พระจันทร์ไปไหน ฉลามไปด้วย

 

 

 

 

 

พระจันทร์ไปไหน ฉลามไปด้วย

   
ทีมวิจัยจากสถาบันมหาสมุทร มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ออสเตรเลีย และสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลออสเตรเลีย ค้นพบว่า อุณหภูมิของน้ำและดวงจันทร์ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของฉลาม
 
นักวิจัยใช้เวลาเกือบ 3 ปี สังเกตพฤติกรรมฉลามปะการังเทา นอกหมู่เกาะประเทศปาเลา มหาสมุทรแปซิฟิก โดยใช้อุปกรณ์รับส่งสัญญาณเสียงติดตามฉลาม 39 ตัว และพบว่า ฉลามเหล่านี้มักอยู่ในน้ำลึกในคืนพระจันทร์เต็มดวง แต่ขึ้นมายังน้ำตื้นในคืนแรม

ซึ่งเป็นพฤติกรรมลักษณะเดียวกับปลาดาบ ปลาทูนาครีบเหลืองและปลาทูนาตาโต ซึ่งบ่งว่า น่าจะเป็นปฏิกิริยาป้องกันตัวจากผู้ล่าของฉลามชนิดนี้ ที่พยายามเลี่ยงแสงสว่างใกล้ผิวน้ำซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถของฉลามที่มีขนาดใหญ่  

นักวิจัยยังพบว่า พฤติกรรมการดำน้ำของฉลามปะการังเทาเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิของน้ำ โดยฉลามโตเต็มวัย มักดำลงไปลึกเฉลี่ย 35 เมตรในฤดูหนาวเพราะน้ำยิ่งลึกยิ่งเย็น ขณะฤดูใบไม้ผลิ จะดำลงไป 60 เมตรเมื่ออุณหภูมิน้ำอุ่นขึ้น ส่วนในฤดูร้อน ซึ่งพื้นที่น้ำอุ่นมีมากขึ้น ฉลามมักจะว่ายในระดับความลึกที่แตกต่างกันไป ฉลามเป็นสัตว์เลือดอุ่น จึงชอบน้ำอุ่นเพื่อรักษาพลังงาน

นอกจากนี้ ผลวิจัยยังพบว่า ฉลามจะดำน้ำลงไปลึกกว่าเดิมในตอนเช้า และค่อยๆ ขึ้นสู่ผิวน้ำในตอนบ่าย ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของแสงในระหว่างวัน

ส่วนคำถามว่าผลวิจัยนี้มีประโยชน์อย่างไร นักวิจัยระบุว่าจะช่วยเรื่องการอนุรักษ์

เมื่อทราบพฤติกรรมการดำผุดดำว่ายของมันก็จะช่วยป้องกันชาวประมงไม่ให้เผลอไปจับนักล่าแห่งท้องทะเลโดยไม่เจตนาโดยเฉพาะปาเลา ซึ่งพึ่งการท่องเที่ยวทางทะเลอย่างมาก และฉลามก็ถือเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างสำคัญ การจับฉลามในแหล่งไม่ควรจับ อาจมีผลทางลบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจของประเทศได้

25 ก.ย. 56 เวลา 08:23 3,559 1 100
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...