เคยเห็นหิงห้อยแบบชัด ๆ กันหรือยังครับ ..

หิ่งห้อย “ตำนานรักแห่งต้นลำพู”

หิ่งห้อย (Lightning bug) 

มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Luciola substriata (Gorh)  จัดเป็นแมลงพวก “ด้วง”
ทั่วโลกมีประมาณ 2,000 ชนิด พบตามบริเวณแหล่งน้ำนิ่งทั่วไปในประเทศไทย...
ในตอนกลางคืนที่มืดสนิท เราสามารถมองเห็นแสงของหิ่งห้อย ได้ไกลถึงหลายเมตร
และจะมองเห็นอย่างสวยงามมากขึ้นเมื่อ มองเห็นแสงจากฝูงหิ่งห้อย

 
 
 
 

หิ่งห้อยนั้นมีลำตัวยาวตั้งแต่ 2-25 มิลิเมตร
ลำตัวของมันเป็นรูปทรงกระบอก อวัยวะที่มามารถเปล่งแสงได้ของมัน
อยู่ที่ส่วนล่างตอนท้ายของลำตัว

หิ่งห้อยจักเป็นแมลงในวงศ์ Lampyridae อันดับ Coleptera
หิ่งห้อยสามารถกะพริบแสงได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย

หิ่งห้อยขยายพันธ์ โดยการว่างไข่เป็นฟองเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้
เมื่อไข่ฝักเป็นตัว 4-5 วัน จึงเข้าเป็นดักแด้
แล้วออกมาเป็นตัวเต็มวัย

วงจรชีวิตของ หิ่งห้อยใช้เวลาทั้งสิ้น 3-12 เดือนแล้วแต่ชนิดของหิ่งห้อย

นักชีววิทยาประมาณว่า โลกนี้มีหิ่งห้อยราว 2,000 ชนิด
ยกตัวอย่างเช่น โพทูรัสไพราลิส และพีเฟนชิลวานิคัส
เป็นแมลงที่พบ ทั่วไปทั่ว เอเชีย ยุโรป และอเมริกา

 







 
 

การที่พวกมันกะพริบแสงในยามค่ำคืน ก็เพื่อส่งสัญญาณ

“ถ่ายทอดภาษารัก” ที่มีด้วยกันถึงสี่แบบ ขณะที่สายพันธุ์ในแถบยุโรปและอเมริกา จะกะพริบแสงเพียงแบบเดียว สำหรับพฤติกรรมการจับคู่ผสมพันธุ์
แบ่งออกเป็น ช่วงแต่งตัว โดยที่ตัวผู้ ซึ่งมีปล้องเรืองแสง 2 ปล้อง
จะทำความสะอาดร่างกาย ด้วยการกระพือปีก บิดก้นไปมาเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย พร้อมกะพริบแสงถี่เป็นจังหวะอย่างต่อเนื่องเร็วและถี่มากขึ้น เพื่อเรียกร้องความสนใจ และรอให้ หิ่งห้อยเพศเมียที่มีเพียงปล้องเดียวกะพริบตอบ

 















 
 
 

(จากบทความใน www.school.net.thและข่าวการเกษตร ไทยรัฐ ที่ 8 กันยายน 2551
ภาพจาก http://www.oknation.net และ จาก internet)

 

 

#หิงห้อย #สัตว์
Kean2442
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
7 พ.ค. 54 เวลา 17:30 7,314 10 160
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...