อ้อมโลกเพื่อกลับบ้าน

 

ทหารเยอรมันเดินทางอ้อมโลกเพื่อ…กลับบ้าน

ปฏิบัติการของเยอรมันในมหาสมุทรอินเดียจบสิ้นลงเมื่อพวกออสเตรเลียจมเรือรบเยอรมัน ทหารเรือเยอรมันต้องหนีตาย พวกเขาหาทางกลับบ้าน แต่จะทำอย่างไรกับระยะทางครึ่งโลกท่ามกลางข้าศึกรอบทิศ…

ในตอนเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 1 เรือรบเอ็มเดน(Emden) จมเรือศัตรูในมหาสมุทรอินเดียหลายลำ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 1914 ทหารเรือ 50 นาย ขึ้นฝั่งบนเกาะเล็ก ๆ ชื่อเกาะไดเร็คชัน(Direction Island) นำโดยนาวาตรี เฮลมุธ ฟอน มึกค์(Helmuth von Moltke) พวกเขาจู่โจมสถานีโทรเลขของออสเตรเลีย แต่ทันใดนั้น เรือเอ็มเดนก็ถูกเรือรบหุ้มเกราะของออสเตรเลียจู่โจม ทหารเยอรมันไม่สามารถป้องกันการโจมตีได้ ต้องเฝ้าดูเรือรบของตนถูกกระสุนปืนใหญ่ระดมยิง แต่พวกเขาไม่ยอมแพ้ กลับตั้งมั่นเดินทาง 11,000 กิโลเมตร อ้อมกลับไปครึ่งโลก

แรกสุดพวกเขายึดเรือใบสคูนเนอร์ ชื่อ เอชา ซึ่งทอดสมออยู่ในอ่าวแห่งหนึ่ง กัปตันเรือใบคนเก่าตะโกนเย้ยว่า “โชคดีแล้วกัน เรือนั่นรั่วยังกับกระชอน” และหลังจากแล่นเรือไปได้ไม่กี่ไมล์ทะเล พวกเขาก็รู้ชัดว่าคำเตือนนั้นเป็นความจริง ไม้ผุ ใบเรือก็ปุปะ แทบจะลอยน้ำไม่ได้ พวกทหารต้องซ่อมแซมโรงศพลอยน้ำของตนกันตลอดทั้งวันทั้งคืนเท่าที่จะทำได้ แต่พวกเขาก็ประสบความสำเร็จในการเดินเรือไปยังปาดัง(Padang) อินโดนีเซีย

จากที่นั่น ลูกเรือขึ้นเรือขนส่งสินค้าของเยอรมันไปยังอัลฮูเดย์ดา(Al-Hudeidah) บนคาบสมุทรอาหรับ ในวันที่ 14 ธันวาคม 1914 กองทัพหทารผู้เสียเรือวางแผนจะนั่งรถไฟไปคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople ปัจจุบันคืออิสตันบลู) ในจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งเป็นพันธมิตรของเยอรมัน แต่ถ้าเดินทางแค่นั้นแล้วจบตามแผน ก็คงเป็นเรื่องเล็กเมื่อเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงต่อมา

ปรากฏว่าทางรถไฟยังสร้างไม่เสร็จ ดังนั้นในเดือนมกราคม พวกเยอร์มันจึงต้องเดินทางข้ามทะเลทรายร้อนจัดบนหลังอูฐในซานา เมืองหลวงของเยเมน เส้นทางที่เหลือถูกกั้นขวางไว้ด้วยกองทัพของศัตรู ขบวนนักเดินทางผู้ไม่ยอมแพ้ ต้องเดินทางย้อนกลับไปกลับมาตลอดทาง และต้องกลับสู่อัลฮูเดย์ดา

จากอัลฮูเดย์ดา ทหารเรือตัดสินใจข้ามทะเลแดงด้วยเรือประมง 2 ลำ แต่ไม่ช้าเรือลำหนึ่งก็ชนกับแนวประการังจมลง ทำให้ทั้งหมดต้องเดินทางกลับบ้านกันต่อด้วยเรือลำเดียว อย่างไรก็ตาม เส้นทางเดินเรือมีเรืออังกฤษขวางอยู่ ดังนั้น ในกลางเดือนมีนาคม พวกเยอรมันจึงต้องขึ้นฝั่งใกล้เมืองเจดดาห์ ซาอุดิอาระเบียพวกเขาต้องขี่อูฐกันอีกครั้ง คราวนี้ถูกพวกเบดูอินโจมตี เยอรมันสามคนเสียชีวิต กระทั่งถึงเดือนพฤษภาคม 1915 ทหารผู้อ่อนล้าทั้งหมดของฟอน มึกค์ ผู้ไม่เคยคิดที่จะหยุดเดิน ก็สามารถขึ้นรถไฟในเมืองอัลอูลาได้ พวกเขาเดินทางขึ้นเหนือด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือเป็นความเร็วที่ไม่มากนัก แต่เปรียบเสมือนชีวิตได้หลุดพ้นจากความตาย

และในวันที่ 23 พฤษภาคม 1915 พวกเขาก็มาถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิล การเดินทางอันยาวนานและทรหดกว่าหกเดือน ทำให้สูญเสียเพื่อนร่วมทางไปหกคน มันจะถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ของพวกเขา ว่าท้ายที่สุดแล้ว นาวาตรี เฮลมุธ ฟอน มึกค์ สามารถก้าวเข้ามารายงานต่อผู้บังคับบัญชาว่า “ท่านครับ กระผมขอรายงานตัวด้วยความเคารพ ว่าทหารแห่งเรือเอ็มเดนได้กลับมาถึงแล้ว…”


สุดยอดจริงๆ..

ขอบคุณที่รับชมค่ะ^^~

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...