คนไทยรอชมจันทรุปราคาเต็มดวง 16 มิ.ย.

 

 

 

 

คนไทยรอชมจันทรุปราคาเต็มดวง 16 มิ.ย. 

 


  

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กกรมหาชน) หรือ สดร. เปิดเผยว่า 16 มิ.ย.นี้จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง กินเวลาเกิดปรากฏการณ์ทั้งสิ้น 3.39 ชั่วโมง นับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นยาวนานที่สุด และเต็มดวงครั้งแรกในรอบ 4 ปี สามารถเฝ้าชมได้ตลอดทั้งเหตุการณ์หากท้องฟ้าเป็นใจ ไม่มีเมฆฝนบดบัง ปรากฏการณ์ครั้งนี้เริ่มตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนเป็นต้นไป โดย 01.22 น. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามืดบางส่วน และการเกิดคราสในเวลา 02.22 น. ดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าสู่กึ่งกลางเงามืดของโลก ยาวนานกว่า 1.40 ชั่วโมง และสิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลา 04.00 น.โดยประมาณ

ความพิเศษอยู่ที่ดวงจันทร์ปรากฏสีแดงส้มหรือแดงอิฐ จากการหักเหของแสงสีขาว ทำให้สีแดง ส้ม ตกกระทบบนพื้นผิวดวงจันทร์ และจันทรุปราคาครั้งนี้มีโอกาสเห็นทางช้างเผือกในคืนวันเพ็ญ ขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้งดวง

สดร.เตรียมพร้อมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในคืนวันที่ 16 มิ.ย.นี้ ผ่านเว็บไซต์ www.narit.or.th โดยได้รับความร่วมมือจากหอดูดาวภูมิภาคทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ หอดูดาวภูมิภาคเชียงใหม่ที่ละติจูด 18 องศา หอดูดาวภูมิภาคฉะเชิงเทราที่ละติจูด 13 องศา และหอดูดาวภูมิภาคสงขลาที่ละติจูด 7 องศา

พร้อมกันนี้ ในคืนวันที่ 16 มิ.ย. ยังจะเห็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์เคลื่อนที่ไปบังดาวฤกษ์ที่ชื่อว่า 51 โอฟีอุชชี (Ophiuchi) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์สีขาวอยู่นอกระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มาก แต่อยู่ไกลจากโลกถึง 446.35 ปีแสง โดยจะสังเกตเห็นดาวฤกษ์ดวงนี้เริ่มหายเข้าไปหลังดวงจันทร์สีแดงอิฐ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่หาดูได้ไม่ง่ายนัก

ทั้งนี้ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรือจันทรคราส เกิดขึ้นจากที่ดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์ โคจรมาเรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน ซึ่งเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง แต่ใช่ว่าจะเห็นได้จากทุกมุมโลก เช่นครั้งนี้ที่เห็นได้ชัดเจนเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย แอฟริกาและตะวันออกกลาง ขณะที่อเมริกาอาจต้องรอลุ้นชมจันทรุปราคาอีกครั้งในวันที่ 10 ธ.ค.2554 คาดว่าจะเห็นแสงแรกจากกล้องดูดาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ของหอดูดาวแห่งชาติบนดอยอินทนนท์ ซึ่งคนไทยจะได้เฝ้าชมปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้อีกครั้งหนึ่ง

 

 

15 มิ.ย. 54 เวลา 16:29 3,947 5 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...