ย้อนรอย..ประวัติศาสตร์คอมมิวนิสต์มาลายา ที่สงขลา

 

 

 

 

 

เขาน้ำค้าง ประวัติศาสตร์ คอมมิวนิสต์มาลายา

 

 "อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง" ตั้งอยู่ในอ.นาทวี จ.สงขลา เป็นอุทยานฯ ลำดับที่ 65 ตั้งเมื่อปี 2534

เนื้อที่ 212 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 132,500 ไร่ ตั้งชื่อตาม 

”เขาน้ำค้าง”สมัยโบราณที่นี่เป็นป่าดงดิบ บนยอดเขามองเห็นทั้งฝั่งไทยและมาเลเซีย 

อากาศเย็นมากแม้เที่ยงวันก็ยังเห็นน้ำค้างเป็นเกร็ดอยู่ตามยอด

ประวัติ

เขาน้ำค้างเป็นยอดเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี สมัยโบราณคนที่เคยขึ้นไปบนยอดเขาจะเห็นมีน้ำค้าง เป็นเกล็ดอยู่ตามยอดหญ้า ลักษณะ เป็นใยแมงมุมแม้แต่ตอนเที่ยงวันก็มีน้ำค้างประปรายอยู่บนยอดหญ้าซึ่งเป็นสภาพที่แปลกเป็นอย่างยิ่ง จึงเรียกขานกันว่า"เขาน้ำค้าง" เขาน้ำค้าง เป็นเสมือนเขตหวงห้ามเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอยู่ในความยึดครองของ ผู้ก่อการร้ายโจรจีน คอมมิวนิสต์ เป็นบริเวณที่มีพื้นที่ภูมิประเทศเป็นถิ่นทุรกันดาร เทือกเขาสลับซับซ้อน ทำให้เป็น ฐานปฏิบัติการใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของแถบนี้ แต่ ในที่สุดจากการปฏิบัติการตามแผนยุทธการใต้ร่มเย็น โดยนำนโยบาย การเมืองนำการทหาร กองทัพภาคที่ 4 และหน่วยผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 43 (พตท.43) ได้นำนโยบายนี้เข้าปฏิบัติการ สามารถเข้ายึดค่ายปฏิบัติการได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2523ทำให้โจรจีน คอมมิวนิสต์สลายตัวไปในที่สุด

 


เส้นทางไปเขาน้ำค้าง สองข้างทางส่วนใหญ่เป็นภูเขา

เส้นทางจากหาดใหญ่ ไป"เขาน้ำค้าง"เป็นถนนลาดยาง เส้นทางคดเคี้ยว 

สองข้างทางปกคลุมด้วยป่าไม้ หุบเขา อากาศเย็นสบาย 

ใช้เวลาเดินทางประมาณ 90 กม.ก็ถึงเขาน้ำค้าง


ทางเข้าถ้ำเขาน้ำค้าง

หากย้อนดูประวัติ"เขาน้ำค้าง"แห่งนี้เมื่อกว่า 50 ปีที่ผ่านมาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

พื้นที่เขาน้ำค้างแห่งนี้เป็นเสมือนเขตหวงห้าม ลึกลับ ภูเขาทึบ เป็นที่ทุรกันดาน


คุณลุงอดีตสหาย พ.ค.ม. คอยเก็บเงินค่าเข้าชมคนละ20บาท

หุ่นสหาย พ.ค.ม.ยืนตะเบะรอต้อนรับ

จึงทำให้ "เขาน้ำค้าง"เป็นฐานปฏิบัติการของ"พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา" หรือ "โจรจีนคอมมิวนิสต์"

มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยืนหยัดต่อสู้กับญี่ปุ่น อังกฤษ รัฐบาลมาเลเซีย 

จนถูกผลักดันจากรัฐบาลมาเลเซีย หลบหนีเข้ามาอยู่ในไทย

ชุดเต็มยศของสหาย พ.ค.ม.

อนุสรณ์รำลึกสหาย พ.ค.ม.ที่ล่วงลับช่วงต่อสู้ในอดีต

กองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ต้องต่อสู้กับกองกำลังต่างชาติ 

หลบหนีเข้าไทยทางจังหวัดยะลา นราธิวาส และสงขลา 

แต่สงครามก็ยังไม่สงบเรียบร้อย มีการปะทะ กันอยู่เรื่อย ๆ 

กองกำลังที่อยู่พยายามสร้างหลุมหลบภัยเพื่อป้องกันระเบิดและปืนใหญ่ 

จนมาเจอ"เขาน้ำค้าง"จึงได้เริ่มสร้างอุโมงค์ขึ้น ในปี 1972  

แผ่นป้ายประวัติโดยย่อ"เขาน้ำค้าง"

บันไดทางขึ้นฐานทัพบนเขาน้ำค้าง

อุโมงค์เขาน้ำค้างมีลักษณะเหมือนถ้ำที่ทำจากหิน และดินเหนียว มีความลึก 3 ชั้น 

ใช้เวลาสร้างนาน 2 ปี มีเส้นทางเข้าออก 16 ช่องทาง และมี 7 ป้อมยาม ความยาว 1,000 เมตร 

สำหรับตรวจตราข้าศึกที่จะเข้ามาประชิดตัว

ทางเข้าอุโมงค์ที่ขุดเจาะเข้าไปใต้เขาซึ่งมีทางออกทั้งหมด 16 ช่องทาง

รักกันไว้เถอะครับพี่น้องภาพนี้คือที่มาจากความขัดแย้ง

 ภายในอุโมงค์นั้นแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ มีทั้ง ห้องประชุมใหญ่ 

สำหรับประชุมผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ระดับสูง ห้องอเนกประสงค์ สำหรับใช้ประชุมนักรบชาย-หญิง 

และเป็นห้องเรียน ห้องวิทยุสื่อกลาง ห้องนอนท่านผู้นำ มีห้องน้ำในตัว

ภายในอุโมงค์ขุดผ่านชั้นหิน เป็นบันไดสูงชัน

ภายในมีห้องนั่งพัก

ห้องส่งโทรเลข ห้องประชุม

มีห้องเครื่องจักรกล ลานฝึกหัดขับจักรยานยนต์สำหรับลาดตระเวน 

ห้องหัตถกรรม ใช้ตัดเย็บเสื้อผ้า ห้องพยาบาล กว้างพอที่จะเป็นลานกีฬาและซ้อมยิงปืน 

ห้องพลาธิการ ใช้เก็บอาหารและเป็นโรงครัว  


ด้านบนอุโมงค์บนยอดเขามีป้ายบอกทางห้องพักต่างๆ

สนามบาส บนอุโมงค์ไว้ให้สหายออกกำลังกายยามว่าง

เมื่อเวลาเกิดสงครามเหล่านักรบ ซึ่งครึ่งหนึ่งนั้นเป็นหญิง ก็ต้องออกไปสู้รบอยู่ภายนอก 

มีความกล้าหาญ เป็นอย่างยิ่ง เวลาระเบิดลงทุกคนก็จะมาหลบภัยกันอยู่ในอุโมงค์ 

สามารถรองรับนักรบได้เพียงแค่ 200 คนเท่านั้น


ห้องประชุมของสหาย พ.ค.ม.

หลุ่มระเบิด ที่ถูกถล่มเป็นหลุมขนาดใหญ่ข้างห้องประชุม

บันไดทางลงจากเขา

เมื่อมีการดำรงชีวิตขึ้นอาหารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการยังชีพ 

เมื่อเกิดภาวะสงครามเหล่านักรบจะทำอย่างไรเพื่อให้มีอาหารเพียงพอ  จึงหาวิธิเก็บอาหาร

โดยใช้"ถังเหล็ก"ที่มีฝาปิด อยู่ด้านบน เพื่อเก็บ เสบียงอาหารต่าง ๆ ให้อยู่ ได้นาน

อาวุธที่สหาย พ.ค.ม.ใช้ต่อสู้ในอดีต


ถังบรรจุน้ำมัน บรรจุยางมะตอย บรรจุอาหาร

โดย สามารถนำอาหารสดต่าง ๆจำพวกเนื้อ ผักใส่เข้าไปในถัง 

หากเป็นเนื้อสดจะต้องนำไปหมักเกลือก่อนแล้วนำไปฝังดินไว้อาหารก็จะอยู่ได้ถึง 20-30 ปี


ตะเกียง เกลือ ขวดน้ำที่ใช้ในการดำรงชีวิต

ชุดเครื่องแต่งกาย

ข้าวสาร ปี 2511

ลูกระเบิด 200 ปอนด์ 

หลังสงครามสิ้นสุด กระทั่งปี 2530 หลังจากนั้น "พรรคคอมมิวนิสต์มลายา" 

กลับตัวกลับใจมอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กว่า 600 คน 


ภาพถ่ายในอดีตทั้งการซ้อมรบ การขุดเจาะอุโมงค์


บางคนก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ จังหวัดอื่นๆเพื่อปักหลักตั้งฐิ่นฐานในไทย 

บางส่วนยังอยู่ในพื้นที่รอบเขาน้ำค้าง ทำมาหากินเป็นพลเมืองไทย

 

 

การเดินทาง 
 เส้นทางที่ 1 จากสงขลาใช้เส้น 408 มุ่งหน้าอ.จะนะ เข้าอ.นาทวี จากนั้นใช้เส้น 4113 

ไปทางบ้านสะท้อนแล้วเลี้ยวเข้าเส้น 4243 มุ่งหน้าอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง 

 เส้นทางที่ 2 จากหาดใหญ่ใช้เส้น 43 มุ่งหน้าอ.จะนะ เลี้ยวเข้าเส้น 408 

เข้าอ.นาทวีทับรอยเส้นทางที่ 1 
 เส้นทางที่ 3 จากหาดใหญ่ใช้เส้นหมายเลข 4 มุ่งหน้าอ.สะเดา เลี้ยวเข้าเส้น 42 

ที่บ้านคลองแงะมาจนถึงอ.นาทวี เลี้ยวอีกครั้งเข้าเส้น 4113 และ 4243 

สภาพถนนราดยางตลอดในอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 80 กม.

 

ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=503720 
http://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...