Charles Mallory Hatfield: นักทำฝน ชาวอเมริกา


ชาร์ลส มาลโลรี แฮทฟิลด์ (Charles Mallory Hatfield) (1875-1958) เป็นนักทำฝนชาวอเมริกัน เขาเกิดที่ ฟอร์ท สก๊อต (Fort Scott) แคนซัส (Kansas) ในปี 1875 ไม่ก็ปี 1876 – ครอบครัวของเขาย้ายไปอยู่ทางตอนใต้ของแคลิฟอเนีย์ ในช่วงทศวรรษที่ 1880

เมื่อเขาเติบโตขึ้นเขามีอาชีพเป็นเซลแมน (Saleman) ให้กับบริษัท นิว โฮม โซอิง แมชชีน (The New Home Sewing Machine Company) และย้ายไปอยู่ที่ เกลน เดล (Glendale) แคลิฟอเนียร์ ในปี 1904 – ในช่วงเวลาว่าง เขามักจะอ่านหนังสือเกี่ยวกับ "การทำฝน" (Pluviculture) และเริ่มพัฒนาวิธีทำฝนของเขาเอง และในปี 1902 เขาได้สร้างส่วนผสมลับจากสารเคมี 23 ชนิด ในถังระเหย (Evaporating Tank) ที่ชุบด้วยสังกะสี เขาอ้างว่าสารเคมีเหล่านี้จะช่วยเรียกฝน แฮทฟิลด์เรียกสารตัวนี้ว่า "ตัวเร่งความชื้น" (Moisture Accelerator)

ในปี 1904 เฟรด บินนี่ (Fred Binney) ได้ช่วยแฮทฟิลด์โฆษณาความสามารถในการทำฝนของเขา ซึ่งเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ (Ranchers) หลายคนได้เห็นโฆษณาของเขาในหนังสือพิมพ์และได้ว่าจ้างให้เขาทำฝนให้ โดยจะให้ค่าจ้าง 50 ดอลล่าห์ – ในเดือนเมษายน แฮทฟิลด์และพอล น้องชายของเขา ได้ปีนขึ้นไปยังภูเขา เมาท์ โลว์ (Mount Lowe) และสร้างหอสูง (Tower) เพื่อให้แฮทฟิลด์ขึ้นไปบืนและปล่อยส่วนผสมลับของเขาไปในอากาศ และมันได้ผล …เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์เลยจ่ายค่าจ้างให้เขาเป็น 100 ดอลล่าห์

สำนักงานอากาศ (Contemporary Weather Bureau) ได้รายงานว่า ฝนที่เกิดขึ้นเป็นผลจากพายุที่ได้พัดเข้ามา แต่คนที่สนับสนุนแฮทฟิลด์ก็ไม่ได้ใส่ใจกับรายงานนี้ เขาเริ่มรับงานมากขึ้น และได้รับการว่าจ้างจากทางการของ "ลอส แองเจลลิส" ให้ผลิตฝน และเขาก็ทำสำเร็จอีกครั้ง พร้อมรับค่าจ้างเป็นเงิน 1000 ดอลล่าห์ ในการทำฝนครั้งนี้เขาได้สร้างหอสูงบริเวณสถานีอนามัยเอสเพแรนซ่า (Esperanza Sanitarium) ในอัลทาดีนา ใกล้ๆ กับ รูบิโอ แคนยอน (Rubio Canyon)

ในปี 1906 แฮทฟิลด์ถูกเชื้อเชิญให้ไปที่อะแลสก้า (Alaska) เพื่อทำฝนและจะได้รับค่าจ้าง 10000 ดอลล่าห์ ทว่าในครั้งนี้เขาทำไม่สำเร็จ แต่มันก็ไม่มีผลต่อคนที่สนับสนุนเขา


ในปี 1915 ที่ประชุมสภาเมืองซานดิเอโก (San Diego City Council) ได้ว่าจ้างให้เขาทำฝนเพื่อทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำโมเรน่า (Morena Dam Reservoir) เต็ม แฮทฟิลด์รับงานนี้ แต่ได้เพิ่มค่าจ้างเป็น 1000 ดอลล่าห์ต่อนิ้ว (393.7 ดอลล่าห์ต่อเซนติเมตร) สำหรับการทำฝน 40-50 นิ้ว (ปริมาณน้ำฝน) และถ้าเกิน 50 นิ้วขึ้นไป ฟรี …ทางสภาได้ทำการโหวต คะแนนเสียงเป็น 4 ต่อ 1 ว่าจะจ่ายค่าจ้าง 10000 ดอลล่าห์ เมื่อทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำเต็ม – แฮทฟิลด์และน้องชายได้สร้างหอสูง 20 ฟุต (6 เมตร) ข้างทะเลสาบโมเรน่าและพร้อมใช้งาน ในช่วงต้นปีใหม่

วันที่ 5 มกราคม 1916 ฝนเริ่มตกหนักมากและตกหนักขึ้นทุกวันๆ จนแม่น้ำที่เคยแห้งกลายเป็นสภาพเป็นน้ำท่วม ทำให้เกิดความเสียหาย น้ำในเขื่อนสวีทวอร์เทอร์ (Sweetwater) และอีกแห่งที่ทะเลสาบโลวเวอร์ โอเทย์ (Lower Otay Lake) เกิดปัญหาน้ำไหลล้น (Overflowed) – ฝนหยุดตกเมื่อวันที่ 20 มกราคม แต่หลังจากนั้นสองวัน ก็เริ่มตกลงมาอีก จนในวันที่ 27 มกราคม เขื่อนโลวเวอร์ โอเทย์ก็พัง ความเสียหายเพิ่มมากขึ้นและมีรายงานผู้เสียชีวิตจำนวน 20 คน

เมื่อแฮทฟิล์เดินทางไปขอรับค่าจ้าง ที่ประชุมปฏิเสธที่จะจ่ายเงินให้เขา นอกเสียจากว่าเขาจะยอมชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินถึง 3.5 ล้านดอลล่าห์

แฮทฟิลด์เริ่มมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น และรับทำฝนเพิ่มมากขึ้น – ในปี 1922 แฮทฟิลด์ ได้รับทำฝนที่ เซนต์ แคนยอน ในทะเลสาบแคลิฟอร์เนีย ฝนได้ตกอย่างหนักทำให้แคนยอนถูกทำลายอย่างราบคาบและทางรถไฟก็ถูกน้ำพัดพาไปเป็นระยะทาง 130 ไมล์ หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ เขาก็ประสบผลสำเร็จในการทำฝนอีกมากกว่า 50 ครั้ง นอกจากนี้ ในปี 1929 เขาพยายามที่จะหยุดไฟป่าในฮอนดูรัส จากนั้นบริษัท แบร์ วอลเล่ย์ มิวชวล วอร์เทอร์ (The Bear Valley Mutual Water Company) ก็ต้องการทำให้น้ำในทะเลสาบบิ๊ก แบร์ (Big Bear Lake) เต็ม … อย่างไรก็ตาม ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจเลิกความสามารถพิเศษของเขาซึ่งเป็นต้นเหตุของความหายนะ ในช่วงที่เขาตกต่ำ เขากลับไปทำงานเป็นเซลแมนที่บริษัทเดิมและภรรยาของเขาก็หย่าขาดจากเขา

แฮทฟิลด์ได้รับข้อเสนอในการขายความลับของสารเคมีต่างๆ ที่เขาใช้ทำฝนแลกเปลี่ยนกับเงินจำนวนมหาศาล เขากล่าวว่า "มันกลายเป็นผลเสีย เป็นการทำลาย ถ้าหากว่าปล่อยให้เอกชนหรือหน่วยงานของทางราชการนำไปใช้ในทางที่ผิด" เขาจึงติดสินใจว่า สูตรลับนี้ควรตายไปพร้อมกับตัวเขา

ชาร์ลส แฮทฟิลด์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มกราคม 1958 และสูตรสารเคมีดังกล่าวก็หายไปพร้อมกับเขา เขาถูกฝังไว้ที่สุสาน ฟอร์เรสท์ ลอว์น เมโมเรียล พาร์ค (Forest Lawn Memorial Park) ที่เมืองเกลนเดล แคลิฟอร์เนีย จนกระทั่งทุกวันนี้ก็ไม่มีใครรู้ว่าเขาทำได้อย่างไร

ในตอนหลังมีคนวิจารณ์ว่า ความสำเร็จของแฮทฟิลด์นั้นมาจากทักษะทางด้านอุตุนิยมวิทยาและความสังหรณ์ (Sense) ในการเลือกช่วงเวลาที่มีความเป็นไปได้ที่ฝนจะตกของเขานั่นเอง
 

27 พ.ย. 54 เวลา 23:12 968 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...