏิสนธิโดยอัตโนมัติ(parthenogenesis) โดยเซลล์ไข่(Ovum)จะหลอมรวมเข้าโฟล่าร์เซลล์(polar body เป็นโครงสร้างเซลล์ที่พบในเซลล์ไข่)ทำให้เกิดเซลล์ zygocyte โดยไม่ต้องอาศัยเพศผู้ ถือว่าเป็นการค้นพบฉลามสายพันธุ์แรกที่สืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ ปล.อาจจะแปลผิดพลาดต้องขออภัยในส่วนนี้ค่อนข้างงง ฉลามหัวค้อนกินอาหารหลากหลาย ทั้งหมึก กุ้ง ปู หรือแม้กระทั้งพวกเดียวกันเอง แต่พวกมันโปรดปรานปลากระเบน Stingrays เป็นที่สุด โดยพวกมันจะใช้การว่ายดิ่งปักหัวลงมาชนปลากระเบนทำให้ปลากระเบนหยุดการเคลื่อนไหวทำให้ปลากระเบนถูกจับกินอย่างง่ายดาย โดยจากฉลามหัวค้อน 9 ชนิด มีอยู่ 3 ชนิดดังนี้ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์คือ ฉลามหัวค้อนScalloped , ฉลามหัวค้อนGreat และ smooth hammerheads

เห็นพวกมันอยู่กันเป็นฝูงอย่างนี้สยองทีเดียว


ตัวนี้คือ ฉลามหัวปีก(Winghead shark) 1 ในฉลามหัวค้อน 9 ชนิด พวกมันเป็นชนิดที่หัวบานกว้างกว่าเพื่อน


ภาพนี้เป็นฉลามหัวค้อนที่จับได้ที่ชายหาดในนิวเซาท์เวลส์ ยาว 5 เมตร หนัก 1200 กิโลกรัม เนื่องจากนิสัยที่พวกมันกินฉลามด้วยกันเป็นอาหาร ระหว่างที่เรือตกปลากำลังตกฉลามตัวเล็กอยู่มันก็เข้ามโจมตีฉลามตัวนั้น และส่งผลให้มันตกเป็นเหยื่อเสียเอง
 
 
7 ม.ค. 55 เวลา 16:11 8,282 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...