มนต์เพลงในอดีต V.1 ( สมยศ ทัศนพันธ์ )

 

 

 

 

 

มนต์เพลงในอดีต V.1

สมยศ ทัศนพันธ์

 

 

สมยศ  ทัศนพันธ์  เป็นชื่อจริงนามสกุลจริง เป็นชาวกรุงเทพฯ  เกิดเมื่อวันที่  14  มีนาคม 2458  ( ข้อมูลบางแหล่งบอกว่าเกิดปี 2462 ) ที่ร้านเจริญกิจมาลา ถนนเจริญกรุง ใกล้กับศาลาเฉลิมกรุงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นร้านของเรือเอกเจริญ ทัศนพันธ์ ผู้เป็นบิดา ส่วนมารดาเสียชีวิตตั้งแต่เด็ก จึงอยู่กับบิดาและแม่เลี้ยง

เริ่มเรียนหนังสือแถวบ้านหม้อ ( โรงเรียนวัดสุทัศน์ฯ ) ก่อนไปเรียนต่อที่โรงเรียนวัดราชบพิธ รุ่นเดียวกันกับวีระ รมยะรูป ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารกรุงเทพ จำกัดในอดีต และจบการศึกษาด้านวิจิตรศิลป์ จากโรงเรียนเพาะช่าง เมื่อจบแล้วได้เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์ที่เรือนพยาบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน  (แต่ข้อมูลบางแหล่ง บอกว่า เขาเรียนจนถึงปีที่  ๒  ก็ได้ลาออกมาใช้ชีวิตตามที่ใจปรารถนา  คือรับจ้างเขียนโปสเตอร์  วาดรูป  รวมทั้งการร้องเพลง เนื่องจากขัดแย้งกับแม่เลี้ยงซึ่งไม่พอใจที่สมยศซ้อมร้องเพลงหนวกหูทุกวัน จึงหนีออกจากบ้านไปอยู่กับเพื่อน และเลิกเรียนหนังสือ )

สมยศ ทัศนพันธ์ เป็นคนชอบเล่นดนตรีและร้องเพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้แรงบันดาลใจในการร้องเพลง จาก "ดิ๊ก พาเวลล์"  ดาราและนักร้องชื่อดังของฮอลลีวู๊ด ในภาพยนตร์เพลงชื่อ “ ระบำเหรียญทอง “ ที่มีการแจกเนื้อร้องให้ก่อนเข้าชม สมยศ ทัศนพันธ์ ลงทุนตีตั๋วไปดูหนังเรื่องนี้ถึง 3 รอบ เพื่อต่อเพลง แล้วนำไปร้องอวดเพื่อนๆ และเมื่อได้รับคำชมและแรงยุของเพื่อนๆ  จึงสมัครเข้าแข่งขันร้องเพลงตามงานวัด ที่กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางมากในสมัยนั้น และได้รับรางวัลชนะเลิศมาหลายครั้ง จึงหันมาสนใจในการร้องเพลงอย่างจริงจังเรื่อยมา

ในยุคนั้น เพลงที่ฮิตติดลมและเป็นที่นิยมกันมาก เป็นเพลงของ "พรานบูรพ์" ที่ขับร้องโดย “ จำรัส สุวคนธ์ “ ยอดพระเอกและนักร้องชื่อดังในวงการบันเทิงยุคนั้น ซึ่งสมยศ ทัศนพันธ์ ก็นำเอาไปร้องประกวดด้วยหลายครั้ง และเขาได้มีโอกาสได้พบปะกับ จำรัส  สุวคนธ์และพระเอกและนักร้องขวัญใจชาวบ้านผู้นี้  ก็ได้แนะนำและติชมการร้องเพลงของ  "สมยศ  ทัศนพันธ์"  อยู่เสมอ  ก่อให้เกิดกำลังใจขึ้นอย่างมาก  และเขาก็ได้นับถือพระเอกผู้นี้เป็นครูมาโดยตลอด   สมยศ ทัศนพันธ์ ยังเป็นเพื่อนรักกับ  "บิดาเพลงชีวิตเมืองไทย"  คือ  "แสงนภา  บุญราศรี"  อีกด้วย   

ต่อมากองทัพเรือประกาศสอบแข่งขันคัดเลือก เพื่อเป็นนักร้องประจำวงดุริยางค์ทหารเรือ เขาก็ได้นำเอาเพลง บางปู ของล้วน ควันธรรม ไปร้องในการแข่งขัน และก็ปรากฏว่าชนะเลิศ ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในวงดุริยางค์ทหารเรือสมดังที่ตั้งใจไว้ รุ่นเดียวกันกับสุรสิทธิ์ สัตย์วงศ์ , เสน่ห์ โกมารชุน , สมศักดิ์ เทพานนท์ และปิติ เปลี่ยนสายสืบ ในตำแหน่งนักร้องและนักแต่งเพลง โดยมีนาวาเอกภิญโญ พงษ์สมรวย เป็นผู้บังคับกองดุริยางค์ทหารเรือในขณะนั้น

ระหว่างที่อยู่ที่กองดุริยางค์ทหารเรือ สมยศ ทัศนพันธุ์ ได้ตำแหน่งเพลงไว้หลายเพลง รวมทั้งที่แต่งรวมกับสกนธ์ มิตรานนท์ " มิตตรา" ที่เป็นผู้ประพันธ์คำร้อง เช่นเพลง เซียมซีเสี่ยงรัก , รอยแผลเก่า , น้ำตาผู้ชาย , ลมทะเล , ดาวร่วง , วอลซ์ทนาวี , รักครั้งแรก , ขวัญอ่อน , เกร็ดแก้ว ฯลฯ โดยเพลงแรกที่แต่ง คือเพลงลมทะเล แต่เพลงที่ได้รับความนิยมมากก็คือ เพลงวอลซ์ทนาวี และเขายังเป็นผู้สนับสนุนให้พยงค์ มุกดา เข้ามาอยู่ในกองดุริยางค์ทหารเรืออีกด้วย

ช่วงที่อยู่ที่กองดุริยางค์ทหารเรือ เขาได้สร้างผลงานไว้เป็นจำนวนมากมาย และได้ร่วมงานการแสดงกับวงดนตรีกองทัพเรือ ในงาน รัฐธรรมนูญ งานวชิราวุธ งานกาชาด จนเป็นที่นิยมของประชาชนเป็นอย่างมาก
สมยศ ทัศนพันธ์ เป็นนักร้องที่แต่งเพลงที่ขับร้องเอง และร้องเพลงจากผลงานของครูเพลงคนอื่นๆ เช่น สกนธ์ มิตรานนท์, ไพบูลย์ บุตรขัน, พยงค์ มุกดา, ชาญชัย บัวบังศร ,พีระ ตรีบุปผา, ประดิษฐ์ อุตตะมัง ฯลฯ ที่มีความไพเราะอยู่หลายเพลง

เขาเป็นนักร้องคนแรกที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในสาขาเพลงลูกทุ่ง ในปี พ.ศ. 2508 จากเพลง "ช่อทิพย์รวงทอง" ผลงานประพันธ์ของพยงค์ มุกดา ที่บันทึกเสียงเมื่อ พ.ศ. 2498

หลังอยู่กับกองดุริยางค์ทหารเรือมา 16 ปี จนกระทั่งมียศเป็นเรือตรี ก็ได้ลาออกจากราชการและตั้งวงดนตรีเดิน สายทั่วประเทศ โดยเป็นนักร้องคนแรกในวงการ ที่นำวงดนตรีออกเดินสายไปแสดงยังต่างจังหวัด  ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างท่วมท้นจากประชาชน เขาทำวงอยู่ได้ประมาณ 10 ปี ก็เลิก และหันไปรับงานรับเชิญไปร้องอย่าง เดียวเท่านั้น

สมยศ ทัศนพันธ์ มีเอกลักษณ์พิเศษคือเป็นคนติดยานัตถุ์ ก่อนอัดเสียงหรือก่อนขึ้นร้องสดหน้าเวที จะต้องเป่ายานัตถุ์จนแน่ใจว่าจมูกโล่ง ร้องเพลงได้ไม่สะดุด  เป่าไปก็เทียบเสียงไปได้เสียงจนเป็นที่พอใจ จึงจะร้อง อย่างในการบันทึกแผ่นเสียงเพลง มนต์เมืองเหนือของไพบูลย์ บุตรขัน เล่นเอานักดนตรีห้องอักสำลักยานัตถุ์กันระนาว

กรองทอง ทัศนพันธ์ ลูกสาวของของสมยศ ทัศนพันธ์ เคยเขียนเอาไว้ว่า “ คุณพ่อ เป็นคนใจดี ใจเย็นมาก เขียนเพลงไว้เยอะมาก แต่ใช้วิธีเขียนบนกระดานดำในบ้าน หากไม่เสร็จก็ค้างคาไว้บนกระดานนั้น หากเสร็จแล้ว จะใช้วิธีร้องทบทวน 3 – 4 เที่ยว จนขึ้นใจ แล้วก็ลบทิ้งไปเลย ไม่มีบันทึกไว้ที่อื่นๆอีก ดังนั้น เพลงของคุณพ่อที่เขียนไว้จึงไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรใดๆ แล้วก็สาบสูญไปมาก “

สมยศ ทัศนพันธ์ ร้องเพลงบันทึกเสียงไว้ไม่น้อยกว่า 1000 เพลง ส่วนใหญ่ เป็นงานของตัวเอง รองลงมาเป็นของไพบูลย์ บุตรขันธ์ , พิพัฒน์ บริบูรณ์ และ พยงค์ มุกดา ที่เป็นเพื่อนซี้กันในกองดุริยางค์นั่นเอง ผลงานเพลงอย่างเช่น แม่นางนกขมิ้น , เซียมซีเสี่ยงรัก , แดนมธุรส , กระท่อมไพรวัลย์ , น่านน้ำคืนเพ็ญ , รอยแผลเก่า ,วิวาห์น้ำตา , มนต์เมืองเหนือ หรือ ชายไร้โบสถ์  ล้วนถือเป็นผลงานอมตะทั้งสิ้น

นอกจากนี้ สมยศ ทัศนพันธ์ ยังมีเพลงที่ส่วนใหญ่เขียนเอง ร้องเอง อยู่อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นเพลงเกี่ยวกับ ศาสนา และวัฒนธรรม รวมทั้งประเพณี และ แนวคิดในเชิง..ความดีงาม..ของจิตใจคน อยู่มากมายกว่านักร้องทุกๆคน เช่น ชายไร้โบสถ์ , วันลาสิกขาบท , สันติธรรม , ชีวิตมิใช่ความฝัน , นัยตาฟ้า , ธาราทิพย์ , ชีวิตครวญ , โซ่ชีวิต ,ชั่วชีวิต , เหลิงลม ,คนล้มอย่าข้าม ..ฯลฯ ..

สมยศ ทัศนพันธ์ เสียชีวิตที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ด้วยโรคหัวใจ

นำเพลง มนต์เมืองเหนือ มาให้ฟังกันครับ

 

เพลง มนต์เมืองเหนือ
คำร้อง/ทำนอง ไพบูลย์ บุตรขัน
ขับร้อง สมยศ ทัศนพันธ์

 

ป่าเหนือเมื่อหน้า ดอกไม้บาน
ลมฝนบนฟ้าผ่าน ฟ้ามองดั่งม่านน้ำ ตา
น้ำฝนหล่นจากฟากฟ้า
ขังแก่งเหมือนแอ่งน้ำตาไหลตกจากผาแว่วฟัง

 

ป่าเหนือเมื่อไปได้พบมา
เมืองเหนือเมื่อน้ำบ่าเลาะธารซ่านซ่า
เคล้าดังน้ำไหลไป่หลากมากครั้ง
หมุนวนสายชลเหมือนดังไหลหลั่งเป็นวังน้ำวน

 

ริมฝั่งวังน้ำค่ำลงคงมี แสงจันทร์
คืนหนึ่ง คืนนั้นพบกันน้องเอยสองคน
เมืองเหนืออนงค์นั้นคงมีมนต์
เป่าหัวใจเสียจน ก่นให้ใฝ่ฝัน

 

แอ่วสาวเจ้าวอน อ้อนน้ำคำ
จนสูรย์ลอยคล้อยต่ำสายัณห์เย็นย่ำทุกวัน
แล้วไฉนจะให้ลืมนั้น แม้นใครได้ไปเที่ยวพลัน
หลงมั่นในเมืองเหนือเอย
 

<p style="color: rgb(255, 255, 0); text-align: left;"><br /></p><font size="2" style="color: rgb(255, 0, 255);">ก็เพลงนี้แหละครับ ที่ทำเอานักดนตรีห้องอัดสำลักยานัตถุ์กันเป็นแถว ตอนที่สมยศ นัดถุ์ยาไป แล้วก็ร้อง ป่า..ป่า ...ป่า...เพื่อเทียบเสียง แต่เพลงมนต์เมืองเหนือ ก็โด่งดังก่อนใครในบรรดาเพลงชุดแรกๆของไพบูลย์ บุตรขัน ( เพลงอื่นๆของไพบูลย์ในชุดนี้ ประกอบไปด้วย ค่าน้ำนม , คนจนคนจร , ดอกไม้หน้าไฟ และ ดอกไม้หน้าฝน<br /><br />ว่ากันว่าเพลงนี้ร้องยาก เพราะแค่คำว่าป่าเหนือ สองคำนี้ก็เสียงโน้ตห่างกันถึง 8 ตัวโน้ต เรียกว่าเสียงคู่แปด ซึ่งก็คือการขึ้นต่ำลงต่ำ และตลอดทั้งเพลง ก็มีเสียงแบบนี้อยู่หลายแห่งเพลงนี้ แต่เดิมเนื้อร้องวรรคแรกของท่อนสุดท้าย ที่ไพบูลย์ บุตรขัน เขียนเอาไว้ว่า" แอ่วเว้าเจ้าวอนอ้อนน้ำคำ " พยงค์ มุกดาเขียนบอกไว้ในหนังสือราชานักแต่งเพลงลูกทุ่งไทย : ไพบูลย์ บุตรขัน ว่า "ผมคุยกับพี่ถึงเนื้อร้องท่อนสุดท้ายที่ว่าแอ่วเว้าเจ้าวอนน้ำคำแล้วบอกพี่อย่างเคารพและเกรงใจว่า ไม่ใช่คำที่แปลว่าพูด ของคนเมืองเหนือ แต่เป็นคำของชาวอีสาน พี่บูลย์มองผมอย่างรักใคร่แล้วจะเปลี่ยนอย่างไรดี?ผมไม่กล้าบังอาจจึงบอกไปว่าพี่ลองนึกดูสิครับ พี่บูลย์นิ่งไปครู่เดียว จึงกลับมาถามผมว่าถ้าเป็น แอ่วสาวเจ้าวอนอ้อนน้ำคำ ได้ไหม? ผมแทบจะกราบพี่บูลย์ที่ให้เกียรติเหมือนขอความเห็นและไม่มีท่าทีถือสาว่าผมอวดรู้ อวดดี มันยิ่งทำให้ผมรักและนับถือทั้งอัจฉริยะและอัธยาศัยของท่าน" <br /><br />ต่อมาเพลงมนต์เมืองเหนือ ก็ออกมาฮิตกระหึ่ม จากเสียงร้องของ ทูล ทองใจ ด้วยเนื้อท่อนท้ายที่ชาวเหนือถูกใจ<br /><br />แดน บุรีรัมย์ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดของครูไพบูลย์ บุตรขัน เล่าเอาไว้อย่างน่าสนใจถึงความเป็นนักฝัน นักจินตนาการของครูเพลงผู้ยิ่งใหญ่ของไทยคนนี้ว่าวิธีการเขียนเพลงของครูส่วนใหญ่จะใช้จินตนาการและเรื่องราวต่างๆ รอบตัว มาพล็อตเป็นชื่อเพลงก่อน เช่นเพลงมนต์เมืองเหนือ "ผมเคยถามครูว่า เคยไปเหนือบ้างหรือเปล่าครูตอบว่าไม่เคยไป ได้ยินแต่ที่เขาเล่าให้ฟังและใช้จินตนาการในการเขียนโดยคิดเอาว่าสาวเหนือจะมีคนสวยๆ ผิวขาวๆ อากาศดี เย็นสบาย มีป่าไม้ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์<br /><br />คำยืนยันจากปากของไพบูลย์ว่าไม่เคยไปเชียงใหม่ปรากฏในบทสัมภาษณ์ทางวิทยุเมื่อราวปี ๒๕๑๒ รายการเพื่อนรัตติกาล โดยกุลชาติ เทพหัสดินฯ ที่บอกว่า ตอนกำกับละครอยู่ที่เวทีพัฒนาการ ใจก็ใฝ่ฝันอยากจะไปพบความสวยงามของเมืองเหนืออย่างที่เล่าลือกัน พอไปจริง ๆ ไปถึงแค่ลำปาง ส่วนเชียงใหม่ บุญคงไม่ถึง โดยหลังจากแสดงดนตรีที่ลำปางเสร็จแล้วก็ไปเที่ยวเกาะคา มองเห็นทิวทัศน์ทางเหนือ การเป็นคนภาคกลาง การเห็นภูเขาเมฆหมอกห้วยละหารธารน้ำ ตอนเช้าหมอกลงแลดูสลัวไปหมด มันเร่งความรู้สึก เป็นความตื่นตาตื่นใจ ประทับอยู่ในใจแต่ยังไม่ได้นึกจะแต่งเพลงทันที เพียงแต่เก็บภาพไว้ในอารมณ์ ความรู้สึก สาม-สี่วันที่อยู่ลำปาง ความประทับใจมากเหลือเกิน เพราะมีความใฝ่ฝันจะได้เห็นเมืองเหนือ จุดสำคัญที่สุดคืออยากเห็นเชียงใหม่แล้วไม่ได้ไป เขายืนอยู่ที่สถานีรถไฟลำปาง มองไปตามทางรถไฟ คิดว่าเชียงใหม่จะมีรูปร่างเป็นอย่างไร คิดอยู่ตลอดเวลา พอกลับมาถึงกรุงเทพฯ ก็ลงมือเขียนเลย โดยอาศัยอารมณ์ของความเป็นหนุ่ม เอาตัวเองเข้าไปเป็นตัวละคร<br /></font><br style="color: rgb(255, 255, 0);" /><p style="color: rgb(255, 255, 0);" /><p style="color: rgb(255, 255, 0);"><iframe width="500" height="369" frameborder="0" src="http://www.youtube.com/embed/M9ugibxX2gE"><font size="2" style="color: rgb(0, 255, 0);"><br /></font></p><p style="color: rgb(255, 255, 0);"><font size="2" style="color: rgb(0, 255, 0);">เพลง</font><font size="2" style="color: rgb(0, 255, 0);">แม่นางนกขมิ้น</font><br /></p><iframe width="500" height="369" frameborder="0" style="color: rgb(255, 255, 0);" src="http://www.youtube.com/embed/9qayuAXYSWU"><br /><br /><br /><iframe width="500" height="369" src="http://www.youtube.com/embed/LN_M7MFCtMA" frameborder="0" allowfullscreen>

 ก็เพลงนี้แหละครับ ที่ทำเอานักดนตรีห้องอัดสำลักยานัตถุ์กันเป็นแถว ตอนที่สมยศ นัดถุ์ยาไป แล้วก็ร้อง ป่า..ป่า ...ป่า...เ พื่อเทียบเสียง แต่เพลงมนต์เมืองเหนือ ก็โด่งดังก่อนใครในบรรดาเพลงชุดแรกๆของไพบูลย์ บุตรขัน ( เพลงอื่นๆของไพบูลย์ในชุดนี้ ประกอบไปด้วย ค่าน้ำนม , คนจนคนจร , ดอกไม้หน้าไฟ และ ดอกไม้หน้าฝน

ว่ากันว่าเพลงนี้ร้องยาก เพราะแค่คำว่าป่าเหนือ สองคำนี้ก็เสียงโน้ตห่างกันถึง 8 ตัวโน้ต เรียกว่าเสียงคู่แปด ซึ่งก็คือการขึ้นต่ำลงต่ำ และตลอดทั้งเพลง ก็มีเสียงแบบนี้อยู่หลายแห่งเพลงนี้ แต่เดิมเนื้อร้องวรรคแรกของท่อนสุดท้าย ที่ไพบูลย์ บุตรขัน เขียนเอาไว้ว่า" แอ่วเว้าเจ้าวอนอ้อนน้ำคำ " พยงค์ มุกดาเขียนบอกไว้ในหนังสือราชานักแต่งเพลงลูกทุ่งไทย : ไพบูลย์ บุตรขัน ว่า "ผมคุยกับพี่ถึงเนื้อร้องท่อนสุดท้ายที่ว่าแอ่วเว้าเจ้าวอนน้ำคำแล้วบอกพี่อย่างเคารพและเกรงใจว่า ไม่ใช่คำที่แปลว่าพูด ของคนเมืองเหนือ แต่เป็นคำของชาวอีสาน พี่บูลย์มองผมอย่างรักใคร่แล้วจะเปลี่ยนอย่างไรดี?ผมไม่กล้าบังอาจจึงบอกไปว่าพี่ลองนึกดูสิครับ พี่บูลย์นิ่งไปครู่เดียว จึงกลับมาถามผมว่าถ้าเป็น แอ่วสาวเจ้าวอนอ้อนน้ำคำ ได้ไหม? ผมแทบจะกราบพี่บูลย์ที่ให้เกียรติเหมือนขอความเห็นและไม่มีท่าทีถือสาว่าผมอวดรู้ อวดดี มันยิ่งทำให้ผมรักและนับถือทั้งอัจฉริยะและอัธยาศัยของท่าน"

ต่อมาเพลงมนต์เมืองเหนือ ก็ออกมาฮิตกระหึ่ม จากเสียงร้องของ ทูล ทองใจ ด้วยเนื้อท่อนท้ายที่ชาวเหนือถูกใจ

แดน บุรีรัมย์ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดของครูไพบูลย์ บุตรขัน เล่าเอาไว้อย่างน่าสนใจถึงความเป็นนักฝัน นักจินตนาการของครูเพลงผู้ยิ่งใหญ่ของไทยคนนี้ว่าวิธีการเขียนเพลงของครูส่วนใหญ่จะใช้จินตนาการและเรื่องราวต่างๆ รอบตัว มาพล็อตเป็นชื่อเพลงก่อน เช่นเพลงมนต์เมืองเหนือ "ผมเคยถามครูว่า เคยไปเหนือบ้างหรือเปล่าครูตอบว่าไม่เคยไป ได้ยินแต่ที่เขาเล่าให้ฟังและใช้จินตนาการในการเขียนโดยคิดเอาว่าสาวเหนือจะมีคนสวยๆ ผิวขาวๆ อากาศดี เย็นสบาย มีป่าไม้ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์

คำยืนยันจากปากของไพบูลย์ว่าไม่เคยไปเชียงใหม่ปรากฏในบทสัมภาษณ์ทางวิทยุเมื่อราวปี ๒๕๑๒ รายการเพื่อนรัตติกาล โดยกุลชาติ เทพหัสดินฯ ที่บอกว่า ตอนกำกับละครอยู่ที่เวทีพัฒนาการ ใจก็ใฝ่ฝันอยากจะไปพบความสวยงามของเมืองเหนืออย่างที่เล่าลือกัน พอไปจริง ๆ ไปถึงแค่ลำปาง ส่วนเชียงใหม่ บุญคงไม่ถึง โดยหลังจากแสดงดนตรีที่ลำปางเสร็จแล้วก็ไปเที่ยวเกาะคา มองเห็นทิวทัศน์ทางเหนือ การเป็นคนภาคกลาง การเห็นภูเขาเมฆหมอกห้วยละหารธารน้ำ ตอนเช้าหมอกลงแลดูสลัวไปหมด มันเร่งความรู้สึก เป็นความตื่นตาตื่นใจ ประทับอยู่ในใจแต่ยังไม่ได้นึกจะแต่งเพลงทันที เพียงแต่เก็บภาพไว้ในอารมณ์ ความรู้สึก สาม-สี่วันที่อยู่ลำปาง ความประทับใจมากเหลือเกิน เพราะมีความใฝ่ฝันจะได้เห็นเมืองเหนือ จุดสำคัญที่สุดคืออยากเห็นเชียงใหม่แล้วไม่ได้ไป เขายืนอยู่ที่สถานีรถไฟลำปาง มองไปตามทางรถไฟ คิดว่าเชียงใหม่จะมีรูปร่างเป็นอย่างไร คิดอยู่ตลอดเวลา พอกลับมาถึงกรุงเทพฯ ก็ลงมือเขียนเลย โดยอาศัยอารมณ์ของความเป็นหนุ่ม เอาตัวเองเข้าไปเป็นตัวละคร

 


 

9 ต.ค. 54 เวลา 14:49 8,372 2 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...