เทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง

สวัสดีครับชาว FG ทุกท่าน ฉบับนี้ผมนาย Truenos จะมาบอกเล่าเทคนิคเกี่ยวกับการเลือกหูฟังกันสักหน่อย เนื่องจากปัจจุบันหูฟังนั้นเรียกได้ว่าเกือบจะเป็นอุปกรณ์ที่ทุกคนต้องมีติด ตัวกัน ดูได้ง่ายๆ อย่างเช่น บนรถเมล์ก็จะเห็นคนใส่หูฟังนั่งฟังเพลงหลับปุ๋ยกันหลายคนบนรถเมล์หนึ่งคัน ทั้งนี้ก็เพราะกระแสเครื่องเล่น MP3 ที่มีออกมามากมายหลายรุ่นหลายราคาและรวมถึงพวกโทรศัพท์มือถือแนวมิวสิคโฟน ที่มีมากขึ้นอีกด้วย

          หูฟังที่มีขายในบ้านเราต่างก็มีรูปแบบแตกต่างกันมากมาย จนอาจจะทำให้การเลือกซื้อหูฟังอันใหม่มาใช้แทนอันเดิมนั้นอาจจะทำให้เกิด อาการเลือกไม่ถูกได้ว่าจะเอาแบบไหนดี ในบทความนี้ผมจะนำเอาข้อดีข้อเสียของหูฟังแต่ละแบบมาให้รับชมกันแบบไม่มีปิด บัง รวมทั้งการเลือกซื้อหูฟังให้โดนใจด้วยครับ

ประเภทของหูฟัง

ประเภทของหูฟังนั้นหลักๆ แล้วถ้าแบ่งตามรูปแบบลักษณะการสวมใส่จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. แบบแยงหู (In-Ear หรือ Ear-Plug)
2. แบบแปะหูหรือแนบหู
3. แบบสวมหัว

ซึ่งแต่ละประเภทมีหน้าตาและข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้างนั้นไปดูกันเลยครับ

1. แบบแยงหู (In-Ear หรือ Ear-Plug)


หูฟังประเภท In-Ear

          หูฟังรูปแบบนี้จะมีจุกยางเสียบเข้าไปในรูหู โดยส่วนใหญ่จะให้จุกยางมาหลายขนาดเพื่อความเหมาะสมของสรีระของแต่ละคน ขนาดของหูฟังประเภทนี้จะมีขนาดเล็กที่สุด

ข้อดี

การใช้งาน: ข้อดีของหูฟังแบบแยงหูในแง่ของการใช้งานจะอยู่ที่ความเบา ไม่เจ็บหู และมีขนาดเล็กสะดวกต่อการพกพาติดตัว

คุณภาพเสียง: ข้อดีของหูฟังแบบนี้จะให้เสียงกลางและแหลมที่มีรายละเอียดดี มีความเพี้ยนต่ำ เนื่องจากตัวลำโพงของหูฟังจะมีขนาดที่เล็กและอยู่ใกล้กับโครงสร้างของหูใน ส่วนที่ใช้รับเสียงมากกว่าหูฟังแบบอื่น ทำให้ไม่ต้องเปิดดังมากจนเกิดความเพี้ยนของเสียงเกิดขึ้น และหูฟังประเภทนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นหูฟังที่ให้ “มิติเสียง” ได้ดีที่สุดด้วย ทำให้การแยกแยะชิ้นดนตรีชัดเจน และเนื่องจากว่าตอนใช้งานต้องแยงลงไปในรูหู ซึ่งทำให้ช่วยบล็อกเสียงจากภายนอกไม่ให้เล็ดลอดเข้าไปรบกวนได้มาก

ข้อด้อย

การใช้งาน: หูฟังประเภทนี้อยู่ที่ความอันตราย เนื่องจากตอนใช้งานจะต้องแยงเข้าไปในรูหูจนแน่น ทำให้คุณอาจจะไม่ได้ยินเสียงแวดล้อมที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว จึงไม่ควรใช้งานในขณะทำกิจกรรมอื่นๆ บางอย่าง อาทิ ขณะขับรถ, ขณะเดินหรือวิ่งในที่สาธารณะที่มีการจราจรหนาแน่น

คุณภาพเสียง: จะมีความจำกัดในแง่ของแบนด์วิดธ์หรือย่านความถี่ตอบสนองของเสียง ซึ่งหูฟังแบบแยงหูนี้จะให้ความถี่ในย่านต่ำที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากตัวไดเวอร์ของหูฟังพวกนี้จะมีพื้นที่ไดอะแฟรมที่ใช้ในการผลักอากาศ น้อย คุณจึงไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับปรากฏการณ์ “ลมกระแทกหู” เวลาเปิดเสียงเบสต่ำๆ


2. แบบแปะหูหรือแนบหู


หูฟังประเภทแนบหู

          เป็นรูปแบบของหูฟังที่มีความแตกต่างไปจากแบบแยงหูหรือ In-Ear คือเวลาใช้งาน ตัวลำโพงจะวางแปะติดอยู่กับรูหูเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ทำให้ดีไซน์ของหูฟังประเภทนี้มีลักษณะแตกต่างไปจากหูฟังแบบแยงหู สิ่งที่แตกต่างอย่างแรกคือตัวลำโพงที่ใช้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า และต้องมีตัวช่วยประคองตัวลำโพงให้แนบติดกับหูตลอดเวลาด้วย โดยมากจะใช้วิธีคล้องกับหลังหู

ข้อดี

การใช้งาน: แม้ว่าหูฟังแบบนี้จะมีน้ำหนักมากกว่าแบบแยงหูอยู่บ้าง แต่มันก็ยังถือว่ามีน้ำหนักเบากว่าแบบสวมหัวมาก และเนื่องจากตัวหูฟังทั้งสองข้างไม่ได้ถูกเชื่อมติดกันเหมือนหูฟังแบบสวมหัว ทำให้สะดวกต่อการพกพา

คุณภาพเสียง: เนื่องจากหูฟังพวกนี้จะใช้ตัวไดเวอร์ (หรือดอกลำโพง) ที่มีขนาดใหญ่กว่าแบบแยงหูมาก ทำให้มันสามารถตอบสนองความถี่เสียงได้กว้างกว่าแบบแยงหูอย่างที่คุณจะรู้สึก ไดัชัด แม้ว่าหูฟังประเภทนี้จะยังไม่สามารถทำให้คุณสัมผัสกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “ลมกระแทกหู” เหมือนหูฟังแบบสวมหัว แต่มันก็จะทำให้คุณได้ยินมิติเสียงในย่านกลางและทุ้มที่มากกว่าแบบแยงหูขึ้น มาระดับหนึ่ง

ข้อด้อย

การใช้งาน: เนื่องจากมันใช้วิธีคล้องแนบกับหูทางด้านหลังหู จึงอาจจะทำให้รู้สึกรำคาญเมื่อใช้ไปนานๆ และบางยี่ห้ออาจจะไม่แนบแน่นมากพอ อาจจะหลุดหรือเคลื่อนได้ง่ายเวลาเคลื่อนไหวตัวอย่างรวดเร็ว

คุณภาพเสียง: แม้ว่าหูฟังแบบนี้จะให้การตอบสนองย่านเสียงที่กว้างขวางกว่าแบบแยงหูมากแล้ว แต่ก็ยังพบว่ายังมีความจำกัดในแง่ของแบนด์วิดธ์หรือย่านความถี่ตอบสนองของ เสียงอยู่ดี ซึ่งหูฟังแบบแนบหูนี้ก็ยังให้ความถี่ในย่านต่ำที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วตัวบอดี้ของหูฟังประเภทนี้จะเป็นแบบ “ปิด” (Closed Box) ทำให้ด้านหลังของตัวไดเวอร์มีพื้นที่จำกัด ไม่มากพอในการที่จะใช้ปั๊มเสียงทุ้มออกมาเยอะๆ และลงได้ไม่ลึกสุด อีกทั้งเนื่องจากมันใช้วิธีคล้องหลังหู ซึ่งไม่แนบแน่นมาก บางยี่ห้อนั้นจะมีเสียงจากภายนอกเล็ดลอดเข้าไปได้

3. แบบสวมหัว

 
หูฟังประเภทสวมหัว

          เป็นรูปแบบของหูฟังที่โพรเฟสชั่นแนลในวงการบันทึกเสียงนิยมใช้ ซึ่งถือว่าเป็นแบบที่มีขนาดใหญ่และมีรูปแบบเทอะทะที่สุดในจำนวนหูฟังทั้งหมด ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่เป็นหูฟังที่ออกแบบมาโดยคำนึงถึงคุณภาพเสียงเป็นอันดับแรก รูปแบบภายนอกนั้นตัวลำโพงทั้งสองข้างจะถูกยึดโยงเข้าด้วยกันด้วยโครงพลาสติก โค้งที่รับกับลักษณะศีรษะของคนใส่ (บางรุ่นอาจจะมีสอดไส้ในด้วยลวดโลหะเพื่อความแข็งแรงด้วย) และมีกลไกให้สามารถปรับระยะตัวลำโพงทั้งสองข้างให้แนบพอดีกับสรีระของหูของ ผู้ใช้แต่ละคนได้ หูฟังแบบนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ “แบบตู้ปิด” คือใช้บอดี้ที่ครอบอยู่ด้านหลังของตัวไดเวอร์เป็นแบบที่ซีลสนิท ไม่มีช่องอากาศ กับ “แบบตู้เปิด” คือตัวบอดี้ที่ใช้ครอบด้านหลังของไดเวอร์จะมีช่องอากาศ เปิดโอกาสให้อากาศด้านหลังของตัวไดเวอร์สามารถถ่ายออกมาด้านนอกได้ (และดึงอากาศจากข้างนอกเข้าไปช่วยดันตัวไดเวอร์ในการปั๊มเสียงได้)

ข้อดี

การใช้งาน: ส่วนมากแล้วหูฟังประเภทนี้จะมีฟองน้ำหนุนครอบหูเอาไว้ ทำให้ตัวลำโพงไม่ต้องกดกับใบหูมาก ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บใบหูเวลาใช้งานไปนานๆ และโครงที่คาดศีรษะจะช่วยรัดตรึงตัวลำโพงทั้งสองข้างให้แนบกับหูได้สนิทมาก ขึ้น

คุณภาพเสียง: หูฟังประเภทนี้ที่เปิดโอกาสให้สามารถใช้ไดเวอร์ที่มี คุณภาพสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเนื่องจากมันมีสายโครงรัดศีรษะ ทำให้ผู้ออกแบบสามารถออกแบบตัวบอดี้ของไดเวอร์ให้มีขนาดที่ใหญ่มากพอสำหรับ กักเก็บปริมาตรอากาศได้ตามสเป็กของไดเวอร์เพื่อให้ไดเวอร์ที่เลือกมาใช้ สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ผลคือทำให้คุณได้ยินฮาร์มอนิกของเสียงที่ครบถ้วนมากที่สุดเมื่อเทียบกับหู ฟังทุกประเภทที่มีอยู่ในท้องตลาด และโดยเฉพาะกับหูฟังบางรุ่นที่ออกแบบบอดี้ของไดเวอร์แบบตู้เปิด จะทำให้คุณได้ยินเสียงทุ้มที่ลงได้ลึกกว่าหูฟังทุกประเภทอีกด้วย และเป็นหูฟังประเภทเดียวที่จะทำให้คุณได้พบกับประสบการณ์ “ลมกระแทกหู” เมื่อฟังเพลงที่มีเสียงเบสลึกๆ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เหมือนจริง อย่างที่ได้สัมผัสจากลำโพงบ้านชั้นดี อีกทั้งยังได้ “ไดนามิก-เรนจ์” ของเสียงที่กว้างขวางกว่าเมื่อเทียบกับหูฟังรูปแบบอื่นๆ

ข้อด้อย

การใช้งาน: ถึงแม้ว่าหูฟังประเภทนี้จะมีโครงรัดศีรษะช่วยให้ลำโพง ทั้งสองข้างแนบกับหูได้มาก แต่บางรุ่นบางยี่ห้อนั้นก็อาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บหูได้เมื่อใช้งานติดต่อ กันเป็นเวลานานๆ และโครงสร้างของมันค่อนข้างจะเทอะทะ มีน้ำหนักเยอะ ไม่เหมาะกับการพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ (ถ้าไม่ใช่เพื่องานระดับมืออาชีพจริงๆ) ข้อเสียอีกประการหนึ่งของหูฟังประเภทนี้ก็คือว่ามันมักจะมีความไวค่อนข้าง ต่ำ ต้องการกำลังขับจากแอมป์ค่อนข้างสูง ลำพังกำลังขับของเครื่องเล่น MP3 หรือจากอุปกรณ์ประเภทดิจิตอลเพลเยอร์ตัวเล็กๆ จะไม่พอต่อการขับหูฟังประเภทนี้ให้ได้คุณภาพเสียงออกมาดี ต้องอาศัยแอมป์ขยาย (Headphone Amp) มาช่วย หรือฟังผ่านช่องหูฟังของเครื่องเล่นซีดีหรือดีวีดีขนาดใหญ่จึงจะออกมาดี ข้อด้อยในการใช้งานของหูฟังประเภทนี้ยังมีอยู่อีกข้อหนึ่ง โดยเฉพาะรุ่นที่ออกแบบบอดี้ของไดเวอร์เป็นแบบตู้เปิด นั่นคือเวลาฟังจะมีเสียงดังเล็ดลอดออกไปรบกวนคนข้างๆ ด้วย ยิ่งเปิดดังก็ยิ่งลอดออกไปมาก และข้อด้อยอีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ ราคาสูงครับ

คุณภาพเสียง: ข้อด้อยในแง่คุณภาพเสียงของหูฟังประเภทนี้มีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับหูฟัง ประเภทอื่น ที่ดูจะชัดเจนมากที่สุดก็คือเรื่องของความเพี้ยนของเสียง เนื่องจากตัวลำโพงของหูฟังประเภทนี้จะอยู่ในตำแหน่งที่ถอยห่างออกมาจากหูของ ผู้ฟังมากกว่าหูฟังแบบแยงหูและแบบแปะหูอยู่พอสมควร ทำให้มีโอกาสจะเกิดความเพี้ยนได้ง่ายกว่าหูฟังสองประเภทนั้น แต่ถ้าเป็นยี่ห้อและรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับงานโพรเฟสชั่นแนลแล้ว ปัญหาในเรื่องดังกล่าวก็แทบจะลืมไปได้เลย

จะเลือกซื้ออย่างไร?

          การเลือกซื้อหูฟังก็ขอแนะนำให้ใช้หลักคิดที่คำนึงถึง “ประโยชน์ใช้สอย” มาเป็นอันดับแรกคือคุณต้องจำไว้เสมอว่าไม่มีหูฟังแบบไหนดีที่สุด และหูฟังที่ดีที่สุดสำหรับคุณก็คือหูฟังที่ตอบสนองการใช้งานของคุณได้อย่าง ตรงวัตถุประสงค์มากที่สุดนั่นเอง ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อหูฟังทุกครั้ง ขอให้คุณตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่าลักษณะการใช้งานที่คุณต้องการนั้นเป็น อย่างไร อาทิ ถ้าคุณต้องการนำไปใช้ขณะวิ่งออกกำลังกายในสวนสาธารณะ อย่างนี้ก็ควรจะเลือกแบบแยงหูจะเหมาะที่สุด เพราะในลักษณะการใช้งานแบบที่ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลาเช่นนี้ ควรจะเน้นหูฟังที่มีน้ำหนักเบาและไม่หลุดง่าย แต่ถ้าคุณต้องการนำไปใช้งานสำหรับฟังเป็นมอนิเตอร์ในการแต่งเพลงหรือบันทึก เสียง ก็ควรจะเลือกแบบสวมหัวจะเหมาะสมที่สุด เพราะถึงแม้ว่าจะมีน้ำหนักเยอะและเทอะทะแต่ก็ให้คุณภาพเสียงที่ดีในหลายๆ ด้าน จะทำให้คุณทำงานได้อย่างตรงตามที่ควรจะเป็น ตัวแปรอีกประการหนึ่งที่ควรจะคำนึงถึงในการเลือกซื้อหูฟังก็คือ “ราคาขาย” ไม่ว่าจะเป็นหูฟังแบบไหนก็ตาม ในแต่ละแบบก็จะมีทั้งรุ่นที่มีราคาถูกและรุ่นที่มีราคาแพงให้เลือกพอๆ กัน ซึ่งก็ขอให้คุณตระหนักในสัจธรรมความเป็นจริงไว้ข้อนึงนั่นคือ ของดีไม่มีถูก... และของถูกไม่มีทางดีกว่าของแพงครับ

26 พ.ค. 53 เวลา 15:42 7,157 9 94
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...