เรื่องน่ารู้ของ "หิ่งห้อย"

 

 

 

 

 

เรื่องน่ารู้ของ "หิ่งห้อย"

 

 

"หิ่งห้อย" แมลงตัวน้อย สามารถผลิตแสงได้ด้วยตนเอง ดูสวยงามในเวลากลางคืน มาทำความรู้จักเจ้าพวกนี้เพิ่มขึ้นกันเถอะ

"หิ่งห้อย" หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ทิ้งถ่วง" เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีแสงเรือง ๆ ที่ก้น ถ้าตัวโตเต็มวัยเพศผู้จะมีปีก ส่วนเพศเมียมีทั้งมีปีกและไม่มี หรือไม่ก็สั้นมาก มีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3-12 เดือน แล้วแต่ประเภท หิ่งห้อยสามารถสร้างแสงได้ทุกช่วงเวลาของชีวิต ทั้งระยะหนอน ดักแด้ และตัวโตเต็มวัย ส่วนระยะไข่ทำแสงได้เฉพาะบางชนิดเท่านั้น เหตุผลในการกะพริบแสงก็เพื่อหาคู่ผสมพันธุ์ อวัยวะที่ทำให้เกิดแสงของหิ่งห้อย อยู่ด้านใต้ของปล้องท้องสองปล้องสุดท้ายในตัวผู้ และสามปล้องสุดท้ายในตัวเมีย

แสงของหิ่งห้อยเกิดจากกระบวนการทางเคมี คือสารลูวิเฟอรินทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและได้รับพลังงาน เอทีพี ซึ่งเป็นโปรตีนที่ให้พลังงานในเซลล์ มีความเชื่อว่าแสงจากหิ่งห้อยตัวโตเต็มวัย 7 ตัว สามารถให้แสงเพียงพอต่อการอ่านหนังสือในเวลากลางคืนได้ หิ่งห้อยที่บินว่อนตามพุ่มไม้เป็นหิ่งห้อยตัวผู้ ส่วนตัวเมียชอบเกาะนิ่งตามกิ่งไม้

ระยะที่เป็นหนอน หิ่งห้อยจะกินอาหารจำพวก หอยฝาเดียว ไส้เดือน กิ้งกือ และแมลงตัวเล็ก ๆ หิ่งห้อยตัวเต็มวัยไม่กินอาหาร กินแต่น้ำหรือน้ำค้าง ต้นลำพูเป็นพืชที่มีขนที่ใบจึงมีน้ำค้างเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หิ่งห้อยชอบไปเกาะ ในอดีตบริเวณปากคลองบางลำพู เคยมีหิ่งห้อยเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันก็ลดลงไปในที่สุด เมื่อวิถีชีวิตของผู้คนแถบนั้นเปลี่ยนไป

สถานที่ชมหิ่งห้อยที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น ที่ริมคลองตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เกาะลัด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีมากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ควรเลือกชมในคืนเดือนมืด เพราะสามารถเห็นแสงของหิ่งห้อยได้อย่างชัดเจน

 

3 ส.ค. 54 เวลา 16:12 25,799 4 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...