ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย

 

 

 

ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย

 

 พระบรมฉายาลักษณ์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  

จาก  Wellcome  Library , London ที่นายจอห์น ทอมสัน ฉายพระรูป

 

  ทรงฉายพระรูป เมื่อปี  ๒๔๐๘

  การถ่ายภาพได้เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ประมาณปี  พ.ศ.  
๒๓๘๘   ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ ๓  (รัชกาลที่ ๓ ครองราชย์
พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)  หลังจากนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส หลุยส์ เจ. เอ็ม.
ดาแกร์ ได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปสำเร็จ  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๒  เพียงไม่กี่ปี
นับว่า ประเทศไทยมีความทันสมัยมากในสมัยนั้น

    ผู้ที่นำการถ่ายภาพเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ได้แก่ บาทหลวง 
ฝรั่งเศส ปาเลอกัว  และเป็นผู้ถ่ายรูปแผ่นเงินก่อนใคร
    

    
>> ประวัตินายจอห์น ทอมสัน (John Thomson)  ชาวสก๊อต
      ผู้ฉายพระรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    [ข้อมูลโดยได้รับความอนุเคราห์จาก คุณนุกูล  (เจ้าของบล็อก 
คนช่างเล่า)  http://www.oknation.net/blog/nukpan  และ  
http://www.oknation.net/blog/nakornrajsima   ซึ่งได้กรุณาคัดบทความ
เรื่อง "นายทอมสัน ผู้ถ่ายพระรูปพระจอมเกล้า" โดย นายแพทย์พิพัฒน์ ชูวรเวช
จากวารสารตราไปรษณียากร  ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๑๑  มิถุนายน  ๒๕๔๗  มาให้  
จึงขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้]




    นายจอห์น ทอมสัน  เกิดที่กรุงเอดินเบอเรอ  ประเทศสก๊อตแลนด์
เมื่อวันที่  ๑๔  มิถุนายน  ๒๓๘๐  เบื้องต้นเขาเรียนหนังสือในกรุงเอดินเบอเรอ
ต่อมาไปฝึกงานเป็นช่างทำแว่นตาและช่างเครื่องมือวิทยาศาสตร์  ทำให้มี
ความรู้เรื่องกล้องถ่ายรูป

    เขาศึกษาภาคค่ำที่  Watt Institution & School of Arts  เรียน
หลายวิชา  เช่น  ปรัชญา คณิตศาสตร์ และเคมีเบื้องต้น  ทำให้มีความรอบรู้
หลายแขนง  เขาเคยได้รับรางวัลเรียนดีด้านภาษาอังกฤษ

    ในปี  ๒๔๐๔  เขาได้รับเลือกเป็น  Member of the Royal
Scottish Society of Arts

>> เดินทางสู่สยาม

    ในปี  ๒๔๐๘  นายทอมสัน ขณะนั้นอายุได้  ๒๘ ปี  เขาได้ขาย
กิจการร้านถ่ายรูปที่สิงคโปร์  เดินทางมาสยาม

    นายทอมสัน  ได้เดินทางมาจากสิงคโปร์  โดยสารเรือกลไฟชื่อ
"เจ้าพระยา"  (เรือลำนี้มี พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ หรือเจ้าสัวยิ้ม เป็นเจ้าของ
เดินเป็นประจำระหว่าง กรุงเทพฯ กับสิงคโปร์) มาถึงกรุงเทพฯ  เมื่อวันที่
๒๘  กันยายน  ๒๔๐๘  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ระหว่างที่อยู่ในกรุงเทพฯ ๓ เดือน  เขาได้เข้าเฝ้าและถ่าย
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ถ่ายรูปพระราชพิธีโสกันต์
ของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์  และเดินทางโดยเรือไปเมืองเพชรบุรี และสถานที่
อื่น ๆ  อีกมากมาย

    นายทอมสัน  อัดรูปภาพที่ถ่ายในกรุงเทพฯ ออกจำหน่าย
มีลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์บางกอก รีคอร์เดอร์ ของหมอ ปรัดเล  อยู่หลาย
ครั้ง   โดยซื้อได้ที่บ้านกัปตันเอมส์  (Captain  Samual Joseph Bird Ames)
ชาวอังกฤษ ที่เขาพักอยู่
    
    
>>  นายทอมสัน  ทำหนังสือกราบบังคมทูล ขอเข้าไปถ่ายภาพใน
       พระบรมมหาราชวัง   

    นายทอมสัน ได้ทำหนังสือเสนอสำนักพระราชวัง โดยผ่าน
สถานกงสุลอังกฤษในกรุงเทพฯ ขอเข้าไปถ่ายภาพในพระบรมมหาราชวัง

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขา
ตอบรับนายทอมสันเป็นภาษาอังกฤษ  ทรงมีพระบรมราชานุญาต และ
พระราชทานพระราชวโรกาสให้ฉายพระรูปส่วนพระองค์เองอีกด้วย

    พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่สนพระทัย
การถ่ายภาพและเก็บพระฉายาลักษณ์ของพระองค์เอง  ซึ่งคนไทยสมัยนั้น
เกรงกลัวการถ่ายรูป  เชื่อว่าทำให้อายุสั้น

    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา  เป็นผู้พาเข้าเฝ้า 


>>  บันทึกของนายทอมสัน เมื่อเข้าเฝ้า 

    นายทอมสัน เล่าว่า  กรมหมื่นอลงกฎฯ  ทรงมีตำแหน่งเป็นหัวหน้า
โหรหลวง  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเขียนไว้ในพระราช
หัตถเลขาว่า   พระอนุชาพระองค์นี้  ทรงรู้เรื่องการถ่ายรูปดี จะได้พาไปถ่ายรูป
บุคคลและสถานที่ได้ถูกต้อง

    ทั้งสองเข้าสู่ประตูพระบรมมหาราชวัง  มีทหารยามทำวันทยาวุธ
เมื่อเข้าถึงวังหลวงฝ่ายใน  มีผู้คนหมอบเฝ้าจำนวนมากตามรายทางที่เดินผ่าน

    พนักงานจัดเลี้ยงต้อนรับ  มีผลไม้ ขนมเค้ก และเหล้าไวน์ เขารับ
แจ้งว่า  ให้รอไปก่อน  พระเจ้าอยู่หัวทรงทำวัตรเช้า  นายทอมสันเลยถือโอกาส
เดินดูสิ่งก่อสร้างและเครื่องตกแต่งภายในท้องพระโรง  

    เขาเล่าว่า  ผนังด้านหนึ่งของท้องพระโรงแขวนพระรูปของ  จักรพรรดิ
นโปเลียนที่ ๓  และพระราชินีแห่งประเทศฝรั่งเศศ  ขนาดเท่าพระองค์จริง  
อีกฟากหนึ่งติดพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้

    เมื่อเสียงแตรดังขึ้น  พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกทางพระทวาร ขนาดใหญ่  นายทอมสันตื่นเต้นดีใจที่เกิดมาชาตินี้เพิ่งมีโอกาสเข้าเฝ้า
พระมหากษัตริย์เป็นครั้งแรก

    เขาเล่าว่า  พระเจ้าอยู่หัวทรงมีความสูง ประมาณ ๕ ฟุต ๘ นิ้ว
(๑๗๐ ซ.ม.) ทรงประทับยืนพระองค์ตรงและโดดเด่น  พระพักตร์ค่อนข้างซูบ
ฉลองพระองค์เสื้อคลุมสีขาว  มีความยาวถึงพระบาท  (เข้าใจว่า ทรงฉลอง
พระองค์ชุดทรงศีล)  เป็นพระภูษาที่เรียบง่ายและบริสุทธิ์

    พระองค์ทรงทักทายนายทอมสัน  นายทอมสันเสนอให้ฉายพระรูป
ขณะทรงคุกเข่าสวดมนต์  แต่ขณะที่นายทอมสันกำลังจัดแจงกล้องถ่ายรูป
และจัดฉากอยู่  พระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัย  ทรงหายไปข้างในระยะเวลาหนึ่ง
กรมหมื่นอลงกฎฯ ตรัสกับนายทอมสันว่า  ตนไม่อยู่ในฐานะที่ทูลถามพระเจ้า
อยู่หัวได้

    ขณะที่คนทั้งสองคอยด้วยความฉงน  พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมา
ชุดฉลองพระองค์เครื่องแบบจอมพลแห่งกองทัพฝรั่งเศส  ฉลองพระองค์ทั้งชุด
ไม่มีส่วนที่เป็นผ้าฝ้ายอยู่เลยแม้แต่ถุงเท้า  (คงเป็นผ้าขนสัตว์และผ้าไหมที่มี
ค่าทั้งหมด)

    นายทอมสัน ปฏิบัติหน้าที่ช่างฉายพระรูปได้อย่างดีและเรียบร้อย
ต่อมาพระองค์ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นชุดบรมขัตติยราชภูษาภรณ์  ทรงให้
นายทอมสันถ่ายภาพเพิ่มเติมอีก

    นายทอมสันกราบทูลด้วยภาษาอังกฤษง่าย ๆ  ระหว่างกราบทูล
พระองค์ทรงโพสท่าถ่ายภาพ  พระองค์ตรัสกับนายทอมสันว่า  "เธอทำทุก
อย่างที่ต้องการเพื่อให้รูปออกมาดีเลิศก็แล้วกัน"

    นายทอมสันเล่าว่า  พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามตนว่า มีสัญชาติใด
เมื่อกราบทูลว่าเกิดที่กรุงเอดินเบอเรอ  พระองค์ตรัสว่า "อา เธอเป็นคนสก๊อต
และพูดภาษาอังกฤษที่ฉันเข้าใจ  มีคนอังกฤษที่นี่ ที่ไม่เข้าใจภาษาของ
ตนเอง เมื่อฉันพูดกับเขา"

>>  นายทอมสัน ทูลเกล้าถวายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๔
       แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๕
       ที่กรุงลอนดอน 

    ในปี  ๒๔๔๙  นายทอมสัน ได้ทูลเกล้าถวายพระบรมฉายาลักษณ์
รัชกาลที่ ๔  (ที่เขาฉายพระรูปไว้)  แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว  โดยผ่านสถานทูตสยามในกรุงลอนดอน

    และเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน  ๒๔๕๐  ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่กรุงลอนดอน เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรป
ครั้งที่  ๒    ทูลเกล้าถวายพระบรมฉายาลักษณ์สมัยที่พระองค์ยังทรง
พระเยาว์  


>>  ภาพเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔  ฝีมือถ่ายภาพของนายทอมสัน  
       จาก  Wellcome  Library  ที่  London  


#1   Gate of Buddhist temple, Bangkok, Siam.    [1866]
       (คล้ายพระอุโบสถวัดพระแก้ว - ผู้เขียน)




#2   State barge of the King of Siam, Bangkok.  [1865-1866]




#3   State barge of the King of Siam, Bangkok.  [1865-1866]    




#4   Siamese boatman, Siam.  [1865-1866]
        (ฝีพาย - ผู้เขียน)




#5   Arrival of the King of Siam at the Temple of Sleeping Idol.
       [1865-1866]     (ร. ๔  เสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารคไป
       วัดโพธิ์ - ผู้เขียน)
  
    


#6   Crown Prince of Siam in front of Palace with his entourage,
       Bangkok, Siam.




#7   The Crown Prince of Siam, Bangkok, Siam.  [1865]




#8   A Siamese Prince with his attendant, Siam.  [1865-1866]




#9   The Kings  Buddhist temple, Siam.   [1865-1866]




#10   The late Kralahorm, Bangkok, Siam.    [1865]




#11   Siam      [1865]




#12   Buddhist priests eating, Bangkok, Siam.    [1865-1866]




#13   Mount Khrai-lat, Bangkok, Siam.    [1865-1866]
         (ในพระบรมมหาราชวัง - ผู้เขียน)    




#14   View of Bangkok, Siam, looking over the River Menam.
         [1865-1866]




#15   View of the Menam river with sailing ships anchored. 
ฺ         Bangkok, Siam.       [1865-1866]




#16   View of Bangkok, Siam, looking over the River Menam. 
         [1865-1866]




#17   Pechaburi Bridge, Siam, over the river with boats along
         the embankment.     [1865-1866]




#18   View of Ayuthia, Siam.    [1865-1866]




#19   Ayuthia, Siam.     [1865-1866]




#20   Palmyra palms, Siam.      [1865-1866]
         (น่าจะเป็นที่เพชรบุรี - ผู้เขียน)




#21   View of Pechaburi plain, viewed from a hill. At the lower
         left  a  Buddhist temple.       [1865-1866]




#22   Buddhist Temple, Siam       [1865]






#23   Bangkok, Siam.       [1866]




#24   Siam         [1865]




#25   Elephant training ground, Ayuthia, Siam.   [1865-1866]
         (เพนียดคล้องช้างที่อยุธยา - ผู้เขียน)




#26   A war elephant of Siam.      [1865-1866]
         (ช้างศึก เป็นช้างที่ได้รับการคัดเลือกความเหมาะสมแล้วและนำมาฝึก 
         - ผู้เขียน)




#27   Siam          [1865]
         (น่าจะเป็นการแสดงโขน - ผู้เขียน)



ภาพเหล่านี้ มีอายุเกือบ  ๑๕๐ ปีมาแล้ว   เป็นภาพในยุคแรก ๆ  
ของการถ่ายภาพในเมืองไทยที่หาชมยาก  และยังไม่ค่อยได้พบเห็นใน
เมืองไทย   ต้องขอขอบคุณ Wellcome Library, London  ที่ได้ช่วยอนุรักษ์
ไว้เป็นอย่างดียิ่ง  และหวังว่าคนไทยจะได้ช่วยกันศึกษาค้นคว้าเผยแพร่

5 ม.ค. 57 เวลา 13:53 5,870 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...