จริงเหรอ? เขาจะได้ตำแหน่งโนเบลแพทย์อายุน้อยที่สุด

 

 

 

 

 

แจ็ค แอนดรากา        ขณะอายุได้เพียง 15 ปี "แจ็ค แอนดรากา" ผลิตชุดตรวจที่สามารถตรวจหามะเร็งตับอ่อนได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ด้วยต้นทุนที่ถูกอย่างเหลือเชื่อ แต่ประสิทธิภาพแซงโค้งชุดตรวจราคาแพงแบบไม่เห็นฝุ่น แต่จริงไหมที่เขาคือผู้ที่จะได้รางวัลโนเบลแพทย์ที่อายุน้อยที่สุด?
       
       "แจ็ค แอนดรากา" (Jack Andraka) คว้ารางวัล กอร์ดอน อี มัวร์ (Gordon E. Moore Award) รางวัลสูงสุดจากเวทีแข่งขันผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ของอินเทล หรือ อินเทลไอเซฟ (Intel ISEF) เมื่อปี 2012 ที่ผ่านมา ขณะอายุได้เพียง 15 ปี
       
       แจ็คได้พัฒนาผลงานอันน่าทึ่งเป็นชุดตรวจแบบจุ่มสำหรับตรวจหามะเร็งตับอ่อนระยะเริ่มต้น ซึ่งชุดตรวจดังกล่าวจะตรวจหาโปรตีนชื่อ "มีโซธีลิน" (mesothelin) ในปัสสาวะหรือเลือด โดยโปรตีนดังกล่าวที่เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่จะบอกได้ว่าบุคคลนั้นเป็นมะเร็งตับอ่อนหรือไม่
       
       ชุดตรวจราคาไม่ถึง 1 บาทดังกล่าว ซึ่งถูกกว่าวิธีตรวจปัจจุบันถึง 26,000 เท่า แต่มีความแม่นยำถึง 90% ที่สำคัญตรวจได้เร็วกว่าวิธีเดิมถึง 168 เท่า โดยใช้เวลาเพียง 5 นาที และยังมีความไวมากกว่าวิธีตรวจเดิมกว่า 400 เท่า
       
       แต่กว่าจะได้ผลงานดังกล่าวหนังสือพิมพ์ดิอินดีเพนเดนท์ระบุว่า เขาได้เสนอขอใช้ห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบแนวคิดในการพัฒนาชุดตรวจมะเร็งตับในแบบเดียวกับชุดตรวจครรภ์นี้จากศาสตราจารย์ 200 คนของมหาวิทยาลัยในแมรีแลนด์เมืองที่เขาอยู่ แต่ 199 คนปฏิเสธที่จะให้ใช้ห้องปฏิบัติการเพื่อทำการทดลอง
       
       ยกเว้น ศ.แอนีร์บัน ไมตรา (Prof. Anirban Maitra) ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมของมะเร็งตับอ่อนจากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอพกินส์ (Johns Hopkins University) ในบัลติมอร์ ซึ่งได้เชิญแจ็คให้มาคุยกับผู้เชี่ยวชาญในโรคมะเร็งตับอ่อน หลังถูกซักถามอยู่นานกว่าชั่วโมง ลูกชายของวิศวกรโยธาและวิสัญญีแพทย์ก็ได้รับโอกาสให้ใช้พื้นที่ห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาชุดตรวจของตัวเอง
       
       แม้ผลงานของแจ็คจะน่าทึ่งแต่การแชร์ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดียในช่วงนี้ว่า เขาคือว่าที่ผู้ที่จะได้รับตำแหน่งโนเบลแพทย์ที่อายุน้อยที่สุด ทำให้ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ อดสงสัยไม่ได้ว่าจะเป็นเช่นนั้นได้เช่นไร เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกผู้ได้รบรางวัลโนเบลสาขาใดๆ ก็ตาม เป็นกระบวนการที่เป็นความลับ
       
       จากการตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์ของมูลนิธิรางวัลโนเบล ในส่วนของคุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ จะต้องเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อจากบุคคลที่ได้รับเชิญจากคณะกรรมการรางวัลโนเบล ซึ่งบุคคลที่ได้รับเชิญจากคณะกรรมการจะเป็นผู้ยื่นเสนอชื่อเข้ารับการพิจารณา แต่ไม่มีใครมีสิทธิเสนอชื่อตัวเองเข้ารับการพิจารณารางวัล
  แจ็คดีใจสุดขีดเมื่อทราบผลว่าเขาได้รับรางวัลใหญ่สุดบนเวที่ Intel ISEF        ผู้ได้รับเชิญจากคณะกรรมการรางวัลเพื่อเสนอบุคคลที่สมควรได้รับรางวัลโนเบลต้องมีเอกสิทธิ์ในข้อต่อไปนี้
       
       1.สมาชิกสมัชชาโนเบล ที่สถาบันแคโรลินสกา (The Nobel Assembly at the Karolinska Institute) สตอกโฮล์ม สวีเดน
       2.สมาชิกชาวสวีเดนหรือต่างชาติในแผนกการแพทย์ของราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (The Royal Swedish Academy of Sciences) สตอกโฮล์ม สวีเดน
       3.ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์และการแพทย์
       4.สมาชิกคณะกรรมการรางวัลโนเบล
       5.ศาสตราจารย์คณะแพทยศาสตร์ในสวีเดน หรือผู้มีฐานะเทียบในคณะแพทยศาสตร์ หรือสถาบันด้านการแพทย์ในเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอส์แลนด์ และนอร์เวย์
       6.ผู้มีตำแหน่งไม่ด้อยกว่าตำแหน่งใน 6 สถาบันการแพทย์ที่ทางสมัชชาโนเบลได้คัดเลือกในประเทศอื่นๆ ที่ได้รับการพิจารณาจนมั่นใจแล้วว่ามีความเหมาะสมแก่หน้าที่
       7.แพทย์ทางด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ที่สมัชชาโนเบลเห็นว่ามีความเหมาะสม
       
       ที่สำคัญคือในกระบวนการเสนอชื่อของผู้มีสิทธินั้นจะถูกควบคุมมิให้มีการเปิดเผย ไม่ว่าแก่สาธารณะหรือในระดับบุคคลเป็นเวลา 50 ปี รวมทั้งผู้เสนอชื่อและได้รับการเสนอชื่อจะถูกห้ามมิให้สืบค้นหรือแสดงความเห็นเกี่ยวกับรางวัลอย่างเด็ดขาด
       
       ดังนั้น การระบุว่าแจ็คคือว่าที่ผู้ได้รับตำแหน่งโนเบลที่อายุน้อยที่สุด จึงเป็นการละเมิดกฎของคณะกรรมการรางวัลโนเบล แต่ก็ไม่มีใครตอบได้ว่า เดือน ต.ค. ที่จะมีการประกาศผลรางวัลโนเบลนี้ จะมีชื่อแจ็คเป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติหรือไม่
       
       ถึงแจ็คจะได้รับรางวัลโนเบลหรือไม่ ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญไปกว่าผลงานอันน่าทึ่งที่จะช่วยรักษาชีวิตคนได้อีกมาก และนับเป็นรางวัลอันทรงเกียรติในตัวเองอยู่แล้วโดยไม่ต้องรอใครมาเชิดชู
         ***
       กระบวนการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลโนเบล
       ก.ย. : ส่งแบบฟอร์มเสนอรายชื่อแก่ผู้ได้รับเชิญจากคณะกรรมการโนเบล
       ก.พ. : หมดเขตส่งรายชื่อผู้สมควรได้รับรางวัลโนเบล
       มี.ค-พ.ค : ร่วมปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ
       มิ.ย-ส.ค : เขียนรายงาน
       ก.ย. : คณะกรรมการยื่นข้อเสนอแนะ
       ต.ค. : คัดเลือกผู้ได้รับรางวัลโนเบล (พร้อมประกาศผล)
       ธ.ค. : พระราชพิธีมอบรางวัลโนเบล
14 ก.ย. 56 เวลา 22:38 1,296 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...