12 ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับอีโบลา

 

 

 

จากข่าวล่าสุดที่พบคนไทยต้องสงสัยติดเชื้ออีโบลารายแรกของประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค จึงขอนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และข้อมูลเกี่ยวกับการระมัดระวังป้องกันอีโบลามาฝากกันไว้ครับ

โดย ผศ.พญ.อรุณี ธิติผู้ธัญญนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับอีโบลาดังนี้



1. ไวรัสอีโบลามีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ก็ไม่ก่อโรคในคน หรือบางสายพันธุ์ก็ก่อโรคน้อย โดยสายพันธุ์ที่กำลังระบาดและค่อนข้างรุนแรงนี้คือสายพันธุ์ “ไซร์อี” (Zaire) ส่วนสายพันธุ์ที่ไม่ก่อโรคในคนเลยคือสายพันธุ์เรสตัน (Reston)

2. เชื้อไวรัสอีโบลานั้นเป็นเชื้อไวรัสอาร์เอ็นเอ ในทางไวรัสวิทยาถือว่าไม่ค่อยดีเพราะเชื้ออุบัติใหม่ มักเกิดจาก ไวรัสอาร์เอ็นเอ

3. แต่เชื้อไวรัสอีโบลามีเปลือก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะถูกทำลายได้ง่าย เช่น โดนสิ่งแวดล้อม หรือสารทำความสะอาดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ ผงซักฟอก สบู่ ก็สามารถทำลายได้

4. แม้ไวรัสอีโบลาจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยสารทำความสะอาดในชีวิตประจำวัน แต่มีการทดลองที่เผยให้เห็นว่า ไวรัสอีโบลานั้น “อึด” โดยเมื่อทดลองปล่อยให้อยู่ในของเหลวที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส พบว่าเชื้อสามารถอยู่ได้นานถึง 50 วัน ส่วนที่อุณหภูมิห้องคือ 25 องศาเซลเซียส พบว่าเชื้อส่วนใหญ่ไม่ค่อยรอด โดยจากเชื้อล้านตัวเหลือประมาณหมื่นตัว

5. การติดเชื้อเกิดขึ้นง่าย โดยโดสในการติดเชื้อ (infectious dose) ต่ำ คือปริมาณเชื้อเพียง 1-10 ตัวก็สามารถติดเชื้อได้ และเมื่อทดลองเกลี่ยเชื้อทิ้งไว้ในพื้นผิวแห้งที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส พบว่ามีเชื้อเหลือถึงหมื่นตัว

6. เชื้อไวรัสที่มีอัตราการตายสูงอย่างเชื้อไวรัสอีโบลาที่มีอัตราการตายถึง 60% มักมีการระบาดไม่ไกล เพราะคนไข้มักมีอาการหนักและไปไหนไม่ได้ไกล ต่างจากเชื้อไวรัสเอชไอวีหรือเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งติดเชื้อมาก่อนที่จะมีอาการของไข้ ทำให้เกิดการระบาดได้มากกว่า

7. นอกจากการควบคุมการติดเชื้อจากคนแล้ว การลักลอบค้าสัตว์ป่าก็เป็นอีกช่องทางให้มีการระบาดของโรคต่างๆ โดยพบว่า 70-75% ของโรคอุบัติใหม่นั้นมาจากสัตว์

8 อาการของผู้ติดเชื้อ เริ่มมีอาการสองวันถึงสามสัปดาห์หลังสัมผัสกับไวรัส โดยมีไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ จากนั้นมีคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงร่วมกับการทำหน้าที่ของตับและไตลดลง เมื่อถึงจุดนี้ บางคนเริ่มมีปัญหาเลือดออก

9 สัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิงหรือค้างคาวผลไม้เชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นตัวพาและแพร่โรคโดยไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เมื่อติดเชื้อแล้ว โรคอาจแพร่จากคนสู่คนได้ และผู้ที่รอดชีวิตอาจสามารถส่งผ่านโรคได้ทางเพศสัมพันธ์เป็นเวลาเกือบสองเดือน

10 ในการวินิจฉัย ต้องแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออก เช่นมาลาเรียอหิวาตกโรคและไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ จากนั้น อาจทดสอบเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัสดีเอ็นเอของไวรัส หรือตัวไวรัสเองเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

11 การป้องกันรวมถึงการลดการระบาดของโรคจากลิงและหมูที่ติดเชื้อสู่คน ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสอบหาการติดเชื้อในสัตว์เหล่านี้ และฆ่าและจัดการกับซากอย่างเหมาะสมหากพบโรค การปรุงเนื้อสัตว์และสวมเสื้อผ้าป้องกันอย่างเหมาะสมเมื่อจัดการกับเนื้อสัตว์อาจช่วยได้ เช่นเดียวกับสวมเสื้อผ้าป้องกันและล้างมือเมื่ออยู่ใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว

12 ยังไม่มีการรักษาไวรัสอย่างจำเพาะ โดยความพยายามช่วยเหลือผู้ป่วย มีการบำบัดคืนน้ำ (rehydration therapy) ทางปากหรือหลอดเลือดดำ

ผู้ให้ข้อมูล 1-5 ผศ.พญ.อรุณี ธิติผู้ธัญญนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ให้ข้อมูล 6-7  นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข
ผู้ให้ข้อมูล 8-12 nationtv.tv

เรียบเรียงโดย  EDUZONES KNOWLEDGE
ข้อมูล : ข้อ 1-7 ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 สิงหาคม 2557 , ข้อ 8 nationtv.tv

22 ส.ค. 57 เวลา 11:58 6,132 1 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...