” ยาแก้ปวด ” อันตราย! อย่าใช้พร่ำเพรื่อ

 

 

 

 

 

” ยาแก้ปวด ” อันตราย! อย่าใช้พร่ำเพรื่อ

อย. เตือน อย่าใช้ยาแก้ปวดพร่ำเพรื่อ  พร้อมแนะ อ่านฉลากกำกับยาอย่างถ้วนถี่ เพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยา  อย. ห่วงใยผู้บริโภค เตือน อย่าใช้ยาแก้ปวดพร่ำเพรื่อ เพราะอาจได้รับอันตรายจากผลข้างเคียงของยา พร้อมแนะ ก่อนใช้ยาควรอ่านเอกสารกํากับยาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากไม่เข้าใจปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้เพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยา

 

 

ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากข้อมูลการใช้ยา พาราเซตามอลของคนไทยพบว่า ส่วนใหญ่มักใช้ยาพาราเซตามอลเกินกว่าปริมาณที่กําหนด เพราะมองว่าเป็นยาพื้นฐาน มีความปลอดภัย และเข้าใจว่าสามารถรักษาได้ทุกอาการปวด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากยาแก้ปวดแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการรักษา และความปลอดภัยในการใช้ยาแตกต่างกัน โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มยาแก้ปวดที่ใช้ระงับปวดที่รุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด แต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ เช่น มอร์ฟีน (morphine) ทรามาดอล (Tramadol) ยากลุ่ม นี้จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ใช้ระงับความเจ็บปวดที่รุนแรงจากอวัยวะภายใน เช่น ปวดนิ่วในไต ปวดกล้ามเนื้อหัวใจจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ปวดจากบาดแผลที่มีขนาดใหญ่ เช่น หลังการผ่าตัด การคลอดลูก โรคมะเร็ง ยาประเภทนี้ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อ จึงมักใช้กับคนไข้ในโรงพยาบาลหรือคลินิกเป็นส่วนใหญ่ ยากลุ่มดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงสูง หากได้รับยาเกิน ขนาดจะทําให้เกิดภาวะอื่น ๆ ตามมา เช่น อาเจียน ระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว ชักและระบบหายใจทํางานช้าลงจนถึงขั้นหยุดหายใจได้ และ อีกกลุ่มคือ กลุ่มยาแก้ปวดที่ใช้สําหรับอาการปวดไม่รุนแรง เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน ยาต้าน การอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs : NSAIDs) ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ โดยเฉพาะยาต้าน การอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เนื่องจากจะมีผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ทําให้คลื่นไส้ ปวดท้อง เป็นแผลบริเวณทางเดินอาหาร, ทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้น, หลอดเลือดสมองอุดตัน, ทําให้ง่วงซึม มึนงง ซึมเศร้า, มีผลต่อการทํางานของไต เป็นต้น นอกจากนี้ ยาพาราเซตามอลที่มีการใช้อย่างแพร่หลายนั้น หากใช้ยาเกินปริมาณที่แนะนําอาจจะนําไปสู่การเกิดพิษต่อตับ จนนําไปสู่ภาวะตับวาย และเสียชีวิตในที่สุด

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคใช้ยารักษาอาการปวดอย่างถูกต้อง ห้ามใช้ยา เกินขนาด ใช้บ่อยครั้ง หรือใช้เป็นระยะเวลานานกว่าที่ระบุไว้บนฉลากหรือเอกสารกํากับยาหรือแพทย์สั่ง เพราะ อาจทําให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือเสียชีวิตได้ รวมทั้งควรอ่านฉลากและเอกสารกํากับยาอย่างถ้วนถี่ และปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด ไม่ควรรับประทานยาเกินกว่าปริมาณที่ระบุไว้โดยเฉพาะยาพาราเซตามอลไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด (เม็ดละ 500 มิลลิกรัม) และหากมีความผิดปกติหรือมีอาการข้างเคียงจาก การใช้ยา อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร บวมบริเวณท้อง กดเจ็บบริเวณตับ ขอให้พบแพทย์โดยด่วน ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

 

Credit : กลุ่มประชาสัมพันธ์  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

24 ก.พ. 57 เวลา 07:31 1,876 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...