ระวัง!!! โบท็อกซ์(ปลอม) …ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ

ขวดซ้ายสุด (ของปลอม) ขวดกลาง (ของแท้เกรด B ) ขวดขวาสุด (ของแท้เกรดA)

 

เชื่อว่าหลายคนคง เคยได้ยินคำว่า “โบท็อกซ์” ผ่านหูกันมาบ้าง คนส่วนใหญ่รู้จักโบท็อกซ์ในฐานะสารที่ฉีดเพื่อลบริ้วรอยบนใบหน้า โบท็อกซ์ (Botox) เป็นชื่อทางการค้า (trade name) ของโปรตีนสารพิษ “โบทูลินัมท็อกซิน เอ” (Botulinum toxin A) ซึ่งผลิตจากแบคทีเรีย คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) แรกเริ่มเดิมทีโบท็อกซ์ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้รักษาอาการกระตุกโบท็อกซ์จึงได้รับความสนใจจากผู้รักสวยรักงามอย่างมาก ตลาดของโบท็อกซ์จึงเปลี่ยนจากการรักษาไปเป็นศัลยกรรมความงามอย่างรวดเร็วของกล้ามเนื้อตา แต่เมื่อองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ อนุมัติให้ใช้โบท็อกซ์ในการศัลยกรรมเสริมความงามได้ เรื่องการฉีด


 

กระแสคลั่งไคล้โบท็อกซ์
แม้ผลกระทบจากการฉีดโบท็อกซ์จะยังหาข้อสรุปไม่ได้และยังถกเถียงกันอยู่ แต่ก็ไม่ได้มีความหมายต่อผู้ที่ต้องการฉีด  โบท็อกซ์เท่าใดนัก ผู้คนยอมเสี่ยงเพื่อแลกกับความงาม สมาคมศัลยแพทย์ศัลยกรรมพลาสติกของสหรัฐอเมริการายงานว่า ปี2552 มีผู้ฉีดโบท็อกซ์ถึง 4.8 ล้านคน เป็นหญิง 4.5 ล้านคน ชาย 3 แสนคน ในจำนวนนี้เป็นวัยรุ่น (อายุ 18-19 ปี) กว่า 1,1000 คน! แม้ว่ากฎหมายสหรัฐฯ และอีกหลายประเทศจะห้ามผู้ประกอบการไม่ให้ฉีดโบท็อกซ์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่ก็มีรายงานว่าเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ฉีดโบท็อกซ์อยู่บ่อยๆ ตัวอย่างเช่น ข่าวเมื่อเดือนมีนาคม 2553 รายงานว่า Hannah Burgeเด็กสาวชาวอังกฤษ อายุ 16 ปี กล่าวว่าเธอได้ฉีดโบท็อกซ์ตั้งแต่เธออายุ 15 ปี! โดยแม่ของเธอเป็นผู้ฉีดให้ เด็กสาวให้เหตุผลว่าเธอต้องการลบรอยย่นที่หน้าผาก 2 เส้น และรอบๆ ปาก เธอไม่อยากรอให้ใบหน้าเธอน่าเกลียดตอนอายุ 25 เธอยังบอกอีกว่าเพื่อนที่โรงเรียนใครๆ ก็พูดถึงโบท็อกซ์กันทั้งนั้น และเธอคิดว่าใครๆ ก็ฉีดกันทั้งนั้น เพียงแต่เธอฉีดเร็วกว่าคนอื่นนิดหน่อย เท่านั้นเอง

 


 

โบท็อกซ์ปลอมมีหลายระดับ
ในช่วงแรกที่โบท็อกซ์ถูกนำมาใช้เสริมความงาม โบท็อกซ์ของแท้ยังผลิตได้ไม่มากนักและมีราคาสูง จึงมีพ่อค้าหัวใสอาศัยช่องว่างนี้นำสินค้าโบท็อกซ์ปลอมมาขาย จากการสำรวจพบว่า 80% ของโบท็อกซ์ปลอมแปลงที่ขายในช่วงนี้ไม่มีโบทูลินัมท็อกซินอยู่เลย โบท็อกซ์ปลอมอาจทำมาจากน้ำเปล่า น้ำเกลือ หรือวิตามินก็เป็นได้ แต่ที่แน่ๆ คือ ไม่มีสารออกฤทธิ์อยู่เลย เรียกได้ว่าเป็น “โบท็อกซ์ปลอมล้วนๆ” ใช้การหลอกขายกันอย่างซึ่งๆหน้า บางรายใช้วิธีพื้นๆ อย่างการตั้งชื่อให้พ้องเสียงกับของแท้ เช่น “Butox” หรือ “Beauteous” (ของแท้คือ Botox) ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการเสริมความงามซึ่งนำไปใช้ฉีดน่องเพื่อเพิ่ม ความกระชับให้กับผู้ใช้บริการ อย่างไรก็ตามผู้ที่ซื้อโบท็อกซ์ปลอมล้วนๆ ไปใช้ยังถือว่าโชคดี
เพราะการฉีดน้ำเกลือหรือวิตามินที่ใส่ขวดหลอกขายเป็นโบท็อกซ์อย่างน้อยก็ไม่ เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

โบท็อกซ์ปลอมทำให้เกิดผลแทรกซ้อนจากการกระจายตัวของยาที่มากกว่าของจริง เพราะน้ำหนักโมเลกุลมันไม่เท่ากันจะมีปัญหาหนังตาตก ปากเบี้ยว ได้มากกว่า
 


 

 

โบท็อกซ์ในประเทศไทย
ในประเทศไทยนั้นไม่พบข้อมูลว่าองค์การอาหารและยามีมาตรการควบคุมดูแลโบท็อกซ์อย่างไร มีพียงแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำว่าถ้าต้องการฉีดโบท๊อกซ์ ให้รับการฉีดจากแพทย์ที่เชื่อถือได้ โดยสถาบันที่เชื่อถือได้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครหรือที่ไหนที่เชื่อถือได้? ในเมื่อสถานบริการด้านความงามทุกแห่งอ้างว่าตัวเองใช้ของที่มีคุณภาพน่า เชื่อถือ
จริงอยู่สถานบริการด้านความงามอาจจะซื่อสัตย์ต่อลูกค้าไม่ซื้อของปลอมมาใช้ แต่สถานบริการอาจถูกตัวแทนจำหน่ายหลอกขายโบท็อกซ์ปลอม หรื่อตัวแทนจำหน่ายอาจจะรับโบท็อกซ์ปลอมมาจากโรงงานเถื่อนโดยไม่รู้ ผู้ใช้อาจตรวจสอบจากหมายเลขหรือฉลากที่ยากจะเลียนแบบ แต่อย่าได้ประมาทเทคโนโลยีของผู้ผลิตสินค้าปลอม เพราะผู้ผลิตของปลอมก็พร้อมที่จะลงทุนปลอมแปลงให้เหมือนที่สุดเช่นกันเพื่อ ผลตอบแทนที่คุ้มค่า เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่อยากลองฉีดโบท็อกซ์ก็ลองคิดดูให้ดีว่า ในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นสินค้าอะไร “ของแท้” หรือ “ของปลอม” อันไหนหาง่ายกว่ากัน?

 

ที่มา : สกินิค คลินิก (www.skenique.com)

ภาพประกอบ : Manager , jaytherabbit

7 ต.ค. 57 เวลา 11:29 3,987 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...