ซิฟิลิส ภัยเงียบที่เคยเป็นโรคร้าย...

เมื่อถามว่าโรคใดที่คุณไม่อยากเป็น แน่นอนหนึ่งในนั้นคือโรควีดี (venereal disease โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) ซึ่งเป็นคำแสลงที่เรียกครอบคลุมโรคทางเพศสัมพันธ์ แต่รากศัพท์นี้บางครั้งหมายถึง ซิฟิลิส 


โรค ซิฟิลิส ถ้าชาวบ้านจะคุ้นกันในโรคเข้าข้อ ออกดอก ซึ่งหมายถึงระยะที่สองและสาม ซึ่งเชื้อกระจายออกมาแล้ว ทำให้ปวดข้อ เข้าสมองและเกิดผื่น

เด็กๆ สมัยนี้อาจไม่รู้จัก แต่แต่ก่อน โรคนี้มาเป็นอันดับแรก ๆ ของโรคติดต่อประเภทนี้ พอๆ กับหนองใน โรคนี้เกิดจากเชื้อสไปโรขีต เชื้อเล็ก ๆ เป็นเกลียวจัดอยู่ในกลุ่มแบคทีเรีย และติดต่อทางเพศ แพทย์ทุกท่านจะได้รับการสั่งสอนว่า ซิฟิลิสคือ"นักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่ หรือ great imitator เนื่องจากเลียนแบบอาการเสียทุกโรค" อาการจะแบ่งตามระยะต่าง ๆ ดังนี้คือ

ระยะแรก หรือ primary syphilis มักเกิดประมาณ 3 สัปดาห์ของการรับเชื้อ (3-90วัน) มักเป็นแผลที่อวัยวะเพศที่รับเชื้อเรียกว่า แผลริมแข็ง ซึ่งจะแตกต่างจากโรคแผลริมอ่อนที่เป็นอีกโรคจากเชื้ออีกอัน

แผลนี้จะไม่เจ็บ ขอบและก้นแผลเรียบ มักมีแผลเดียวอาจมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต ถึงไม่รักษา แผลก้หายเองได้ใน 3-6 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเข้าระยะต่อไป

ระยะที่สอง หรือ secondary syphilis ระยะนี้ต่อมาจากระยะแรกประมาณสองสัปดาห์ถึงสองเดือน เรียกว่าระยะผื่นหรือออกดอก จะมีผื่นตามตัว ตามฝ่ามือฝ่าเท้าซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ อาจเกิดในปากได้ มักพบมีไข้ เจ็บคอ ปวดข้อ และต่อมน้ำเหลืองโตทั้งตัว

อาการอื่นๆ แทรกซ้อนที่อาจเกิดร่วม ได้แก่ อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มักจะมีอาการปวดหัวคอตึง อาเจียน และอัมพาตของใบหน้าครึ่งซีกหรือชาหน้าครึ่งซีกได้ อื่นๆ ที่พบได้แก่ตับอักเสบ ไตอักเสบ และตาอักเสบ

ระยะแฝง หรือ latent syphilis ระยะนี้จะไม่ปรากฎอาการอะไรมาก แต่จะตรวจพบโดยเลือด โดยมากจะเกิดภายในปีแรก และต่อเนื่องเกินปี ขระเดียวกันอาจเกิดอาการของระยะที่สองประปรายเป็นระลอกได้ภายในปีแรก

ระยะสาม หรือtertiary syphilis เกิดประมาณ 8-40%ของคนไข้ที่ไม่ได้รับการรักษา อาการจะปรากฎในสมอง เรียกว่าซิฟิลิสขึ้นสมอง มีสองอาการที่แพทย์ต้องจดจำให้ขึ้นใจ

อาการแรกเรียก Tabes dorsalis จะมีการทำลายไขสันหลังส่วนหลังทำให้การทรงตัวเสียไป ยืนขาถ่าง เดินไม่ถนัดขาลาก ปวดแบบแปลบๆตามขา กลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ ความจำเสื่อม

อีกอาการคือ General PARESIS ซึ่งมาจากการนำอาการต่าง ๆ มาประกอบกันคือ personality  disturbance อารมณ์พฤติกรรมเปลี่ยน affect abnormality การรับรู้เสียไป reflex hyperactivity รีเฟล็กซ์(เคาะเข่า)เร็ว eye abnormality ตาผิดปกติ sensorium change สัมผัสรับความรู้สึกทั้งห้าเปลี่ยน intellectual impairment โง่ slurred speech พูดช้าลง

อาการทางตาคือ ม่านตาเล็ก ไม่ตอบสนองแสง อาการอื่น ๆ ที่ร่วมคือหัวใจ และการมีก้อนเล็กๆ กรานูโลมาตามอวัยวะต่างๆ

 

 

การวินิจฉัย สามารรถตรวจจากอาการและเลือด แต่การทดสอบเหล่านี้จะมีผลบวกภายหลังจากติดเชื้อ  ประมาณ4-6 สัปดาห์ สิ่งสำคัญคือแนะนำให้มารดาที่จะตั้งครรภ์ตรวจทุกรายเพราะถ้ามี จะทำให้เด็กเกิดอาการที่เรียกว่า ซิฟิลิส แต่กำเนิดได้

การรักษา มียารักษาที่มีประสิทธิภาพ สะดวก ดังนั้น ถ้าสงสัย หรือมีเชื้ออย่าปล่อยให้สายไปนะครับ

 

คนเราติดเชื้อโรคนี้ได้อย่างไร

1. การติดต่อจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัสผ่านแผล Chancre

2. ทางเพศสัมพันธ์

- เชื้อโรคสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ

- เชื้อโรคจะติดต่อได้บ่อยในระยะ primary เนื่องจากระยะนี้จะไม่มีอาการ

- ในระยะ secondary จะมีหูดระยะนี้จะมีเชื้อโรคปริมาณมากหากสัมผัสอาจจะทำให้เกิดการติดต่อ

3. การติดต่อทางอื่น

- เชื้อจะอ่อนแอตายง่ายดังนั้นการสัมผัสมือหรือการนั่งโถส้วมจะไม่ติดต่อ

- หากผิวหนังที่มีแผลสัมผัสกับแผลที่มีเชื้อก็ทำให้เกิดการติดเชื้อ

- จากแม่ไปลูก เชื้อสามารถติดจากแม่ไปลูกขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด

 

การรักษาโรคซิฟิลิส

ผู้ป่วยโรค ซิฟิลิส ไม่ต้องกังวลไป เพราะหากตรวจพบเชื้อตั้งแต่ระยะต้นๆ จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ เพนนิซิลลิน เป็นเวลา 1-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ระยะเวลาการรักษาขึ้นกับระยะของโรคที่เป็นด้วย และหากผู้ป่วยมีคู่สมรสก็ควรได้รับการรักษาคู่กัน

อย่างไรก็ตาม แม้จะรักษาหายแล้วต้องกลับมาตรวจซ้ำอีกในช่วงแรก ทุก ๆ 3 เดือนจนครบ 3 ปี เพราะอาจมีเชื้อหลบในแอบแฝงอยู่ และจะได้แน่ใจว่าโรคหายขาด ทั้งนี้ ระหว่างการรักษาโรค ซิฟิลิส ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด งดการมีเพศสัมพันธุ์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น

.............................................................

 

น่ากลัวจริงๆ .. อย่าลืมนะ ถ้าห้ามใจไม่ได้ ใส่ถุงยาง อย่างเดียว!!

19 พ.ย. 56 เวลา 00:33 9,591 100
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...