36 กลยุทธ ตำราพิชัยสงครามซุนวู กุญแจไขแห่งความสำเร็จ ตอนที่ 2 กลยุทธ์เผชิญศึก

      

       กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ให้ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก แต่มิใช้จะล่อลวงจนถึงที่สุด หากแต่เพื่อแปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริง ทำให้ข้าศึกเกิดความหลงผิด ที่ว่า “ลวง” ก็คือ “หลอกลวง” ที่ว่า “มืด” ก็คือ “เท็จ” จากมืดน้อยไปถึงมืดมาก จากมืดมากแปรเปลี่ยนเป็นสว่างแจ้ง ก็คือใช้ภาพลวงปกปิดภาพจริง ผันจากเท็จลวงให้กลายเป็นแท้จริงแท้ นี้เป็นเรื่องในการศึกเท็จลวงและแท้จริงแท้สลับกันเป็นฟันปลา ในจริงมีเท็จ ในเท็จมีจริง     

       “มีในไม่มี” หมายถึงกลอุบายซึ่ง “จริงในเท็จ” ที่ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก ให้ข้าศึกเกิดความหลงผิดอย่างหนึ่ง     กลยุทธ์นี้มีอยู่ใจตำราพิชัยสงครามชื่อ “อุ้ยเหลียวจือ อำนาจศึก” ซึ่งกล่าวว่า “อำนาจศึกอยู่ที่วิถีอันทำได้ ผู้มีจักไม่มี ผู้ไม่มีจักมี” ในบทที่ 34 ของ “คัมภีร์เหล่าจื่อเล่มหลัง” ก็กล่าวไว้ว่า “สรรพสิ่งใต้หล้าเกิดจากมี บางก็เกิดจากไม่มี”

      กลยุทธ์นี้สรุปว่า “เมื่อจักสั่นคลอนจิตใจของข้าศึก มิควรวู่วาม ควรใช้ยุทธวิธีจริงเท็จเท็จจริงกลับลวงกันไป ทำให้ข้าศึกเกิดความสับสนวุ่นวาย พึงจับจุดอ่อนของข้าศึก ยืนหยัดจนถึงวาระที่สำคัญที่สุด ครั้นแล้วก็รุกโจมตีอย่างถึงแก่ชีวิต”

 

       กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ในการศึก ใช้โอกาสที่ฝ่ายข้าศึกตัดสินใจจะรักษาพื้นที่ แสร้งทำเป็นจะโจมตีด้านหน้า แต่เข้าจู่โจมในพื้นที่ที่ข้าศึกไม่สนใจอย่างมิได้คาดคิด ใน “คัมภีร์อี้จิง ประโยชน์” เรียกว่า “เข้าจู่โจมดุจพายุ” ซึ่งก็คือกลวิธีวกวนลอบเข้าจู่โจมอย่างเป็นฝ่ายกระทำ เข้าตีข้าศึกโดยมิได้ระวังตัว เอาชนะอย่างมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง

       กลยุทธ์นี้สรุปว่า “เมื่อคู่ศึกทั้ง 2 ฝ่ายตั้งประจัญหน้ากัน จงใจสร้างเป้าหมายให้ฝ่ายตรงข้ามเพ่งเล็ง รอจนเมื่อฝ่ายตราข้ามวางกำลังใหญ่ป้องกันไว้ ณ ที่นั้นแล้ว จึงรุกรบโจมตีเอาเป้าหมายอื่น ซึ่งก็คือการใช้จุดอ่อนแห่งภาวะจิตมนุษย์ โจมตีในจุดที่ฝ่ายตรงข้ามมิได้คาดคิดมาก่อนแล้วมิได้ระมัดระวังตัว จึงได้มาซึ่งชัยชนะในการรุกรบ”

      กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสบกับภาวะที่ข้าศึกแตกแยกวุ่นวายปั่นป่วนอย่างหนัก พึงรอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสงบ หากข้าศึกใช้ความป่าเถื่อนแก่กัน ต่างพิพากเข่นฆ่ากัน แนวโน้มก็จักพาไปสู่ความวินาศเอง ในเวลาเยี่ยงนี้จำต้องปฏิบัติให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพข้าศึก ตระเตรียมไว้ก่อนล่งหน้า เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ชิงมาซึ่งชัยชนะโดยใช้การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของทางฝ่ายข้าศึกให้เป็นประโยชน์


      นี้คือความหมายของคำว่า “คล้อยเพื่อเคลื่อนตาม คล้อยตามจึงเคลื่อน” ใน “คัมภีร์อี้จิงว่าด้วยสงบ” ซึ่งก็คือกลอุบายที่ยึดถือการแปรผันของข้าศึก เปลี่ยนแปลงตามสภาพ เพื่อเอาประโยชน์อย่างหนึ่ง 
   

 

       กลยุทธ์นี้เดิมมาจากตำราพิชัยสงคราม “ซุนจื่อ ว่าด้วยการศึก” ที่ว่า “ใช้ความสงบรอความปั่นป่วน ใช้ความเงียบรอความวุ่นวาย” ใน “บันทึกประวัติศาสตร์ ประวัติจางอี๋” ก็ได้บันทึกเรื่องของเปี้ยนจวงจื่อว่า “นังภูดูเสื่อกัดกัน” “ได้เสือ 2 ตัวเพียงดำเนินการครั้งเดียว” ซึ่งก็คล้ายคลึงกับกลยุทธ์นี้

      กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อข้าศึกเกิดความปั่นป่วนภายใน ให้รอดูการเปลี่ยนแปลงโดยสงบ ให้ข้าศึกเกิดความปั่นป่วน ก้าวไปสู่ความพินาศเอง ที่ว่า “ไฟ” ในกลยุทธ์นี้ ก็หมายถึงการบาดหมางภายในฝ่ายข้าศึก เช่นเกิดมีคนทรยศหรือไส้ศึก หรือความปั่นป่วน ในช่วงเวลานี้เอง การคอยสังเกตการณ์อยู่ด้วยความสงบ แล้วค่อยตักตวงเอาในภายหลังจึงเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด”

 

       กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องทำให้ข้าศึกเชื่อว่าเรามิได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จึงสงบไม่เคลื่อนเช่นกัน ทั้งเกิดความคิดมึนชาขึ้น แต่เรากลับดำเนินการตระเตรียมเป็นการลับ รอคอยโอกาส เพื่อที่จะออกปฏิบัติการ โดยฉับพลันทันที แต่ต้องระวังมิให้ข้าศึกล่วงรู้ก่อน อันจะทำให้สภาพการณ์เกิดเปลี่ยนแปลงไป
   

       “แข็งในอ่อนนอก” คือภายนอกนั้นดูละมุนละไม แต่ภายในนั้นเต็มไปด้วยความแข็งแกร่ง “ซ่อนดาบในรอยยิ้ม” ความเดิมหมายถึงโดยผิวเผินก็อ่อนโยน แต่ภายในนั้นมากด้วยเล่ห์ เมื่อนำมาใช้ ก็คือกลยุทธ์ที่ นอกอย่างในอย่าง แจ้งอย่างลับอย่าง ภายนอกแสดงความอ่อนละมุน แต่ภายในแฝงไว้ด้วยการเอาเป็นเอาตายอย่างหนึ่ง    

 

       กลยุทธ์นี้มีอยู่ใน “จดหมายเหตุราชวงศ์ถังเก่า ประวัติหลี่อี้ฝู่” ซึ่งกล่าวว่า “ภายนอกของอี้ฝู่นอบน้อยถ่อมตน พบใครใบหน้าก็ยิ้มย่องผ่องใส แต่เป็นคนที่เห็นแก่ตัว เชือดคอคนได้ในทางลับ ต้องการได้อำนาจ จัดให้ผู้อื่นศิโรราบด้วยตน หากไม่พึงพอใจใคร ก็จักทำลายเสียโดยพลัน ดังนั้นคนจึงโจษจันกันว่า อี้ฝู่มีดาบเป็นรอยยิ้ม”

       กลยุทธ์นี้สรุปว่า “พยายามทำให้ฝ่ายข้าศึกเข้าใจว่าฝ่ายเรา มิได้มีการตระเตรียมแต่อย่างใดเลย จึงสูญเสียความระมัดระวัง แต่ฝ่ายเรากลับวางแผนอย่างลับๆ เมื่อตระเตรียมพร้อมแล้วก็ให้รวบหัวรวบหางพิชิตเอาชัยในทันที แต่ไม่ควรจะให้ข้าศึกรู้ตัวก่อนเป็นอันขาด อันอาจจะก่อให้เกิดอุปสรรค์ที่ไม่จำเป็นขึ้น ที่ว่า “ซ่อนดาบในยิ้ม” ก็คือ “ปากหวานใจคด” ใบหน้านั้นยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ในใจแฝงไว้ด้วยความเหี้ยมเกรียมที่จะเอาชีวิตกัน”

       กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อการพัฒนาของสถานการณ์มิเป็นผลดีแก่ตน จักต้องเกิดความเสียหายอย่างหลียกเลี่ยงไม่พัน เพื่อที่จะแปรความเสียเปรียบเป็นความได้เปรียบ ก็จะต้องยอมเสีย “มืด” เพื่อประโยชน์แก่ “สว่าง” ซึ่งก็หมายความว่าจำต้องเสียสละส่วนหนึ่ง เสียค่าตอบแทนน้อย เพื่อแลกกับชัยชนะทั่วทุกด้าน    

       “หลี่ตายแทนถาว” ความหมายเดิมเป็นการเปรียบเทียบความรักใคร่ช่วยเลือกกับระหว่างพี่น้อง แต่เพื่อใช้ในการทหารหรือในกรณีอื่นๆ ก็เปรียบเทียบเป็นการทดแทนซึ่งกันและกัน อันเป็นกลอุบายที่ให้ ก. เข้าแทนที่ ข. หรือให้ ข. แทนที่ ก. อย่างหนึ่ง ที่ว่า “เสียกำเอากอบ” หรือ “เสียบ่าวเอานาย” ก็เป็นกลอุบายในทำนองนี้    

 

       คำๆ นี้เดิมมาจากกวีนิพนธ์บนหนึ่งชื่อ “ไก่ขัน” ใน "ชุมนุมกวี่นิพนธ์กู่เล่อฝู่” ความหมายว่า “ต้นถาวเกิดที่ปากบ่อ ต้นหลี่โตเคียงมาก หนอนบ่อนไชต้นถาวหลี่ตายแทนถาว ต้นไม้ยังตายแทนกัน พี่น้อยไฉนไยจึงลืม?”

       กลยุทธ์นี้สรุปว่า “ในขณะที่ 2 ฝ่ายประจันหน้ากันอยู่ ไม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องประสบความสูญเสีย จักไม่บาดเจ็บล้มตายเลยหาได้ไม่ ในขณะที่กำลังของทั้งสองฝ่ายทัดเทียมกัน ใครจะอยู่ใครจะไปยังมิอาจรู้ได้ ก็ควรจักยอมเสียคาตอบแทนไปบ้างแต่น้อย เพื่อแลกมาซึ่งผลประโยชน์ใหญ่ที่สุด จึงถูก”

 

       กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า แม้จะเป็นความเลินเล่อของข้าศึกเพียงเล็กน้อย เราก็พึงฉกฉวยเอาประโยชน์ แม้จะเป็นชัยชนะเพียงเล็กน้อย ก็จะต้องชิงเอามาให้ได้     “มืดน้อย” หมายถึง ความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ ของข้าศึก      “สว่างน้อย” หมายถึงชัยชนะเล็กๆน้อยๆของฝ่ายเรา 
   

 

       “จูงแพะติดมือ” หมายถึง อาศัยความประมาทแม้เพียงเล็กน้อยของฝ่ายตราข้าม ชิงเอาผลประโยชน์มาเป็นของเราเสีย     กลยุทธ์นี้เป็นกลอุบายที่ใช้ช่องอันเป็นจุดอ่อนข้าศึก ขยายพลังของตนเองออกไป เหมือนหนึ่งจูงแพะของฝ่ายตรงข้ามติดมือเราไปด้วย ช่วงชิงมาซึ่งชัยชนะอย่างสะดวกใจสบายกายอย่างหนึ่ง     กลยุทธ์นี้เดิมมาจาก “คัมภีร์จิงเลี่ย ว่าด้วยการเคลื่อนพล” ซึ่งกล่าวไว้ว่า “คอยจ้องหาจุดอ่อนของข้าศึก ฉกฉวยเอาประโยชน์ให้ทันท่วงที”

       กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “โอกาสแม้จะน้อยแสนน้อยก็ควรจะใช้ให้เป็นประโยชน์ ชัยชนะแม้จะเล็กแสนเล็กก็ควรจะช่วงชิงมาให้ได้ “จูงแพะติดมือ” ก็คือการใช้กลอุบายที่อีกฝ่ายหนึ่งมิสำเหนียกหรือมิได้รู้สึกตัว ฉะนั้นจึงย่อมจะตกหลุมพรางถูกบั่นทอนหรือได้รับความสูญเสียอย่างยับเยินโดยมิได้คาดคิด”


เรีบยเรียงโดย attiwat

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.suara-ampera.com/

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...