10 อันดับน่ารู้เกี่ยวกับนาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

 

 

 

 

 

10 อันดับน่ารู้เกี่ยวกับนาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

 

1. มารู้จักกับวันเกิด นาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
ชื่อ -นามสกุล : นาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ชื่อเล่น : ตี๋เล็ก วันที่เกิด : 29 สิงหาคม 2504 ถิ่นกำเนิด : กรุงเทพมหานคร

2. ประวัติครอบครัวของ นาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
บิดา นายเจริญ กมลวิศิษฎ์ มารดา นางจำเนียร กมลวิศิษฎ์ เป็นบุตรคนสุดท้อง

ในจำนวนพี่น้อง 8 คน เป็นชาย 5คน หญิง 3 คน ของนายเจริญ และนางจำเนียร กมลวิศิษฎ์

ภรรยาคนแรก เป็นลูกครึ่งอเมริกัน-แคนาดา มีบุตร 2 คน ชื่อบุตร-ธิดาลีแอนลีน่า
ภรรยาคนที่สอง ชื่อนางงามตา (สุขนิรันดร์) กมลวิศิษฏ์ (แยกกัน) มีบุตร-ธิดา 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน
ชื่อบุตร-ธิดานายต้นตระกูล กมลวิศิษฏ์ (ต้น)  นายเติมตระกูล กมลวิศิษฏ์  นางสาวตระการตา กมลวิศิษฏ์ (ต๊ะ)นายต่อตระกูล กมลวิศิษฏ์ (ต่อ)
ภรรยาคนใหม่ ชื่อนางสุรัชดา แววศรี

 

3. การศึกษาของ นาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
ประถมศึกษา โรงเรียนสหพาณิชย์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของตึกชาญอิสสระ)มัธยมต้น โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา (โรงเรียนประจำ)
มัธยมปลาย โรงเรียนเทพศิรินทร์ปริญญาตรี ทางด้านพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปริญญาโท
 มหาวิทยาลัยซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา (ยังไม่แน่ชัด)

 

4. การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่
15 ตุลาคม 2546 หัวหน้าพรรคต้นตระกูลไทย (ยุบพรรครวมกับพรรคชาติไทย 6 ม.ค.2548)29 สิงหาคม 2547 ผู้ว่าฯ (สอบตก)
 กทม. เบอร์ 15 ด้วยคะแนน 334,1686 กุมภาพันธ์ 2548 ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคชาติไทย
(ศาลรัฐธรรมนูญลงมติ 9 ต่อ 5 พ้นสภาพ 26 ม.ค.2549)
22 เมษายน 2548 รองหัวหน้าพรรคชาติไทย  (ลาออก 20 มี.ค.2549)
27 เมษายน 2548 กรรมาธิการการตำรวจ 27 เมษายน 2548  กรรมาธิการติดตามการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
19 เมษายน 2549 ลงสมัคร ส.ว.กทม หมายเลข 260  (ถูกตัดสิทธิ)
28 กรกฎาคม 2550 รองหัวหน้าพรรคชาติไทย  (ลาออก 27 พ.ย.2550)
18 กันยายน 2551 หัวหน้าพรรคสู้เพื่อไทย  (สิ้นสภาพพรรค 3 มี.ค.2552)
21 กันยายน 2552 น้าพรรคต้นตระกูลไทย
17 กุมภาพันธ์ 2553 หัวหน้าพรรครักประเทศไทย

 

5. ตำแหน่งปัจจุบัน ของ นาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
17 กุมภาพันธ์ 2553 หัวหน้าพรรครักประเทศไทย

 

6.ฉายาของ นาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
นามแฝง/ฉายา : "เจ้าพ่ออ่างทองคำ" และ "จอมแฉ"

 

7. ธุรกิจของ นายชูวิท กมลวิศิษฎ์
หลังจบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกาชูวิทย์หันมาทำธุรกิจของตัวเอง เปิดอาบอบนวดชื่อ วิคทอเรีย ซีเคร็ท และขยายกิจการจนเป็นเจ้าของอาบอบนวด 6 แห่ง ในเครือเดวิสกรุ๊ป และก่อตั้งมูลนิธิต้นตระกูลกมลวิศิษฎ์
ให้การสนับสนุนก่อสร้างป้อมยามที่พักเจ้าหน้าที่ตำรวจตามแยกไฟแดง ต่อมาได้เกิดความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ออกมาเปิดเผยเรื่องส่วย เป็นเรื่องที่เกรียวกราว จนได้รับฉายาว่า เสี่ยอ่าง หรือ จอมแฉ จนเกิดผลกระทบกับธุรกิจอาบอบนวด ถูกคดีค้าประเวณีเด็กหญิง อายุต่ำกว่า 18 ปี ในสถานอาบอบนวด นอกจากนั้น ชูวิทย์ เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ภาติฌาน จำกัด,
บริษัท ซี.ดี แลนด์ จำกัด, เจ้าของ บริษัท สุขุมวิท ซิลเวอร์สตาร์ จำกัด, กรรมการบริษัทสุขุมวิท ซิลเวอร์สตาร์
และ ประธานบริษัท เดวิสกรุ๊ป ซิลเวอร์สตาร์ จำกัด

 

8. การเริ่มมีชื่อเสียง ของนายชูวิท กมลวิศิษฎ์
ชูวิทย์เป็นที่รู้จักในกลางปี พ.ศ. 2546 เมื่อปรากฏเป็นข่าวว่าได้หายตัวไปอย่างลึกลับ ขณะมีคดีรื้อบาร์เบียร์ที่ ถนนสุขุมวิท ซึ่งเป็นคดีที่มีคู่ความเป็นตำรวจนครบาล ไม่กี่วันต่อมาชูวิทย์ก็ปรากฏตัวข้างถนน ย่านชานเมืองแห่งหนึ่ง ด้วยสภาพอิดโรย
มีการนำตัวส่งโรงพยาบาล เมื่อร่างกายเริ่มฟื้นแล้ว ชูวิทย์ได้แฉว่า ถูกตำรวจกลุ่มหนึ่งอุ้มตัวไป จากนั้นชูวิทย์ก็ปรากฏเป็นข่าวเป็นระยะ เมื่อเจ้าตัวเริ่มทำการแฉ ถึงพฤติกรรมการทุจริตต่าง ๆ ของตำรวจ เช่น การรีดไถ่ การรับส่วย เป็นต้น จึงทำให้เป็นจุดสนใจของสังคม
ในระยะนั้น โดยบุคลิกของชูวิทย์ขณะนั้นเป็นไปอย่าง ดุดัน ดุเดือด จริงจัง แต่หลังจากนั้นแล้ว ชูวิทย์เริ่มมีท่าทีที่เปลี่ยนไป
กลายเป็นบุคคลที่สนุกสนานเฮฮา มีสีสันมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ทิ้งการแฉถึงเรื่องราวการทุจริตต่าง ๆ ในสังคม ทำให้เป็นที่นิยมชมชอบของผู้คนจำนวนหนึ่ง และจากชื่อเสียงที่โด่งดังนี้ ทำให้ในปีเดียวกันนั้น ได้มีผู้สร้างภาพยนตร์แผ่นที่มีเนื้อหาดัดแปลงมาจากชีวประวัติ
ของชูวิทย์เอง ใช้ชื่อว่า เจ้าพ่ออ่างทองคำ โดยมี จรัล งามดี มารับบทเป็น ชูวิช ที่แปลงชื่อมาจากชื่อของชูวิทย์[2]

 

9. การเริ่มเข้ามาในเส้นทางการเมืองของ ของนายชูวิท กมลวิศิษฎ์
หลังจากนั้น ชูวิทย์ก็ได้ก้าวมาสู่วงการเมือง โดยขายหุ้นในอาบอบนวดทั้งหมด แล้วการลงสมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
 เบอร์ 15 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งตรงกับวันเกิดของตัวเอง แม้ไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่ได้คะแนนเสียงกว่าสามแสนคะแนนและ
ได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 3 ต่อมาชูวิทย์นำพรรคต้นตระกูลไทย ที่ตนเองเป็นผู้ก่อตั้ง เข้าร่วมกับพรรคชาติไทยและรับตำแหน่ง
รองหัวหน้าพรรคชาติไทย ชูวิทย์ลงสมัครเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2548 เป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทย แต่ต่อมาถูก ศาลรัฐธรรมนูญ
 วินิจฉัยว่า เป็นสมาชิกพรรคชาติไทยไม่ครบ 90 วัน จึงพ้นจากความเป็น ส.ส.
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2549 ชูวิทย์ได้ลาออกจากพรรคชาติไทย เพื่อลงสมัคร ส.ว. กรุงเทพฯ แต่ก็ถูก คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
เพิกถอนสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. โดยระบุว่า ยังไม่พ้นจากสถานะภาพ ส.ส. ครบกำหนด 1 ปี ก่อนที่จะลงสมัคร ส.ว. ตามกฎหมาย
ชื่อเสียงของชูวิทย์เริ่มหายเงียบไป แต่ปรากฏเป็นข่าวเป็นระยะๆ เช่นเป็นผู้หิ้วข้าวผัดและโอเลี้ยงไปเยี่ยม 3 อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ที่ถูกศาลพิพากษาจำคุก ในคดีทุจริตการเลือกตั้ง หรือ การออกป้ายหาเสียงแบบแปลกๆ แหวกแนวไม่เหมือนใคร เป็นต้น ในระยะแรกๆ
ที่เข้าร่วมกับพรรคชาติไท ย ชูวิทย์เคยมีข่าวขัดแย้งกับ น.ส.จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ หรือ "น้องแบม" ส.ส.หญิงภาพลักษณ์ดีของพรรคชาติไทย
โดยมีข่าวว่า น.ส.จณิสตา ไม่ยอมรับในตัวชูวิทย์ ที่เคยประกอบธุรกิจอาบอบนวดมาก่อน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ชูวิทย์ได้ประกาศว่า
จะไม่ขอลงเลือกตั้งในปลายปีไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม หลังจากได้รับการจัดให้เป็นตัวแทนพรรค สมัครรับเลือกตั้งแบบรายชื่อเป็นลำดับที่ 2
 ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยยกลำดับที่ 1 ให้กับ พลเอกอัครเดช ศศิประภา (อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด บิดาสามีนางเอกชื่อดัง ลลิตา ปัญโญภาส)
 และเชื่อว่าตนเองจะไม่ได้รับการเลือก รวมทั้งได้โจมตีการบริหารพรรคของบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคด้วย หลังการเลือกตั้ง เมื่อพรรคชาติไทยจากเดิมที่อยู่คนละข้างกับพรรคพลังประชาชนได้แสดงท่าทีจะไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับทางพรรคพลังประชาชน ชูวิทย์ก็ได้โจมตีบรรหารอย่างรุนแรงขึ้น และได้ลาออกจากพรรคเป็นที่เรียบร้อย โดยได้ให้มอเตอร์ไซด์รับจ้างไปคืนเสื้อแจ็คเก็ตของพรรคที่ที่ทำการพรรคด้วย ชูวิทย์มักจัดทำป้ายขนาดใหญ่ มีข้อความซึ่งเขากล่าวว่าสะท้อนความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชน โปสเตอร์หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551 การสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ ในปี พ.ศ. 2551 ชูวิทย์ซึ่งได้ลาออกจากพรรคชาติไทยแล้ว ก็มาลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ชูวิทย์ได้เบอร์ 8 หลังจากนั้นชูวิทย์ได้ดำเนินการหาเสียง โดยชูนโนบายการมองเห็นปัญหา และเน้นตรวจสอบการทำงานของอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เช่น การก่อสร้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ที่เขตดินแดง การติดตามคดีการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง เป็นต้น วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวลาประมาณ 12.45 น.ของ ชูวิทย์ได้ไปออกรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในช่วงเกาะประเด็นร้อน แกะประเด็นลึก โดยมีวิศาล ดิลกวณิช เป็นพิธีกร หลังจบช่วงดังกล่าว ชูวิทย์ก็เข้าทำร้ายร่างกายวิศาล

ต่อมา ชูวิทย์ได้แถลงข่าวในเวลา 16.00 น. ของวันเดียวกัน โดยยอมรับในการกระทำ และอ้างว่าทำไปเพราะโมโหที่วิศาลถามคำถามไม่เป็นธรรมแก่ตน และแสดงกิริยาไม่ให้เกียรติ ส่วนวิศาลก็ได้เข้าแจ้งความที่ สน.ทองหล่อว่าถูกทำร้ายร่างกาย และพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวช

วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ชูวิทย์ได้ยกเลิกกำหนดการหาเสียงในช่วงเช้า เพราะจากที่วานนี้เกิดเหตุทำร้ายร่างกายพิธีกรช่อง 3 ทำให้ในวันนี้เดินทางไปทำบุญถวายสังฆทานที่วัดศรีบุญเรือง โดยปล่อยเต่า 19 ตัว พร้อมทั้งเขียนชื่อ-นามสกุล อายุของ ตนเองติดใต้ท้องเต่า ปล่อยนก 7 ตัว ปลาไหล 7 ตัว และหอยขมอีก 600 ตัว

ในวันเดียวกันนี้ ชูวิทย์ได้ส่งหนังสือถึงสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ สรุปใจความได้ว่า วิศาล ดิลกวณิช ผู้ดำเนินรายการ ใช้วาจาไม่สุภาพ เรียกชื่อโดยไม่ใช่คำว่า "คุณ" นำหน้า รวมทั้งยังตั้งคำถามยั่วยุว่า จุดด้อยของคุณคืออะไร ซึ่งไม่ได้ตั้งคำถามเดียวกันนี้กับผู้สมัคร 3 คนที่มาร่วมรายการก่อนหน้านี้ รวมทั้งอีกหลายกรณี จึงทำให้รู้สึกถูกข่มเหงอย่างรุนแรง และบันดาลโทสะ พร้อมยอมรับผิด
ในการทำร้ายร่างกายวิศาล แต่ขอความเป็นธรรมจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของวิศาล ด้วยเช่นกัน
ก่อตั้งพรรคสู้เพื่อไทย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้จดทะเบียนตั้งพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 ชื่อ “พรรคสู้เพื่อไทย”
มีสัญลักษณ์รูปกำปั้น มีสโลแกนว่า “แตกต่างแต่ไม่แตกแยก” "คนอย่างผมต้องเป็นหัวหน้าพรรคเท่านั้น ส่วนการลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.
สมัคร 2 ครั้ง ก็พอแล้ว แต่ยืนยันจะติดตามตรวจสอบการทำงานของ อภิรักษ์ ต่อไป ทั้งเรื่องรถบีอาร์ที รถและเรือดับเพลิงอย่างต่อเนื่อง”
ชูวิทย์ กล่าว และว่า ส่วนการที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า อภิรักษ์ มีผลงานนั้น ตนถือว่าผลงาน 4 ปีที่ผ่านมามีไม่มาก
แต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ปี 2555 อีก 4 ปีข้างหน้า ทำนายว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ถ้าผลงานยังมีน้อยเช่นนี้

 

10. ก่อตั้งพรรครักประเทศไทย
ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รับรองพรรครักประเทศไทย
และรับรองสถานะชูวิทย์ให้เป็นหัวหน้าพรรครักประเทศไทย[8] มีสโลแกนว่า “ฉันรักคุณ”
โดยในการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2554 ชูวิทย์ได้แถลงข่าวเปิดตัวพรรครักประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
 พร้อมประกาศว่าจะเป็นฝ่ายค้านเพื่อตรวจสอบรัฐบาล

 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...